31/5/53

DownLoad โปรแกรมคำนวณ AirChange

เนื่องจากว่าผมจะต้องยุ่งเรื่องเอกสารต่างๆมากมาย ทุกต้นเดือนไปจนถึงวันที่ 15 ของทุกเดือน  ผมจึงไม่ค่อยมีเวลาว่าง ซึ่งจะเริ่มมีเวลาว่างก็ช่วงหลังวันที่ 15 ของทุกๆเดือน ซึ่งหากว่าผมมีเวลาว่างว่าผมเองก็ได้พยายามแบ่งเวลาไปหาความรู้ด้านต่างๆเพิ่มเติม และนำความรู้ทั้งเก่าทั้งใหม่มานำเสนอผ่าน Blog ที่เขียน เพียงเพื่อหวังใจไว้ว่าความรู้ต่างๆจะผมนำเสนอไปนี้จะเป็นประโยชน์กันคนอื่นๆ ที่ยังอาจจะยังไม่ทราบ ไม่เข้าใจเรื่องบางเรื่อง อย่างบางสิ่งบางอย่างที่ยังเป็นปริศนาอยู่ เพื่อให้มีความเข้าใจที่มากขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม

วันเวลาใกล้จะสิ้นเดือน 05/53 และเริ่มต้นเดือนใหม่ใกล้มาถึงแล้ว ซึ่งผมเองก็จะต้องเริ่มยุ่งกับเอกสารต่างๆเหมือนอย่างที่ผ่านมา ซึ่งผมเกรงว่าจะไม่มีเวลาในการส่ง Mail ให้ ดังนั้นเรื่องโปรแกรมการคำนวณ AirChange จึงขออนุญาติเพื่อนๆให้ไป Download กันตามสะดวกที่ Link นี้จะครับ

http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html

                                                                          Enjoy it
                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                         31.05.53

26/5/53

ฤดูกาลเคลื่อนเพราะว่าเป็นปี อธิกมาส

ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกหนังสือ "อากาศร้อนทีี่สุดในทศวรรษ (ค.ศ. 2000-2010) ของประเทศไทย"  หากว่าเพื่อนๆสนใจก็ Link ไปอ่านดูได้ที่

http://www.tmd.go.th/programs/uploads/weatherclimate/อากาศร้อนที่สุดในทศวรรษ.pdf

ในปี 2553 นี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไปเพราะว่าเป็นปี "อธิกมาส" ตามปฏิทินจันทรคติหรือเป็นปีที่มีเดือน 8 จำนวน 2 ครั้งทำให้ร้อนผิดปกติ และก็ยาวนานขึ้นกว่าเดิม

การสถิติที่จดของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงออกมาเป็นเส้นกร๊าฟ ผมอยากให้เพื่อนๆติดตามดูเส้นกร๊าฟสีดำ ซึ่งเป็นอุณหภุมิของปี 2553 นะครับ เส้นกร๊าฟปี 2553 นี้พุ่งชันขึ้นมาก แสดงว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่มากกว่าปกติที่ควรจะทำให้เส้นกร๊าฟมีความชันมากกว่า 2 เส้นที่เหลืออยู่ เป็นการ Confirm ว่าอุณหภูมิพุ่งขึ้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น

และหากว่าเราดูกันในเดือน 5 ของ เส้นกร๊าฟที่เหลือ ก็จะเห็นแนวโน้มว่าเส้นกร๊าฟจะทิ้งหัวลด ซึ่งอุณหภูมิจะควรที่จะเริ่มลดลงได้ในเดือน 5 และเดือนต่อๆไปยิ่งจะลดลงและชัดเจนมากขึ้น แต่ในปี 2553 ผมคาดว่าอุณหภุมิในเดือน 6 คงไม่ยังไม่ต่ำกว่า เส้นแดง(ปี 2541) สักเท่าไหร่ครับ

จากข้อมูลตรงนี้ทำให้ผมมองต่อไปอีกว่า ในเดือน 5 ถึงต้นเดือน 6 เราจะยังไม่เห็นลูกนกแอ่นรุ่นใหม่ออกมาบินกันมากๆ อย่างที่ผ่านเคยตากันมา แต่น่าจะเริ่มเห็นนกกันมากๆราวช่วงปลายเดือน 6 เสียมากกว่า เพราะว่าในเดือน 5 ทั้งเดือนนี้อุณหภูมิจะยังไม่ลดลงมาก ทำให้อากาศยังไม่เหมาะสมกับที่นกรุ่นใหม่ๆจะออกมาสักเท่าไหร่ครับ

และผมคาดการณ์ว่า ผ่านกลางเดือน 6 จึงจะเริ่มเข้าหน้าฝนอย่างจริงๆจัง และสิ้นสุดหน้าฝนราวเดือนปลายตุลาคมเลยครับ อันนี้เป็นการคาดการณ์ของผมเองนะครับ ซึ่งต้องดูกันไปว่า หมอดูจะแม่นหรือปล่าว 5555

กลางเดือน 6 เราจะเริ่มต้อนรับ หน้าฝน อันเป็นฤดูที่บางคน บางท่านไม่ค่อยชอบเท่าไหร่  แต่คนที่ทำบ้านนกอย่างผม และเพื่อนๆส่วนใหญ่ได้เฝ้ารอคอยฤดูนี้กันมาทั้งปี  ซึ่งฤดูฝนนี้เป็นฤดูที่จะมีนกมาก เป็นฤดูที่ทั้งนก ทั้งคนทำบ้านนก คักคัก สนุกสนานมากที่ ได้เฝ้าดูบ้านนกของตัวเองอย่างมีความสุข คนอื่นๆไม่รู้คิดอย่างไร แต่ว่าตั้งแต่ผมเริ่มศึกษาการทำบ้านนกมา ผมรักหน้าฝนมากที่สุดและอยากให้เป็นฤดูทั้งปีเลยครับ  5555

                                                                    Vuthmail-Thailand
                                                                                26.05.53

24/5/53

สูตรการคำนวณ Air Change ในบ้านนก

อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่า ตัวเลขการคำนวณ Air Change ภายในบ้านนกนั้น สามารถคำนวณได้ โดยมีที่มาที่ไปของตัวเลข Air Change ให้ได้ช่วงระหว่าง 3-5 ครั้งต่อชั่วโมง

วันนี้ผมตามทำสัญญาที่ให้ไว้แล้ว โดยการเขียนขึ้นมาเป็น สมการให้เลยครับ หากว่าเพื่อนๆที่สนใจ ทิ้ง Email ไว้ให้ผมหน่อยนะครับ ผมจะส่งสมการที่เขียนขึ้นมานี้ไปให้เลย เนื่องจากว่าจริงๆแล้วผมเขียนโปรแกรมนี้ด้วย คำสั่ง Lotus 123 ที่ Run บน Windows ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนคงใช้ไม่ค่อยเป็น ก็เลยได้แปลงสมการนี้เป็น Excel ไว้ให้ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง สอบทานผลการคำนวณหลายครั้งแล้ว ใช้ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร

หากว่าต้องการคำนวณหาค่า Air Change เพื่อนๆจะต้องใส่ค่าประสิทธิภาพ หรือปริมาตรอากาศที่ดูดออกจากพัดลมรุ่นที่ใช้ว่ามีค่าเท่าไหร่ เมื่อใส่ค่าลงไปแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณหาค่า Air Change ให้ออกมาเอง

ในกรณีกลับกันหากว่าต้องการหาจำนวนพัดลมที่ต้องการจะติดตั้ง เราก็จำเป็นจะต้องทำประมาณการณ์ขึ้นมาว่าจะเอาค่า Air Change ที่เท่าไหร่เสียก่อน แล้วก็แล้วก็ใส่ค่าประสิทธิภาพของพัดลมที่สอบถามตัวเลขจากบริษัทที่ผลิต เมื่อทราบตัวเลขแล้วก็แทนค่าเข้าไป แล้วโปรแกรมก็จะทำการคำนวณย้อนกลับไปหา ตัวเลขของจำนวนพัดลมที่จะต้องติดตั้งออกมาให้ว่าจะต้องใช้พัดลมจำนวนตัวโดยอัตโนมัติ

สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องทราบก่อน หรือต้องมีตัวเลขในมือก่อนก็คือ เรื่องปริมาณอากาศที่ถูกดูดออกไป สำหรับพัดลมดูดอากาศในแต่ละรุ่น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก  ซึ่งเราสามารถโทรไปขอจากบริษัทที่ผลิตพัดลมดูดอากาศนั้นๆได้

โดยสอบถามว่าพัดลมรุ่นนั้นๆสามารถดูดอากาศออกได้ กี่ CFM ( กี่คิวบิกฟุตต่อนาที) หรือว่า กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง CMH  ซึ่งตัวเลขการดูดอากาศนี้ขอให้รู้ตัวเลขเพียงตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งก็ใช้ได้แล้วครับ  เพราะว่าผมได้เขียนสูตรไว้รองรับให้ทั้ง 2 กรณีแล้ว ซึ่งจะเป็นการสะดวกมาก หากว่ามีเพียงสมการเดียวจะให้ต้องยุ่งยากในการแปลงหน่วยกลับไปกลับมา และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การแทนค่าก็ใช้แค่เพียงค่าใดค่าหนึ่งที่ได้มาก็เพียงพอครับ แต่สิ่งที่จำเป็นมากก็คือจะต้องรู้ค่า กี่คิวบิกฟุตต่อนาที กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง จากบริษัทผู้ผลิตพัดลมซึ่งเป็น Key สำคัญในการคำนวณ

อย่างเช่นพัดลมดูดอากาศของ MITSUBISHI รุ่น EX-30RH รุ่นที่ผมใช้อยู่สามารถดูดอากาศออกได้ 1,300 คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง  เราก็เอาตัวเลข 1,300 แทนค่าลงไปในช่อง CMH (ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) ได้เลยครับ  หรือเป็นรุ่นอื่นที่เป็นพัดลมใบใหญ่กว่า ใช้มอเตอร์ที่แรงๆ ก็ทำให้ใช้น้อยตัวลงไปอีกหน่อย และราคาก็ไม่ได้สูงกว่าสักเท่าไหร่ ผมจึงอยากแนะนำให้รุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมมากกว่า ตัวอย่างเช่น รุ่นที่ผมใช้อยู่คือ EX-30RH ซื้อมาเครื่องละ 1,100 บาท แต่ว่ารุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมของยี่ห้อ จำไม่ได้แต่จะมาบอกให้ทราบตอนไปบ้านนกราคา 1,550 บาท แพงกว่าเล็กน้อยแต่ประสิทธิภาพดีกว่า 3-4 เท่า คุ้มค่ามาก

ตัวเลข Air change และ สูตรการคำนวณนี้ หลายคนอาจจะไม่ค่อยทราบว่ามีประโยชน์ แต่จริงแล้วมีประโยชน์มาก ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหลายประการ รู้ไว้ไม่เสียหายครับ แต่กลับจะเป็นประโยชน์มาก หากว่าสามารถนำไปใช้งานในเชิงประยุกต์ได้ เช่น การเพิ่มระบบการไหลเวียนอากาศ  การลดอุณหภูมิ และใช้ในการควบคุมความชื้น  หากว่าสนใจ Email มาหาผมนะครับ

ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลสำคัญเหล่านี้จาก บริษัท Pine Trading จำกัด เป็นอย่างมากที่ให้ข้อมูลวิธีการในการคำนวณ จนผมสามารถนำมาสร้างสมการอย่างที่เห็นอยู่ในโปรแกรม

หากว่าเพื่อนๆที่สนใจโปรแกรมนี้ผมขอรบกวนเพื่อนๆเข้าไป Download ตามสะดวกได้ที่
http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html

หากว่าดูใน Clip ไม่ชัดเจน รบกวนดูแบบ Full Screen จะดูได้ชัดขึ้นอีกพอประมาณครับ




                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                         24.05.53
                                                         

20/5/53

การลดความร้อนใน Nesting Room ด้วยการเพิ่มการระบายอากาศ

การลดความร้อนใน Nesting Room ด้วยการเพิ่มการระบายอากาศ
อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนนะครับว่า อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา

หลักในการเพิ่มการระบายอากาศนั้นทำได้หลายวิธี เช่นการเจาะหรือว่าใส่ท่อ PVC เพิ่มเข้าไป หรือการติดพัดลมดูอากาศเป่าเข้าไปในห้อง Nesting Room การเจาะใส่ท่อ PVC ดูจะทำได้ยากที่สุด ยุ่งยากมาก มีฝุ่นมีเสียง รบกวนนกมากเพราะว่าจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องนกเป็นเวลานาน ทำงานก็ยากเพราะว่ามืด ต้องเปิดไฟภายในห้อง ผมคิดว่าหลายคนคงคิดเหมือนกันว่าคงไม่อยากจะใช้วิธีการนี้แน่ๆๆ

วิธีต่อมาทำได้โดยการติดพัดลมดูดอากาศ สามารถทำได้ทั้งเป่าเข้า และดูดออก บางท่านใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อเร่งการระบายอากาศ ซึ่งก็มีหลักอยู่เช่นกันครับ คือการติดพัดลมดูดอากาศโดยใช้ระบบ ดูดออกนั้นควรที่จะติดพัดลมดูดอากาศในที่ค่อนข้างสูง ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า คุณสมบัติของอากาศร้อนนั้นจะลอยขึ้นสูงนั่นเอง   จึงเป็นการถูกต้องโดยหลักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องติดพัดลมดูดออกในตำแหน่งที่สูงเพราะว่าจะได้ดูดเอาอากาศร้อนที่ลอยขึ้นสูงออกไปก่อน ดูดออกให้มาก เพื่อเป็นการเร่งไล่อากาศร้อนให้ออกไป ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ หรือความร้อนอั้นอยู่ในห้องนกแล้วหาทางออกไม่ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้การลดความอบอ้าวในห้องนกได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนการเป่าอากาศเย็นเข้าไปในห้องนกนั้น เป็นการเพิ่มปริมาณอากาศใหม่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าภายใน Nesting Room เข้าไปในห้องเพื่อช่วยไล่ความร้อน ลดความร้อนสะสม หรือเป็นการเจือจางความร้อนให้ร้อนน้อยลง หากว่าทำเช่นนี้แล้วการลดอุณหภูมิจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  การติดพัดลมเพื่อเป่าอากาศเย็นเข้าไปใน Nesting Room นั้นให้ติดในที่ค่อนข้างต่ำ เพราะว่าอากาศเย็นจะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศร้อน   ซึ่งเรื่องอย่างนี้เพื่อนๆหลายคนคิดได้เหมือนกัน ไม่ได้เป็นอะไรที่ซับซ้อน แต่ว่าหลายคนอาจจะลืมนึกถึงเรื่องประสิทธิภาพของระบบนี้ ว่ามีปัจจัยอื่นแฝงอยู่

ประสิทธิภาพของการไล่อากาศร้อน เติมอากาศเย็นนั้น ประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของการเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าทั้งหมดใน Nesting Room ออกไป หรือที่เรียกกันโดยภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการพลศาสตร์ จะเรียกกันว่า Air Change

Air Change จะมีความสำคัญมากครับ ยิ่ง Air Change มีมากก็เหมือนกับว่าเรามีจำนวนรอบที่จะหอบเอาอากาศร้อนออกไปจาก Nesting Room ได้บ่อยครั้งมากกว่า Air Change ที่น้อยๆ ซึ่ง Air Change นี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความเร็วหรือประสิทธิภาพในการลดความร้อนที่เร็วขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน Air Change ก็จะเป็นตัวหอบเอาความชื้นออกจากห้อง Nesting Room ไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องการสูญเสียความชื้นไปกับ Air Change ด้วยเช่นกัน

แล้ว Air Change เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ผมเคยสอบถามเรื่องนี้กับ Kenny ที่เป็น Consultant อยู่ที่มาเลย์เซีย เค้าบอกกับผมไว้ว่า Air Change ควรจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง นั้นหมายถึงว่า 1 ชั่วโมงเราจะสามารถหอบเอาความร้อนออกไปได้ 3-5 ครั้งหรือ 3-5 รอบ ซึ่ง Kenny บอกว่าหากมากกว่านี้จะทำให้ควบคุมความชื้นได้ยาก ดังนั้นเราก็มา Focus กันที่ 3 ครั้งซึ่งกำลังพอดี นั่นหมายความว่าภายใน 20 นาทีเราจะต้องถ่ายอากาศเก่าภายในตึกออกให้หมด เพื่อให้อากาศใหม่เข้ามาแทนที่ เพื่อที่อากาศใหม่ที่เย็นจะดูดซับความร้อนไว้ และเราก็ดูดอากาศที่เพิ่งเข้ามาออกทิ้งไปใน 20 นาทีต่อมา ทำอย่างนี้ได้ 3 รอบๆละ 20 นาทีก็จะครบ 1 ชั่วโมง หรือเรียกกันว่าเรามี Air Chnage เท่ากับ 3 ครั้งต่อชั่วโมง

หากว่าบ้านร้อนมากก็สามารถรปรับ ขยับ Air Change ขึ้นไปเป็นที่ 4 หรือ 5 ครั้งต่อชั่วโมงก็ได้ครับ

หากว่าท่านสนใจที่จะติดตามอ่านคำตอบของ Kenny สามารถเข้าไปอ่านได้ที่   http://finance.groups.yahoo.com/group/swiftlets/message/145

ผมต้องขอขอบพระคุณ Mr.Kenny Sim Che King ที่อุตส่าห์ตอบคำถามของผมด้วยความเต็มใจ และเป็นคำตอบมีประโยชน์มาก โดยส่วนตัวผมชอบ Kenny มากครับ เก่ง เปิดเผย ใจกว้างมากครับ สำหรับ Mr.Kenny คนนี้

ที่ผมกำหนด Air Change ไว้ที่ 3 รอบเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ตามวัตถุประสงค์แต่ละรอบของ Air Change ตาม Style ของผม จะให้มองง่ายขึ้น มองเป็นรอบๆ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ ก็แล้วกันครับ

1.-รอบแรกดูดเอาความร้อนเก่า ความร้อนเดิมที่อยู่ใน Nesting Room ออกทิ้งไปให้หมด 
2.-รอบที่สองก็เป็นการดูดเอาความร้อนที่ผนังออกไปอีก ซึ่งก็ทำให้ผนังด้านในมีความร้อนสะสมน้อยลงมาก
3.-รอบที่สามเป็นการดูดเอาอากาศใหม่ที่ไม่ร้อน หรืออากาศเย็นเข้ามาเก็บไว้ เพื่อทำให้อุณหภูมิใน Nesting Room เย็นลง

อย่างที่บอกครับให้คิดง่ายๆ คิดเป็นขั้นๆทั้ง 3 ขั้นตอนอย่างนี้ก็จะพอเข้าใจได้ จำได้แม่น
แต่ในข้อเท็จจริงแล้วขบวนการที่ดูดอากาศร้อนเก่าออกไป การนำความร้อนที่ผนังด้านในออกไป และการเติมอากาศเย็นใน Nesting Room ทั้ง 3 ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ไม่เกิดเป็นขั้นๆ แต่ที่ให้บอกไปเป็น 1 2 3 ก็เพื่อจะได้จำได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเองครับ

ส่วนตัวเลข 3 รอบนั้นมาได้อย่างไร  แล้วจะคำนวณกันได้อย่างไร ซึ่งตัวเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปครับ สามารถคำนวณได้เป็นตัวเลขออกมาได้จริงๆ หากว่าอดใจรอได้ ผมก็จะขอกล่าวถึงในบทความต่อไป หากว่าเพื่อนๆใจร้อนอดใจรอไม่ได้ ก็สามารถค้นหาความรู้จาก Internet เองไปพลางๆก่อนก็ได้นะครับ

                                                                      Vuthmail-Thailand
                                                                             20.05.53

13/5/53

ท่านทราบหรือไม่ว่าทำไมหน้าร้อนปี 2553 จึงร้อนจัด

เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว พุทธองค์ได้ค้นพบ สัจธรรมแห่งชีวิตด้วยการตรัสรู้ และก่อตั้งศาสนาใหม่ที่ เน้นคำสอนและการปฏิบัติตนในแนวทางที่เห็นจริง อย่างมีสาระ โดยไม่ต้องลุ่มหลงงมงายอยู่กับโชคลาภ และดวงชะตาราศี ในครั้งนั้นพุทธบัญญัติข้อหนึ่งที่มอบให้กับเหล่าพระสงฆ์ก็คือ

“การเข้าพรรษา” ให้เริ่มต้นในวันถัดจาก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับต้นฤดูฝน  ซึ่งเป็นเงื่อนไข 2 ข้อผูกมัด สัมพันธ์กันอยู่ เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3
เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษา ทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่ กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการ เหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปี แรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ  เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน เป็นเหตุให้  วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชย   ระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ”


เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน โดยประมาณ 3 ปีก็จะเท่ากับมีความแตกต่างกันอยู่ 33 วัน (ก็ประมาณ 1 เดือนกับอีก 2หรือ 3 วัน) ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน ดังนั้นทุกๆ 3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน จากจำนวนวันที่ต่างกันอยู่ 33 วัน ดังนั้นจึงได้เพิ่มที่เดือน 8 ให้มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไป  เริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง   การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ

ปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษาเป็นจุดกำหนด (เพื่อย้อนขึ้นไปหาวันเข้าพรรษา) หากวันออกพรรษาปีใดร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนด ให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส” ปีอธิกมาสนี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไป ร้อนนานขึ้น ฝนมาช้ากว่าปกติ ตามคำที่โบราณท่านบอกท่านสอนไว้ นี่แหละครับภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ใช้ปฎิทินตามจันทรคติซึ่งใช้การเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงหน้าร้อน แตกต่างกับปีปฎิทินสากสของชาวยุโรป

สิ่งที่กระทบกับฤดูกาล ก็ย่อมกระทบกับอุณหภูมิใน ความชื้นในบ้านนก เมื่อครบรอบขึ้นปีที่ 4 ปี ทำให้รอบฤดูเคลื่อนไป 1 เดือนโดยประมาณ จึงทำให้หน้าร้อนยาวนานกว่าปกติ และ สาเหตุที่ยาวนานกว่าปกติ ความชื้นในอากาศหายไปมาก อากาศจึงร้อนมากกกก ร้อนจัดก็ว่าได้เลย คราวนี้เพื่อนๆคงทราบสาเหตุที่ทำให้ปี 2553 ร้อนจัดมากๆ ตังนั้นปี 2554 จึงไม่น่าจะร้อนตามที่เคยคาดคิดเอาไว้นะครับ

ปีอธิกมาสปี 2553 นี้ ให้ดูวันที่ในปฏิทินจะเริ่มต้น ในวันที่ 12.07.53 นี้และดูวันข้างขึ้นข้างแรม ที่เขียนกำกับอยู่ จะเขียนไว้ว่า ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8-8 ซึ่งเป็นเดือน 8 ส่วนหลังหรือเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และจะไปจบในวันที่ 10.08.53 จึงจบเดือน 8 ส่วนหลัง ส่วนวันที่ 11.07.53 จึงจะเปลี่ยนเป็น ขึ้น 1 ค่ำเดือน 9
แต่ปี 2557 จะเป็นปี "อธิกมาส" ร้อนจัดกันอีกทีครับ ก็จะครบรอบ 4 ปี แล้วเรามาดูกันว่าปีพ.ศ. 2557 จะร้อนอย่างปีพ.ศ. 2553 นี้หรือไม่ อย่างไร

ต้องกราบขอบพระคุณ ข้อมูลเบื้องต้นจากหลวงพ่อ วัดางลำภู บ้านแหลมเพชรบุรี ที่ชี้ทางสว่างให้ และข้อมูลโดยละเอียดจาก Yahoo รอบรู้โดยคุณ TK จาก http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080213022645AAKOHsU    ด้วยครับ

                                                                      Vuthmail-Thailand
                                                                    13.05.53  วันพืชมงคล

12/5/53

ทฤษฎี --- ก่อน 3 ทุ่มหรือหลัง 3 ทุ่ม

โดยปกติแล้วในหน้าร้อนช่วงเดือนเมษายน โดยเฉลี่ยแล้วผมจะไม่ได้อยู่บ้านเนื่องจากไหว้เชงเม้ง ที่สุรินทร์ พร้อมกับยุ่งอยู่กับเร่งงานให้ทันกำหนดก่อนที่หน้าเทศกาลหยุดยาวในวันสงกรานต์จะมาถึง หน่วยงานทุกแห่งที่ผมติดต่องานด้วยก็กังวลเรื่องการหยุดยาว แล้วจะทำให้งานไม่เป็นไปตามกำหนด ดังนั้นทุกปีจะต้องสาระวลกับเร่งส่งมอบงาน

ในปีนี้ผมตัดสินใจว่าจะไม่เดินทางไปไหน แต่มุ่งหมายว่าจะต้องเข้าไปดูเรื่องอุณหภูมิในบ้านนกให้ได้ เพราะว่าตั้งแต่ทำบ้านนกมาไม่เคยได้เข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย เพราะเทศกาลหยุดยาวก็หาเรื่องพักผ่อนก็ยาวสักที่  และตลอดเวลาอุณหภูมิใน Nesting Room ที่ผ่านตาไม่เคยเกิน 28.5-29.5 องศาเลย (ในกรณีที่ไม่ฤดูร้อน) จึงตายใจไม่เคยเข้าไปตรวจสอบเลย

แต่เช็งเม้ง ช่วง 4-5 เมษายน ที่สุรินทร์ร้อนมากๆ  จึงนึกว่าปีนี้ขอเข้าไปดูอุณหภูมิในบ้านนกสักปีก็แล้วกัน ยกเลิกไม่ไปเที่ยว งดหมด ตั้งใจไปที่เรื่องอุณหภูมิของบ้านนก ในช่วงที่ร้อนที่สุดของเดือนที่ร้อนที่สุดเพราะว่ามีการส่งสัญญาณจากเช้งเม้งแล้ว จึงคิดว่าต้องไปดูให้แน่ใจกันเสียหน่อย

จริงอย่างที่คาดไว้ครับ อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆขึ้น หากว่าดูผ่านๆก็คงไม่คิดอะไรมาก แล้วก็จะไม่มีทางรู้ได้เลย ประกอบกับไม่มีข้อมูลเก่าของ 2ปีที่ผ่านมา ก็เลยไม่มีจุดสังเกตุ ดังนั้นผมเรียนว่าควรที่จะทำประวัติเรื่องอุณหภูมิความชื้นไว้เป็นประวัติจะมีประโยชน์มากครับ ในการ Monitor เพื่อหาสิ่งผิดปกติ  ผมเองต้องยอมรับว่าเพราะเห็นแก่การพักผ่อน เห็นแก่การเที่ยวสนุกในช่วงวันหยุดยาวทำให้ไม่เคยรู้มาก่อนว่าปีก่อนเป็นอย่างไรบ้าง  แต่ปีนี้เริ่มเก็บตัวเลขไว้แล้วครับ จึงอยากชวนให้เพื่อนทำดูกันบ้าง

แต่ผลของการเก็บตัวเลข การ Monitor ทำให้ได้ทราบว่าสิ่งที่เป็นอยู่นี้อาจจะไม่เพียงพอแล้ว ผมจึงเริ่มมองหาวิธีการลดอุณหภูมิในปีหน้า ปี 2554 ไว้ล่วงหน้า 1 ปีเลย โดยเริ่มทดลองเพิ่มการระบายอากาศภายในห้องนกให้มากขึ้น การลดอุณหภูมิโดยมองมาที่ตัว Blade Humidifier พร้อมวิธีการอื่นๆ ที่หวังว่าจะช่วยกันลดอุณหภูมิเล็กๆน้อยๆ จากหลายๆวิธีซึ่งแตกต่างกันเพื่อช่วยกันลดอุณหภูมิ เมื่อรวมๆกันแล้วน่าจะลดอุณหภูมิโดยรวมให้ได้อีกสัก 1.5-2 องศาพร้อมทั้งใช้เวลาในการลดอุณหภูมิให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็น Concept ที่ได้วางแนวทางกันไว้สำหรับปีหน้า 2554 แนวทางดังกล่าวนี้ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้นะครับ

อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา

ในช่วงเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป
อุณหภูมิภายนอก จะเริ่มลดลงและค่อยๆลดลง อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 21.00-22.00 น.ซึ่งผมเองได้ใช้เวลาตอน 21.00 น.เป็นเส้นตาย หรือเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการลดอุณหภูมิและประสิทธิภาพของการระบายอากาศ ว่าดีมากน้อยเพียงใดโดยยึดเวลา 21.00 น.เป็นตัวประเมินผล

หากว่าระบายความร้อนดีและการลดอุณหภูมิมีประสิทธิภาพ อุณหภูมิภายใน Nesting Room จะต้องเท่ากับ อุณหภูมิภายนอกซึ่งอยู่รอบตัวตึกนกในช่วงเวลา 21.00 น. หรืออย่างมากไม่ควรเกิน 21.20 น หากว่าทำได้ช้ากว่านี้ ผมคิดว่าระบบที่ใช้อยู่ยังดีไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้ามหากว่าลดอุณหภูมิภายใน Nesting Room ให้เท่ากับอุณภูมิที่อยุ่รอบๆบ้านนกได้เร็วกว่า 21.00 น.ได้มากเท่าไหร่ ผมถือว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นเป็นระบบที่ดีมาก  แต่หากว่าทำอุณหภูมิให้ต่ำกว่าภายนอกได้อีกสัก 0.5 องศา ผมว่าอันนั้นแหละครับดีที่สุด

หากว่าเพื่อนๆที่อ่านแล้วเกิดสนใจ ก็ให้ลองนำโจทย์ทฤษฎีก่อน 3 ทุ่มหรือหลัง 3 ทุ่มนี้ไปเป็นแม่แบบเพื่อใช้ทดสอบประเมินประสิทธิภาพของการระบายอากาศ และ การลดอุณหภูมิภายในบ้านนกของเพื่อนๆดู จะทำให้เรามองเห็นดีข้อด้อยที่เป็นอยู่ แล้วให้ทำการเสริมจุดแข็งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และลดข้อด้อย ข้อผิดพลาดต่างๆน้อยลงไป  หากว่าทำทั้ง 2 อย่างได้ดีแล้วอุณหภมิภายในกับภายนอกจะวิ่งเข้าหากันโดยธรรมชาติครับ และอุณหภูมิควรจะเท่ากัน ก่อนเวลา 21.00 น.ครับ

บทความนี้ยังไม่จบ  เอาไว้มาต่อกันในบทต่อไปครับ เพราะว่ามีงานคั่งค้างอยู่มากยังไม่ได้ลงมือทำเลยครับ

                                                                        Vuthmail-Thailand
                                                                               12.05.53
                      

10/5/53

ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ-4

วันเสาร์ที่ 08.05.53 ที่ผ่านมาผมได้ไปทำบุญสังฆทาน ที่วัดบางลำภู อ.บ้านแหลม โดยแบ่งเงินที่ได้จากสินค้าใน Blog ของผมซึ่งเพื่อนๆที่ได้ซื้อของจากผมไปได้ร่วมอนุโทนาบุญในครั้งนี้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะน้องพงษ์และคุณศักดิ์ชาย ที่มีเงินเหลือจากการส่งของคราวก่อนๆ ผมได้ทำบุญให้แล้วนะครับ

ของที่ทำไปทำสังฆทานในครั้งนี้ ผมถือว่าค่อนข้างครบถ้วนเกือบทุกอย่างครับ ผมมีรูปให้เพื่อนๆได้ดูว่าผมของที่นำไปทำบุญในครับนี้มีอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าครบถ้วน มีข้าวสาร น้ำ สบู่ แฟ็บ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน shampooสระผม Cotton Bud กระดาษทิสขู ยาธาตุน้ำขาว น้ำแดง ยาหอม ยาอมตราตะขาบ แป้งเย็น (อันนี้เพิ่มเติมเอง เพราะว่าเห็นว่าพระอาจจะร้อนเป็นผดผื่นก็เลยเพิ่มเข้าไปเอง 555 )

นมข้นหวาน น้ำตาล กาแฟ น้ำดื่ม ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ หลอดไฟ ปลั๊กไฟ เข็มเย็บผ้า เส้นด้าย กรรไกร ที่ตัดเล็บ สมุด ปากกา และเงินทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ช่วยบำรุงศาล ค่าน้ำค่าไฟ และถวายปัจจัยให้สงฆ์ที่รับสังฆทาน รวมเป็นเงินที่ทำไป 500 บาท

สาเหตุที่พิมพ์ว่าของที่ถวายมีอะไรบ้างก็เพราะอยากให้เพื่อนๆได้อ่าน จะได้รู้ว่ามีอะไรบ้าง จะได้รับทราบและเกิดจิตที่ศรัทธาในของที่ถวาย และจะได้กุศลมากขึ้นนะครับ ซึ่งอาจจะมีตกหล่นบ้างแต่ที่ปรากฎอยู่ในรูปจะครบสมบรูณ์ที่สุด

ขอให้เพื่อนๆที่รับรู้รับทราบในการทำบุญสังฆทานได้ร่วมกล่าวอนุโทนา สาธุกาล ในกุศลที่ทำในครั้งนี้ด้วยครับ โดยการกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ บุญกุศลที่กระผมได้ทำนี้ดีแล้ว ขอให้ท่านที่ร่วมอนุโมทนาได้รับ บุญกุศลนั้นเช่นกัน เทอญ  อีก 3-4 วันจะออกบทความเรื่องความร้อนแล้วแนวทางที่ผมใช้ให้เพื่อนๆ นำไปทดลองให้ดูกัน

Vuthmail-Thailand 10.05.53




5/5/53

การ Block ความร้อนที่เกินคาด

อย่างที่บอกไว้ในบทความที่แล้ว ว่าเมื่อวันที่ 30 เมษายน เข้าไปที่บ้านนกเพื่อวางแนวในการป้องกันความร้อนไว้สำหรับปีหน้าที่คาดว่าจะสาหัสกว่าปีนี้ ซึ่งก็เริ่มทดลองกันไปบ้างแล้ว ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ว่ากันไปเรื่อยๆ ไม่ได้ผลอย่างที่ใจคิดไว้ก็ถอยหลังกลับมามองหาสาเหตุกันใหม่ แสดงว่าเราตั้งประเด็นไว้ไม่ถูกต้อง ก็ให้เริ่มกันใหม่อย่าได้ท้อถอยนะครับ หากว่าเรายังคง foot Work ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการลับสมองตัวเองให้ได้ฝึกวิเคราะห์ปัญหา มองปัญหาให้เป็น แล้วจะได้แก้ปัญหาเก่งขึ้นเรื่อยๆครับ ซึ่งเมื่อเราแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งแก้ปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จด้วยวิธีการพื้นฐานที่สุด เมื่อนั้น เพื่อนๆจะพบทางสว่าง แสงแห่งปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้อีก ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์มากครับ

วันที่ทำการทดลองแก้ไขเรื่องอุณหภูมิตาม Clip นี้จะเป็นวันที่ 01.05.53 ซึ่งเป็นวันที่ร้อนสุดๆอีกวันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะว่าผมกับน้องทำงานกันกลางแดดร้อน ในขณะที่ทำงานไปก็รู้ว่าความร้อนปีนี้มีมากจริงๆ ร้อนกันสุดๆ ผมก็คิดว่าวันนี้อุณหภูมิคงขึ้นปรอทแตกแน่ๆ พอเข้าไปดูอึ้งไปเลยครับ

อุณหภูมิภายในตึกนก กับ ภายนอก(ซึ่งอยู่ในที่ร่ม)ต่างกันถึง 7 องศาโดยประมาณซึ่งเป็นเวลาเที่ยงกว่า ไม่อยากเชื่อเลยครับ แต่เครื่องไม้เครื่องมือเค้าแสดงตัวเลขยันยืนกันถึง 2 อุปกรณ์ก็ต้องจำเป็นต้องเชื่อตามที่ได้เห็นครับ

และจากการประวัติอุณหภูมินี้เอง ที่ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่าทำไมอุณหภูมิชั้นที่ 1 ค่าอุณหภูมิตัวบนต่างกับตัวล่างมาก คืออุณหภุมิตัวบนพุ่งขึ้นไปถึง 31.4-31.7 มา 2-3 หนแล้ว ในขณะที่ตัวล่างอุณหภูมิไม่เคยสูงกว่า 30 จึงสร้างความประหลาดให้กับผมมาก ดังนั้นผมก็เลยตัดสินใจเข้าไปดู เข้าไปหาสาเหตุว่าทำไมอุณหภูมิชั้นเดียวกันถึงได้ต่างกันเกือบ 2 องศา ซึ่งก็ได้พบสาเหตุว่าสายไฟที่เสียบอุปกรณ์เกิดหลวม ทำให้ Blade Humidifier ไม่ทำงานตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมจึงได้แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป โดยการเสียบปลั๊กให้แน่ ให้มั่นคงมากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะลดอุณหภูมิลงได้และไม่ทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันมากอย่างที่ผ่านมา

เรามาดูจาก Clip กันครับ



Vuthmail-Thailand
05.05.53

เปิดตัว เจ้าของตึกนกน้องชายนาย Vuthmail-Thailand ครับ

หลายวันก่อน ช่วงวันที่ 30 เมษายน 2553 ผมกับน้องชายเข้าไปที่บ้านนก
ผมเข้าไปเพื่อตรวจสอบ และทดลองการวางแนวทางเพื่อแก้ไขเรื่องอุณหภูมิให้ลดลงไปอีก เพราะว่าที่เป็นอยู่ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอุณหภูมิภายในยังสูงไปเล็กน้อย ก็เลยหาแนวทางในการแก้ไขไว้ตามที่ได้แนะนำเพื่อนๆไว้ในบทความก่อนๆๆ ซึ่งผมก็ได้ทำตามที่ตนเองได้แนะนำเพื่อนๆไป พร้อมๆกันเลย

ส่วนน้องชายผม เค้าเป็นนักพัฒนาโดยเริ่มต้นการพัฒนาที่ดินมาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินมาแล้ว ก็ได้ค่อยๆพัฒนาที่ดินให้สอดคล้องก็การใช้งานและ LandScape ของที่ดิน โดยน้องชายผมเค้าเก่ง ถนัดในด้านนี้มากกว่าผม จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเค้ามาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การหาที่ดิน การถมที่ การวางผังก่อสร้าง การตอกเข็ม การหาผู้รับเหมา การมองและใช้ประโยชน์ในที่ดินในปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมดเป็นผลงานของน้องชายผมทั้งหมด

การวางผังทำสวน ทำเนิน การเกาะกลางปลูกต้นไม้ การปลูกหญ้า ปลูกป่าชายเลน ปรับภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดออกมาสวยงามอย่างที่เห็น การพัฒนาที่ดินตลอดระยะเวลา 4 ปีเค้าทำด้วยกำลังสติปัญญา และกำลังกายของเค้าเองมาตลอด ลงแรงกาย แรงใจไปในการทำให้ที่ดินแปลงนี้สวยถูกใจทั้งตัวเจ้าของที่เอง ซึ่งก็คือครอบครัวของตระกูล สุรินทร์รัฐ รวมถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ได้มีโอกาสแวะเวียนมาพักในวันหยุดยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความสุขใจ ความภูมิใจของคนที่ทำงาน คนที่สร้างสรรค์จากที่ดินที่รกร้างให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนหลายคน

ขอบใจนะเจ้าน้องชายนักพัฒนา ที่ทำให้ที่ดินผืนนี้สวยงามขึ้นมาได้อย่างที่เห็น อย่างที่เป็นอยู่นี้ แต่ว่าคราวหน้างานหนัก งานโหด อย่างงานแบกดินที่ละปุงกี่เพื่อนำไปถมเนินปลูกหญ้า งานโหดๆอย่างนี้พี่ไม่สู้ 555
แต่ยอมรับว่าน้องทำได้ดี ทำเพื่อส่วนรวมด้วยความลำบากมาก เข้าใจ และขอบใจมาก

วันที่ทำงานถมดินเพื่อปลูกหญ้านี้เป็นอาทิตย์ที่ร้อนอย่างสาหัสมาก ท่ามกลางแดดในฤดูร้อน และวันที่ร้อนสุดอุณหภูมิภายในที่ร่ม 36-37 เซสเซียล กลางแดดเที่ยงอุณหภูมิสูงเลย 40 องศา ทำงานกันทั้งวันเช้าจนเย็น เป็นอะไรที่ยากสำหรับคนทำงาน Office ทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาจริงๆๆ นับถือนับถือ

Vuthmail-Thailand
05.05.53