27/2/53

ความสัมพันธ์ของแสงสว่างกับการทำรังของนกอีแอ่น

สวัสดีครับ คุณวุฒิ

จริงมั๊ยครับที่ มีคนเคยบอกผมว่าหากนกไม่ลงชั้นล่างๆชั้นนั้นให้เจาะรูหรือทำยังไงก็ได้ให้มีแสงผ่านซักนิดนึง เพื่อให้นกแอ่นเกิดความมั่นใจ ไม่ระแวง และใช้ขี้นกแอ่นโรยเป็นทางจากชั้นบนลงมาสู่ชั้นล่างสุดครับ
                                                                                          สรรชัย
---------------------------------------------
 
เรื่องแสงสว่างมีความจำเป็นครับที่นกจะต้องใช้ในการทำรังบ้าง หากว่ามืดมากเกินไปนกก็จะออกมาทำรังในที่มีแสงสว่างพอประมาณ แต่แสงต้องไม่มากจนเกินไป

ส่วนที่ว่าหากนกไม่ลงไปอยู่ชั้นล่างๆ ก็อาจจะเป็นไปได้เพราะสาเหตุเรื่องของแสงนี้และการใช้ขี้ผมก็ได้ยินมาอย่างนั้นเหมือนกันครับ และหากว่าชั้นล่างมีแสงหน่อยแล้วทำให้นกลงไปอยู่ชั้นล่างอันไม่กล้าฟันธงเท่าไหร่แต่ผมว่าก็มีน้ำหนักอยู่บ้างเหมือนกันครับ เพราะว่าที่ชั้นล่างสุดของตึกนั้น ในตอนแรกผมไม่ได้เปิดท่อระบายน้ำล้นไว้ชั้นล่างสุดจะมืดมาก และตอนนั้นที่ชั้นล่างก็มีเพียงรอยขี้นกหยดอยู่บ้างแต่ก็ไม่มาก และสังเกตุได้ว่าเป็นรอยขี้นกแบบที่บ่งบอกว่าไม่มีนกมาอยู่นานแล้ว และต่อมาผมเปิดฝาท่อระบายน้ำล้นทิ้งไว้แบบถาวรทำให้มีแสงเข้ามาบ้างเหมือนกัน หากว่ามองจากชั้นบนสุดก็จะเห็นเป็นจุดสว่างๆอยู่ชั้นล่างสุด แต่แสงไม่เป็นลำ เห็นแต่เป็นจุดสว่างเท่านั้น

หลังจากก็ปล่อยทิ้งไว้เลยไม่ได้เข้าไปยุ่งกับชั้นล่างเลย ประมาณ 3-4 เดือน แต่พอกลับเข้าไปอีกที

 ก็เห็นมีรังอยู่ชั้นล่างแล้วประมาณ 5 รัง  ไม่นับในรังเทียมอีกหลายรัง

ก็เลยไม่รู้ว่าเป็นเพราะแสง หรือว่าเพราะคนไม่ได้เข้าไปรบกวนนกก็ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่ที่ผมเปิดฝาท่อน้ำล้นทิ้งเอาไว้ก็เนื่องจากต้องการให้อากาศเข้าจากด้านล่างได้บ้าง พร้อมทั้งต้องการให้มีแสงบ้างเพื่อที่นกจะได้ใช้ทำรังตามที่ผมเกริ่นไว้ด้านบน จึงไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรสาเหตุไหนระหว่างแสง กับคนไม่เข้าไปรบกวนนกกันแน่

    แต่ที่แน่ๆชัดเจนมากก็คือผมได้รังที่ชั้นล่างทีเดียว 5 รังอย่างน้อยไม่รวมรังที่ทำเสริมต่อจากรังเทียมของผมอีกบางส่วน     

และในประเด็นนี้ผมเองก็เคยตอบเพื่อนบางคนไปเหมือนกันว่า นกเข้าอยู่ชั้นบน กับชั้นล่างมันต่างๆกันอย่างไร เพราะอย่างไรนกก็อยู่ในตึกของเรา ผมจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าไหร่ เนื่องจากผมว่านกก็อยู่ในบ้านนกของเรา แต่หากว่านกที่ชั้นบนเต็มแล้ว แน่นแล้วอย่างนี้เสียก่อนแล้วจึงค่อยมาให้ความสำคัญกับหาวิธีเรียกนกลงไปชั้นล่างก็ยังไม่สายครับ

สรุปผมคิดว่าเรื่องนี้ยังเป็นประเด็นรองๆลงไป แต่ประเด็นหลักก็คือต้องให้นกอยู่กับเรามากที่สุดก่อนเป็นประเด็นหลัก แต่หากว่าคุณสรรชัยอยากลองทำดูอย่างที่ผม โดยการเปิดฝาท่อน้ำล้นไว้เพื่อให้แสงเข้าได้บ้าง ก็ไม่เลวนะครับ

คิดว่าคำตอบที่ผมตอบไปให้นี้คงช่วยได้บางนะครับ

                                                                                            Vuthmail-Thailand

25/2/53

การแก้ไขแสงเข้าในบ้านนกคุณหนุ่ม

อีกประการหนึ่งที่มีผลให้นกเข้ามาอยู่น้อย และไม่ยอมทำรัง อันมีสาเหตุมาจากแสงสว่างที่มากเกินไป อันที่จริงนกต้องให้แสงสว่างในการทำรังอยู่บ้าง แต่หากว่ามากเกินไป ดังนั้นการออกแบบเพื่อเจาะช่อง Inter Hole ให้นกเข้าในไปในห้อง Nesting Room นั้นก็จะมีส่วนที่ต้องมองให้สัมพันธ์กับพื้นที่ในบ้านนก หรือห้อง Nesting Room

หากว่าห้องหรือพื้นที่บ้านนกขนาดเล็กแต่ว่า เจาะช่อง Inter Hole ไว้ใหญ่แสงก็จะเข้าได้มาก ประกอบกับพื้นที่ในห้อง Nesting Room สั้น ตื้นหรือพื้นที่มีไม่มากเท่าไหร่อย่างบ้านนกที่มีชั้นเดียวและอยู่บนสุดของตึกการเจาะช่องควรจะให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะการเจาะช่องนี้จะมีผลกระทบต่อทุกเรื่องทุกอย่าง ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ การบินเข้าออกของนกสะดวกราบรื่นเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งระยะห่างผนังกับช่องที่เจาะ  ช่องขนาดใหญ่หรือช่องเล็กล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรสำคัญทั้งนั้น

การออกแบบเจาะช่องที่ดี ให้ขนาดที่เหมาะสมก็จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมภายในบ้านนกตามที่ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้น แต่ว่าขนาดที่ช่องที่ว่านี้ก็จะไม่มีสูตรตายตัวหรือกำหนดขนาดไว้ชัดเจน แต่ก็มีเกณฑ์โดยคร่าวๆ ให้พอเป็นแนวทางในเบื้องต้น คือ

   - ขนาดช่อง 80 x 40 cm จะเหมาะสมสำหรับนก 1,000 ตัว
   - ขนาดช่องที่เล็กลงไป 70 x 30 cm ก็จะเหมาะสมสำหรับนกที่ต่ำกว่านี้ และใช้ประโยชน์ในการความคุมสภาพ แสง ความชื้นได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่มีอะไรที่เป็นสูตรตายตัว เจ้าของบ้านนกจะต้องศึกษาเรื่องความเหมาะสมกันเอง

แต่ทางที่ดีสำหรับทุกคนทุกท่านก็คือการเจาะให้ใหญ่ไว้ก่อน แล้วจึงค่อยเอาไม้อัดมาตีปิดเพื่อลดขนาดที่เจาะให้เล็กลง เพื่อทำการทดสอบแสงสว่าง ความชื้น อุณหภูมิว่าสภาพโดยรวมว่าดีขึ้นหรือไม่อย่างไร ปรับลงขนาดช่องเพื่อให้ได้สิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกับสิ่งที่นกแอ่นชื่นชอบ เมื่อได้ขนาดที่ถูกต้องแล้วก็ให้ยึดแบบถาวรทิ้งก่อน เมื่อประชากรนกมากขึ้นจนเต็มแล้ว  สภาพภายในบ้านนกก็จะเปลี่ยนไป ความรู้สึกของนกก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ดังนั้นช่องขนาดเดิมก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ใหญ่ขึ้น การขยายก็จะทำได้ง่ายกว่าเพียงแต่เลื่อนระดับไม้อัดที่ตีปิดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเท่านั้นก็เป็นอันเรียบร้อย ง่ายสะดวก รวดเร็วแทบจะไม่รบกวนนกในห้อง


ส่วนบ้านนกของคุณหนุ่ม ช่อง Inter Hole เดิมทำไว้โดยการตีไม้อัดปิดไว้ ส่วนที่เหลือปล่อย่องว่างสูงจากพื้นขึ้นไปถึงเพดานเลย การทำช่องสูงยาวอย่างแบบเดิม-แสงจะเข้าได้มาก เพราะสาเหตุและความจำเป็นที่จะต้องขึ้นไปไหว้พระ ไหว้เจ้า จึงจำเป็นต้องปล่อยให้เป็นช่องโล่งว่างตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ผมอยากจะฝากให้คุณหนุ่ม แก้ไขช่องให้เล็กลงกว่าเดิม เพื่อลดแสง ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและนกยังเข้าออกได้ คนยังขึ้นไปไหว้เจ้าได้  ซึ่งคุณหนุ่มอาจจะยังไม่ชำนาญในการออกแบบหรือว่ายังคิดวิธีการไม่ออก ผมมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้จะครับ




การที่จะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งนกทั้งคน โดยนกเข้าออกได้ตลอดเวลาเหมือนเดิม แสงในห้องก็น้อยลง โดยการทำเป็นวงกบประดูที่มีช่องแสง แต่บนส่วนไม่ต้องใส่กระจกเพื่อให้นกสามารถใช้บินเข้าออกทะลุเข้าไปในห้องทำรังได้  ขนาดช่องแสงบนให้ทำใหญ่ไว้ก่อน แล้วค่อยมาเอาไม้อัดมาตีปิดโดยทดสอบเลื่อนขึ้น เลื่อนลงเพื่อหาระยะที่จะทำให้สภาพแวดล้อมภายในเหมาะสมกับนกได้แล้วก็ตีปิดยึดเข้ากับขอบวงกบ  สำหรับการเข้าไปไหว้เจ้าก็ให้เปิดประตูเข้าไปได้เลยไม่เกะกะลำบากแต่อย่างไร  เมื่อไหว้เสร็จแล้ว ก็ออกมาพร้อมทั้งปิดประตูไว้เหมือนเดิมแสงก็จะไม่สามารถเข้าไปได้ ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องแสงที่จะเข้าไปในห้องนก ลดแสงไปได้มากกว่าเดิม  พร้อมแก้ไขปัญหาเก่าได้หมดทุกเรื่อง แถมสภาพแวดล้อมภายในห้องนกก็จะดีขึ้นตามไปด้วย  สะดวกทั้งคนทั้งนก ดีด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย Win-Win

                                                                                  Vuthmail-Thailand

23/2/53

การเจาะช่องเล็กๆ แต่สร้างปัญหาใหญ่

จากแบบบ้านเดิมของคุณหนุ่มที่อยากให้ปรับปรุงเพราะว่านกมาอยู่น้อย ทั้งๆที่ในพื้นที่จันทน์บุรีมีนกมาก  ตามรูปที่อยุ่ด้านล่างนี้ ซึ่งการเจาะช่องให้นกเข้าในไป Nesting Room หรือห้องทำรัง ตามแบบเดิมนั้นเจาะไว้ผิด ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ว่าการเจาะช่องนกเข้าจะต้องคำนึงถึงเรื่องระยะและเส้นทางการบินของนกแอ่น  ซึ่งแบบเดิมนั้นเจาะเอาไว้ชิดผนังด้านทิศตะวันตกมากจนเกินไปเป็นซึ่งเป็นจุดบอดเล็กๆ แต่ทำให้นกบินนกเข้ามาอยู่น้อย นกใหม่มีอัตราการเพิ่มช้า หรือมีนกใหม่บินเข้ามาสำรวจน้อย


 สาเหตุของเรื่องนี้ก็คือ การเจาะช่องไว้ผิด เนื่องจากนกใหม่ที่จะบินเข้ามาสำรวจ เมื่อบินเข้ามาในบ้านนกแล้วจะเกิดความวิตก เพราะว่าอุปนิสัยของนกแอ่นนั้นการบินสำรวจในครั้งแรกๆนั้นนกแอ่นจะบินเข้ามาแค่ตื้นๆ สั้นๆ แล้วรีบบินออกไป และบินกลับเข้ามาใหม่ บินเข้าๆออกๆในลักษณะบินหยั่งเชิงดูก่อน เมื่อบินเข้าๆ ออกๆ ช่วงต้นของการหยั่งเชิงไม่มีปัญหา นกก็จะเริ่มบินสำรวจเข้าไปไกลขึ้นๆๆ หรือหากว่านกสามารถมองเห็นทาง มองเห็นช่องให้บินเข้าไปได้ นกก็จะเริ่มบินเข้าผ่านช่องแล้วในตัวบ้าน จนในที่สุดก็จะเข้าไปในห้องทำรัง Nesting Room

แต่เนื่องจากว่า ช่องนกเข้าหรือ Inter Hole แบบเดิมนั้นอยู่ลึก และชิดกับผนังทิศตะวันตกมากเกินไป นกแอ่นหรือนกอะไรก็ตามที่เข้ามาสำรวจ จะมีอาการตื่นวิตกว่าจะบินเข้าไปแล้วกลับออกมาได้หรือปล่าว เพราะว่าบินเข้าไปแล้วไม่เห็นช่อง Inter Hole ที่อยู่ลึกเข้าไปด้านในมากและชิดกับผนังมากเกินไป (มุมผนังอาจจะบังช่องนกเข้า) จึงทำให้นกแอ่นไม่รู้ว่ามีช่องนกเข้าอยุ่ด้านใน  เมื่อนกแอ่นบินเข้ามาแล้วเกิดความกังวลขึ้นในขณะสำรวจ สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆๆ ก็คือจะมีนกบางส่วนที่ บินเข้าไปแล้วรีบบินกลับมาออกมาเลย เพราะไม่รู้ว่ามีช่อง Inter Hole อยู่ด้านใน เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ดีสำหรับเจ้าของบ้านนก และตัวนกเอง เพราะเสียประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

อาจจะยังมีนกอีกบางส่วนที่กล้าบินเข้าไปข้างในลึกๆ จนกระทั่งสุดผนังทิศตะวันตก แล้วจึงพบว่ามีช่อง Inter Hole อยู่  แต่ว่าทิศทางมุมบินที่นกใช้บินเข้ามานั้นไม่ได้เผื่อมุมสำหรับการเลี้ยวเข้าช่องอย่างกระทันหัน กระชันชิดไว้ จึงทำให้เป็นนกปรับการบินได้ยาก ไม่สะดวกในการเข้าออกของนก และมีความเป็นไปได้ว่านกเข้าสำรวจแล้ว จะตัดสินใจที่จะไม่ยอมอยู่ เพราะมุมการบินทำได้ยากลำบากและยังมีโอกาสที่นกจะได้รับบาดเจ็บจากการเลี้ยวไม่ทัน เลี้ยวกระทันหัน และหากว่าบังเอิญอุณหภูมิ ความชื้น ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่นกชื่นชอบ ก็ทำให้นกเลิกสนใจที่จะมาอยู่ก็ยิ่งมีโอกาสสูงขึ้น

แนวทางการแก้ไข ในแบบของผมที่ลงทุนน้อย แก้ไขน้อย ทำได้รวดเร็วและได้ผล มีอยู่ 2 แบบคือ

 1.- การปรับ แก้เฉพาะช่อง Inter Hole ที่ชิดผนังตะวันตกอย่างเดียวก็เพียงพอ โดยการเลื่อนช่อง Inter Hole ให้ห่างจากผนังทิศตะวันตกออกมาสัก 50-70 cm  เพราะจุดนี้เป็นจุดบอดที่สำคัญที่สุด หากว่าแก้ไขเรื่องระยะช่อง Inter Hole นี้ได้ก็จะมีนกบินเข้ามาสำรวจมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะได้นกเพิ่มโดยไม่ยุ่งยากอะไร  โดยให้ปรับปรุงตามแบบ A



แต่ว่าแบบที่แก้ไข แบบ A นี้   ผมยังรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะว่าเจ้าของบ้านนกยังได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด  จึงนำไปสู่การแก้ไขเป็น แบบ B ซึ่งจะได้ประโยชน์เต็มที่มากกว่า ได้ประโยชน์สูงสุด เพราะว่าเราจะได้พื้นที่ในห้องทำรัง เพิ่มขึ้นอีก 2 x 3 เมตร การแก้ไขตามแบบ B นี้เป็นการไขแบบครบวงจรในครั้งเดียวซึ่งได้ทั้งการแก้ไขเรื่องเจาะช่องแบบเดิมที่ทำไว้ผิด และได้พื้นที่ในห้อง Nesting  Room เพิ่มขึ้นด้วย เรามาดูรูปการแก้ไขในแบบ B ที่ว่านี้กัน





จากรูปทำให้เห็นได้ชัดว่าจะได้พื้นที่ ขนาด 2 x 3 เมตรเพิ่มขึ้นมา  แต่ว่าก็อาจจะมีคำถามแย้งขึ้นมาว่าหากเจาะช่องแบบนี้แสงจะไม่เข้าหรือ ผมว่าเข้าครับ แต่ว่าแสงนี้จะมีผลเฉพาะช่วงต้นๆๆของห้อง แต่ภายในห้องส่วนท้ายๆ ส่วนลึกของห้องแสงจะใกล้เคียงกับแบบเดิมมาก เพราะว่าเราได้ลดขนาดช่อง Inter Hole ให้เป็นขนาดที่เล็กกว่าของเดิม (เจาะจากพื้นสูงขึ้นไปถึงเพดาน) ช่อง Inter Hole ที่นกเข้าเล็กกว่าแบบเดิม และผมได้ย้ายตำแหน่งข่องนกเข้าออกใหม่ ให้ห่างออกไปจากตำแหน่งเดิม 150 cm เพื่อแก้ปัญหาเรื่องแสงโดยตรง ประกอบช่องนกเข้าของคุณหนุ่มอยู่ทางทิศเหนือ จึงได้รับแสงค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นข้อดี และทำให้ผมกล้าตัดสินใจเจาะช่องตามแบบ B

หากว่าเราจะทำให้ Sure มากขึ้นเราสามารถทาสีดำ แบบด้าน ซึ่งจะไม่สะท้อนแสงที่ผนังไม้อัด การทาสีดำด้านนี้จะช่วยลดแสงได้อีกพอประมาณ (สีทำใช้ให้เลือกแบบ Odourless) สีที่ไม่มีกลิ่น ขอย้ำว่าเป็นสีที่ไม่มีกลิ่นนะครับ ให้ทาที่ไม้อัดก่อนที่จะเข้าไปติดตั้ง เพื่อลดการรบกวนนกให้น้อยที่สุด เมื่อติดตั้งแล้วให้ทาทับ หรือซ่อมสีส่วนที่หายอีกเพียงเล็กน้อยก็ใช้ได้แล้ว  ซึ่งจะรบกวนนกน้อยมากครับ พร้อมทำได้รวดเร็วกว่าการติดตั้งเสร็จแล้วค่อยไปทาสีภายหลัง

เรามาวิเคราะห์แบบที่คุณหนุ่มอยากจะปรับปรุงแก้ไข โดยเพิ่มพื้นที่ Roving Area ก่อนเข้าห้องNesting Room จากขนาดเดิม 2 x 6 เมตรให้เป็น 4 x 6 เมตร ซึ่งจะเสียพื้นที่ไปมากถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่บ้านทั้งหมด ซึ่งมีเพียงชั้นบนแค่ชั้นเดียว ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะว่าบ้านนกชั้นเดียว เป็นบ้านที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จึงต้องรักษาพื้นที่และต้องสร้างให้มีพื้นที่มากที่สุด และให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด สอดคล้องกับข้อเท็จจริงกับพื้นที่อาคาร



ส่วนเรื่อง Roving Room หรือ Roving Area ซึ่งผมเรียกไม่ถูกว่าอันไหนเป็นอันไหน แต่ที่แน่ๆ หากว่าใช้แบบการปรับปรุงตามรูปที่อยู่ด้านบนนี้ Space ภายในห้องซึ่งเป็น Roving Room จะหายไปมาก มีพื้นที่ให้นกปรับทิศ ปรับมุมการบิน หรือมีพื้นที่ให้ลูกนกฝึกบินได้น้อย และเป็นการบังคับทิศทางการบินของนกมาก หากว่าเทียบกับแบบเดิมตามรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นที่มาและเหตุผลทั้งหมด หรือต้นแบบในการปรับปรุง ซึ่งปรับปรุงออกมาเป็นแบบ A และปรับให้ได้ประโยชน์มากขึ้นตามแบบ B



                                                                          Double Check is Alway Better

                                                                          Vuthmail-Thailand     23.02.53

18/2/53

การสร้างบ้านนกโดยการนำเอาสภาพแวดล้อมรอบตัวมาใช้

การสร้างบ้านนกโดยการนำเอาสภาพแวดล้อมรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
มีเพื่อนต่างประเทศบางคน ได้เข้ามาขอดูแล้วก็เกิดชอบแนวความคิดนี้ก็ได้นำไปสร้างตาม ซึ่งเป็นการดึงเอาศักยภาพของสิ่งแวดล้อมที่เรามีอยู่ในพื้นที่ออกมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้ และบางส่วนเราจำเป็นจะต้องทำเสริมเพิ่มเติม เช่นการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำรอง และได้ร่มเงาเพิ่มขึ้นด้วย

อันนี้เป็นแนวความคิดที่ได้วางกันไว้ตั้งแต่ต้น ก่อนที่ผมกับน้องชายจะเริ่มสร้างกันบ้านนก และก็ช่วยเรื่องของแมลงสาบ งู หรือสัตว์ที่ไม่เป็นมิตรกับนกแอ่นได้มากพอสมควรครับ แต่ก็มีบ้างบางส่วนที่สัตว์ที่ไม่เป็นมิตรกับนกแอ่นเข้าไปอยู่ในบ้านนก แต่มีจำนวนไม่มาก การจัดการกับสัตว์พวกนี้ก็ทำได้ง่ายขึ้น และสะดวกกว่า ส่วนเรื่องอุณหภูมิ ความชื้นก็ได้ประโยชน์จากแนวความคิดนี้เช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าเพื่อนๆต่างชาตินำไปใช้กับบ้านนกของเค้า และก็มีเพื่อนๆคนไทยไปเห็นบ้านนกของเพื่อนต่างๆชาติแล้ว ก็ชอบอกชอบใจเช่นกัน ซึ่งก็ไม่มีอะไรผิดครับ แต่ว่าผมภูมิใจที่เป็นคนแรกๆๆ ที่ได้เริ่มนำวิธีการนี้มาใช้ โดยได้ร่วมคิดกับน้องชายกันอยู่หลายรอบๆ คิดกันทุกแง่ ทุกมุม คิดกันอย่างละเอียด ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ และวิธีการสร้างบ้านนกในบ่อน้ำนี้อาจจะเป็นวิธีการที่แพร่หลาย เป็นที่นิยมใช้ในอนาคตก็เป็นไปได้นะครับ (ทายไว้ล่วงหน้า เอาไว้ก่อนเลยครับ)






                                                                                                       We done it...for pioneer
                                                                                                        -- Vuthmail Thailand --

13/2/53

สำหรับคุณหนุ่มจันทน์ ที่สอบถามมา

สำหรับข้อข้องใจของคุณหนุ่มจันทน์ เรื่องเสียงหากว่าเปิดใช้เครื่อง Blade Humidifier รุ่นที่ผมใช้
และได้ดัดแปลงเป็นรุ่น 3 ใบพัด จากการทดสอบโดยใช้เครื่องวัดเสียงโดยวิ่งตัวเปล่า และมีระยะวัดห่างจากตัวเครื่องในระยะต่างๆๆ คือ
- ระยะ 30 cm ค่าความดังประมาณ 71-72 Db
- ระยะ 50 cm ค่าความดังประมาณ 63-64 Db
- ระยะ 100 cm ค่าความดังประมาณ 63-64 Db

ซึ่งเป็นระยะการวัดที่เป็นมาตราฐานตามหลักการวัดเสียงที่ถูกต้องอันเป็นที่ยอมรับในหมู่วิศวกรทาง Pollution




ดังนั้นเราสรุปได้ว่าเสียงจากเครื่องจะดังขึ้นมากกว่าเดิม หรือมีอิทธิพลมากขึ้นเมื่ออยู่ในระยะที่ต่ำกว่า 50 cmโดยรอบเสียงที่เครื่องวิ่งตัวเปล่าหากว่าจะให้ผมเทียบก็จะราวๆ เสียงพัดลมตั้งโต๊ะ 12 นิ้ว ทำงานพร้อมกัน 1-2 ตัวเท่านั้น
ซึ่งผมถือว่าเงียบมากๆๆ

แต่พลาดมากๆๆเลยเพราะว่าไม่ได้ทดลองวัดเสียงก่อนที่จะเปิดเครื่อง กับไม่ได้ทดลองการทำงานจริงในถาดน้ำ
เพราะว่าผมลืมเอาถาดใส่น้ำไปด้วย ก็เลยไม่ได้ทดสอบ แต่จากที่เคยทดสอบก่อนหน้านั้นในที่โล่งชั้นล่างของอาคารมีน้ำในถาดทำงานจริงเหมือนในบ้านนก ค่าที่วัดได้จริงๆ ราวๆ 71-72 Db ครับ ซึ่งเสียที่ดังขึ้นมาก็อีกเพียงแค่ 8 Dbs เท่านั้นเอง ค่าที่เพิ่มมานี้ก็เกิดจากเสียงที่น้ำวิ่งไปกระทบกับครีบ Stainless ที่ทำให้น้ำแตกตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ

ผมทำการทดลองให้คุณหนุ่นจันทน์เห็นแล้วนะครับ คงได้อะไรมากขึ้นกว่าเดิมไม่มากก็น้อยนะครับ

ตรุษจีน 13.02.53
Vuthmail-Thailand

11/2/53

ฉลอง Blog ครบ 10,000 pages

      วันนี้ผมแอบนั่งภูมิใจอยู่คนเดียว ด้วยสิ่งที่ผมได้เริ่มต้นทำกำลังโดอย่างรวดเร็ว ซึ่งผมเองก็ไม่เคยคิดมากก่อนว่า Blog ที่ผมเขียนอยู่นี้จะสามารถกระโดดมาอยู่ 10,000 pages ได้ในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น ราว 2 เดือนเล็กน้อย ซึ่งผมก็ต้องขอบคุณเพื่อนที่ติดตามอ่านเนื้อหา ความรู้ต่างๆที่ผมได้เผยแพร่ออกไป ล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ตรงมากกว่าที่จะเป็นการกล่าวหรืออ้างอิงจากหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นประสบการณ์จริงที่ผ่านการแก้ปัญหาเรื่องต่างๆมาค่อนข้างมาก ผมยอมรัครับว่าผมเหนื่อยเอาเรื่องเลย กว่าที่จะเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ แต่ก็ยังมีอะไรที่ต้องให้เรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เกือบตลอดเวลา

ผมจึงนำเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาทำเป็น Blog ที่เน้นการปฎิบัติจริงบ้างครั้งก็อาจจะไม่เหมือนกับตำรา ทำนอกตำราบ้าง ทำแล้วได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้างก็เก็บเป็นประสบการณ์ แต่อันที่ได้ผลก็นำมาบอกมาเล่าสู่กันบ้างเป็นวิทยาทาน ซึ่งผมต้องขอขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามอ่าน และต้องขอขอบพระคุณในน้ำใจของท่านทั้ง 2 นี้ อันได้แก่

คุณ เทพชัย อริยะพันธุ์ แห่ง  http://swiftletlover.blogspot.com/ 
ลุงอ้วน แห่ง http://siamswiftlet.blogspot.com/  ขอโทษท่านด้วยที่ไม่ทราบชื่อจริงท่าน

ที่แสดงน้ำใจให้กับผม โดยการทำ Link ถาวรเพื่อเข้าสู่ Blog ของผม ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้แม้ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยได้พบแต่ว่าท่านทั้ง 2 คนก็เป็นคนที่ควรแก่การกล่าวขอบพระคุณยิ่ง

และผมต้องขอบคุณพระคุณ พี่สมบัติที่เป็นผู้ที่ชักชวน และทำให้ผมได้เข้ามาอยู่ในวงการบ้านนก รวมทั้งน้องชายผม ที่คอยให้กำลังใจ ทุกครั้งที่ผมทำผิดพลาด แล้วบรรดาญาติพี่น้องของผมทุกคนที่คอยเป็นห่วงเป็นใยมาโดยตลอด

ที่สุดของที่สุดต้องขอบบิดานาย เสริมศักดิ์ สุรินทร์รัฐ ผู้วายชนม์ ผู้สอนให้ผมรู้จักการสู้ การไม่ยอมแพ้ การไม่เอาเปรียบ สอนให้ผมเป็นคนที่รู้จักคำว่าคุณธรรมอันเป็นของผู้ประเสริฐแล้ว และคุณแม่สำอางค์ แซ่ปึง ผู้ให้กำเนิด ทำให้ผมเป็นตัวของผมอย่างทุกวันนี้ครับ ผู้ที่ตีผมมากที่สุด เพราะว่าผมเป็นเด็กดื้อ แต่ว่าก็ทำให้ผมได้มีโอกาสมาเขียน Blog เผยแพร่ความรู้ให้กับเพื่อนๆได้ติดตามอยู่กันนี้

วันนี้ผมลองร่างแบบบ้านนก ขนาดพิมพ์นิยม ขนาด 2 ห้องจำนวน 3 ชั้น เป็นเชิงว่าแบบมาตราฐานให้สามารถใช้งานได้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลาในการเขียนมากน้อยขนาดไหนเหมือนกัน เป็นงานที่ต้องใช้เวลาคิดกันนานเอาเรื่องต้องดูเงื่อนไขต่างๆๆ เพราะว่าผมไม่คุ้นกับขนาด 2 ห้องจำนวน 3 ชั้นเท่าไหร่ แต่ว่าจะลองทำดู แต่ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมือไหร่นะ ต้องดูว่าผมเองจะมีเวลาเขียนมากน้อยขนาดไหนเหมือนกัน

เอาเป็นว่า ใครอยากได้แบบบ้านนกสำหรับสร้างใหม่ ลงชื่อกันไว้ก่อนนะ ที่ช่องแสดงความคิดเห็น และรบกวนบอกชื่อ แล้วก็ Email Address ด้วยนะครับ  
                                                                               Vuthmail-Thailand

9/2/53

ทำไมผนัง A และ B ต้องเจาะช่องทั้งซ้ายขวาครับ

สวัสดีครับ คุณวัยวุฒิ สำหรับคำถามที่ว่า

ทำไมผนัง A-B จึงต้องเจาะช่องทั้งซ้ายขวาครับ เจาะซ้ายผนังนึงกับขวาผนังนึงน่าจะกันแสงได้ดีกว่า

  เป็นสูตรลับเฉพาะของผมเอง  การเจาะช่อง Inter Hole ต้องเจาะแบบตรงกลางแบบเท่านั้น เพราะหากว่าไม่เจาะตรงกลางนกจะไม่กระจายตัวออกไปรอบด้าน มีโอกาสที่นกจะไม่อยู่หรืออยู่แต่ว่าประชากรนกจะไม่โตหรือไม่ขยายตัว เพราะว่านกจะบินได้ลำบากมาก นกจะไม่ต้องบินเปลี่ยนทิศทางบ่อย จากซ้ายไปขวา โดยเฉพาะตอนบินออกจากบ้านนก แล้วบินผ่านที่บังแดด นกจะต้องยกตัวสูงแล้วพุ่งออกตัว การมีที่บังแดดจะเป็นอุปสรรค์กับนกตอนที่ออกหากิน หรือบินกลับเข้าบ้าน นกจะไม่ชอบที่บังแดดเพราะว่านกเข้า-ออกยาก เกะกะนกมาก เชื่อผมซิ ผมมีประสบการณ์ ผมทำบ้านนกมากต่อมากแล้วครับ

หากว่าคำพูดเหล่านี้เป็นของช่างที่ทำบ้านนกให้กับเพื่อนๆ โดยพูดบอกกับเพื่อนๆ หรือ พูดกับเจ้าของบ้านนกที่ไม่มีประสบการณ์ได้ฟัง ตามตัวอย่างข้างต้น หากว่าท่านเป็นเจ้าของบ้านนกมือใหม่ เพื่อนๆคิดว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรหลังจากได้ยินคำพูดประเภท   " สูตรลับ  สูตรเด็ด " 

       ผมคิดว่า.... 70%-80% คงต้องโอนอ่อนผ่อนตามนายช่างผู้ให้คำแนะนำแน่นอน........
คือเจาะช่องตรงกลางอย่างเดียว แล้วเพื่อนๆก็อาจจะต้องตกที่นั่งลำบากคือไม่ได้ผลลัทธ์ตามที่ต้องการ
 
เรามาเริ่มต้นกัน ตั้งใจอ่าน ตั้งใจฟัง ผมจะอธิบายแยกเป็นที่ละผนังให้เลย

  สำหรับผนัง A 
ผมจะอธิบายตามหลักการของผมเองนะครับ เนื่องจากแบบเดิม ช่องนกบินเข้าออกนั้นตรงกลางและตรงกับช่อง Inter Hole (ช่องผ่านเพื่อเข้าไปยังอีกห้องหนึ่ง) ทำให้แสงแดดที่เข้ม สามารถส่องทะลุลงมาได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงใกล้เที่ยงแดดทั้งแรงทั้งเข้ม แสงแดดที่มีความเข้มสูงก็สามารถสะท้อนได้ดีและยังมีบ่อน้ำอีก จะเป็นตัวช่วยสะท้อนแสงแดด เหมือนกัน 2 แรงแข็งขัน แต่ว่าเมื่อเราปิดช่องนกออกด้วยไม้กระดานตามแบบที่ผมได้นำเสนอไปนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือแสงแดดจะอ่อนกำลังในทันที ตามหลักวิทยาศาตร์ของเรื่องแสงเงา

ผมว่าแสงแดดจะถูกลดประสิทธิภาพได้มากกว่า 60% แน่นอน  แต่ถามว่าแสงยังเข้าได้หรือไม่  ต้องตอบว่าแสงยังเข้าได้แน่นอน แต่เป็นลักษณะของแสงที่ได้จากการสะท้อนโดยส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นแสงเฉียงที่สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ แต่สำหรับแสงตรงผมว่าคงยาก เพราะว่าแสงไม่สามารถผ่านวัสดุทึบเช่นไม้หรือปูนได้
 
ดังนั้นภายในห้อง Zone 1 แสงที่เข้าก็จะน้อยลง เมื่อแสงต้นทางน้อยลง แสงปลายทางหรือแสงที่สะท้อนเข้าไปใน Zone 2 และ 3 ก็จะลดไปตามส่วนแบบทวีคูณ คือมืดมากกว่าเดิมขึ้นมาก  ดังนั้นช่องที่เจาะเป็น 2 ช่องซ้ายขวาในขนาดที่เล็กลง ก็เพราะเป็นการเจาะเพื่อหลบแสงที่ลงมาจากช่องเข้าออกซึ่งอยู่ตรงกลาง แต่เราเบี่ยงออกซ้ายและขวา เพื่อหลบให้ห่างออกไปทำให้อิทธิผลของแสงที่ส่องลงมา ก็จะเข้าไปได้น้อยลงไปอีกประมาณถึง 50%-60%
 
  สรุปที่ผนัง A เรื่องของแสงรวมๆแล้วคงลดได้มากกว่า 85%-90% คิดว่าเพื่อนๆคงหายสงสัยแล้วนะครับ  
 
  สำหรับผนัง B 
ผมมีคำอธิบายง่ายๆ สั้นๆ ก็คือเมื่อนกบินผ่านผนัง A แล้วต้องการไป Zone 3 นกก็แค่บินตรงๆเข้าไปได้เลย สะดวกไม่จำเป็นต้องหักเลี้ยวกันอีกที หากว่าต้องเลี้ยวกันบ่อยๆ รู้สึกว่าค่อนข้างจะลำบากับนกที่บินเข้าๆ ออกๆหน่อยเมื่อต้องการจะเข้าไปด้านในสุดของตัวตึก ทุกครั้งที่ต้องการจะเข้าก็ต้องเลี้ยว จะออกก็ต้องเลี้ยว เมื่อเทียบกับบินตรงๆธรรมดาๆเข้าไปเลย หรือบินตรงออกมาเลย ผมว่าจะบินได้สะดวกกว่ามาก
 
อีกเหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องของการถ่ายเทความชื้นหรือแลกเปลี่ยนความชื้นระหว่าง Zone-2 กับ Zone-3 หากว่าาผนังหนึ่งเจาะด้านซ้าย อีกผนังผนังเจาะด้านขวา ผลก็คือจะไม่ทำให้เกิดการถ่ายเทความชื้นจึงทำให้ Zone 2 มีความชื้นมากเกินไปแต่ในขณะที่ Zone 3 จะน้อยเกินไป การเจาะช่องซ้าย-ขวานั้นที่ผนัง B นี้ให้สังเกตุว่า เป็นการเจาะช่องให้มีขนาดใหญ่กว่าช่องที่ผนัง A เพื่อเป็นสร้าง Balance ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความชื้นระหว่าง Zone 2-3 ให้มีค่าใกล้เคียงกันนั้นเอง
 
จริงๆแล้วอย่างที่ผมบอกนะครับไว้ในบทความก่อนๆ ว่าผมไม่อยากจะอธิบาย เพราะรู้ว่าจะต้องพิมพ์อธิบายกันยืดยาวอย่างที่เห็น แต่เป็นเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับเพื่อนๆ จะมีคนได้รับประโยขน์ ได้ความรู้เพิ่มอีกหลายคน พร้อมทั้งเป็นการช่วยเพื่อนๆที่ทำบ้านนกแล้วหรือเพือนๆที่กำลังจะสร้างบ้านนกได้มีความรู้และไม่ตกเป็นเบี้ยล่างของผู้รับเหมาที่สร้างบ้านนกที่ชอบบอกให้เราๆท่านๆกังวล หากว่าไม่ทำตามคำแนะนำที่เค้าบอก แล้วจะทำให้นกไม่เข้าอยู่ นั้นเป็นเพราะท่านฟังจากคำพูดของเค้าเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้อิงหลักเหตุผลพื้นฐานที่ธรรมดาๆ ซึ่งเหตุผลพื้นฐานมักจะถูกมองข้ามไปเสมอๆ เหมือนเส้นผมบังภูเขา แล้วท่านก็จะไปหลงไปเชื่อในคำโกหก คำโตๆเข้าให้โดยไม่รู้ตัว

ข้อความข้างต้นเป็นเพียงเหตุผลแค่ข้อเดียวเท่านั้นเอง
 
        เพื่อนคิดว่าการเจาะผนัง A และ B เป็น 2 ช่องซ้าย-ขวา ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกหรือไม่
 
ผมขอบอกเลยครับว่ายังมีอีกเหตุผลหนึ่งซ่อนอยู่ หากว่าท่านไปพิจารณาเรื่องเส้นทางการบินของนก  ท่านจะเข้าใจได้เลยในทันที และสนับสนุน ยืนยันเหตุผลว่าจะต้องเจาะเป็น 2 ช่อง ซ้าย-ขวาตามแบบที่ผมให้ไป แต่ผมไม่จะอธิบายแล้วนะครับท่านต้องไปทำการบ้านกันเอง แล้วเพื่อนๆจะเข้าใจทันทีว่ามีเหตุผลอย่างน้อยที่สุด 2 ข้อที่สนับสนุนการเจาะช่อง ซ้าย-ขวา ที่ผมแนะนำไป

                                                                                       09.02.53
                                                                                Vuthmail-Thailand

8/2/53

การเลือกทำเล และการวางตำแหน่งตัวอาคาร

จดหมายของน้องอั้มฉับบที่ 1

สวัสดีปีใหม่ครับ

สวัสดีครับ พี่วุฒิ ผมชื่ออั้มครับ พี่จำได้ไหมเอ่ย ตอนนี้ผมเรียนปีสาม ม.เกษตร ผมอยากสร้างบ้านนกสักหลังที่ จ.ตราดแต่ผมไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี บริเวณที่ผมจะสร้าห่างจากเส้นทางที่นกบินกลับรังประมาณ 150 -200 เมตร ห่างจากบ้านนกในตราดประมาณ 1-2 กม. ผมคิดว่าจะสร้างสักสองห้อง แบบอาคารพานิชย์ซักสามชั้น แต่รายละเอียดภายในตัวอาคารผมลงรายละเอียดไม่ถูกเลยครับไม่รู้ว่าต้องจัดบันไดไว้ส่วนไหนและภายในนอกจากระบบทำความชื้นแล้วยังต้องมีน้ำตกด้วยหรือปล่าว พี่ครับค่าใช้จ่ายคร่าวๆสักประมาณเท่าไรครับพี่ว่า

ผมต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ ผมนึกไรไม่ออกเลย เพราะผมก็ไม่เคยเข้าไปดูบ้านของใคร ได้แต่ขับรถผ่านเท่านั้นเอง       ด้วยความเคารพ อั้ม



--------------------------------------------------
จดหมายของน้องอั้มฉับบที่ 2

พี่พอมีรูปตัวอย่างบ้านบ้างไหมครับ จะเลือกเอาเขียนแบบขออนุญาต

-บ้านนกหลังแรกนี้่อยากสร้างแค่พอดีๆไม่ใหญ่โตไรมากนัก เพราะเรายังไม่มีประสบการณ์ใดเลย คงใช้งบประมาณที่ 2 ล้านบาทครับ ที่ดินเป็นของที่บ้านเราเองและอยู่ในเส้นทางบินกลับของนก(ตอนออกไม่รู้เพราะตื่นไม่ทัน) คงทุ่นค่าใช้จ่ายเรื่องที่ดินไป และด้วยพื้นที่จังหวัดตราดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีอุณหภูมิที่ไม่สูง ใกล้ทะเล น่าจะใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิอากาศช่วยได้บ้าง

-แบบบ้านนก ด้วยที่เราไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน ไม่รู้ว่าจะออกแบบส่วนต่างๆของบ้านได้อย่างไร ทั้งส่วนของ roving,nesting area คงอาจใช้ที่ได้ร่างไว้เป็นแนวทาง ผมเลยอยากให้พี่ช่วยดูองค์ประกอบของแบบบ้านหลังนั้นว่าหากเป็นตัวพี่เอง  พี่จะเพิ่มเติมหรือแก้ไขส่วนใดบ้าง
หากเป็นการรบกวนต้องขออภัยด้วย เพราะเราเป็นมือใหม่จริงๆ

ผมรออ่านกระทู้ใหม่ของพี่อยู่เรื่อยๆน่ะครับ
ขอบคุณมากครับพี่

----------------------------------------------
จดหมายของน้องอั้มฉับบที่ 3

-พอดีผมเพิ่งได้ข้อมูลสภาพอากาศบางส่วนมา อุณหภูมิเฉลี่ยไม่เกิน 30 แต่อุณหภูมิสูงสุดเกินไปนิดหน่อย จากข้อมูลนี้ จำเป็นไหมต้องกั้นกำแพง2 ชั้น

-จากความคิดของผมผมว่าชั้นเดียวก็พอ ถ้าสองชั้นอุณหภูมิไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร  พี่คิดว่าไงดีครับ

----------------------------------------------

ผมดูข้อมูลเบื้องต้นให้แล้วนะครับน้อง อั้ม ไปได้สบายๆเลย
หากว่าไม่ต้องการทำผนัง 2 ชั้นก็จะต้องมีตัวป้องกันแสงแดดผนังชึ้นเดียว
โดยใช้แผ่นเรียบทำเป็นตัวบังแดด หรือจะใช้เกล็ดกระเบี้องก็ได้ครับ

แต่ผนัง 2 ชั้นจะดีที่สุด ในระยะยาวไม่ยุ่งยาก หรืออย่างน้อยก็ให้ทำผนัง 2 ชั้นด้านตะวันตก หรือ
ตกเฉียงใต้ก็ได้ ด้านที่มีพื้นที่รับแดดมากที่สุดจำเป็นต้องทำผนัง 2 ชั้น ส่วนที่เหลือก็ผนังชั้นเดียวก็พอได้

ความชื้นไม่น่าห่วงเท่าไหร่แล้วครับอย่างนี้ไปได้สวยเลย ความชื้นเดือน 12 กับเดือน 1 ต่ำไปเล็กน้อยแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ ไม่น่าเป็นปัญหาอะไรครับ ควรทำบ่อน้ำรอบตึกเพิ่มเติมก็เพียงพอแล้ว

อุณหภูมิก็ไม่มีปัญหาเท่าไหร่ครับ หากว่าสร้างได้ถูกต้องแล้ว Block แดดได้ดี อุณหภูมิก็จะลดลงมาได้เองครับ

หากว่าจำเป็นจะต้องใช้เครื่องทำหมอกช่วย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้มากตัวครับ แค่เปิดช่วยลดอุณหภูมิช่วงกลางวัน ตอนแดดแรงๆๆ เท่านี้ก็น่าเพียงพอครับแล้ว

2 ข้อหลักสอบผ่านหมดนะครับ ทั้งอุณหภูมิและความชื้น

ปัจจัยส่วนที่เหลือก็คือการทำเลหรือตำแหน่งที่จะสร้างตึกในที่ดินเราเองเท่านั้นเองครับ ต้องหาตำแหน่งให้ดีๆครับ  ต้องเรียกว่าเลือกทำเลที่นกสามารถแวะมาเล่นได้ง่ายที่สุด บ่อยที่สุดและต้องไม่ห่างจากเส้นทางการบินประจำๆ  หากว่าอยู่บนเส้นทางการบินก็ยิ่งดีถือว่าวิเศษเลย

ดูๆไปแล้วโอกาสจะประสบความสำเร็จมีสูงมากนะครับ

หากว่าจะให้ดีช่วยถ่ายรูป LandScape มาให้ดูด้วยจะยิ่งดี หรือระบุตำแหน่งของ GPS ได้จะเยี่ยมมาก ผมจะได้ช่วยดูทำเลให้ได้ครับ  แต่ว่าต้องอธิบายมาให้ละเอียดมากๆๆๆๆๆนะครับ

หรือว่าหากลงมีโอกาสก็มาเจอกัน มาคุยหารายละเอียดเพิ่มเติมจะไม่พลาด

                                                      Vuthmail-Thailand

--------------------------------------

ผมวางตำแหน่งบ้านนกโดยคร่าวให้น้องอั้มแล้วนะครับ ตำแหน่งที่วางนี้ ให้ตัวอาคารยาวขนานไปกับถนนซอย ดูตามแบบ A

- โดยเอาด้านกว้าง 2 ห้องของตึกชี้ไปที่ ถนน Main และแม่น้ำที่ห่างไปทางออกเฉียงเหนือ 2 กิโล
ได้กำหนดทิศของอาคารและช่องนกเข้าด้วยลูกศรสีแดง

- ส่วนด้านความยาวตึกให้วางขนานไปกับถนนซอยนะครับ โดยมีปล่องอีกด้านหันหน้าไปป่าโล่ง
ได้กำหนดทิศของอาคารและช่องนกเข้าด้วยลูกศรสีเขียว

โดยให้ดูลักษณะของที่ดินว่าจะอำนวยหรือไม่ หากความยาวของตัวตึกลงกันได้กับลักษณะของที่ดินได้ก็จะดีมากครับ

การวางตำแหน่งตัวอาคาร เป็นอะไรที่ค่อนข้างเป็นเรื่องมีข้อจำกัดมาก หากวางได้ตามเงื่อนไขก็จะเป็นการดีมาก แต่หากว่าวางตำแหน่งไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจอะไรมากมายนัก เพราะสาระสำคัญอยู่ที่การป้องกันเสียมากกว่า ทำอย่างไรถึงจะลดความร้อนจากแดดได้ พร้อมทั้งรักษาอุณหภูมิความชื้นในตึก และนำเอาสภาพอากาศมหภาคมาใช้ให้ได้ตามที่ต้องการ นั่นแหละเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

หากว่าตัวตึกไม่สามารถลงกับพื้นที่ของลักษณะที่ดินได้ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ แต่อยากให้ปล่องนกมี 2 ช่อง หันไปตามลูกศรสีแดงและสีเขียว แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่วางแนวไว้ให้นี้ต้องขึ้นอยู่กับน้องอั้ม และต้องดูความเหมาะสมเอาเองครับ แต่ว่าผมก็ได้เพิ่มเติมแบบ B ไว้ให้เป็นทางเลือก และคิดว่าลักษณะของที่ดิน จะบีบต้องทำให้มาใช้ในแบบ B เสียมากกว่า ซึ่งก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน แตกต่างกันไม่มาก แบบ A ก็ได้ แบบ B ก็ดีนะ เอาให้เหมาะกับลักษณะที่เราชอบ
                                                                                  
                                                                                   Vuthmail-Thailand




ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ-3

อย่างที่ได้เกริ่นไว้อาทิตย์ก่อนนะครับ ว่าจะไปทำบุญถวายสังฆทานกับพระภิกษุสงฆ์

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา 07.02.53  ผมได้ไปทำบุญถวายชุดสังฆทาน แบบประเภทจัดเองนะครับ
เลือกแต่ของดี ของใหม่ที่ไม่ได้จัดเป็นถังๆๆ อย่างที่เป็นเกิดเป็นเรื่องเป็นราวกัน เพราะมีกลิ่น แฟ๊บ หรือของหมดอายุ  ซึ่งหากว่าใช้อย่างที่เป็นถังๆๆ ผมกลัวบุญจะได้ไม่ครบ ไม่เต็ม ก็เลยจัดของใหม่
เลือกซื้อของใหม่ทั้งหมด แล้วนำไปถวายที่วัดพันท้าย จำนวน 2 ชุด

ก็อยากจะบอกให้เพื่อนๆที่ซื้อรังเทียมของผมไปได้ร่วมอนุโมทนาด้วยนะครับ ทั้งคุณวิชัย  คุณเอก  คุณปิติ และคุณ Krichst อยากให้ร่วมอนุโทนาเป็นพิเศษ  ส่วนเพื่อนๆที่ติดตามอ่าน Blog ก็ร่วมอนุโทนาได้เหมือนเดิมนะครับ

                                                                                Vuthmail-Thailand

7/2/53

แนวทางการแก้ไขบ้านนกคุณมือใหม่นะครับ

แบบบ้านที่เห็นอยู่นี้ ผมต้องร่างขึ้นมาจากข้อมูลที่คุณมือใหม่ให้มานะครับ  จะผิดจะถูก ก็คงไม่แตกต่าง
จากที่แบบเห็นสักเท่าไหร่นะครับ เพราะว่าเราไม่มีรูปถ่ายของจริง ผมจึงจำเป็นต้อง Sketch แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และได้แก้ไขไปหลายครั้ง ก็ออกมาอย่างที่เห็นที่ได้ปรากฎอยู่ต่อหน้าเพื่อนๆๆนี้ 

   ผมไม่ขออธิบายอะไรมากนักนะครับ   เพราะว่าเหนื่อยมากกับการ Sketch และแก้แบบ    

   อีกอย่างเพื่อจะได้เป็นการลับสมอง ฝึกทักษะในการมองปัญหา และกำหนดแนวทางการแก้ไข     

   1- รูปแรกเป็นแบบบ้านนกเดิมๆ ของคุณมือใหม่นะครับ ซึ่งความชื้นไม่ค่อยได้นะครับ
   2- รูปที่สอง จะเป็นแนวทางการแก้ไข ที่ได้กำหนดขึ้นตามข้อมูลเท่าที่คุณมือใหม่ให้มา ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วน  ซึ่งยังไม่ค่อยจะสมบรูณ์แต่ก็เพียงพอที่จะวางแนวทางการแก้ไขให้ได้ดีพอประมาณแล้ว



 แบบบ้านที่กำหนดแนวทางการแก้ไข ให้กับคุณมือใหม่



อย่างที่ผมบอกนะครับ ผมจะไม่อธิบายอะไรเพิ่มเติม แต่อยากให้เพื่อนๆ สมมุติว่าเป็นตัวท่านที่กำลังเผชิญกับปัญหาอยู่ แล้วจะแก้ไขออกมาเป็นอย่างไร ดูซิว่าจะเหมือนผมหรือไม่ เป็นเพราะอะไร ลองตั้งสมมุติฐาน แล้ววางแนวทางที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาดูนะครับ

อีกอย่างคุณมือใหม่ต้อง Stand By เพื่อตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับรายละเอียดบ้านเดิมด้วยนะครับ เพราะผมคิดว่าจะต้องมีคนเข้ามาถามอีกหลายๆคน ซึ่งเป็นคนที่มีปัญหาแบบเดียวกับคุณมือใหม่ และคนที่ต้องการสับสมอง ฝึกการแก้ปัญหา  ส่วนผมได้ทำหน้าที่นำเสนอไว้ค่อนข้างสมบรูณ์แล้ว อาจจะขาดไปบ้าง
ซึ่งผมก็รู้ว่าขาดตรงไหน แต่เพื่อนๆจะรู้หรือไม่ และจะต้องการเพิ่มเติมอะไรลงไปอีกบ้าง

ลองๆๆ นำเสนอกันไว้ที่ Comment เผื่อเพื่อนๆอีกหลายคนจะได้ช่วยกันคิด แล้วตกผลึกทางความคิด
และได้แนวทางที่ดีกว่าของผม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆๆเลยครับ หากว่าเป็นเช่นนั้น ผมจะดีใจมากๆๆๆๆๆๆๆ

                                                                                                   07.02.53
                                                                                           Vuthmail-Thailand

6/2/53

ปัญหาของบ้านนกที่อยู่ชั้นบนและมีเพียงชั้นเดียว

เรียนคุณ Vuthmail

เรื่องที่คุณได้ตั้งข้อสังเกตุนั้นถูกต้องครับ บ้านนกที่สร้างนั้นดัดแปลงมาจากตัวตึกซึ่งด้านล่างยังอาศัยหลับนอนอยู่ทำด้านบนชั้นเดียว ลักษณะที่ออกแบบนั้น เจาะทางเข้านกทางด้านบนหลังตา จากนั้น จะมีช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆให้นกบินเข้าอีก ซึ่งขนาดนั้น 60*90 ซม.
ส่วนเรื่องตัวระบายอากาศนั้นไม่ได้ใช้ท่อ PVC แต่ใช้อิฐช่องลมแทน 50 ก้อน ขนาด ความกว้างยาวของบ้าน 4.5*15 ม.
ส่วนข้อแนะนำ 1.3 ทำอยู่ (ซึ่งก็มีคนแนะนำให้เปลี่ยนใบพัดเล็กแทน
ส่วนข้อ 1.4 เคยลองทำมาแล้วกรองแสงดีมืดทันตาเห็น แต่เป็นอุปสรรคกับนก นกบินชนกล่องทางเข้าอีกอย่าง นกจะบินวนอยู่แต่ด้านนอกไม่เข้ามาในตัวบ้านเลย พอเอากล่องออกนกยังบินเข้า บินออก
ส่วนข้อที่ให้ลดช่องรูระบายอากาศยังไม่ได้ลอง

-----------------------------
รายการที่ตอบกลับโดยผม
-----------------------------

ผมขออนุญาติ นำไปลงใน Blog ได้หรือปล่าวครับ

จริงๆผมอยากจะได้เห็นภาพรวม และ ภายในที่เจาะช่อง เพื่อที่จะสามารถแก้ไขให้ได้มากกว่านี้ครับ ไม่รู้แดดส่องเข้าไปห้องได้มากน้อยขนาดไหนเหมือนกัน และตำแหน่งที่วางตัว Blade Humidifier อยู่ตำแหน่งไหนของห้องครับ

ต้องขอโทษด้วยจริงๆๆนะครับ ด้วยข้อจำกัดที่มีรายละเอียดน้อยเกินไป ผมให้แนวทางแก้ไขได้ไม่มากนัก

แต่หากว่ามีรายละเอียดครบถ้วน เช่น แผนผังการก่อสร้าง ขนาดรูปแบบ-ทิศทางของตึก การเจาะตำแหน่งช่องเข้าออก การวางตำแหน่งอิฐบล็อคช่องลม ประวัติอุณหภูมิ ความชื้นที่ได้ ล้วนแล้วต่อมีผลตั้งนั้นครับ หากว่าผมได้รายละเอียดที่มาก ผมจะสามารถให้คำตอบได้ดีกว่า ตรงจุดมากกว่านี้ครับ หากว่าอยู่ไม่ไกลและคิดว่าไม่รังเกียจก็มารับผมไปดูให้ก็ได้ครับ

อีกอย่างผมขอนำเอาการตอบครั้งนี้ลงในลงใน Blog ด้วยนะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ หากว่าคุณมือใหม่อนุญาติ

เรื่องของกล่องครอบช่องบินเข้าออก หากว่าเรา Design ดีก็ไม่เป็นอุปสรรคบ้างแต่ไม่มากจนเกินไป นกแอ่นเป็นนกที่บินได้เก่งมาก เรื่องนี้ไม่น่าวิตก ส่วนที่นกบินอยู่ข้างนอกไม่ยอมเข้า อาจจะเป็นเพราะกล่องเดิม Design ไว้ไม่ดีเท่าไหร่ครับ หากว่ามีรูปกล่องเก่า ถ่ายรูปส่งมาให้ผมดูก่อนก็ได้ครับ แล้วการติดตั้งแบบเดิมทำไว้อย่างไร วาดรูปมาให้ดูก็ได้ครับ หากว่าไม่มีรูปถ่าย

---------------------------------
ตอบกลับ โดยคุณมือใหม่
---------------------------------

เรื่องที่เอาไปลงบล็อคไม่มีปัญหาครับไม่ว่ากัน ถือว่าคนต่อๆไปจะได้รับรู้และเห็นว่าเป็นประโยชน์เผื่อคนที่ต้องการหาข้อมูลนั้นมีปัญหาเหมือนๆผมครับ

ส่วนเรื่องรูปนั้นคงเอาลงไม่ได้ครับเพราะผมไม่รู้จะถ่ายรูปยังไงมันมืดไปหมดแล้วและอีกอย่างตอนช่วงกำลังสร้างนั้นผมก็ไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้ซะด้วย ถ้าหากว่าผมขอพูดรายเอียดของตำแหน่งแทนจะได้มั๊ยครับ

เรื่องของแสงนั้นก็ถือว่าเป็นปัญหาเลยครับเพราะว่าทำชั้นเดียวชั้นบนสุด ลักษณะทางเข้าเจาะหลังคาด้านบนโดยเอากระเบื้องหลังคาออกสองแผ่น จากนั้นก็อิฐปิดช่องตรงหน้าต่างให้ได้ขนขาดสี่เหลี่ยมอีกทีนึง ซึ่งมีขนาด 60*90 ซม.เป็นทางเข้าไปในตัวบ้าน ตัวบ้านจะแบ่งออกเป็นสามโซนคือ ด้านหน้าสุดสร้างเป็นสระน้ำ 4.5*4.5 ม. โซนสอง(ขนาด 4.5*4.5ม) นั้นค่อนข้างจะมีแสงเข้าเยอะเพราะรับแสงจากหลังคาแล้วผ่านช่องนก แต่ว่าเคยสร้างกล่องครอบแล้ว ขนาดตอนนั้นจำไม่ได้แล้วว่าขนาดเท่าไหร่ เพราะแอบขึ้นไปดูนกบินด้านหน้าแล้วแปลกใจว่าทำไมมันไม่ยอมเข้ามา จึงรู้ว่ามันบินชนกล่องด้วยจึงได้แก้ไขเอากล่องออกทันที ทำให้นกบินเข้าไปข้างในมากขึ้นสงสัยมันคงจะง่ายกว่า ดังนั้นตอนนี้โซนที่สองที่นกอยู่รับแดดเต็มๆ ซึ่งมีแสงส่องทั้งช่วงเช้า-เย็น ขึ้นไปไม่เปิดไฟก็มองเห็นชัด
ส่วนโซนสามนั้นดีหน่อยมืด และมีเครื่องทำความชื้นตั้งอยู่เกือบตรงกลางห้อง (โซนสามขนาด 4.5*9 ม.) จากนั้นใช้พัดลลมเป่าอีกทีนึง ส่วนช่องระบายอากาศนั้น จะอยู่เน้นช่วง โซนหนึ่งและโซนสาม โซนสาม ทำรูระบายอากาศ ซ้าย 2 จุด ขวา 2 จุด /แนวยาว จุดนึงใช้อิฐบล็อคช่องลม จุดละ 4 ก้อน ส่วนแนวขวางนั้น 1 จุด ใช้อิฐช่องลม 6 ก้อน

โซนที่สามนี่ความสูงก็ไม่สูงมากนัก 3 ม. หลังคาเป็นแบบสโลฟลงมา ต่ำสุดก็ 2 ม.

มือใหม่

-----------------------------
Vuthmail Thailand Wrote
-----------------------------

ผมต้องขอโทษคุณมือใหม่ด้วนครับที่อธิบายไม่ละเอียดเพียงพอ ในส่วนที่ผมจะขอนำลง Blog ก็คือส่วนที่เป็นข้อความที่พูดคุยกันทาง Blog ซึ่งคุณมือใหม่ก็มึความคิดเหมือนผมก็คือว่านำไปเผยแพร่ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆคนอื่นๆครับ

ส่วนหากว่าคุณมือใหม่ส่งรูปมา ส่วนนี้ถือเป็นความลับที่ผมไม่ควรนำออกเผยแพร่ ซึ่งถือว่าส่วนนี้เป็นมารยาทที่ดี
และผมสมควรที่จะต้องขออนุญาติให้เป็นเรื่องเป็นราวเสียก่อนครับ คิดผมอาจจะเขียนไว้ไม่ละเอียดพอครับ หรือรีบพิมพ์มากเกินไป จึงทำให้มีความเข้าใจผิดได้ และหวังใจว่าคุณมือใหม่คงเข้าใจแล้วนะครับ

จากคำพูดที่บรรยายภาพมา ผมได้ทำการ Sketch แบบขึ้นมาให้ดูแล้วนะครับ ไม่ทราบจะใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงขนาดไหน แต่ต้องทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิจารณานะครับ

หากว่ายังพอมีรูปที่ทำให้ผมสามารถเข้าใจภาพรวมก็มากกว่าเดิม โดยเฉพาะเรื่องของปล่องที่ใช้ครอบช่องบินเข้าออก ซึ่งผมคาดว่า Design ไว้ผิดพลาด จึงอยากได้นำมาศึกษาหาทางแก้ให้นะครับ อีกอย่างผมก็ยังนึกภาพนกชนปล่องไม่ออก หากว่ารูป Sketch ที่ส่งไปมีความคลาดเคลื่อนรบกวนแก้ไข หรือบรรยายมาเพิ่มเติมได้นะครับ

Vuthmail-Thailand

--------------------------
คุณมือใหม่ ตอบเพิ่มเติม
--------------------------
ต้องขอโทษคุณ Vuthmail-Thailand ด้วยครับ ที่อธิบายไม่ละเอียดพอ อีกอย่างผมไม่มีทักษะด้านการสเก็ตซ์ภาพสักเท่าไหร่

ขออธิบายเพิ่มน่ะครับ เนื่องจากมีสามโซนดังนั้นช่องงบินจึงมีสามช่อง ซึ่ง โซนแรกนั้นช่องทางนกเข้าอยู่บนหลังคาซึ่งเอาแผ่นหลังคาออก 2 แผ่น (ตรงกลาง) จากนั้น ทางเชื่อมผนังระหว่างโซน1และ2 นั้นมีช่องทางเข้านกอีก ขนาด 60-90 ซม. (อยู่ตรงกลาง) ส่วนผนังระหว่างโซน2และ3 ขนาด 60*90 ซม ซึ่งอยู่ด้านขวามือสุด ความสูงตำแหน่งนั้นตรง1.20 เมตร

หลังคา โซน1 และ 2 นั้นแนวตรง แต่โซน3 สโลฟ

ช่องลม โซนสามนั้นแนวยาวคุณถูกแล้วครับ แต่แนวขวางนั้น จุดช่องลม 8 ก้อนนั้นมี 1 จุดอยู่ตรงกลาง
โซนสองไม่มี
โซนแรกแนวขวางมีช่องลม12 อยู่ตรงกลาง
ด้านซ้าย และขวา 4 ก้อน ตำแหน่งตรงกลาง ผนัง โซน1 เลย

หวังว่าข้อมูลนั้นคงจะครบถ้วนน่ะครับ

มือใหม่

5/2/53

ปัญหาเรื่องความชื้น ของคุณมือใหม่

เรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณมือใหม่ ที่มีปัญหาเรื่องการทำความชื้นไม่ถึงเกณฑ์

"" เรียนถามคนในบล็อคทำไงดีความชื้นไม่ถึงเกณฑ์ ใช้เครื่องก็แล้ว มีอ่างก็แล้วแต่ความชื้นไม่ถึง ""

คุณมือใหม่ครับ เรื่องที่คำความชื้นไม่ถึง ผมว่าปัญหาน่าจะมาจากบ้านนกของคุณมือใหม่เป็นระบบเปิดที่มากจนเกินไป  ซึ่งส่วนมากปัญหานี้จะเกิดขึ้นจากการนำเอาตึกแถวมาทำเป็นบ้านนก โดยอาจจะมีการเจาะช่องระบายอากาศไว้มากจนเกินไป หรือว่าออกแบบช่องนกบินเข้า-ออกใหญ่เกินไป หรืออาจจะเป็นบ้านนกแบบชั้นเดียวก็ได้ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องเหล่านี้มากครับ


แนวทางการแก้ไข สามารถทำได้ดังต่อไปนี้นะครับ

1.1-หากว่าเปิดช่องหรือเจาะช่องระบายอากาศมากจนเกินไป ก็ให้ปิดไปบางส่วน หรือแล้วก็ลดขนาดของช่องเข้าออกให้เล็กลด

1.2-หากว่าไม่ต้องการลดช่องเข้าออก ก็ให้ปิดช่องระบายอากาศไว้เพียง 2-3 จุดก็พอแล้ว

1.3-หากว่าเครื่องทำความชื้น Blade Humidifier (เจ้าหม้อหุงข้าว) ก็ให้เปลี่ยนมาใช้แบบพัดใหญ่แทนครับ

1.4-หากว่ามีแดดแรงส่องเข้าห้องนกได้ตัวนี้อันตรายมากครับ แนวทางแก้ไข ให้ทำกล่องครอบช่องบินเข้าออก โดยต้องทำกล่องลักษณะยาวครอบไว้ ก็พอช่วยได้บ้าง

แนวทางทั้งหมดนี้เป็นสมมุติฐานของผมเองทั้งหมดนะครับ  เพราะว่ายังไม่ได้เห็นลักษณะบ้านนกของคุณมือใหม่เลย เพียงแต่ผมตั้งสมมุติฐานและความน่าจะเป็นบ้านนกแบบชั้นบนชั้นเดียว หรือเป็นบ้านนกที่เอาตึกแบบมาทำ  ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือปล่าว แต่คาดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้

หากว่าจะให้ดีกรุณาถ่ายรูปหลายๆมุมทั้งภายในภายนอก ทิศทางของแดด  และก็ผนังด้านไหนที่รับแดด ขนาดห้อง ใช้เครื่องทำความชื้นแบบไหน แต่ชั้นใช้จำนวนกี่ตัวเอาเป็นว่าให้ผมได้ข้อมูลมากที่สุดก็แล้วกัน แบบว่าไม่ต้องถามกันไปกันมาหลายครั้งหลายรอบ เพราะว่าผมจะดูข้อมูลได้ครบถ้วนในครั้งเดียว ก็จึงพอจะช่วยหาทางแก้ไขได้มากกว่าที่เป็นอยู่ครับ  แล้วส่งข้อมูลทั้งหมดมาที่ Vuthmail@gmail.com  

หากว่าจะให้ดี รบกวนใช้ Google Earth ระบุตำแหน่งสถานที่ตั้งของตึกนกไว้ด้วย เพื่อผมจะได้พอทราบสภาพภูมิอากาศในแบบมหภาคประกอบ (Google Earth หา Download บน Internet ได้นะครับ)


  • Click เพื่อ Download GoogleEarth ภาษาไทย



  • สบายใจได้นะครับ  เพราะว่าจะไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลออกไป ผมถือเป็นเรื่องของมารยาทที่ดีครับ

                                                                                             Vuthmail-Thailand

                 

    4/2/53

    เรื่องของเสียง คุณทองดี สไปรท์

    ชื่อดีจังครับ แต่นามสกุล สไปรท์ นี้ไม่รู้ว่าจะมี Carbonade ด้วยหรือปล่าว
    โอเค สำหรับเรื่องของเสียง ผมขอพูดอย่างนี้ดีกว่านะครับ

    เสียงเปรียบเสมือนอาวุธยาวครับ  เป็นสิ่งแรกที่จะดึงนกให้เข้ามาเล่น ให้เข้ามาสำรวจบ้านนกของเรานะครับ  โดยเฉพาะในบริเวณที่มีบ้านนกมาก หากว่าเสียงนกของเราแน่ เสียงดึงดูดนกได้ดี ทำให้นกใช้เวลากับตึกของเราได้มากได้นานเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่เราจะชนะตึกนกข้างบ้านไปกว่าครึ่งแล้วครับ

    ผมขอย้อนกลับไปที่ Back to Basic หน่อยครับ เรื่องอุณหภูมิความชื้นในบ้านนกเป็นปัจจัยสำคัญ
    ดังนั้นเรื่องอุณหภูมิ-ความชื้นระดับมหภาค จะเป็นครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่มาก ดังนั้นบ้านนกที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ในละแวกเดียวกัน สภาพอากาศอุณหภูมิความชื้นก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่นัก เรียกได้ว่าเท่ากัน-เหมือนกันยังได้เลยครับ  ดังนั้นเรื่องประเด็นอุณหภูมิ ความชื้นระดับมหภาคตัดทิ้งไปได้เลย เพราะเป็นสภาพแวดล้อมเดียวกัน  ส่วนอุณหภูมิภายในบ้านนก ก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็คงไม่มากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบ้านนกแอ่นที่อยู่ในตัวเมืองด้วยแล้ว สภาพแวดล้อมจะยิ่งมีความคงที่มากและใกล้เคียงกันมาก เมื่อเทียบกับบ้านนกที่เป็น StandAlone ยืนท้าแดดท้าฝนโด่เด่อยู่หลังเดียว ไม่มีร่มเงากันแดดกันฝนให้ ดังนั้นอันนี้สภาพภายในบ้านนกจะแตกต่างไปบ้าง

    ยิ่งบริเวณที่มีบ้านนกหนาแน่นหรืออยู่ในชุมชนด้วยเรียกว่ามีตัวช่วยบังแดดบังลมให้มาก ดังนั้นสภาพอากาศมหภาคช่วยเสริมให้มากเลย ส่วนสภาพภายในกินกัน เหนือกว่ากันก็ไม่มาก เพราะสภาพอากาศแบบมหภาคเป็นตัวที่มีอิทธิพลมากที่สุด ภายในก็เป็นการ Fine Tune เพื่อให้ใกล้เคียงกับสภาพที่นกแอ่นชอบมากที่สุดเท่านั้น ซึ่งสภาพเช่นนี้เรียกได้ว่าเหนือหรือด้อยกว่า ก็ไม่มากจนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นกไม่ยอมเข้ามาอยู่

    แต่ตัวที่จะตัดสินใจก็คือเรื่องของการล่อนกแอ่นโดยการใช้เสียง หากว่าเสียงดี เป็นเสียงที่นกชอบ หรือเสียงนั้นดึงนกให้มาเล่นที่บ้านนกของเราได้นาน จึงทำให้เรามีโอกาสที่เราจะได้นกง่ายกว่าบ้านนกที่ใช้เสียงธรรมดาหรือเสียงที่ไม่มีอะไรดึงดูดนก  ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Indonesia , Malaysia เข้าใจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีเค้าถึงได้มีเสียงนกที่ดี และก็มีความพยายามที่จะค้นหาเสียงใหม่ๆ เสียงที่ดึงดูดนกได้ดีกว่าเดิม ซึ่งก็มีออกมาอยู่เป็นระยะๆ  ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเสียงล่อนกเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเลยก็ว่าได้

    เสียงที่ดีจึงเป็นเรื่องของคนที่ทำบ้านนก ขนขวายหากันมาก ผมเคยได้ยินเค้าพูดๆๆกันว่า เสียงที่ดีมีกันอยู่ในวงจำกัด มีการซื้อขายกันเป็นเงินแสนเลยก็เคยได้ยิน หย่อนลงมาหน่อยเสียงดีมีกันมากแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนเกินไปราคาก็หลักหมื่น  ส่วนรองลงไปก็หลักพัน หลักร้อย ตามเรื่องไปครับ

    หากว่าคุณ ทองดี ไม่รังเกียจส่งเสียงมาซิครับ  ผมพอที่จะทราบ พอฟังได้บ้างเหมือนกันนะครับ

    ผมกระซิบหน่อยนะครับ ผมมีแผ่นอยู่พอประมาณแต่ว่าใช้ได้ผลอยู่ไม่กี่แผ่นเองครับ แผ่นนะมีมากแต่คุณภาพก็แบบที่ธรรมดา ไม่มีลูกเล่นเลยครับ เทคนิคทางเสียงจะว่าง่าย ก็คงไม่เชิงหรอกครับ ไม่อย่างนั้น ผมไม่ยอมควักเงินหลักหมื่นเพื่อซื้อแผ่นของคุณมือทองหรอกครับ

    คิดว่าคงช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นนะครับ

                                                                                      Vuthmail-Thailand

    ข้อมูลสภาพอากาศ บ้านนกของน้องอั้ม

    ดูข้อมูลเบื้องต้นให้แล้วนะครับน้อง อั้ม ไปได้สบายๆเลย


    หากว่าไม่ต้องการทำผนัง 2 ชั้นก็จะต้องมีตัวป้องกันแสงแดดผนังชึ้นเดียว โดยใช้แผ่นเรียบทำเป็นตัวบังแดด หรือจะใช้เกล็ดกระเบี้องก็ได้ครับ

    แต่ผนัง 2 ชั้นจะดีที่สุด ในระยะยาวไม่ยุ่งยาก หรืออย่างน้อยก็ให้ทำผนัง 2 ชั้นด้านตะวันตก หรือตกเฉียงใต้ก็ได้ และด้านนี้ต้องเป็นด้านซึ่งมีพืนที่รับแดดน้อยที่สุด ส่วนที่เหลือก็ผนังชั้นเดียว แล้วใช้การ Block แดดช่วยก็พอได้ จะได้ประหยัดเงิน

    ความชื้นไม่น่าห่วงเท่าไหร่แล้วครับอย่างนี้ไปได้สวยเลย ความชื้นเดือน 12 กับเดือน 1 ต่ำไปเล็กน้อยแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ ไม่น่าเป็นปัญหาอะไรครับ ทำบ่อน้ำเพิ่มเติมรอบตึกก็เพียงพอแล้ว

    อุณหภูมิยังไม่ค่อยจะมีปัญหาเท่าไหร่ครับ หากว่าสร้างได้ถูกต้อง  แล้ว Block แดดได้ดี อุณหภูมิก็จะลดลงมาได้เองครับ หากว่าจะใช้เครื่องทำหมอกช่วยก็ไม่ต้องมากตัวครับ ช่วยลดอุณหภูมิช่วงกลางวันเท่านั้นก็น่าเพียงพอครับ

    2 หัวข้อใหญ่สอบผ่านหมดนะครับ ปัจจัยส่วนที่เหลือก็คือการทำเลหรือตำแหน่งที่จะสร้างตึกในที่ดินเราเองเท่านั้นเองครับ ต้องหาตำแหน่งให้ดีๆครับ ต้องเรียกว่าเลือกทำเลที่นกสามารถแวะมาเล่นได้ง่ายที่สุดและบ่อยที่สุด ต้องให้ใกล้เส้นทางการบินให้มากที่สุด หรือบนเส้นทางการบินก็ยิ่งถือว่าวิเศษเลย จะดูเส้นทางหรือระบุเส้นทางการบินประจำให้ได้ก็จบแล้วครับ

    โอกาสจะประสบความสำเร็จมีสูงมากนะ

    หากว่าจะให้ดีช่วยถ่ายรูป LandScape มาให้ดูด้วยจะยิ่งดี หรือระบุตำแหน่งของ GPS ได้จะเยี่ยมมาก ผมจะได้ช่วยดูทำเลให้อีกที  แต่ว่าต้องอธิบายมาให้ละเอียดมากๆๆๆๆๆนะครับ หรือว่า หากมีโอกาสแวะมาเจอกันก็ยิ่งดี มาคุยหารายละเอียดเพิ่มเติมจะได้ไม่พลาด

                                                                                           Vuthmail-Thailand

    กรณีเร่งด่วน เพราะว่านกไม่มีไม้เกาะ

    ถึงคุณหมู กรณีเร่งด่วน ผมดูรูปแล้วนะครับ Confirm ว่าเป็นนกแอ่นกินรังแน่

    ตอนนี้ที่ดูจากรูป มีงานที่จะต้องรีบ ทำเลยก็คือการทำ Wall Plank ให้นกเกาะทำรังไปพรางก่อน
    หากว่ารอช่างหรือว่าช่างมาทำแล้ว ก็ยังต้องใช้เวลาอีกนานมากครับ จึงจำเป็นที่จะต้องทำไม้ให้นกเกาะไปพรางก่อน เพราะว่านกไม่มีไม้ให้เกาะเลย ต้องรีบทำ Wall Plank ให้นกเกาะไปก่อนครับ ใช้งานไปก่อน รอจนช่างไม้มาจึงค่อยทำแบบถาวรภายหลัง




    เมื่อทำกล่องได้แล้ว ให้เจาะพลุกยึดไม้แผ่นที่ 1 ติดกับผนังให้แน่นหนาก็เพียงพอแล้วครับ

    อีกอย่างหนึ่งให้นำไปติดใกล้ๆกับบริเวณอยู่ เพื่อที่ว่าเค้าจะได้ย้ายมาทำรังที่ Wall Plank นี้ก่อน แล้วส่วนที่จะย้ายห้องนกไปไว้ที่ไหนก็ให้นำเอา Wall Plank ไปติดในบริเวณนั้นได้ก็จะยิ่งดีครับ แล้วติดลำโพงแบบง่ายๆไว้ที่ Wall Plank ด้วยแล้วก็เปิดเสียงนก  รับรองว่านกใหม่จะย้ายตามไปแน่นอน ส่วนบริเวณที่นกทำรังอยู่เดิมก็ปล่อยๆไปก่อนก็ได้

    เห็นอย่างนี้แล้วต้องบอกให้รีบหาช่างมาทำได้แล้ว และ ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

                                                                        Vuthmail-Thailand

    3/2/53

    ร่วมกันอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    วันนี้ผมได้นำเงิน 10,000 บาทไปทำบุญ

    ซึ่งผมได้ตั้งใจไว้นานพอสมควรครับ โดยนำไปเผยแพร่พระธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางสถานีวิทยุทหารอากาศ 01 มีนบุรี ทาง AM 94.5 กิโล Hertz ในรายการพุทธธรรมนำทางซึ่งจัดรายการโดยคุณ ยุภา อร่ามกุล ช่วงเวลา บ่าย 4โมงเย็นถึง 5โมงเย็น

    เดี่ยวจะมาเขียนต่อครับขอพักก่อนนะครับ

    ขอให้เพื่อนๆทุกท่านร่วมอนุโมทนาสาธุกาลด้วยนะครับ โดยเฉพาะท่านที่ซื้อรังนกเทียมวันเสาร์อาทิตย์นี้ผมจะแบ่งเงินอีกบางส่วนไปทำบุญสังฆทานเพิ่มเติมนะครับ ก็ขอเชิญร่วมอนุโมทนาในบุญทั้ง 2 ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วนี้ด้วยการกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ ซึ่งแปลว่า ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว

    ท่านที่ร่วมอนุโทนาในบุญ ย่อมเสมือนกันท่านได้ร่วมทำบุญด้วยนะครับนี้

    บุญส่วนที่ข้าพเจ้าได้ทำดีแล้วนี้ ทั้งการบริจาคทรัพย์เป็นทาน การให้ความรู้เป็นทาน บุญที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนี้-ขอมอบอุทิศให้แก่บิดา นาย เสริมศักดิ์ สุรินทร์รัฐ ผู้วายชนม์ และคุณแม่สำอางค์ แซ่ปึง ผู้ให้กำเนิด พร้อมญาติพี่น้องทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผมทุกๆท่าน ด้วยเถิด สาธุ

    03.02.53
    Vuthmail-Thailand

    1/2/53

    Pattern การติดตั้งลำโพงภายในบ้านนก

    เพื่อนๆบางคนยังอาจจะไม่รู้ หรือ คิดว่าการติดลำโพงก็คือการติดลำโพง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหลักมีเกณฑ์ การติดลำโพงก็มีหลักของเค้าอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่สักแต่ว่าติดอย่างเดียวครับ ดังนั้นวันนี้ ผมมี Pattern การติดลำโพงมาให้ดู 2 Pattern ใหญ่ก็คิดว่าคงพอเป็นแนวทางได้บ้าง

      Pattern การติดตั้งลำโพงภายในบ้านนกตอนนี้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ    

    Pattern-1 เป็นการติดตั้งลำโพง โดยให้ลำโพงทุกตัวยิงไปที่ช่องระหว่างชั้นที่นกใช้บินขึ้นลง

    Pattern-2 เป็นการติดตั้งลำโพง โดยให้ลำโพงทุกตัววิ่งไปตามแนวคาน แบบเรียงหน้ากระดาน

    การติดตั้งทั้ง 2 แบบนี้โดยปกติ ผมจะเห็นการติดตั้งในลักษณะของ Pattern-2 เป็นส่วนมากครับ
    เพราะว่าการติดตั้งทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังแบ่งแยกเป็น 2 กรณีย่อย คือ

    2.1-การติดตั้งแบบหันหน้าเข้ากันตามรูป หันหน้ายิงเข้าใส่กัน
    แบบย่อย 2.1 แบบนี้เสียงจะเกิด Echo ไปคนละทิศละทางกัน มีคนบอกว่าจะทำให้นกสับสนได้

    2.2-การติดตั้งแบบหันหน้าตรงไปทางเดียวกันหมด คล้าย Pattern-1 ไม่หันเอียงซ้ายขวา แต่หันหน้าตรงไปทิศทางเดียวกันหมด แบบกระดานเรียงแถว
    แบบย่อย 2.2 แบบนี้เสียงจะพุ่งไปด้านหน้าอย่างเดียวเลย เสียงจะเกิดการสะท้อนน้อยกว่า จึงทำให้นกไม่ค่อยสับสน



    แบบ Pattern-1 กับ Pattern 2.2 มีความคล้ายคลึงกันมากแต่ว่า Pattern-1 มีการปรับทิศทางของลำโพงให้พุ่งไปสู่จุดเดียวกันหมด ซึ่งก็คือ ช่องระหว่างชั้นที่นกต้องใช้บินชึ้นลงทุกครั้งที่จะเข้าหรือออกจากบ้าน และจะต้องใช้ผ่านทุกวี่ทุกวัน

      ตัวผมเองไม่เลือกที่จะติดแบบ Pattern 2.2 แน่นอนครับ  

    ส่วนการติดแบบ Pattern-1 กับ Pattern-2.2 คล้ายกันครับ แต่ผมเลือกใช้แบบ Pattern-1 กับบ้านนกของผมเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนเพื่อนๆเลือกแบบไหนกันบ้างเอ่ย ไม่มีอะไรผิด 100% อะไรไม่มีอะไรถูก 100% 

    แต่ผมเลือก Pattern-1 เพราะว่ามีประโยชน์มากกว่าเล็กน้อย เพื่อนๆลองไปคิดดูเพิ่มเติมเองนะครับ

    อ้อ ลืมไปผมจำได้ว่ามีการติดลำโพงใน Pattern-3 เดี่ยวจะเอารูปลงให้ดูเลยนะครับ

    เป็นการติดลำโพงแบบที่รวม 4 ตัว ยิงเสียง 4 ทิศทาง ในมุมมองส่วนตัว แบบนี้ผมก็ไม่ชอบครับ เพราะว่าทิศทางของเสียงไปคนละเรื่องคนละราวกัน แต่ว่าที่ทำไมถึงมีแบบนี้ออกมา ก็เพราะว่ามันติดได้ง่ายครับ เดินสายลำโพงมาแล้วก็เชื่อมติดกับสาย Main ทีเดียวจบเลย ไม่ต้องเดินแยกเป็นจุดๆๆ  ซึ่งแบบนี้ง่ายดี  แต่ผมว่าทิศทางเสียงจะไม่ค่อยได้


    Download รูปเก็บไว้ด้วยนะเพื่อนๆๆ โดยเฉพาะคุณ Tweeter.

    อีกอย่างเพื่อนๆ ชาวกรุงเทพนี้ไม่แสดงชื่อเสียงเรียงนามกันบ้างเลยน้อ 5555


                                                                             Nothing is 100% But Nearly

                                                                                  Vuthmail - Thailand