24/3/54

เสียงจาก CD และเสียงที่ได้จากลำโพง

อย่างที่ผมรู้กันอยู่นะครับ ว่าผมเป็นคนชอบทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยตัวเองมาตลอด ชอบคิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยๆเปื่อย  ในคราวนี้เองที่ผมคิดว่ามีบ้านนกหลายหลังที่อยู่ในทำเลที่ดี การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นได้ดี ทำไมไม่มีนกเข้าอยู่ในบ้าน  ซึ่งข้อมูลเรื่องของทำเล อุณหภูมิ ความชื้น เราสามารถขอข้อมูลจากเจ้าของบ้านนกได้อยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยทราบจากเจ้าของบ้านนกเลยก็คือ เรื่องของลำโพงภายในและภายนอก ว่าเจ้าของบ้านนกที่อยู่ในทำเลที่ดี สามารถการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นได้ตามเกณฑ์ มีการออกแบบบ้านที่ดี มีวงบินสะดวก การขึ้นลงของนกทำได้คล่องตัว จึงควรที่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย แต่ข้อเท็จจริงกลับยังไม่มีนก นกไม่เข้าอยู่  

ผมจึงพยายามนึกว่ายังมีปัจจัยภายในอีกหรือไม่อย่างไร ปรากฎว่ามีปัจจัยภายในที่ผมยังไม่เคยสัมผัสของในบ้านนกแต่ละหลัง  เป็นปัจจัยภายในจริงๆ ซึ่งก็คือลำโพงที่ใช้ภายในบ้านนกนั่นเอง ซึ่งผมเองไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้  เรื่องนี้จึงเป็นข้อข้องใจของผมมาโดยตลอด และผมยังตั้งสมมุติฐานต่อไปอีกว่า หากลำโพงคือปัญหา แล้วจะมีทางแก้ไขหรือสามารถทำให้ดีขึ้นได้กว่าเดิมอย่างไรได้บ้าง

ดังนั้นผมจึงตั้งใจว่าจะต้องทำโครงการณ์นี้ให้ได้ ดังนั้นผมจึงเริ่มหาข้อมูล เริ่มสะสมอุปกรณ์เมื่อประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะว่าหากเราสามารถหาวิธีเสริมประสิทธิภาพของลำโพงได้ ก็คงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาบ้านนกเก่าๆที่ลงทุนไปแล้วเป็นเงินจำนวนมากแต่กลับไม่ประสบความสำเร็จตามความประสงค์ของเจ้าของบ้านนก ให้กลับมาประสบความสำเร็จได้ ซึ่งหากว่าทำได้ก็จะเป็นประโยชน์กับอีกหลายๆบุคคล ดังนั้นผมจึงได้เริ่มโครงการณ์นี้อย่างจริงจัง

เมื่อผมวางโครงสร้างการทดสอบหลักๆได้แล้ว ต่อมาก็คือการทำโปรแกรมตรวจสอบขึ้นมารองรับ  และเมื่อสร้างโปรแกรมที่จะใช้ทดสอบได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงเปิด LAB เพื่อทำการทดลองขึ้นมา เพื่อหาดูว่า เสียง CD ที่เปิดกันอยู่นี้ทุกวันนี้เมื่อเปิดผ่านลำโพงที่มีอยู่ในตลาดมากมายหลากหลายชนิด ลำโพงเหล่านั้นมีการตอบสนองต่อเสียงที่เปิดอย่างไรบ้าง  ดีไม่ดีอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ลำโพงเดิมๆเหล่านั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม

เมื่อผมเริ่มทำการทดลองจริง ผมได้ทดลองกับลำโพง 6 ตัว 6 แบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว จึงจะสามารถเห็นข้อแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน และสิ่งที่ได้จากการทดลองก็ออกมาอย่างที่เห็นครับ มีทั้งลำโพงที่แย่สุด กับลำโพงที่ดี มาเปรียบเทียบกันก็จะทำให้เห็นภาพได้ที่ชัดเจน เริ่มต้นจากลำโพง B ซึ่งแย่ที่สุดไปหา  C D E F ที่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

ภาพนี้แสดงการเปรียบเทียบลำโพงทั้ง 6 ตัว



จากลำโพง B จะเห็นได้ว่ามีการตอบสนองเพียงไม่กี่ความถี่ ซึ่งด้อยกว่าลำโพง A ที่ตอบสนองกับความถื่ได้มากกว่า และลำโพง A ให้เสียงที่ดังกว่า (dB) ลำโพง B

เสียงจาก CD เดิมๆที่ไม่ได้ทำ Remaster ซึ่งทั้งลำโพง A และ B จะมีการตอบสนองที่จำกัด แต่เมื่อลำโพง A และ B ขับเสียงที่ได้ผ่านการทำ Remaster เสียงใหม่แล้ว (ด้วยเทคนิคเฉพาะตัวเฉพาะตน ที่เป็นของผมเอง) จะเห็นได้ว่าทั้งลำโพง A และ B มีการตอบสนองต่อเสียงได้ดีขึ้น ในความถี่ที่กว้างขึ้น เสียงดังขึ้น dB  มากขึ้นทุกความถี่ และหากจะสังเกตุต่อไปให้ครบทั้ง 6 ตัวนี้ จะเห็นได้ชัดว่าลำโพงที่ดีกว่าก็จะตอบสนองต่อเสียงที่ทำ Remaster ได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะลำโพง D E ตามที่เห็นในลำดับที่ 5 และ 6

จากรูปการทดลองทั้ง 6 รูป จะเห็นได้ว่าการทำ Remaster เสียงตามแนวทางของผมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับบ้านนกที่ระบบลำโพงภายในและภายนอกมีปัญหาโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปเปลี่ยนลำโพงภายใน จนถึงวาระที่จำเป็นต้องเปลี่ยนลำโพงใหม่จริงๆอันมีสาเหตุมาจากลำโพงเสียหายจากความชื้น หรือหมดอายุการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนลำโพงใหม่แทนที่ลำโพงเก่าในจำนวนมากๆ ที่จุดนี้เองก็ถือโอกาสเปลี่ยนลำโพงใหม่ไปเลยเสียทีเดียวทั้งหลัง แต่ในระหว่างช่วงที่ยังไม่พร้อมจัดเปลี่ยนลำโพงกันครั้งใหญ่ การที่ Remaster เสียงจะสามารถนำไปใช้ในการช่วยแก้ปัญหาสำหรับบ้านนกที่ยังไม่พร้อมได้มากทีเดียว

ดังนั้นการทำ Remaster เสียงจึงสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของลำโพงบ้านนกในเบื้องต้นที่ดีอีกวิธีหนึ่ง โดยไม่รบกวนนก แต่ได้สภาพเสียงที่ถูกจริตกับนกแอ่นในบ้านนกของท่านได้


จากการทดลองในครั้งนี้ ผมได้ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยขน์มากพอประมาณ ซึ่งเป็นความรู้แปลกๆ พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข ได้รู้ว่า Specfication ที่เขียนอยู่ข้างกล่องกับเสียงที่ได้จริงจากลำโพงนั้น  ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตรงกัน ลำโพงบางตัวบอกว่าตอบสนองต่อเสียงตั้งแต่ 4,000-20,000 Hz แต่ลองเข้าจริงๆทำได้ดีกว่า ทำเสียงในความถี่ต่ำได้ดีกว่าที่ระบุไว้เสียอีก บางรุ่นเขียน Specfication ไว้ดี แต่เอาจริงกลับไม่ได้เรื่องเลยได้ราว อย่างลำโพง A เป็นต้น ดังนั้นผมจึงสรุปผลการทดลองของผมเองว่า  Specfication ที่เขียนไว้ไม่ได้บอกเล่าอะไรมากมาย แต่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ครบถ้วน เขียนขึ้นมาเพื่อให้เราอยากใช้ลำโพงของเค้าโดยไม่มีการตรวจสอบผลลัทพ์อย่างจริงๆจังๆ สามารถพูดได้เลยว่าความน่าเชื่อของ Specfication ข้างกล่องน้อยมาก แต่ผลลัทธ์ที่แน่นอน เป็นที่เชื่อถือได้นั้นจะมาจากการผลการทดลองของเราเองมากกว่า เราสามารถค้นหาค่าที่เราต้องการจริงๆได้ แต่ว่าก็เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายมากพอดูเอาเรื่อง

ในขณะนี้ได้สั่งลำโพงตัวอย่างจากต่างประเทศเข้ามาจาก 4 บริษัท เน้นว่าเฉพาะลำโพงตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายก็หลายร่วม 6 พันบาทแล้วครับ เพื่อหาดูว่าสินค้าตัวไหนใช้ได้จริงเหมาะสมกับบ้านนกจริงๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่หลายคนไม่เคยเห็น ไม่ทราบ แต่คนที่ทำการทดลองอย่างผมต้องควักจ่ายเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่จะทำให้เราเข้าถึงรู้จริง รู้ซึ้ง นำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในภายภาคหน้า

จาการทดสอบลำโพง 6 ตัว พอทำให้เราทราบว่าลำโพงตัวไหนดีกว่าลำโพงไหนแล้ว เราก็มาลองเปรียบเทียบเสียงที่ได้จากลำโพง กับเสียงจาก CD   ซึ่งมีความถี่เริ่มตั้งแต่ 250Hz - 17,500 Hz ซึ่งครอบคลุมความถี่ที่นกแอ่นใช้อยู่ เพื่อหาดูประสิทธิการตอบสนองต่อเสียงที่ทดสอบ ทั้งแบบเสียงเดิมๆ จาก CD และเสียงที่มีการทำ Remaster

เรามาวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากลำโพง B กันก่อน เพราะว่าจะง่ายกับการทำความเข้าใจนะครับ


ลำโพง B สามารถขับเสียงออกมาได้แค่ 4 ช่วงหลักเท่านี้เอง จาก 15 ช่วงความถี่หลัก ซึ่งถือว่าทำได้แย่มาก หากเรามาดูเสียงจาก CD ที่กำกับอยู่ด้านล่างจะเห็นได้ว่าเสียงทั้ง 15 ช่วงเสียงนั้นจะมีความดัง dB ที่เท่ากันหมด แต่ลำโพง A ทำได้แค่ 4 ช่วงและด้วยความดัง (dB) ที่ค่อนข้างต่ำ จึงไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในบ้านนก ถึงแม้ว่าลำโพง A จะสร้างความถี่ได้กว้างขึ้นกว่าเดิม (ความถี่ 750Hz 1000Hz 1,500 Hz) จากเสียงที่ทำ Remaster แต่ความดังของความถี่ที่ได้เพิ่มขึ้นมานี้ก็ยังถือว่าเบามาก  ส่วนอีก 4 ความถี่หลักที่ทำได้เดิมอยู่แล้ว ก็จะดังขึ้น รับฟังได้ชัดขึ้น


วิเคราะห์การตอบสนองของลำโพง A

ส่วนลำโพง A ตัวนี้หากใช้เสียงจาก CD เดิมๆ ทำความถี่ได้เกือบครบทุกช่วง ซึ่งดีกว่าลำโพง B แต่ว่าความดัง dB ทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เมื่อเปิดเสียงที่ Remaster จะเห็นได้ว่าลำโพง A จะสามารถขับเสียงความถี่ที่ 500 Hz ออกมาได้เพิ่มเติมีอีก 1 ช่วง แต่โดยภาพรวม ความดัง dB ของเสียงก็ยังต่ำเกินไป โดยส่วนตัวก็ยังเห็นว่าไม่น่าที่จะนำมาใช้ในบ้านนกเหมือนกัน แต่ดีกว่าลำโพง B แน่นอน


ต่อมาเรามาวิเคราะห์ ลำโพง D กัน ซึ่งจะเริ่มสนุกแล้วนะครับ


ลำโพง D ตัวนี้จะทำความถี่ได้เกือบครบ แต่ที่เด่นก็คือสามารถความถี่เสียงได้ 5 ช่วง หากว่าเทียบกับลำโพง B แบบเดิมๆ จะดูดีกว่าเล็กน้อย ทั้งในแง่ความถี่ที่กว้างขึ้น และในแง่ความดัง-ถือว่าดีกว่าลำโพง B มาก  แต่ว่าสิ่งที่แปลกก็คือพอใช้เสียงที่ทำ Remaster แล้ว คุณภาพของความดัง dB และ คุณภาพของความถี่จะทิ้งห่างจากลำโพง B อย่างเห็นได้ชัดทุกแง่ทุกประเด็นเลย  ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้นกแอ่นได้ยินเสียงจาก Remaster ได้อย่างครบถ้วนชัดเจนขึ้นมาก


ต่อมาเรามาวิเคราะห์ลำโพง E กันต่อเลย


หากเทียบลำโพง D กับ E จะเหมือนมวยรุ่นเดียวกัน พอฟัดพอเหวี่ยง กินกันไม่ลง แต่ว่าลำโพง E ตัวนี้หากว่าใช้เสียงจาก CD ธรรมดา จะทำความถี่ที่ 500 Hz ไม่ได้เลย แต่เมื่อใช้เสียง Remaster ลำโพง E จะสามารถเค้นเอาความถี่ที่ 500 Hz ออกมาได้ดังพอประมาณ  ซึ่งทั้งลำโพง D และ E ทั้งตัว 2 นี้ ชนะกันแค่ปลายจมูกเท่านั้นเอง เลือก D ก็ได้เลือก E ก็ดี ไม่หนีกันเท่าไหร่


ต่อมาเป็นลำโพง F ตัวสุดท้าย




ลำโพง F ตัวนี้ หากว่าสังเกตุกันให้ดีจะเห็นได้ว่าลำโพงตัวนี้ทำเสียงความต่ำๆได้ดีมาก สามารถตอบสนองความถี่ต่ำๆได้เป็นอย่างดีโดยตัวของเค้าเองอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถสร้างความถี่สูงอย่างตั้งแต่ 7,500 Hz ขึ้นไปได้ ขับเสียงไม่ออก และหากว่าสังเกตุต่อไปอีกสักหน่อย ก็จะพบว่าลำโพง F นี้ถึงแม้นว่าจะใช้เสียง Remaster แล้วก็ตาม เราก็จะได้ความถี่ที่ 10,000 Hz และ 15,000 Hz ออกมาอีกเล็กน้อยเท่านั้น หรือแทบจะไม่มีก็ว่าได้ครับ แต่ความถี่เดิมที่ทำได้ดีอยู่ก่อนแล้วก็จะได้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นดีพอใช้


ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้ทำการวิเคราะห์ให้ฟัง ผมคิดว่าเพื่อนๆคงได้แนวทางในการดูลำโพงบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

หากว่าท่านใดสงสัย อยากทราบว่าลำโพงบ้านนกที่ใช้อยู่นั้นเป็นตัวปัญหาหรือไม่อย่างไร สามารถส่งลำโพงมาให้ผมทดสอบ ผมเองก็ยินดีมากครับ ผมจะทดสอบและส่งผลลัพธ์จากการทดสอบ พร้อมคำอธิบายไปให้เพื่อคลายความสงสัย พร้อมแนวทางแก้ไขที่อาจจะทำได้ไม่ยากนัก

                                                                        DIY - Do it Yourself is The  Key
                                                                                   Vuthmail-Thailand
                                                                                          25.03.54

19/3/54

เสียงและลำโพง ความสัมพันธ์ ที่ต้องเรียนรู้

เพื่อที่จะทำให้นกแอ่นที่เข้ามาสำรวจหรือนกแอ่นที่เข้ามาอยู่ในบ้านนกของเรารู้สึกมีความผ่อนคลาย มีความรู้สึกถึงความปลอดภัย ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้นกมีความพร้อมที่ในการสร้างรัง วางไข่รวมถึงเลี้ยงลูก โดยการใช้เสียง ทั้งเสียงภายใน เสียงภายนอก โดยการขับเสียงผ่านลำโพง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานของเสียงและพื้นฐานของลำโพงที่ใช้ในบ้านนกบ้าง

เสียงคือการสั่นเทือนของวัตถุและเกิดความถี่ เมื่อความถี่วิ่งผ่านสื่อกลางออกมาก็จะกลายเป็นเสียง โดยเสียงจะมีลักษณะทางกายภาพที่จะต้องทำความรู้จัก  2 องค์ประกอบ อย่างที่รู้กันอยู่ คือ1.- ความถี่ของเสียง และ2.-ความดังของเสียง ดังนั้นเราจึงควรศึกษาองค์ประกอบทั้ง 2 องค์ประกอบนี้ให้เข้าใจถึงการทำงานของเสียง

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วด้านบน องค์ประกอบของเสียงคือความถี่ ความถี่ที่แตกต่างกัน จะก่อกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน และความถี่สูง หรือต่ำ ก็จะส่งผลต่อเสียงที่จะเกิดขึ้นต่างกัน  ระยะทางที่เสียงจากความถี่ที่แตกต่างกันก็จะวิ่งไปได้ในระยะที่แตกต่างกัน รวมทั้งการรับฟังเสียงที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกันไป

ความถี่ต่ำ จะสร้างเสียงทุ้ม-Bass ซึ่งจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านสื่อกลางได้มาก  (เช่นการวิ่งผ่านอากาศ) และมีความสามารถที่จะทะลุทะลวงได้สูง ระยะทางที่วิ่งไปก็จะได้ระยะทางมากครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้าง แต่ความถี่สูง จะสร้างเสียงแหลม-Treble ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านสื่อกลางได้น้อย อำนาจการทะลุทะลวงน้อย ระยะทางวิ่งไปจะได้ระยะทางจะสั้น อยู่ในวงแคบ โดยเฉพาะเสียงที่เกิดจากความถี่มากๆ อย่างระดับ 17,000-20,000 จะวิ่งผ่านอากาศได้ระยะไม่เกิน 3-5 เมตร

ความถี่กลางๆ คือความถี่ที่ไม่ใช่เสียงทุ้มหรือเสียงแหลม ความถื่กลางๆ จะสร้างเสียงกลาง-Mid Range ซึ่งจะเป็นลักษณะกลาง ไม่สูง ไม่ต่ำ ลักษณะของเสียงกลาง คุณสมบัติจะที่เกิดขึ้นจะอยู่กลางๆ ระหว่าง เสียงทุ้มกับเสียงแหลม โดย Nature แล้วเสียงระดับกลางนี้เป็นช่วงเสียงที่มนุษย์ใช้ได้ยินมากที่สุด

เมื่อได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเสียงไปแล้ว 1 อย่าง ก็จะเหลือคุณลักษณะของเสียงส่วนที่เหลือ ซึ่งก็คือความดังของเสียงนั่นเอง  โดยปกติแล้วหากว่าเสียงยิ่งดัง การได้ยินก็จะชัดเจนมากกว่ากว่าเสียงที่เบากว่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ Common Sense แต่เพื่อให้พอเห็นภาพ เพื่อให้เป็นแนวทาง ผมได้สรุปความดังในระดับต่าง ตาม Chart ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

 

ที่นี้เรามาดูความสามารถในสัตว์แต่ละประเภทต่างๆ ที่สามารถได้ยินเสียงที่เกิดจากความถี่ในระดับต่างๆซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นตามตารางด้านล่างนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การศึกษาการได้ยินเสียงของนกแอ่น ซึ่งทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลหลัก พร้อมทั้งนำไปเป็นมาตราฐานในการสอบเทียบสอบทาน เสียงที่ได้จากลำโพงที่ขับออกมาจาก CD เสียงนก กันต่อไปในภายหลัง 

ตารางการได้ยินของเสียงสัตว์ประเภทต่าง ในช่วงของความถี่เสียงต่างๆ

หากว่าเราพุ่งความสนใจไปในส่วนของนกชนิดต่างๆเราจะเห็นได้ว่า ความถี่ที่นกได้ยิน จะเริ่มต้นแถวๆ 200-250 Hz และความถี่สูงๆจะอยู่ราวๆ 8,800-8,500 Hz แล้วของนกแอ่นกินรังหละ จะสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ช่วงไหนอย่างไร

ในหนังสือเรื่องนกแอ่นแห่งบอร์เนียว Swiftlet of Borneo : Builder of Edible Nest

ของ Lim Chan Koon and Earl of Cranbrook มีรายละเอียดการพูดถึงเรื่องของ Echolocation ได้มีการหยิบยกขึ้นมาเขียน และได้มีการนำมาเผยแพร่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าความผิดพลาด ตกหล่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาด ซึ่งผมขออนุญาตินำมาแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ

ในหน้าที่ 18 - Paragraph แรก บรรทัดที่ 6  ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้

The frequency range of swiftlet echolocating calls is between 1-6 kHz , with most energy focused between 2-5 kHz (Fullard et al,. 1993). These frequencies fall into the range of normal human hearing. THERE IS NO ULTRASONIC COMPONENT  (i.e., 20-160 kHz), Which would be inaudible to people. (Cranbrook & Medway, 1965)

ส่วนผิดพลาดที่สำคัญก็คือ Swiftlet echolocating calls is between 1-6 kHz   ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องเป็น 1-16k Hz 
เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลไว้ผิดจากความรู้เดิมของผม จึงทำให้ผมกลับไปตรวจสอบข้อมูลสำคัญอันนี้ ใหม่ ซี่งก็พบว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญนี้ไว้ความผิดพลาด ผมจึงไม่อยากให้เกิดความสับสน ผมจึงได้นำบอกกล่าวสิ่งที่ถูกต้องไว้ใน Blog ของผม  ซึ่งอ้างอิงจากของหนังสือเล่มเดียวกัน ตามที่ได้กล่าวชื่อหนังสือไว้ 

 นกแอ่นจะได้ยินเสียงช่วงความถี่  ที่ถูกต้องจะต้องเป็น 1-16k Hz  (ไม่ใช่ 1-6 kHz อย่างที่มีการเผยแพร่ข้อมูล)   

จุดนี้เองหากไม่มีการตรวจสอบ และปล่อยเอาไว้อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดอีกหลายๆอย่างอันสืบเนื่องจากข้อมูลตรงนี้  ซึ่งจากหนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้ทราบว่า เสียง Echolocation ของนกแอ่นนั้นจะมีความถี่ ช่วงระหว่าง 1,000-16,000 Hz แต่ช่วงที่ Focus มากที่สุด 2,000-5,000 Hz หากว่าจะเอาแบบครอบคลุมหรือกว้างขึ้นเล็กน้อย ผมอยากให้มองช่วง 1,500-6,000 Hz ซึ่งนกแอ่นจะมีสามารถฟังได้อย่างชัดเจนมากในช่วงความถี่ดังกล่าวนี้

แล้วผมจะมาต่อภาค 2 ในวันต่อๆไปนะครับ                                                                     

9/3/54

VM80 ติดเขี้ยวเล็บเพิ่มเติม สำหรับหน้าร้อนปี 54 นี้

สินค้า Lot ใหม่ที่มาถึงนี้ ผมได้ติดเขี้ยวเล็บให้กับ VM80 อุปกรณ์ตัวนี้เพิ่ม โดยการขอให้ทางโรงงานที่ผลิต ช่วยเขียนโปรแกรมการหน่วงเวลามาให้เพิ่มเติม  จึงทำให้ VM80 เครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้นตัวเล็กแต่ประสิทธิภาพใหญ๋เกินตัวรุ่นนี้ ก้าวข้ามขึ้นมาเทียบรุ่นกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิความชื้นรุ่นใหญ่ที่มีราคาแพงได้ทุกรุ่น เพราะการเพิ่มโปรแกรมหน่วงเวลาทำงานของช่องสั่งการ AL1 AL2 นี้ จะมีเฉพาะในตัว VM80 แต่ว่าราคาเท่าเดิมครับ เพื่อให้เป็นการประหยัด คุ้มค่าเงินของผู้ที่กำลังจะตัดสินใจมาใช้ VM80 เท่านั้น  ซึ่งรุ่นที่เพิ่มเติมโปรแกรมหน่วงเวลารุ่นนี้มีจำนวนที่สั่งเข้ามาไม่มากนัก หากว่าคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นที่จะนำไปเพื่อใช้ควบคุมสภาพอากาศในบ้านนก และช่วงนี้ได้เริ่มก้าวเข้าฤดูร้อนแล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจ

โปรแกรมการหน่วงเวลานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายขึ้นกว่าเดิม มีความยืดหยุ่นสูง โดยมีหลักการทำงานดังต่อไปนี้คือ เมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นถึงจุดที่ช่องสั่งการ AL1 AL2 จะทำงาน หากว่าเป็นรุ่นเก่า VM80 จะสั่งการทำงานตรงเข้าไปที่อุปกรณ์ต่างๆทันที สั่งงานอย่างตรงไปตรงมา ทำให้บางครั้งไม่สามารถกำหนดการทำงานก่อนหลังของอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้เคยเป็นข้อด้อยที่ผมต้องการปรับปรุง จึงได้พูดคุยกับโรงงานอยู่นาน โดยพยายามควบคุมเรื่องราคาไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเป็นการผลักภาระให้กับผู้ใช้  ซึ่งทางโรงงานมีค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรมใหม่ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทั้งทางโรงงานและผม จึงได้มีข้อสรุปว่าให้สั่งของในจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพื่อที่จะเข็นเอาโปรแกรมนี้ออกมาให้ได้ และสามารถตอบสนองกับความต้องการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถจัดลำดับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆได้ ตัวอย่างเช่น

หากว่าท่านต้องการเปิดพัดลม เพื่อกวนอากาศ ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ เพิ่มการกระจายตัวของความชื้นจากจุดที่ตั้ง Blade หรือระบบ Nozzle (ในพื้นที่จะเรียกว่าระบบ รางน้ำ) ให้กระจายความชื้นไปทั่วบ้าน ภายหลังจากที่เครื่องทำความชื้นได้เพิ่มปริมาณความชื้นภายในบ้านขึ้นมาจนถึงระดับ 85 % แล้ว จากนั้นพัดลมดูดอากาศก็จะเริ่มทำงานรับช่วงเป่าความชื้นให้กระจายไปทั่วห้อง ซึ่งระบบนี้เป็นที่ใช้อยู่แถวภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดตราดนั้น  ซึ่งระบบนี้เดิมจะใช้การตั้ง Timer เพื่อเปิดเครื่องทำความชื้นและเปิดพัดลมเพื่อเป่าอากาศและกระจายความชื้นไปทั่วๆห้อง  ซึ่งระบบนี้มีความจำเป็นต้องจัดลำดับการทำงานก่อนหลังของเครื่องเพิ่มความชื้นและพัดลม เนื่องด้วยเครื่องควบคุมความชื้นในสมัยก่อนไม่สามารถจัดลำดับการทำงานได้อย่าง VM80 ดังนั้น Timer จึงเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวจัดลำดับในการทำงานให้

แต่ด้วยเทคโนโลยีของ VM80 รุ่นใหม่นี้ สามารถเพิ่มโปรแกรมหน่วงเวลาเข้ามา จึงทำให้สามารถนำเอาประโยชน์ของโปรแกรมหน่วงเวลานี้มาใช้เพื่อจัดลำดับการทำงานก่อนหลังของอุปกรณ์ต่างๆได้

โดยให้ช่องสั่งการทั้ง AL1 ทำงานเพิ่มความชื้นขึ้นไปจนถึงจุดที่ต้องการ อย่างเช่น 85% Rh แล้วหยุด
และสั่งให้ AL2 ทำงานที่ 85 % Rh เพื่อเข้ารับช่วงการทำงาน แต่จะหน่วงการทำงานของ AL2 ไว้

ดังนั้นเมื่อ AL1 เพิ่มความชื้นขึ้นไปจนถึง 85% Rh ช่องสั่งการ AL1 หยุดการทำงานและตามปกติแล้ว AL2 สั่งการทำงานไปที่พัดลมต่อทันทีเมื่อความชื้นขึ้นมาอยู่ที่ 85% Rh ซึ่งในขณะนั้นละอองน้ำอาจจะมีมากเต็มห้อง หรืออาจจะเป็นละอองน้ำที่ใหญ่เกินไปจนสามารถเป็นสื่อไฟฟ้าทำให้พัดลมเกิดการ Short ขึ้นมาได้ แต่ว่าด้วยโปรแกรมหน่วงเวลาที่เพิ่มเข้ามาใน VM80 จะสามารถหน่วงเวลาออกไปให้ละอองน้ำเม็ดใหญ่ได้มีเวลาพักระเหยตัวไปหมดจนไม่สามารถเป็นสื่อไฟฟ้าแล้ว และเมื่อครบตามเวลาที่ได้หน่วงเอาไว้ AL2 ก็จะค่อยสั่งเปิดพัดลม เพื่อกระจายความชื้นไปอย่างทั่วถึงต่อไป

 โปรแกรมหน่วงเวลาที่เพิ่มเข้ามาใน VM80 รุ่นใหม่นี้ สามารถหน่วงการทำงานเป็นหน่วยนาทีได้นานถึง 0-255 นาที หรือประมาณ 4ชั่วโมง 15นาที ดังนั้นเราสามารถดึงเอาประสิทธิภาพตรงนี้ออกมาใช้งานได้หลายหลากมากขึ้น และเหมาะสมกับสภาพอากาศที่แกว่งตัวไปมาอย่างรวดเร็ว ณ.จุดที่เครื่องจะต้องสั่งการเปิด-ปิดการทำงานของอุปกรณ์ เมื่ออุณหภูมิหรือความชื้นเริ่มเข้าใกล้จุดสั่งการของมิเตอร์นั้น ในช่วงแรกอุณหภูมิหรือความชื้นจะยังไม่มีเสถียรภาพมากเพียงพอ ซึ่งจะขึ้นๆลงๆ เกิดการแกว่งตัวที่จุดสั่งการอยู่สักระยะหนึ่ง จนอุณหภูมิ-ความชื้นมีเสถียรภาพมากพอ ก็จะสามารถก้าวข้ามจุดสั่งงานได้อย่างถาวร 

ซึ่งการแกว่งตัวของอุณหภูมิหรือความชื้น ณ.จุดสั่งการของมิเตอร์นั้นจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เปิดๆ ปิดๆ จนกว่าอุณหภูมิความชื้นจะมีเสถียรภาพมากเพียงพอ (หรือมีค่ากว่า หรือน้อยกว่า) จุดที่สั่งงานอย่างถาวรแล้ว  แต่ด้วยโปรแกรมหน่วงเวลาของ VM80 ในรุ่นใหม่ ได้เข้ามาอุดช่วงว่าง หรือข้อด้อยใน มิเตอร์รุ่นอื่นได้อย่างเหมาะสม จนกว่าสภาพอากาศไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิหรือความชื้นจะก้าวข้ามจุดสั่งการไปอย่างถาวรจึงค่อยสั่งการเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่างๆ โดยไปต้องเสี่ยงกับการเปิดๆๆ ปิดๆๆ จนทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ต่างๆได้

เห็นโปรแกรมการทำงานที่ครบถ้วนของ VM80 ในรุ่นใหม่ที่เสริมเขี้ยวเล็บให้ฟรีๆๆ ในราคาที่เท่าเดิม แต่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุด  ผมอยากเสนอแนะให้ท่านที่สนใจรีบสั่ง VM80 รุ่นไปทดลองใช้เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อสอดคล้องกับการทำงานจริง สามารถควบคุมอุณหภูมิความชื้นได้ตามความต้องการของท่าน ก่อนที่จะถึงหน้าร้อนปี 54 นี้ เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนอย่างจริงจัง

ปล. ตามที่ได้สังเกตุ ช่วงนี้นกเริ่มมีการเล่นเสียง เริ่มบินสำรวจบ้านบ้างแล้วนะครับ เพื่อเตรียมหาที่ทำรัง วางไข่ และเลี้ยงลูกนกให้โตทันช่วงหน้าฝนที่กำลังจะวนกลับมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้  ดังนั้นช่วงนี้ให้เริ่มตรวจสอบรายละเอียดต่างๆไว้ให้พร้อมเสียแต่เนิ่นนะครับ  จะได้ไม่พลาดโอกาสดีๆที่จะมาถึง

เดี่ยวจะนำเอา Clip การตั้งโปรแกรมการหน่วงเวลามาสาธิตให้ชมกันครับในวันต่อๆไป เพราะว่า วันนี้ติดธุระหลายอย่างครับผม

                                                                                              Vuthmail
                                                                                              09.03.54


4/3/54

การตรวจสอบเส้นทางการบิน

เมื่อ 2 เดือนก่อนผมได้รับการติดต่อให้ช่วยดูแบบของหอนกซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่  ซึ่งบ้านนกหลังนี้ได้สร้างใหม่บางส่วน และอาศัยบ้านเดิมบางส่วนเพื่อใช้เป็นเส้นทางบิน เพื่อทำเป็นบ้านนก

บ้านนกหลังนี้ได้กำหนดให้นกบินเข้าที่หอนกในเป็นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วให้นกบินกดหัวลงเพื่อเข้าไปในส่วนที่เป็นตัวอาคารเดิม แล้วจึงเข้าไปในห้องทำรัง ซึ่งมีอยู่ทั้งในส่วนของอาคารเดิมกับส่วนที่ก่อสร้างใหม่  ซึ่งท่านเจ้าของบ้านได้ส่งแบบหอนกที่จะสร้างมาให้ดู  ซึ่งตามแบบเดิมที่ส่งมาให้นั้นไม่ได้บอกหรือถ่ายภาพบริเวณรอบบ้านมาด้วย ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดสำคัญที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญในภายหลังมาให้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนหลัง

เมื่อได้รับแบบมาแล้ว ผมก็มานั่งพิจารณาดูความสัมพันธุ์ของช่องนกเข้าออก เส้นทางการบินที่นกจะต้องใช้ ความเป็นไปได้ต่างๆ และสิ่งที่อาจจะเป็นอุปสรรคกับเส้นทางการบินของนก เมื่อเริ่มจับแนวความคิดของเจ้าของบ้านได้แล้วก็เริ่มมองเห็นปัญหาบางอย่างที่อาจจะมีผลต่อการบินเข้าสำรวจของนกแอ่น ซึ่งท่านเจ้าของบ้านพยายามออกแบบหอนกนี้เพื่อลดแสงที่จะเข้าไปในบ้านนก  จึงทำให้อาจลืมคำนึงถึงเส้นทางการบินของนก  เรามาดูแบบหอนกที่ว่ากันนี้




เมื่อเรามาพิจารณากันให้ดีจะเห็นได้ว่า แผงกันแสงนี้จะเป็นอุปสรรคสิ่งแรก ที่สามารถเห็นได้เนื่องจาก แผงกันแสงนี้จะอยู่ใกล้กับช่องเข้า 1 มากเกินไป นกจะต้องมีมุมบินเฉพาะเพื่อให้สามารถบินผ่านช่องเข้า 1 และแนวแผงกันแสงไปได้ แล้วจึงจะสามารถบินลงตามแนวบันไดเพื่อเข้าสู่ห้องนกทำรังในอาคารเดิมได้ 

เมื่อมาพิจารณาช่องเข้าที่ 2 ก็เช่นกัน ถึงแม้นว่าจะมีพื้นที่กว้างพอประมาณเพื่อที่จะให้นกปรับมุมการบินแล้วบินลงไปในห้องนกทำรังตามแนวบันได เพื่อเข้าห้องนกทำรัง แต่ในมุมมองของผมนั้น รู้สึกว่าพื้นที่สำหรับปรับมุมบินที่ช่องที่ 2 นี้ยังกว้างไม่เพียงพอ  และบันไดจะเป็นอุปสรรคในการปรับองศาการบินอย่างแน่นอน

ในความคิดส่วนตัวของผมเอง ผมมองว่าช่องเข้าออกทั้ง 2 ช่องนี้จะเป็นอุปสรรคกับนกที่จะบินเข้ามาสำรวจอย่างแน่นอน ลองมาดูเส้นทางการบินและมุมมองของผม  ซึ่งอยู่ในรูปต่อไปนี้




ผมจึงได้แก้ไขแบบช่องเข้าออกให้ใหม่และส่งกลับไป พร้อมทั้งได้บอกว่าแผงกั้นแสงนี้จะเป็นอุปสรรคกับนก อยากให้เอาแผงกันแสงนี้ออกและเปลี่ยนตำแหน่งช่องบินเข้าออกใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการบินขึ้นลง ตามรูปต่อไป




เมื่อส่งรูปภาพที่ต้องการให้แก้ไขกลับไปให้ปรากฎว่า 2 ช่องที่อยากให้เจาะใหม่ มี 1 ช่องที่ใช้ได้เป็นช่องนกเข้า 1 หรือตำแหน่ง B ที่ให้เลื่อนออกมา  ส่วนอีกช่องตรงทางเข้าประตู ที่เลื่อนมาจากตำแหน่ง A นั้นไม่สามารถทำได้เพราะมาทราบจากเจ้าของบ้านภายหลังว่ามีแนวเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ตั้งทมึนอยู่ตรงหัวมุมตึกพอดี ซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการบินอย่างมาก ผมจึงบอกให้ท่านเจ้าของบ้านนก ถ่ายรูปรอบๆหอนกมาให้ดู  ซึ่งก็จริงอย่างว่าเสาไฟฟ้าแรงสูงใหญ่เกะกะนกในการบินมาก สายไฟฟ้าใหญ่เล็กเกะกะไปหมด



รูปบน ช่องเข้าออกตรงแนวประตูที่เลื่อนมาจาก ตำแหน่ง A  ช่องนี้ต้องแก้ไขใหม่

รูปล่าง ช่องเข้าออกที่เลื่อนมาจาก ตำแหน่ง B  ซึ่งช่องนี้ใช้ได้-ไม่มีปัญหาอะไร



จึงได้สอบถามจากเจ้าของบ้านนกท่านนี้ว่า นกบินมาทางไหน จากทิศไหนไปทิศไหน และรอบๆบ้านนกที่สร้างมีบ้านนกซึ่งสร้างก่อนหน้าบ้างหรือไม่  ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่ามีบ้านนกที่สร้างก่อนและมีนกมากพอประมาณ จึงได้ขอให้ท่านเจ้าของบ้านถ่ายรูปรอบหอนกมาให้ดูเพิ่มเติม เมื่อได้รับรูปแล้วผมก็สอบถามสภาพโดยรวม จึงทำให้ทราบว่าด้านหลังหอนกนี้ มีพื้นที่ว่างอยู่พอประมาณ และหากว่านำเสาโทรทัศน์ออกได้ก็น่าจะเจาะเป็นช่องเข้าออกได้เพื่อทดแทนช่องนกเข้าทางประตูบริเวณหัวมุมตึกได้  และท่านเจ้าของบ้านบอกว่าสามารถที่จะย้ายเสาโทรทัศน์นี้ออกได้ ผมจึงบอกให้เจาะช่องเข้าที่ด้านหลังหอนกนี้ 





เมื่อได้ตำแหน่งที่ดีที่จะเจาะช่องนกเข้าออกแล้ว ไม่มีสายไฟฟ้า ไม่มีเสาโทรทัศน์มาเกะกะ  ผมจึงกำหนดตำแหน่ง ขนาดและระยะที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับเส้นทางการบิน มุมบินของนกไปให้ตามที่เห็นในรูปด้านล่าง









เมื่อดูรูปและประมวลข้อมูลรอบด้านแล้ว จนได้ข้อสรุปได้เป็นที่ชัดเจนแล้ว ส่งที่ปรากฏออกมาก็จะเหมือนกับที่เห็นใน VDO นะครับ นกบินเข้าออกได้อย่างสะดวกสบายครับ เส้นทางการบินของนกก็เหมือนที่ได้คาดการณ์เอาไว้ครับ  เรามาดู VDO กันครับ

มุมกล้อง 1 และ 3 (ทางด้านซ้ายมือ) คือ ช่องนกเข้าทางด้านหลังหอนก
มุมกล้อง 2 และ 4 (ทางด้านขวามือ) คือ ช่องนกเข้าด้านข้าง



ตอนนี้ได้ข่าวจากเจ้าของบ้านนกว่าหลังจากก่อสร้างเสร็จและเปิดตึกได้ 10 วันมีนกเข้าอยู่แล้ว ดีใจกับเจ้าของบ้านนกหลังนี้ด้วย
ผมอยากให้เพื่อนๆได้ศึกษาต่อยอดจาก Case Study นี้ถึงความสำคัญของการออกแบบ การศึกษาวงบิน ทิศทางการบิน เมื่อเข้าใจได้อย่างดีแล้ว ปัญหาต่างๆก็จะน้อยลงมาก ไม่ต้องทุบรื้อแก้ไข เปิดบ้านทีเดียว ครั้งเดียวได้นกเลยจะดีมากๆสำหรับคนที่ทำบ้านนกหลังใหม่ๆๆ

                                                                                                     Enjoy
                                                                                              Vuthmail-Thailand
                                                                                                    04.03.54

1/3/54

วิวัฒนาการของช่องเข้าออก ตอนที่ 3

เมื่อช่องนกเข้าออกแบบ FreeWay (แบบ 2 ช่อง) ใช้งานกับภายนอกได้เป็นอย่างดี จึงเริ่มมีการนำช่องเข้าออกนี้ไปประยุกต์ใช้กับช่องเข้าออกภายในบ้านนก หรือที่เรียกกันว่า Inter Room Hole ซึ่งในยุคแรกๆของช่อง Inter Room Hole นี้ก็จะเหมือนกันกับช่องเข้าออกภายนอก ก็คือมี 1 ช่องเท่านั้นเองก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่สำหรับบ้านที่มีขนาดความกว้างน้อย ประมาณ 4 เมตรนั้น การที่มีช่องเข้าออกระหว่างห้องเพียง 1 ช่องนั้นจะทำให้นกต้องปรับเปลี่ยนวงบินใหม่ ตั้งหลักตั้งลำกันใหม่ให้เหมาะสมกับช่อง ปรับมุมการบินให้ได้เสียก่อน พร้อมทั้งต้องรอคิวเส้นทางให้กลุ่มหน้าเข้าไปได้จำนวนมาก เมื่อทางโล่งขึ้นจึงจะสามารถบินผ่านเข้าออกได้ จึงไม่เหมาะสมกับบ้านที่มีขนาด 4 เมตรห้องเดียว  ดังนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบช่องมาใช้แบบ FreeWay 2 ช่อง ซึ่งให้ผลดีกว่าเดิมมาก  อันมีสาเหตุมาจากรูปร่างทางกายภาพของนกแอ่นนั้นเอง

เนื่องจากนกแอ่นกินรังนั้นเป็นนกที่มีหางสั้นปีกยาว แต่หางสั้น เมื่อเทียบกับนกนางแอ่น , นกแอ่นในสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน  การที่มีปีกยาวนั้นทำให้นกแอ่นมีความสามารถในเรื่องการร่อนไปในอากาศได้ดีกว่า แต่หางที่สั้น  จึงทำให้ประสิทธิภาพของการบังคับมุมเลี้ยว หรือการเปลี่ยนทิศทางการบินอย่างรวดเร็วนั้นทำได้ลำบากกว่านกนางแอ่นทั่วๆไป ดังนั้นการที่ภายในบ้านนกที่มีช่อง Inter room hole เพียง 1 ช่องนั้น ทำให้นกแอ่นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนมุมการบินได้เลย ทั้งที่นกแอ่นเองก็ไม่ชื่นชอบการปรับเปลี่ยนมุมบินสักเท่าไหร่ เพราะว่าศักยภาพนกแอ่นไม่สู้จะอำนวยเท่าไหร่นั้นเอง แต่ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมบินและทางทางการบินทุกครั้งที่จะบินเข้าหรือบินออก

เมื่อนกแอ่นบินกลับบ้านพร้อมกับเพื่อนๆนกที่อยู่ในบ้านเดียวกัน  ซึ่งบินกลับมาในเวลาใกล้เคียงกัน การที่จะต้องเข้าห้องพร้อมๆกันโดยผ่านช่องที่มีเพียงช่องเดียวอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าสับสน อลหม่านพอสมควร แถมแต่ละตัวมีมุมการบินเข้าแตกต่างกัน องศาแตกต่างกัน แต่จะต้องผ่านช่องเดียวกัน ในจำนวนที่มากพร้อมๆกัน คงเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นนกแอ่นจะต้องมีการปรับทิศทางมุมบินของตัวเองให้สอดคล้องกับนกแอ่นตัวอื่นๆเสียก่อน แล้วจึงสามารถบินเข้าออกได้ หากว่าท่านสังเกตุให้ดีจะพบว่า ทุกครั้งที่นกกลับบ้านมา ก็จะมีนกอีกกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังพยายามจะบินออก โดยบินสวนทางออกมา  ดังนั้นนกที่กำลังกลับเข้าบ้านมาก็จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในการบิน จำเป็นต้องปรับมุมบิน ปรับเส้นทางการบินเพื่อไม่เกิดอันตรายกับทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเอง  การเข้าออกทำได้ช้า ใช้เวลานาน และไม่ค่อยปลอดภัย บางตัวพลาดพลั้งบินเข้ามาแล้ว มุมการบินไม่ได้ เกิดอุลบัติเหตุปีกไปชนเข้ากับผนังของช่องเข้าออก ทำให้ปีกนกแอ่นหัก หรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เป็นเรื่องที่ไม่น่าให้เกิดขึ้น

ดังนั้นช่อง Inter Room Hole แบบ FreeWay จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้นกแอ่นที่บินออกในตอนเช้า หรือกลับเข้าบ้านในตอนโพล้เพล้ ไม่ถูกบังคับด้วยเส้นทางอย่างที่เคยเป็นมา มีช่องทางการบินมากขึ้น  จึงไม่จำเป็นต้องปรับทิศทางการบิน ปรับมุมการบินอะไรมากมายเท่าไหร่ ปรับเพียงเล็กน้อยก็สามารถวางตำแหน่งเส้นทางการบินเข้าออกได้อย่างสะดวก และช่องทางการบินก็มีช่องทางมากกว่าเดิม การบินเข้าออกเป็นไปอย่างราบรื่นพอประมาณ เมื่อประมาณนกอแอ่นเริ่มมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น ประชากรนกหนาแน่นขึ้น เส้นทางการบินก็จะหนาแน่นมากขึ้นกว่าเดิม เหมือนรถติดตามซอยในกรุงเทพนั้นแหละครับ ( เดิมคนยังไม่มากก็ลื่นไหลดี แต่พอเริ่มเจริญคนมากขึ้นการจราจรก็เริ่มไม่พอเพียง เริ่มติดขัด)

 แล้วจะทำอย่างไรดีแหละครับ คำตอบก็คือ  การขยายช่องการจราจร   ครับ




ดังนั้นเมื่อการจราจรเริ่มติดขัด ก็จำเป็นที่จะต้องขยายหรือเพิ่มเส้นทางการบินให้มากขึ้น  จึงนำไปสุ่การพัฒนาช่อง Inter Room Hole ในรุ่นที่ 3 ซึ่งก็คือ High Speed Way  ซึ่งเป็นการเจาะผนึกเชื่อมช่องทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เปิดเป็นที่โล่งตลอดทั้งซ้ายขวา ก็จะทำให้ได้เส้นทางการบินเพิ่มเติม สะดวกกันสุดๆเลย รองรับจำนวนได้มากขึ้น เส้นทางการบินมากกว่าเดิมเป็นหลายเท่า การปรับมุมบินน้อยลงเป็นอย่างมาก ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องกังวลเรื่องนกบินสวนออกมา  ก็เข้าใช้เวลาน้อยลง เข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งรังได้เกือบทุกตำแหน่ง จากทุกเส้นทางการบิน

ซึ่ง Inter Room Hole แบบ High Speed Way นี้จะมีความเหมาะสมกับบ้านนกที่มีประชากรจำนวนมากแล้ว และไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเรื่องของแสงสว่างหรือลมเท่าไหร่นัก ในรูปซึ่งได้แสดงไว้นั้น  จำนวนลูกศรยิ่งมาก ก็จะยิ่งบ่งบอกถึงจำนวนเส้นทางการบินที่มากขึ้น ส่วนวงกลม 3 สี หมายถึงวงบินของนกที่จะสามารถตั้งวงบินเพื่อใช้ในการปรับทิศทางในการเตรียมบินเข้าผ่าน Inter Room Hole  และส่วนด้านในสุดของอาคาร ซึ่งจะเป็นการบินออกนั้น จะค่อนข้างทำได้ยากกว่าเพราะว่านกที่จะบินออกนั้นจะต้องตั้งขบวนภายห้องซึ่งมีพื้นที่จำกัดกว่า ดังนั้นตอนบินออกนี้ก็ยิ่งทำให้ต้องมีการปรับขบวน จัดระเบียบ ปรับทิศทางมากขึ้นกว่าตอนที่จะบินเข้า การจะบินออกและต้องปรับขบวนซึ่งเกิดขึ้นภายในห้องที่มีพื้นที่อันจำกัดนั้น จะมีความวุ่นวายมากในการปรับขบวน ปรับทิศทางการบินเพื่อให้สอดคล้องไปกับวงบินของนกกลุ่มที่อยู่ด้านหน้า และเป็นกลุ่มแรกๆที่บินออก กลุ่มหลังๆจะบินผ่าวง ผ่าขบวนไปนั้นทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น Inter Room Hole แบบ High Speed Way สามารถช่วยแก้ปัญหาวงบินของนกที่บินออกได้มากกว่า

หากว่าไม่เข้าใจ ผมแนะนำให้ดูรูปกันอีกหลายๆที่-หลายๆครั้ง ก็จะเข้าใจ

                                                                                           Vuthmail-01.03.54