10/2/55

Digital Timer คร๊าบบบบบบบบ

ผมขอลงรูปไว้ก่อนนะ เดี่ยวว่างหน่อยค่อยมา Update ครับ

จากรูปที่เห็นเป็น Digital Timer ที่ผมรับมาสดๆครับ เป็นสินค้านำเข้าและเป็นสินค้าที่ส่งเข้าไปทางยุโรป  Timer ตัวนี้ได้ผ่านการรับรองมาตราฐาน CE  ซึ่งพอที่จะทำให้ผู้ใช้มีความสบายใจได้ในเรื่องคุณภาพสินค้าได้มากพอประมาณ

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนะครับ ในเรื่องคุณสมบัตของ Digital Timer ตัวนี้  จะเป็น Timer ที่สามารถเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆอย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถเปิดปิดสลับกันตลอด 24 ชม. ซึ่งเหมาะสมกับการใช้เพื่อเปิดปิดทั้งเสียงภายใน และเสียงภายนอกที่ใช้แบบ Amp จำนวน 2 ตัวทำงานสลับกัน


บางท่านสงสัยว่าทำใมถึงใช้กับเสียงภายนอกได้ จริงๆแล้วสามารถใช้ได้ครับ โดยเฉพาะสำหรับระบบที่ใช้ Amp 2 ตัวที่ทำงานสลับกันนี้  ผมสังเกตุพบว่าจะมีหลายท่านหลายคน จะใช้เสียงเดียวกันทั้ง 2 ตัว เปิดสลับกัน ซึ่งโดยส่วนตัวมีข้อเสนอแนะหากว่าให้ใช้ระบบ Amp 2 ตัวเปิดเสียงสลับกัน ข้อเสนอของผมก็คือให้ใช้เสียงดีๆซัก 2 เสียงที่แตกต่างกันแยกใส่ใน Amp แต่ละตัวและเปิดสลับกันด้วย Timer ตัวนี้ ซึ่งการทำเช่นนี้จะสามารถสร้างความสนใจให้กับนกแอ่นได้เป็นอย่างดีเลยครับ  ความสามารถของ Digital Timer ตัวนี้จะเปิดปิด Amp สลับกันตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ได้อย่างถูกต้อง

ซึ่ง Analog Timer ที่ใช้ในบ้านนกโดยส่วนมากจะไม่สามารถควบคุมให้ทำงานในลักษณะอย่างนี้ได้

ถึงแม้ว่าจะทำได้....แต่ก็ต้องใช้ Analog Timer 2 ตัวทำงานแยกกันขาดจากกัน จึงเพิ่มความซับซ้อนและทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น...อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าความเพี้ยนของ Timer ของแต่ละตัวจะมีมากมีน้อยไม่เท่ากัน บางตัวเดินเร็ว บางตัวเดินช้า ผลสุดท้ายก็คือ เหตุการณ์ที่ Timer ทั้ง 2 ตัวจะเปิดพร้อมๆ เปิดชนกัน และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับ Amp ทั้ง 2 ตัวในที่สุด

แนวทางแก้ไขนั้นสามารถทำได้ ดังต่อไปนี้คือ

 1.-ใช้เทคนิคการเหลื่อมเวลา โดยการตั้งเวลาเปิดและปิดของ Timer แต่ละตัวให้ห่างกันประมาณ 5 นาทีบ้าง 10 นาทีบ้าง แต่ท่านเชื่อหรือไม่ครับ เผลอแป็บเดียว 1-2 เดือนหากว่าท่านไม่เข้าไปตรวจสอบ ไม่ได้เข้าไปปรับแก้เวลาให้ตรงกัน ปัญหาเรื่อง Timer 2 เปิดชนกันก็จะตามมาในที่สุด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาได้ไม่จบ แต่ว่าต้องคอยแก้ปัญหานี้อยู่เรื่อยๆ เสียค่าใช้จ่ายในซ่อม Amp ราคาแพงหลายต่อหลายครั้ง คิดๆดูแล้วอาจจะมากกว่าเงินค่าตัวของ Digital Timer เสียอีก

 2.-ทางแก้ที่สอง ก็คือหมั่นเข้าไปตรวจเช็คบ่อยๆ ต้องขัยน มั่นเข้าไปตรวจสอบตั้งเวลาให้ตรงกัน ซึ่งหลายต่อหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ผมว่าคิดได้ครับ  แต่ว่าทำได้ยาก โดยส่วนมากจะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งตัวผมเองก็เคยประสบปัญหาเรื่องนี้มาเช่นกัน แต่เมื่อผมเจอ Digital Timer ตัวนี้  ซึ่งตัวเค้าเองมีข้อดีหลากหลายอย่าง --- จึงเป็นที่มาให้ผมตัดสินใจโยน Timer เก่าทิ้งทั้งหมด  แล้วเปลี่ยนมาใช้ Digital Timer รุ่นนี้แทนทั้งหมดเช่นกัน
      ซึ่งผมรับรองหลายๆท่านจะชอบ Digital Timer รุ่นนี้เฉกเช่นเดียวกันกับผม และปัญหายุ่งยากหลายๆอย่างจะหมดไป รวมทั้งปัญหาเรื่อง Amp ทั้ง 2 ตัวทำงานชนกันก็จะหมดไป 100% อย่างแน่นอน Confirm เลยครับ





 

       ข้อดีอีกอย่างของการใช้ Digital Timer รุ่นนี้ก็คือ ท่านสามารถลดการใช้ Timer แบบเดิมได้ 1 ตัว (ซึ่งเดิมทีจะต้องใช้ Analog Timer 2 ตัว แยกกันควบคุมการเปิด-ปิด) หากว่าท่านใช้ Digital Timer รุ่นนี้ท่านจะใช้ Timer เพียงแค่ 1 ตัว ประหยัดเงินไปมาก  อีกทั้งช่วยลดความผิดพลาดจากการตั้งโปรแกรมเวลาที่จะเปิดหรือปิด หากว่าเป็นระบบเก่าท่านจะต้องตั้งโปรแกรมการทำงานทั้ง 2 ตัวให้สอดคล้องกัน รวมทั้งอาจจะต้องเพิ่มการเหลื่อมเวลาให้กับ Analog Timer ประมาณ 5 นาที 10 นาที ทุกครั้งของการตั้งเวลา ซึ่งดูๆแล้วไม่ได้ยุ่งยากอะไร ไม่มีอะไรซับซ้อน  แต่ในข้อเท็จจริงแล้วเป็นเรื่องที่จะน่าปวดหัวมากสำหรับการตั้งเวลาให้กับ Timer แบบเก่าทั้ง 2 ตัวและต้องจด คอยตรวจสอบการตั้งเวลาของ Timer ทั้ง 2 ตัวอย่างละเอียด และจะต้องตรวจให้ครบทุกโปรแกรมที่ได้ตั้งเวลาเอาไว้
      แต่ Digital Timer รุ่นนี้จะสามารถช่วยลดความซับซ้อนของการตั้งเวลาได้มาก เพราะว่าท่านเพียงแต่ตั้งเวลาเปิด-ปิดของ Amp ตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้นก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องตั้งทั้ง 2 ตัว จึงใช้เวลาในการตั้งน้อย พร้อมทั้งไม่ต้องเพิ่มระยะการเหลื่อมเวลา  ผมมีตัวอย่างเปรียบเที่ยบการตั้งเวลาของ Digital Timer กับ Analog Timer ซึ่งจะต้องมีการเหลื่อมเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

สมมุติว่าให้เปิดทำงานครั้งละ 2 ชั่วโมง การตั้งเวลาของ Analoge Timer กับ Digital Timer จะเป็นดังนี้

              Analog-1             Analog-2               Digital Timer จะตั้งค่าจากตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
              เปิด       ปิด        เปิด        ปิด                   เปิด       ปิด        ส่วนที่ไม่ต้องตั้งเวลา
1.-        00.00 - 02.00      02.10 - 04.10                00.00 - 02.00           02.00 - 04.00
2.-        04.20 - 06.20      06.30 - 08.30                04.00 - 06.00           06.00 - 08.00
3.-        08.40 - 10.40      10.50 - 12.50                08.00 - 10.00           10.00 - 12.00
4.-        13.00 - 15.00      15.10 - 17.10                12.00 - 14.00           14.00 - 16.00
5.-        17.20 - 19.20      19.30 - 21.30                16.00 - 18.00           18.00 - 20.00
6.-        21.40 - 23.40       23.50 - 00.00               20.00 - 22.00           22.00 - 00.00

      สรุป หากว่าเป็น Analog Timer จะต้องตั้งเวลาถึง 12 ครั้ง บวกกับเพิ่มค่าการเหลื่อมเวลาอีก 10 นาที ทุกครั้งของการเปิด-ปิด ช่วงการเหลื่อมเวลา จะทำให้ตารางเวลาเลื่อนออกไปและไม่มีเสียงที่เลี้ยงภายในตึกซึ่งรวมๆแล้วเท่ากับ 120 นาที หรือเท่ากับ 2 ชั่วโมงๆ ที่นกแอ่นจะต้องความกระวนกระวายกับการที่ไม่มีเสียงเลี้ยงภายในตึก  สุดท้ายเราจะมางงกับการตั้งเวลาตัวสุดท้ายที่ Analog Timer-2 ซึ่งจะเปิดได้ไม่ครบ 2 ชั่วงแต่จะเปิดเสียงเพียงแค่ 10 นาที แล้วก็ต้องปิดไป  ( ดู ส่วนที่ Highlight สีเหลือง)  สาเหตุเพราะการเหลื่อมเวลาในการตั้งโปรแกรมนั้นเองครับ

      คราวนี้เรามาดูส่วนการตั้งเวลาของ Digital Timer รุ่นนี้ จะใช้การตั้งเวลาเพียง 6 ครั้งเท่านั้น (ส่วนที่ Highlight สีแดง ไม่ต้องตั้ง ) ไม่ต้องมานั่งงง นั่งสับสนกับการเหลื่อมเวลา การตั้งเวลาจะครบรอบอย่างลงตัวพอดี ดูเข้าใจได้ทันที ง่าย สะดวก

หากว่าท่านใช้ Digital Timer รุ่นนี้ สิ่งที่ท่านจะได้ ก็คือ

1.-ท่านสามารถลดการใช้ Timer ได้ 1 ตัว (จากเดิมต้องใช้ 2 ตัว) ทำให้ท่านประหยัดเงินไปกว่า 50%

2.-ประสิทธิภาพทำงานของ Digital Ttimer จะทำงานได้ดีกว่าเดิมมาก  เนื่องจากว่า การทำงานของตัว Chang Over จะสั่งการเปิดปิดอุปกรณ์ทันทีเมื่อถึงเวลาที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ เมื่อ Timer ปิด ตัวChang Over นี้จะสั่งการเปิด Amp อีกตัวทันที จึงไม่จำเป็นต้องมีการตั้งเวลาเหลื่อมกัน 5 นาที 10 นาที  ( ขอย้ำว่า Digital Timer สั่งการเปิด Amp ตัวที่เหลือในทันที เมื่อ Timer ถึงเวลาปิด)   ระบบนี้จึงเป็นระบบที่ดี-เนื่องจากไม่มีช่องว่างของเวลา ไม่ต้องเหลื่อมเวลาเปิด-ปิด ทำให้มีเสียงนกเลี้ยงอยู่ภายในตึกตลอดเวลา เสียงไม่หาย เมื่อไม่มีเสียงอยู่ในตึกอาจจะมีนกแอ่นบางส่วนที่ตกใจ แล้วบินหนีไป ซึ่งเป็นการเสียโอกาสมาก เพราะว่ากว่านกจะตัดสินใจมาอยู่ต้องใช้เวลาสำรวจบ้านอยู่นาน หลายครั้งกว่าจะตัดสินใจมาอยู่จริง แต่เมื่อนกเริ่มเข้ามาอยู่แล้ว กลับจะต้องเสียนกไป หรือ ต้องมาตกม้าตาย นกหนีไปเพราะการเหลื่อมเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายจริงๆๆ ครับ

หากว่าท่านเปลี่ยนมาใช้ Digital Timer รุ่นนี้  จะทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าภายในตึกของท่านจะมีเสียงนกตลอดเวลา ตึกไม่เงียบ นกไม่หนี อย่างแน่นอน 

3.-การตั้งเวลาเปิดปิด ทำได้ง่ายขึ้น เพราะว่าใช้ Timer ตัวเดียว จึงไม่เกิดความผิดพลาดจากการตั้งโปรแกรมเปิดปิด และไม่ทำให้เกิดความสับสนเลย พร้อมทั้งยังสามารถสั่งเปิดปิดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
   สั่ง Amp1 เปิด 45 นาทีแล้วปิด จากนั้นให้ Amp2 เปิดอีก 1.30 ชม. อย่างนี้ก็ทำได้ ไม่ต้องเปิดด้วยเวลาที่เท่ากันอย่างที่เคยๆทำกัน
   หรือจะเป็น Amp1 เปิด 20 นาที และ เมื่อถึงเวลาปิด  Amp2 จะถูกเปิดนาน  50 นาที  จากนั้นก็วนกับไป Amp1 อีก 100 นาที แล้วให้ Amp2 เปิดอีกแค่ 35 นาที อย่างนี้ก็สามารถทำได้ และง่ายกว่าเพราะว่าสามารถโปรแกรมการเปิด-ปิดที่ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวเท่านั้น จึงสามารถตั้งโปรแกรมที่ตามตัวอย่างที่เห็น ซึ่งออกจะยุ่งยากซับซ้อน แต่ว่าสามารถตั้งได้โดยง่าย ไม่ทำให้เกิดความสับสน และไม่ต้องคอยมานั่งวิตก กลัวไปตั้งเวลาชนกับ Timer ที่เหลืออีกตัวหนึ่งเลย
 สำหรับ Digital Timer รุ่นนี้อยากจะตั้งหรือปรับเปลี่ยนการตั้งเวลาอย่างไร เท่าไหร่ หรือ เมื่อไหร่ก็ทำได้โดยไม่ยุ่งยาก  หรือแม้กระทั่งจะตั้ง Amp1 เปิด 1 นาทีแล้วปิด จากนั้นนจึงสั่งเเปิด Amp2 ยาว 168 ชั่วโมง ( 1 อาทิตย์ ) ก็ยังสามารถทำได้  และได้อย่างง่ายๆๆ ไม่สับสน  ..... ลูกเล่นเค้าเยอะ .....
 
4.-ตัดปัญหาเรื่อง Timer เปิดชนกัน 2 ตัว เนื่องจาก Ditital Timer รุ่นนี้ใช้ตัว Change Over เพียงตัวเดียว จึงจะเป็นสะพานไฟให้กับ Amp ได้เพียง 1 เครื่องในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะเปิด Amp ให้ทำงานพร้อมๆกัน 2 ตัวได้ หากเทียบกับระบบเก่าที่จะต้องใช้ Timer 2 ตัวในการควบคุม

 ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ที่เปิด Timer 2 ตัวชนกัน จนทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย จะไม่มีทางเกิดขึ้นเมื่อใช้  Digital Timer รุ่นนี้เลยครับ 

5.-Digital Timer นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลากหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ในงานบ้านนกได้ครบถ้วน เช่นเลือกช่วงเวลาที่จะควบคุมการทำงานของ Cooling Pad 6 ชม สลับกับ Blade Humidifier 20 นาที  , หรือจะควบคุมการเปิดปิดของระบบพัดลมดูดอากาศก็ได้ เช่นสั่งให้ดูดอากาศที่เย็นและชื้นในตอนเช้า และสลับไปดูดอากาศร้อนออกจากตึกในช่วงบ่ายถึงค่ำก็ได้ , รวมทั้งควบคุมสั่งเปิดพ่นความชื้นจาก Fogging Nozzle (ระบบรางน้ำ) - 20 นาทีแล้วหยุด จากนั้นสั่งให้เปิดพัดลม 10 นาที เพื่อทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในตึก พร้อมทั้งเป็นการกระจายความชื้นให้ทั่วถึงในทุกๆจุด อย่างนี้ก็สามารถทำได้ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายประเภทจริงๆ   ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวนี้ อย่าลืมว่าใช้ Digital Timer รุ่นนี้เพียงตัวเดียวในการควบคุม ระบบเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และ อาจจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่างชนิดกันเพื่อเพิ่มประสิทธิการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในบ้านได้สอดรับต่อเนื่องได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ   


  Digital Timer ตัวนี้ผมสั่งเข้ามา ขาย ครับ
 
ราคาอยู่ที่ตัวละ 1,250 บาท และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้หลายๆคนได้ทดลองใช้ ผมจะขายให้ในราคาเพียง 890 บาท ราคาเบา สำหรับ 100 ตัวแรกเท่านั้นครับ  ต้องรีบกันหน่อยครับมีของให้ทดลองไม่มากเพียง 100 ตัวเท่านั้น  
 
ด้วยลักษณะต่างๆที่โดดเด่นเช่นนี้ มีประสิทธิมากขนาดนี้ ในราคาเบาๆ เพียง 890 บาท มีความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นอย่างมาก เรียกว่าคุ้มเกินตัว และที่สำคัญคือ ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดกันเลย แล้วคุณจะมีความสุขที่ได้ตัดสินใจใช้ Timer รุ่นนี้ มากๆๆๆ


  สนใจโทรคุยหรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทร 081-318-1361 

 
------------------------------------------------

ขอนำ Specfication ของ Timer รุ่นนี้มาลงอีกครั้งนะครับ

1.-มีความละเอียดในการตั้งการเปิดปิดห่างกันได้ 1 นาที ซึ่งถึงว่าละเอียดมากและยังสามารถต้องความห่างได้นานถึง 168 ชั่วโมง ( 1 อาทิตย์ )

2.-มีโปรแกรมตั้งการเปิดปิดได้ถึง 16 โปรแกรม ซึ่งหากว่านับแบบ NO NC รวมเข้าด้วยกันแล้วจะได้โปรแกรมการเปิด-ปิดทำงานมากถึง 32 โปรแกรม ไม่นับรวมลูกเล่นอื่นๆที่มี (แบบรุ่นเก่าๆแบบมีปลั๊กในตัว จะมีอย่างมากแค่ 8 โปรแกรม)

3.-ค่าความคลาดเคลื่อน น้อยกว่า 0.5 วินาที (ไม่ใช่ 5 วินาที ย้ำว่า 0.5 วินาที) ต่อวัน น้อยมากครับ

4.-มี Battery แบบที่ Charge ได้และสามารถสำรองไฟฟ้าได้มากกว่า 20 วัน จึงไม่มีปัญหาเวลาคลาดเคลื่อนเนื่องจากไฟฟ้าดับได้ อายุ Battery หลักจะมีอายุการใช้งานนานมาก

5.-อายุการใช้งาน แบบ - Electronic อายุการใช้งาน 100,000 ครั้ง และแบบ - Machanical 10 ล้าน ครั้ง
6.-ตัว Changer 1 ตัว ซึ่งทำงานคล้ายการทำงานแบบ NC NO

7.-Timer ตัวนี้สามารถรับ Load หรือทนกระแสได้ 16 แอมป์ รองรับ Blade Humidifier ได้ถึง 9 ตัว โดยไม่ต้องเพิ่ม Magnetic แต่อย่างไร

8,-มีไฟสีแดงที่แสดงสถานะเมื่อ Timer ทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
9.-มีฝาครอบปิดหน้าปัด เพื่อป้องกันการแก้ไขโปรแกรมโดยไม่ตั้งใจ

                                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                                         11.02.55