5/3/55

การเดินสายไฟ สำหรับ Digital Timer

เพื่อสนองตอบกับแนวทาง DIY  ( Do It Yourself ) ซึ่งเป็นแนวทางของผม และ ผมอยากจะให้ท่านๆที่ติดตามอ่าน Blog ของผมสามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ ตามแนวทาง DIY เช่นกัน เมื่อท่านเข้าใจสามารถทำสิ่งต่างๆได้เองแล้ว ท่านพร้อมที่จะขยายความเข้าใจจากสิ่งที่ได้ลงมือทำเหล่านั้นไปสู่งานในลักษณะอื่นๆในเชิงลึกได้ด้วยตัวเอง และความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการลงมือทำเองนี้แหละจะนำเปิดโลกทัศน์มุมมองต่างๆให้ตัวท่าน และยังสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการลงมือทำไปถ่ายทอดสู่คนอื่นๆได้อีกจำนวนมาก

ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการลงมือทำด้วยตัวเองเหล่านี้ เมื่อท่านได้ลงมือทำสัก 1-2 ครั้ง จะทำให้ท่านจำได้ไม่ลืม หรือ ลืมยาก พร้อมทั้งมีความมั่นใจในตัวเองที่จะเดินไปด้วยความมั่นใจเต็มร้อย เพราะได้ลงมือทำเอง เห็นเอง ได้ผลเอง ตามสิ่งที่ได้ลงมือทำนั้นเองครับ

วันนี้ผมได้ทำ Diagrame การเดินสายไฟต่างๆ ที่ใช้กับ Digital Timer มาลงไว้ให้เป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆที่กำลังสนใจหาความรู้เรื่องการเดินสายไฟในแบบ 1 ChangeOver หรือแบบ NO NC  ซึ่งทั้ง 2 คำนี้มีความเหมือนกัน ก็คือการเป็นสะพานไฟให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ.ขณะเวลาใดขณะหนึ่ง เพียง 1 เดียว ดังนั้นจึงไม่เกิดการชนกันของ Timer ซึ่งระบบนี้จะเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องสลับกันทำงานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ไม่ทำงานพร้อมๆกัน และเหมาะสมกับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงมากๆๆ

หากว่าท่านใด ดู Diagram แล้วไม่เข้าใจโทรมาคุยกันได้นะครับ



เนื่องจากช่อง 4 จะรับไฟจาก L ดังนั้นตัว ChangeOver จะมีไฟ เมื่อตัว ChangeOver จากช่อง 4 ไปแตะเข้ากับช่องใด ช่องนั้นก็จะมีไฟวิ่งไปที่ปลั๊ก ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่เสียบอยู่ที่ปลั๊กก็จะทำงาน  แต่ในขณะที่อีกช่องจะไม่มีไฟไปเลี้ยงดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่เสียบอยู่ที่ปลั๊กก็จะไม่สามารถทำงานได้

สะพานไฟ หรือตัว ChangOver ในช่อง 4 โดยปกติจะสัมพัสกับช่อง 3 ตลอดเวลา หากว่า Timer ไม่มีการตั้งเวลา หรือ Timer Off  อยู่ ดังนั้นโดยสถานะปกติจะมีไฟวิ่งที่ช่อง 3 ตลอดเวลาตลอด 24 ชั่วโมง ( หรือเรียกว่าแบบ NC - Normally Close ) แต่ว่าเมื่อใดที่ Timer ทำงานตามเวลาที่ตั้งไว้ตัว ChangeOver ใน Digital Timer จะดีดไปที่ช่อง 5 ซึ่งจะทำให้มีไฟวิ่งไปที่ช่อง 5 พร้อมทั้งทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่ช่อง 5 สามารถทำงานได้ และในขณะเดียวกันอุปกรณ์ไฟฟ้าในช่องที่ 3 ก็จะไม่ทำงาน  เนื่องจากสะพานไฟไปสัมผัสกับช่อง 5 อยู่ ( สะพานไฟไม่เชื่อมกับช่อง 3-ภาษาช่างเรียกกันว่า ไฟจากกัน )  และเมื่อถึงเวลาที่ตั้งเวลาปิด Timer แล้ว สะพานไฟก็จะเข้าไปสัมผัสกับช่อง 3 เหมือนเดิม ทำให้มีไฟวิ่งไปช่อง 3 อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่เสียบอยู่กับช่อง 3 ก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง



เมื่อถึงเวลาที่ตั้งให้ Timer เปิดอีกในรอบหน้า ไฟก็จะกลับไปวิ่งเข้าในช่อง 5 สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไปช่อง 3 เดี๋ยวไปช่อง 5 แล้วก็วนกลับมาที่ช่อง 3 อย่างนี้เป็นวัฎจักรหมุนวนสลับกันทำงาน สลับกันเปิดปิด  ซึ่งทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมานี้หวังใจว่าท่านจะสามารถทำไปทำเองได้ นำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด หากว่าท่านดู Diagram ที่ผมทำไว้อย่างละเอียด ทำไว้อย่างดีนี้ จะช่วยให้เข้าใจได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร ทำเองได้ ทำเอง เห็นเอง รู้ด้วยตัวเอง สนุกและได้ความรู้

หากว่าท่านใดสนใจตัว Digital Timer รุ่นนี้ยังพอมีเหลืออยู่  หากว่าร้านค้าหรือเพื่อนๆที่ขายสินค้าเกี่ยวกับบ้านนกอยู่ต้องการ Digital Timer รุ่นนี้ไปประกอบขาย ก็ติดต่อผมได้ เพื่อให้เพื่อนๆที่เขียน Blog อยู่จะมีแรงมีกำลังใจที่จะช่วยกันถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนๆหลายๆคนที่ติดตามอ่าน Blog อยู่จะได้มีบทความที่เป็นความรู้ใหม่ และเป็นประโยชน์อ่านกันไปโดยตลอด เพราะการเขียน Blog หรือการให้ความรู้เป็นวิทยาทานนั้นก็มีค่าใช้จ่าย ที่หลายๆคนหลายๆท่านไม่เคยทราบมาก่อน เพราะต้องมีต้นทุน ต้องสั่งของเข้ามาเพื่อทำการทดลอง ศึกษาทำความเข้าใจในเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ความรู้ต่างๆให้กับหลายๆคนได้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนมาก ผมยินดีเป็นพันธมิตรให้กับเพื่อนที่เขียน Blog อยู่

สำหรับเพื่อนๆที่ชอบการทดลองโน้น ทดลองนี้ ต่ออุปกรณ์ต่างๆ ชอบทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเองเหมือนกันกับผมก็โทรเข้ามาพูดคุยกันได้เช่นเคยครับ ผลพลอยได้จากการลงมือทำเองก็คือ ประหยัด เงินในกระเป๋าครับผม Digital Timer ตัวนี้สามารถต่อประกอบเองได้ ต่อได้ง่ายๆ อย่ามัวรอรีอยู่เลยครับ เพราะของเริ่มงวดลงทุกที่แล้ว ต้องรีบกันหน่อยครับ ผมไม่อยากให้เพื่อนๆเสียโอกาสได้ใช้ของดี คุณภาพยุโรป ที่สำคัญราคาถูกมากๆๆ ไว้ใช้

                                                                                            Vuthmail-Thailand
                                                                                                    05.03.55

4/3/55

การติดตั้ง Digital Timer ลงในตู้ Control

ผมตอบคำถามเกี่ยวกับการติดตั้ง Digital Timer ลงในกล่อง Control หลายครั้งมาก จนรู้สึกว่าผมจะต้องออกเป็นบทความเลยดีกว่า เนื่องจากว่าจะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ในหลากหลายมุมมอง

เนื่องจาก Digital Timer รุ่นนี้ออกแบบให้สามารถติดตั้งในตู้ Control ได้แบบ DIN Rail ซึ่ง DIN Rail นี้จะเป็นรางอลูมิเนียมนั้นเอง การติดตั้งสามารถทำได้เองอย่างง่ายได้ และใช้ติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆอีกหลายชนิดหลายอย่างที่ประกอบลงในตู้ Control

หากว่าไม่มีภาพ กรุณาเข้าชมตาม Link ด้านล่าง 
http://www.youtube.com/watch?v=1Ko5u85x2uY     Click เพื่อเข้าชม








รูปร่างหน้าตาของ รางอลูมิเนียมเหมือนกับที่ปรากฎอยู่ในรูปด้านล่าง




 
การติดตั้งรางที่ถูกต้อง  ให้ดูจากรูปด้านล่าง
ผมถ่ายเป็น VDO Clip เสร็จแล้ว แต่ติดปัญหาที่ว่า Upload ยังไม่สำเร็จ พรุ่งหน้าคงจะลงใน Youtube ได้ ซึ่งหากว่าดูจากรูปไม่เข้าใจ อดใจรอดูใน Clip นะครับ ซึ่งได้แสดงการติดตั้งอย่างละเอียดทุกมุมเลยครับ





                           Vuthmail-Thailand
                                                                                           05.03.55