21/8/53

ลักษณะหอนกที่ดีควรเป็นอย่างไร ?

ผมเองได้พูดคุยกับหลายๆคนเป็นจำนวนมากพอสมควร  ทั้งที่เพิ่งเริ่มต้นหันมาสนใจที่จะทำบ้านนก
หรือบางท่านที่ลงมือทำบ้านนกไปเรียบร้อยแล้ว ได้ออกแบบช่องนกบินเข้าออก หรือ Entering Hole
เป็นแบบหอสูงเรียบร้อย ซึ่งบางท่านเรียกว่า "หอนก" ( Dog Kernnel ) ซึ่งคิดว่าคำนี้ก็เหมาะสมดีครับ

เรื่องของ "หอนก" จากการที่ผมได้พูดคุยกับหลายๆท่าน  ผมพบว่าหอนกจะมีความหลากหลายแตกต่าง
กันมากทั้งรูปแบบ ขนาดความกว้างยาว รวมทั้งความสูงของหอนกก็แตกต่างกันไปตามความคิดของ
แต่ละคน โดยส่วนมากจะเน้นเรื่องความสูงของหอนกที่สูงๆๆ เพื่อให้เด่น ให้นกสังเกตุได้ง่าย ซึ่งเป็น
เรื่องที่พอรับฟังได้ แต่ในมุมมองของผมนั้นเรื่องหอนกที่สูงนั้น วัตถุประสงค์หลักน่าจะเป็นเรื่องของการ
ใช้ในการควบคุมแสงเสียมากกว่าครับ เพราะว่าหอสูงจะทำให้แสงที่จะเข้าใน Nesting Room น้อยลง
หรือให้ Nesting Room มืดมากขึ้นกว่าเดิม

จากการได้พูดคุย ความสูงยอดฮิตจะอยู่ระหว่าง 5 เมตรขึ้นไปบางทีถึง 7 เมตร ซึ่งถือว่าสูงมากๆๆๆ

แต่หอนกที่สูงก็มีจะผลต่อนกโดยตรงเช่นกัน เพราะว่านกที่บินเข้าบ้านนก จะต้องบินอยู่ในหอนกจากด้าน
บนลงไปด้านล่าง แล้วจึงค่อยเข้าไปใน Nesting Room ดังนั้นหอนกที่สูงมากเกินจำเป็นก็จะเป็นการบังคับ
ให้นกแอ่นต้องบินหรือวนอยู่ในหอนกนานเกินกว่าที่จำเป็น และหากว่าหอนกนั้นมีขนาดความกว้างยาวที่
ไม่เหมาะสมจะทำให้นกแอ่น จะถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนการบินตลอดเวลาที่อยู่ในหอนก 7 เมตร

เราๆท่านๆ ลองคิดเปรียบเทียบเหมือนกับเราที่จะต้องกลับรถเป็นวงกลม ในกล่องสี่เหลี่ยมที่มีขนาดวง
เลี้ยวแบบจำกัดจำเขี่ยหรือพอดีจนเกินไป ความรู้สึกของคนที่ขับรถการที่จะต้องเลี้ยว 1-2 รอบก็คงรู้สึก
ถูกกดดันบ้างเล็กน้อย แต่ว่าจะต้องเลี้ยวหลายๆรอบ คงไม่สนุกแน่ๆ  ความรู้สึกเช่นลักษณะเดียวกันคง
จะเกิดขึ้นกับนกแอ่นเช่นเดียวกัน เพราะว่าจะต้องบินวนจากบนลงล่าง ในจำนวนรอบที่มากเกินควร ก็จะ
ทำให้นกแอ่นตะขิดตะขวงใจมากพอประมาณแล้ว

หากว่าต้องบินในหอนกที่เล็กแคบกว่ามุมบินวิกฤตของนกแอ่นด้วยแล้ว ทำให้นกแอ่นจะต้องบังคับมุม
เลี้ยวมากเกินไป บ่อยเกินไปด้วยแล้ว  ผมว่านกแอ่นคงจะทำใจได้ลำบาก และด้วยเหตุผลนี้ จะส่งผลต่อ
การตัดสินใจเข้าอยู่ในบ้านนกหลังใหม่มากพอประมาณ และอาจจะถึงขั้นตัดสินใจไม่เข้าอยู่ก็เป็นไปได้
เพื่อนๆพอทราบหรือไม่ว่าทำไมถึงมีผลเป็นเสียที่รุนแรงได้ถึงเพียงนี้

คำตอบก็คือ หอนก (Dog Kernnel) นั้นเป็นช่องบินเข้าออกหลักของนกแอ่น ที่จะบินจากภายนอกผ่านเข้า
ไปสำรวจภายใน หากว่านกบินเข้าออกผ่านหอนกน้อยเท่าไหร่  ผมก็คิดว่านกที่บินเข้าไปสำรวจภายใน
บ้านนก ก็ย่อมมีจำนวนลดลงไปตามด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องนี้น่าจะ Make Sense มากกว่า เรื่องนี้น่าจะถูก
ยกขึ้นมาให้ความสำคัญลำดับต้นๆเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาพิจารณาเรื่องความมสูงของหอนก

   หากว่าท่านมีความจำเป็นต้องทำหอนกให้สูง แล้วจะต้องทำกันอย่างไร     
สิ่งแรกที่ท่านจะต้องคำนึงถึงเรื่องวงบินของนกเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องแรกๆ เพราะว่านกแอ่นคงไม่อยาก
บินปักหัวลงมา แบบการดิ่งพสุทาลงตลอดความสูง 5-7 เมตรตามความสูงของหอนก  แต่ผมว่านกแอ่น
เลือกที่จะบินไต่ระดับต่ำลงมาเรื่อยๆ ในลักษณะเป็นวงกลมแบบกลับตัว 360 องศามากกว่า

ประเด็นการเลี้ยวรถหรือการเลี้ยวของนกแอ่นก็ตาม  จะต้องมีระยะหรือมุมวิกฤตที่ทำให้ไม่สามารถเลี้ยว
ครั้งเดียวได้ครบ 360 องศา หากว่าพื้นที่การกลับตัวเล็กกว่ามุมบินวิกฤตนี้  ก็จะทำให้นกต้องบังคับหรือ
เปลี่ยนมุมบินใหม่บ่อยๆ ซึ่งการปรับมุมบินบ่อยๆนกแอ่นไม่ชอบเลย เพราะว่านกแอ่นเป็นนกที่มีปีกยาว
แบบ High Speed Wing (ซึ่งเหมาะกับการร่อน) ประกอบกับนกแอ่นนเป็นนกที่มีหางสั้น เพราะหางที่สั้นนี้
เองทำให้การปรับเปลี่ยนมุมบินวิกฤตในพื้นที่ๆแคบๆ นกแอ่นก็ทำได้ แต่ว่าจะทำได้ค่อนข้างลำบาก และ
ใช้เวลาการปรับเปลี่ยนมุมบินมากกว่านกนางแอ่นทั่วไปและสิ่งนี้นี่เองเป็นสาเหตุที่นกแอ่นไม่ชอบการ
เปลี่ยนมุมบินบ่อยๆ

  แล้วระยะวิกฤตที่นกแอ่นใช้ในการบิน มันเท่าไหร่กัน คำตอบก็คือจะต้องไม่ต่ำกว่า 3 เมตรเป็นสำคัญ 

เพราะหากว่ามันต่ำกว่า 3 เมตรเมื่อไหร่ นกแอ่นจะรู้สึกอึดอัดมากแล้วครับ ระดับ 4 เมตรอันนี้นกบินได้
ค่อนดี ระดับ 6 เมตรขึ้นนกชอบมากๆๆ แต่ว่าเราคงไม่สามารถสร้างหอนกขนาด 6x6 เมตรได้ เนื่องจาก
เหตุผลทางด้านงบประมาณ แต่ก็มีตัวเลือกที่พอจะทำได้ก็คือระดับ 3 เมตรขึ้นไป แต่ก็คงไม่เกิน 4 เมตร
นั่นเอง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่จะต้องให้ความสำคัญในการกำหนดขนาดความกว้างยาวของหอนก เพิ่มเติมอีก
2 ประเด็นดังต่อไปนี้คือ

ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมาก็คือ เรื่องของระยะเว้น Safety Range ระหว่างวงบินกับผนังหอนก
เนื่องจากการบินของนกหรือแม้แต่การขับรถของเราเองนั้นก็จะต้องมี Safety Range ที่เราจะไม่ไปเบียด
หรือใกล้กับรถคันอื่นมากจนเกินไป แล้วทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ในลักษณะเช่นเดียวกันนกแอ่นก็จะมี
Safety Range เพื่อไม่ให้ปีกของนกแอ่นไปเบียดชนกับผนังของหอนก จนได้รับบาดเจ็บหรือไม่ทำให้เกิด
ความรู้สึกอึดอัดกับนกแอ่นจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็จะไม่สูญเสียวงบินที่เหมาะสมไปเช่นกัน

                       ระยะ Safety Range ของนกแอ่นก็คือ 40-50 cm จากสิ่งกีดขวาง 

จากประเด็นหลักสำคัญ 2 ประเด็นข้างต้นแล้ว เราจึงนำเอาข้อจำกัดทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ซึ่งจะทำให้เรา
สามารถที่จะคำนวณหาความกว้าง-ยาวของ "หอนก" ที่ดีที่เหมาะสมกับนกแอ่นได้  โดยขนาดความกว้าง
ยาวที่พอเหมาะพอสมกับนกแอ่นจะมีขนาดที่ 400-450 cm ขึ้นไป ( ทั้ง 4 ด้าน )

ส่วนประเด็นเรื่องความสูง ในมุมมองส่วนตัวไม่จำเป็นต้องสูงมากจนเกินไป เพราะว่าหอสูงในมุมมอง
ส่วนตัวมีไว้เพื่อกันแสง (ไม่เน้นเรื่องความเด่นหรือสะดุดตานก) ตามที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นประการหนึ่ง

ประเด็นต่อมาก็คือเรื่องการดูแลรักษา หรือการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนใดๆในหอนกจะทำได้ยากมากๆๆ เช่น
การปรับเปลี่ยนลำโพงใหม่ที่ปากหอนก หรือ การที่ต้องติดตั้งตาข่าย เหล็กแหลมเพื่อไล่ศัตรูของนกแอ่น
ก็จะทำได้ยาก และต่อเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการขึ้นหลังหอนกที่สูงมากๆๆๆๆ

ตัวแปรที่เราจะนำมาใช้ในการลดความสูงของหอนกก็คือ ลานบินหน้าช่องนกเข้าออกนั่นเอง  ถ้าหากว่า
เรามีระยะลานบินหน้าช่องเข้าออก (หน้าหอนก) สักประมาณ 8-12 เมตร หอนกไม่จำเป็นต้องสูงเกินไป
เพราะว่าระยะ 8-12 เมตรหน้าหอนกนี้  นกแอ่นสามารถใช้เป็นลานเพื่อปรับระดับการบินให้ต่ำลงได้ง่าย
และสะดวกสบายพอประมาณ โดยไม่ติดขัดแต่อย่างไร

    ระยะ 8-12 เมตรนี้ก็เท่ากับความกว้างของถนนหลวงทั่วไปนั้นเอง   

หากว่าเพื่อนๆที่มีปัญหาเรื่องการถูกบัง หรือถูกวาง Snook จากสิ่งก่อสร้างใดๆก็แล้วแต่ ก็นำหลักการนี้ไป
ใช้ได้โดยให้หันหอนก หรือ ช่องบินเข้าออกไปด้านที่เป็นถนนได้ แต่ต้องมั่นใจว่าหอนกจะต้องสูงกว่า
สายไฟ สายโทรศัพท์ หรืออะไรก็ตามแต่ที่จะมาเป็นเครื่องกีดขวางเส้นทางการบินของนกแอ่น เพียงเท่า
นี้ก็พอจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้างไม่มากก็น้อย

กลับมาประเด็นเรื่องความสูงของหอนก ในมุมมองส่วนตัวนั้นไม่ต้องสูงมากนัก เพียงแต่กำหนดให้สูง
เกินกว่าหลังเดิมขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 180 cm จากแนวหลังคาเดิมเป็นเกณฑ์ แต่ให้ไปเน้น
เรื่องของขนาดที่เหมาะสมกับวงบินของนกแอ่นแทน (ระยะมากกว่า 4-4.5 เมตรขึ้นไป )

ปล....หายไปนานเลย  วันนี้พอมีเวลาว่าง ก็เลยเร่งบทความใหม่ให้ได้อ่านกัน  กลัวเพื่อนๆเหงา

                                                                              Vuthmail-Thailand
                                                                                      21.08.53