29/9/54

ประสิทธิภาพที่ลดลง

เนื่องจากผมยังบทความอีกหลายบทความที่ต้องการจะเขียนลง Blog แต่ว่ายังติดอยู่ที่ว่ายังทำเรื่อง Cooling Pad ไม่จบ ก็เลยขอว่าเรื่องของ Cooling Pad ต่อเลยนะครับ

อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า Cooling Pad จะทำงานได้ดีจะต้องมีอากาศไหลผ่านเข้าและออก หากว่าอากาศไหลเข้าไม่สะดวก ติดๆขัด ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะด้อยลงไปมาก ดังนั้นต้องหมั่นดูแลอย่าให้ Cooling Pad เสียหาย หรืออุดตัน ซึ่งหากว่าทั้งเสียหายและอุดตันด้วยแล้ว ประสิทธิภาพก็แย่ลงมากเลย

จาก Clip ที่ว่านี้ เราจะเห็นนะครับว่า Cooling Pad สกปรกมาก เกิดการอุดตันที่ Pad ทำให้อากาศไหลเข้าได้น้อย เมื่ออากาศไหลเข้าน้อย หรือไหลเข้าไม่สะดวก ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิ เพิ่มความชื้นของ Cooling Pad ก็ด้อยลงไปถนัดตา ดังนั้นเราจำเป็นต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด ซึ่งอาจจะทำตามใน Clip ของคุณ Zachsoftware ด้วยเครื่องดูดฝุ่น Bullhead Fire (ต้องโฆษณาให้เจ้าของผลิตัณฑ์เค้าหน่อย) ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ คุณ Zachsoftware ที่ได้ Upload ไว้บน Youtube





Link ที่มาของ Clip - http://www.youtube.com/watch?v=6sHeyXWgzJo

ปัญหาต่อมาของ Cooling Pad ก็คือการถูกหนูและแมลงสาบกันกิน Pad จนเสียหายเป็นรูกว้าง เนื่องจาก Pad ผลิตมาจาก Cellulose ฟันหนู หรือแมลงสาบกัดกินได้สบายๆ ดังนั้น Cellulose ใน Pad จึงเป็นได้ทั้งแหล่งอาหารและที่หลบซ่อนของหนู,แมลงสาบไปพร้อมกัน ซึ่งหากว่าในบ้านนกของท่านยิ่งมีหนูมาก ก็ยิ่งมีรูหลายรู และสร้างความเสียหายให้กับระบบการควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นภายในบ้านนกมากตามไปด้วย

ต่อมาเรามาลองดูนวตกรรมใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ดีพอประมาณ โดยการเปลี่ยนจาก Cooling Pad ที่เป็น Cellulose มาเป็นพลาสติกดูกันบ้างนะครับ

ปัญหาเรื่องของการอุดตัน จะแก้ไขได้สะอาดกว่ามาก ทำไมผมถึงพูดว่าสะอาดกว่ามาก เรามาดูกันใน Clip ตัวนี้ครับ จะเห็นได้เลยว่าทำความสะอาดได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า และ ที่สำคัญคือสะอาดมาก



Link อ้างอิง - http://www.youtube.com/watch?v=T9XsR_y6cks&feature=mfu_in_order&list=UL





Link อ้างอิง - http://www.youtube.com/watch?v=LRlqqWBXVpM

ต้องขอขอบพระคุณ คุณชนินทร์ ทับทอง สำหรับ Clip ทั้ง 2 ตัวนี้ด้วยครับ


สำหรับ VDO ด้านล่างนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง Pad ที่ทำจากพลาสติก จะทนต่อแรงอัดของน้ำแรงดันสูงๆได้ ซึ่งหากว่าเป็น Pad ที่ทำจาก Cellulose จะทนแรงดันของน้ำที่พ่นออกมาได้น้อยกว่าหรือไม่ได้เลย

หลายคนหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ามี Pad ที่ทำจากพลาสติก ผมจึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ใน Blog บ้านนกเป็นคนแรกนะครับ เพราะดูแล้วยังไม่มี Blog ไหนได้หยิบยกขึ้นมานำเสนออย่างเป็นทางการ แม้กระทั่ง Blog ของมาเลเซียเองก็ยังไม่มีการกล่าวถึง ผมจึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับหลายๆคนหลายๆท่าน จึงได้ติดต่อกับคุณชนินทร์ เจ้าของ Clip เพื่อขออนุญาตินำ Clip ทั้ง 2 ตัวมาลงใน Blog อย่างถูกต้องเมื่อราวๆ 1 เดือนก่อนหน้า และวันนี้ที่นำ Clip มาลงในบทความ ผมก็ได้โทรบอกกล่าวเพิ่มเติมอีกครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สบายใจได้ครับ

และจากการที่ได้พูดคุยกับคุณชนินทร์ ทำให้ทราบว่า Cooling Pad ที่ผลิตจากพลาสติกนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างก็คือ หนูกับแมลงสาบไม่ค่อยชอบกัดกินเท่าไหร่ เพราะว่าคงจะไม่ค่อยเอร็ดอร่อยกระมั่ง ถึงแม้ว่าจะมีรอยกัดเป็นแผล ก็จะเป็นเพียงแผลตื้นๆไม่ถึงกับทะลุ จึงสร้างความเสียหายไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และ Pad พลาสติกของคุณชนินทร์สามารถทำความสะอาดได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ Pad แต่อย่างไร

เป็นธรรมดาของโลกนะครับ เมื่อมีข้อดีบางอย่างก็จะมาพร้อมกับข้อด้อยบางประการ ซึ่ง Pad พลาสติกก็เช่นกัน เมื่อมีข้อดี ก็จะต้องตามมาด้วยข้อด้อยบางประการ ที่ข้อด้อยตัวนี้จะกลับกลายเป็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งผมกำลังจะกล่าวถึง ก็คือการให้ความชื้นของ Pad พลาสติกเมื่อเทียบกับ Pad ที่ทำจาก Cellulose แล้วจะให้ความชื้นต่ำกว่าประมาณ 5-7 Rh% โดยเฉลี่ย (ตามปกติแล้ว Pad ที่ผลิตจาก Cellulous จะสร้างความชื้นได้สูงมากถึง 92 Rh% )  ดังนั้นหากว่าดูจากตัวเลข 92 Rh% และค่าเฉลี่ยที่ Pad พลาสติกทำความชื้นได้น้อยกว่า 5-7 Rh%  ซึ่งตัวเลขตั้ง 2 ชุดนี้กำลังจะก่อให้เกิดตัวเลขใหม่ที่น่าสนใจมากก็คือ ในขณะที่ความชื้นของ Pad Cellulose ให้ความชื้นอยู่ที่ระดับ 92 Rh% แต่ว่า Pad พลาสติกจะให้ความชื้นในช่วง 75-85 Rh%  ซึ่งเป็นความชื้นที่นกแอ่นชื่นชอบพอดี

ระดับความชื้นจาก Pad Cellulose ที่ระดับ 92 Rh% หรือมากกว่าเล็กน้อย จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกชื้นสูงมาก เมื่อมีฝนตกหนัก ตกต่อเนื่องบ่อยๆ ในช่วงฤดูฝนนี่เองเราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ความชื้นของ Pad Cellulose สูงเกินไป จนทำให้ไม้ Plank เกิดราได้ แต่หากว่าเป็น Pad พลาสติกข้อด้อยเรื่อง 5-7 Rh%  นี้เองที่จะไปช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เกิดราบนไม้ Plank ได้ โดยส่วนตัวผมมอง Pad พลาสติกจะเริ่มเข้ามามีบทบาทด้วยเงื่อนไขนี้ และ เมื่อราคาสมเหตุสมผลกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ราคายังสูงมากเมื่อเทียบกับ Pad Cellulose

ทำผมการบ้านเรื่อง Cooling Pad มาสักพักใหญ่แล้ว ได้นำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ให้เพื่อนๆที่ติดตามอ่าน Blog ได้รับรู้รับทราบมาพอประมาณแล้วครับ ยังขาดแต่เรื่องเทคนิคบางอย่าง  จึงขอยกไปนำเสนอในบทความต่อๆไปในอนาคตอันใกล้นี้

                                                                                  Vuthmail-Thailand
                                                                                          29.09.54                                                   

12/9/54

ผลกระทบและประสิทธิภาพของมุมเอียง Pad

เรามาว่ากันต่อนะครับสำหรับการเลือกมุมเอียงที่ให้อากาศไหลเข้า Pad และ อากาศไหลออกจาก Pad

เนื่องจากอากาศและน้ำจะมีคุณสมบัติเหมือนกันอยู่หลายอย่าง สำหรับคนที่เรียนวิทยาศาสาตร์หรือวิศวะกรคงจะได้ผ่านหูผ่านตามากันบ้างสำหรับคำว่า Fluid หรือของไหล ซึ่งคุณสมบัติของอากาศและน้ำของมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นเราสามารถที่จะหาคุณสมบัติร่วมของทั้ง 2 อย่างเพื่อการเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจ สามารถเห็นภาพเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกันได้มากพอประมาณ เพราะว่าทั้งน้ำและอากาศจะมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันคือสามารถไหล แต่การไหลของอากาศจะไม่สามารถจับต้องได้ เห็นได้ยากกว่าการไหลของน้ำจึงต้องนำทั้ง 2 อย่างมาพูดเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น

จากที่ผมได้เกริ่นดังข้างต้นมาแล้ว ผมคิดว่าบางท่านที่มีพื้นฐานเรื่องนี้อาจจะเข้าใจได้ทันที บางท่านอาจจะไม่ยังเข้าใจ แต่ไม่เป็นไรผมจะเริ่มอธิบายให้ท่านทำความเข้าใจไปตามที่ละขึ้นทีละตอน การหันมุมเพื่อให้ถูกต้องว่า Pad มุมไหนจะต้องหันออก มุมให้จะต้องหันเข้า

เรามาดูและทำความเข้าใจจากภาพนี้กันก่อนนะครับ




จากภาพ พร้อมคำอธิบายที่ผมเขียนประกอบคงทำให้หลายท่านร้องอ้อ ถึงบางอ้อกันแล้วนะครับ

การเลือกทางไหลออกของอากาศ จะเป็นตัวสำคัญครับ เพราะว่ามุมที่อากาศไหลออก และเข้าไปสู่ตัวบ้านจะต้องต่ำกว่า ก็เนื่องมาจากสาเหตุว่าน้ำและอากาศเองก็จะมีน้ำหนัก เมื่อมีน้ำหนักก็จะไหลลงที่ต่ำเสมอและสะดวกกว่าการไหลขึ้น การไหลขึ้นนั้นจะต้องอาศัยความต่างศักดิ์ของอากาศสูง

ในบ้านนกหรือโรงเรือนเลี้ยงไก่นั้นเราสามารถสร้างความต่างศักดิ์ของอากาศได้ด้วยพัดลมดูดอากาศนั้นเอง ขอให้เพื่อนๆได้หยุดทำความเข้าตรงนี้ให้มากนะครับ ซึ่งจะมีผลต่อการทำความเข้าใจในส่วนต่อๆไป และสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกมาก

ดังนั้นการหัน Pad ที่มีมุมเอียง 2 มุมที่แตกต่างกันนี้จะต้องหันด้านให้ถูกต้อง ถูกด้านก็จะทำให้ได้รับประโยชน์จากความต่างศักดิ์นี่เอง

การหันด้าน Pad ที่มีมุมเอียงน้อยกว่า 45 องศาโดยจัดให้มุมที่ต่ำกว่าอยู่ภายในบ้านนกนั้นจะได้ประโยชน์ในแง่ที่ว่าการไหลของน้ำจะไหลช้ากว่ามุม 45+45 ทำให้ Cellulose ดูดซับน้ำได้มากกว่า จึงสร้างความชื้นได้เต็มที่ และการไหลของอากาศก็จะไหลผ่าน Pad สั้นกว่าเร็วกว่า สร้างไอเย็นและความชื้นได้ง่ายกว่า เมื่อรวมทั้ง 2 อย่างนี้เข้าด้วยกันนั้นหมายถึงว่าเราจะได้อากาศที่เย็นและเร็วขึ้นด้วยความต่างศักดิ์ที่น้อยกว่า ตัวอย่างเช่นลมธรรมดาๆไม่ต้องแรงมากก็ทำให้อากาศไหลผ่าน Pad ไปได้สะดวกๆ หรือกล่าวอีกทีก็คือว่าใช้ความต่างศักดิ์ของอากาศไม่ต้องมากเท่าไหร่ก็ทำให้เกิดการไหลได้ ดังนั้นจึงเหมาะสมกับสถานที่เปิดโล่ง อาคาร,บ้านนกที่เป็นระบบเปิดหรือใส่ช่องระบายอากาศมากเกินไป ระบบนี้ก็ยังสามารถลดอุณหภูมิสร้างความชื้นได้เกือบเต็มประสิทธิภาพ

อีกประการหนึ่งก็คือ ตัวพัดลมดูดอากาศที่ใช้กันตามบ้านนกทั่วไปนั้นเป็นพัดลมตัวเล็ก ซึ่งไม่ได้ออกแบบให้สร้างความต่างศักดิ์ของอากาศมากๆอย่างโรงเรือนไก่ที่ใช้พัดลมยักษ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ดูดอากาศได้ครั้งละมากๆ พร้อมทั้งยังสามารถสร้างความต่างศักดิ์ของอากาศได้สูง ดังนั้นประสิทธิภาพของพัดลมดูดอากาศในบ้านนกโดยทั่วไปจะต่ำกว่า สร้างการไหลเวียนอากาศน้อยกว่า ดังนั้นการหันมุมเอียงของ Pad ให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ Cooling Pad ที่ใช้พัดลมดูดอากาศทั่วๆไปทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสอดคล้องกับข้อเท็จจริงภายในบ้านนกของเราๆท่านครับ

Clip ที่เห็นนี้เป็น Clip ที่ผมได้เข้าไปศึกษาหาข้อมูลจากบริษัทที่นำเข้า Cooling Pad แห่งหนึ่ง เมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมานำเสนอใน Blog ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์การติดตั้ง Cooling Pad ซึ่งเป็นพื้นฐานประกอบการใช้งาน  (เป็น Clip เก่าที่ผมทำการบ้านเรื่องนี้ไว้นานแล้วนะครับ)

การดูรางน้ำบน-ล่างและตัวขยายความยาวรางของ Pad
ส่วนที่เลื่อนไปมาได้นั้นเป็นที่รองท่อน้ำ แต่ผมพูดว่าใช้รองรับ Pad เพื่อป้องการ Pad ตกลงมาต้องขอให้ทำความเข้าใจว่าเป็นตัวที่ใช้รองรับเพื่อวางท่อน้ำทั้งท่อน้ำเข้า และท่อน้ำออก




หากาพไม่ปรากฎกรุณา Link ไปที่ http://www.youtube.com/watch?v=EpBwFRwr0oU


ฉากหิ้วรางบน-ล่าง ที่ใช้ยึดเจาะเข้ากับผนัง





หากาพไม่ปรากฎกรุณา Link ไปที่ http://www.youtube.com/watch?v=mPFrRVhzuuk

                                                                                                    Vuthmail-Thailand
                                                                                                            12.09.54

7/9/54

ลักษณะของ Cooling Pad ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวเรื่องราวของ Cooling Pad นั้นยังไม่มี Blog ไหนที่นำเสนอการเจาะลึกในเชิงวิชาการ หรือข้อมูลที่สำคัญๆ ซึ่งคนที่ต้องการใช้ระบบ Cooling Pad จำเป็นต้องรับรู้รับทราบและใช้เป็นแนวทางในการหา Cooling Pad ที่เหมาะสมตรงกับความต้องการที่จะใช้ 

เอาเป็นว่าผมจะเป็นคนแรกที่นำเรืองราวเหล่านี้มานำเสนอในทางวิชาการ ให้กับคนที่ติดตามอ่าน Blog ของผม

การเลือกซื้อ Coolling Pad มีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

   1.-ความหนาของ Pad ...โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีความหนา 4 นิ้ว กับ 6 นิ้ว  การเลือกซื้อ Cooling Pad เพื่อการเน้นประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิจะต้องเลือก Pad ที่มีความหนากว่าหรือ Pad หนา 6 นิ้วเป็นเกณฑ์ เนื่องจาก ความหนา 6 นิ้ว เมื่อเทียบกับ Pad 4 นิ้ว จะมีความหนาเพิ่มขึ้น 2 นิ้วหรือเท่ากับ 50% ( ความหนาที่เพิ่มขึ้นอีก 2 นิ้ว จะเท่ากับ 50% ของ Pad หนา 4 นิ้ว)  การดูดซับน้ำก็จะมากขึ้นกว่าเดิมอีก 50% , พื้นที่หน้าสัมผัสของอากาศกับความชื้นก็จะมากขึ้นอีก 50% ; ระยะทางที่อากาศต้องไหลผ่านมากขึ้นอีก 50%   ดังนั้นเมื่ออากาศไหลผ่าน Pad ก็จะใช้เวลามากขึ้น ความร้อนก็จะถูกถ่ายเทออกไปได้มาก อุณหภูมิก็จะลดลงได้ค่อนข้างมากและความชื้นก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

หากว่าเราจะเปรียเทียประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิกับความชื้นที่ได้รับ  ประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิของ Pad หนา 6 นิ้วจะทำได้ดีกว่า Pad หนา 4 นิ้ว แต่หากเปรียบเทียบกันในแง่ของความชื้นแล้ว Pad ความหนา 6 นิ้ว กับ Pad หนา 4 นิ้ว ความชื้นที่เพิ่มขึ้นมาจะเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย แตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่  ดังนั้นหากว่าต้องการเน้นประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิต้องเลือก Pad หนาๆไว้ก่อนครับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ Pad มีความหนามากขึ้น 8 นิ้ว ทำให้ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิยิ่งมากขึ้น แต่ราคาก็เดินเป็นเงาตามตัวไปด้วยเช่นกัน

 
   2.-เลือกที่ความหนาแน่น Pad ซึ่งจะใช้การเปรียบเทียบเป็นน้ำหนัก เช่น 2.2 กิโล 2 กิโล 1.8 กิโล
        เนื่องจาก Pad เป็นสิ่งที่ผลิตจาก Cellulose ซึ่งจะต้องสามารถดูดซับน้ำได้ดี ดังนั้นยิ่ง Pad มีความหนาแน่นมาก ก็จะทำให้มีการดูดซับน้ำได้มาก สร้างความชื้นใน Pad ได้มาก ซึ่งความชื้นภายใน Pad ที่มีมากขึ้นกว่าเดิมนี้ ก็จะมีผลทำให้จะได้รับประสิทธิผลของการลดอุณหภูมิที่มากกว่า มีผลทำให้สามารถสร้างสภาพภายในบ้านนกที่ "เย็นกว่า" การเลือกใช้ Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย

        ในกรณีที่จะใช้ Cooling Pad ท่านผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจสอบด้วยตัวเองว่า Pad ที่ต้องการจะซื้อนั้นเป็น Pad ที่ว่าน้ำหนักเท่าไหร่  อย่าเพิ่งเน้นเรื่องราคามากจนเกินไป  เดี๋ยวจะโดน........  การตกลงซื้อขายจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการ Pad แบบน้ำหนัก 2.2 กิโล , 2 กิโลหรือ 1.8 กิโล หากว่าไม่ระบุให้ชัดเจนท่านอาจจะได้ Pad ที่มีน้ำหนัก 1.8 กิโลมาแทน ซึ่งเราๆท่านๆอาจจะไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน คิดว่า Cooling Pad ก็คือ Cooling Pad มีแบบเดียว ไม่ได้สนใจเรื่องของความหนา น้ำหนัก ความหนาแน่น ตกลงใจที่จะซื้อโดยที่คิดว่าเหมือนกันหมด  ซึ่งที่จริงแล้วเป็นอย่างที่ผมได้กล่าวมาให้ฟังแล้วนะครับ คือจะต้องคำนึงถึงความหนา น้ำหนัก(ความหนาแน่น) ซึ่งทำให้ราคามีความแตกต่างตามไปด้วย ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ Cooling Pad จะต้องระบุให้ชัดเจนทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน

         ส่วน Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย 1.8 กิโล จะมีราคาถูกกว่า เพราะใช้วัสดุน้อยกว่านั้นเอง ส่วนประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิก็ด้อยลงไปตามส่วน ซึ่ง Pad ที่มีน้ำหนักเพียงแค่ 1.8 กิโล ผมแนะนำให้เลือกใช้ในกรณีที่น้ำซึ่งไหลผ่าน Pad เป็นน้ำที่มีคุณาพต่ำ เป็นตะกรัน มีเศษฝุ่นผงมาก น้ำบาดาล ซึ่งน้ำในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ Pad เกิดการอุดตันเร็ว ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิเสื่อมลงอย่างรวดเร็วตามระยะเวลาและปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน Pad  การเลือกใช้ Pad ที่น้ำหนักน้อยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ Pad น้ำหนักมาก มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า




        






















   3.-การเลือกมุมเอียงของ Pad  เนื่องจาก Pad จะมี 2 ลักษณะคือ
         3.1.- มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา เท่ากัน
         3.2 - มุมเอียงน้อยกว่า 45 องศา + 45 องศา
หลายๆท่านอาจจะไม่เคยทราบ-ไม่เคยสังเกตุ มากก่อนว่า Pad มุมเอียงแตกต่างกัน มุมที่ว่านี้หมายถึง มุมเอียงที่ให้ไหลอากาศเข้า และ มุมเอียงที่ให้อากาศไหลออก ดังนั้นมุมเอียงจึงมี 2 มุม

    - มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา จะเป็น Pad ที่มีมุมเอียงให้อากาศไหลเข้ากับมุมเอียงให้อากาศไหลออกเท่ากันคือเอียง 45 องศา ซึ่ง Pad ที่มีมุมเอียงเข้ากับออกเท่ากันนั้นจะสามารถผลิตได้ง่ายกว่า เพราะว่าใช้ Pad เพียง Pattern เดียว ทำได้ง่าย ขบวนการผลิตไม่ยุ่งยาก เสียเศษน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่า (ผลิตได้เร็วกว่าในเวลาที่เท่ากัน) แต่ว่าประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิด้อยกว่าการเลือกใช้มุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา +  45 องศา

    - มุมเอียงมุมเอียงที่น้อย 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศา ผมกล้าที่จะกล่าวได้ว่า มีหลายๆคนที่ใช้ Cooling Pad อาจจะไม่ทราบว่ามุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศาต่างกันอย่างไร และจะเลือกมุมไหนให้เป็นด้านนอก (ให้อากาศไหลผ่านเข้ามา) และมุมเอียงไหนเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกไปสู่ในบ้าน  หลายท่านหลายคนคงจะเริ่มมีอาการงงกันบ้างแล้วซิครับ แต่ใจเย็นๆนะครับ ผมจะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด

      การเลือกมุมเอียงใดให้เป็นทางให้อากาศไหลเข้ามา กับมุมเอียงใดเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกสู่ตัวบ้าน  การเลือกมุมเอียงที่ไม่ถูกต้องจะมีผลที่ทำให้เกิดความต่างศักดิ์ของแรงกดอากาศระหว่างภายในบ้านนกกับภายนอก ความกดอากาศที่เกิดจากการหันมุมเอียงผิดด้านย่อมส่งผลต่อการทำงานของพัดลมดูดอากาศแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมดูดอากาศด้อยลงไป ทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมทั้งส่งผลต่อการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านนก และอากาศที่ไหลผ่าน Pad  เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับที่ได้กล่าวไว้แล้ว  ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลึก ต้องใช้เวลาในการอธิบายกันอีกมาก เอาไว้ติดตามอ่านกันต่อนะครับ เนื่องจากผมใช้เวลาในการเขียนบทความนี้ค่อนข้างมาก และยังมีงานที่ต้องสะสางค้างอยู่ ซึ่งจำเป็นใช้เวลาในการสะสางงานที่คั่งค้างมากพอสมควร ผมจึงขออนุญาติพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน  บทความดีๆ ต้องใช้สมาธิในการเขียนและเรียบเรียงกันมากพอสมควร

      โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ  ( 555 เหมือนหนัง Series ที่ชอบจบตอนสำคัญๆอยู่เรื่อย)

                                                                                                        สวัสดีครับ
                                                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                                                           07.09.54



3/9/54

Blog ใหม่สำหรับ VM80 Hygrostat อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น

เนื่องจากผมได้เขียนบทความการใช้งานในหลายๆมุม หลายๆด้านของ Hygrostat รุ่น VM80 ไว้ใน Blog เกี่ยวกับบ้านนกแอ่นกินรังไว้มาก หลายบทความและกระจัดกระจายอยู่หลายแห่งหลายที่ จึงทำให้ยากต่อการติดตามหาข้อมูลได้ลำบาก จึงอาจจะทำให้มีความเข้าใจไม่ตลอดเนื่องตลอดสาย ผมจึงคิดที่จะทำการรวบรวมบทความของ ไฮโกรสตัค (Hygrostat) VM80 ให้อยู่ในที่เดียวกัน ผมจึงได้ทำการแยก Blog ของ VM80 ออกมาไว้ต่างหาก เพื่อสะดวกในการติดตามอ่าน และให้ต้องตามค้นหาว่ามีบทความเก่าเกี่ยวกับ VM80 ที่ไหนบ้าง เพราะมีคนโทรมาสอบถามผมหลายคน ซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความไม่สะดวก

จากวันที่เริ่มคิด ถึงวันนี้ประมาณ 1 เดือน 2 วัน จึงมีโอกาสมีกำลังในการรวบบทความเก่าเหล่านั้นออกมาจัดทำเป็น Blog ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของ Hygrostat เครื่องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้น VM80 โดยเฉพาะให้เพื่อนได้ติดตามอ่านกันตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน เพื่อความเข้าที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ในหลายๆมิติในหลายๆมุม และหลากหลายวิธีการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดที่ท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากการใช้งาน VM80 เครื่องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้น ตัวเล็กแต่ประสิทธิภาพการทำงานรุ่นใหญ๋

สามารถติดตามอ่านได้ที่    http://vm80-hygrostat.blogspot.com/


                                                                                  Vuthmail - Thailand
                                                                                          02.09.54