เสียงคือการสั่นเทือนของวัตถุและเกิดความถี่ เมื่อความถี่วิ่งผ่านสื่อกลางออกมาก็จะกลายเป็นเสียง โดยเสียงจะมีลักษณะทางกายภาพที่จะต้องทำความรู้จัก 2 องค์ประกอบ อย่างที่รู้กันอยู่ คือ1.- ความถี่ของเสียง และ2.-ความดังของเสียง ดังนั้นเราจึงควรศึกษาองค์ประกอบทั้ง 2 องค์ประกอบนี้ให้เข้าใจถึงการทำงานของเสียง
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วด้านบน องค์ประกอบของเสียงคือความถี่ ความถี่ที่แตกต่างกัน จะก่อกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน และความถี่สูง หรือต่ำ ก็จะส่งผลต่อเสียงที่จะเกิดขึ้นต่างกัน ระยะทางที่เสียงจากความถี่ที่แตกต่างกันก็จะวิ่งไปได้ในระยะที่แตกต่างกัน รวมทั้งการรับฟังเสียงที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกันไป
ความถี่ต่ำ จะสร้างเสียงทุ้ม-Bass ซึ่งจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านสื่อกลางได้มาก (เช่นการวิ่งผ่านอากาศ) และมีความสามารถที่จะทะลุทะลวงได้สูง ระยะทางที่วิ่งไปก็จะได้ระยะทางมากครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้าง แต่ความถี่สูง จะสร้างเสียงแหลม-Treble ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านสื่อกลางได้น้อย อำนาจการทะลุทะลวงน้อย ระยะทางวิ่งไปจะได้ระยะทางจะสั้น อยู่ในวงแคบ โดยเฉพาะเสียงที่เกิดจากความถี่มากๆ อย่างระดับ 17,000-20,000 จะวิ่งผ่านอากาศได้ระยะไม่เกิน 3-5 เมตร
ความถี่กลางๆ คือความถี่ที่ไม่ใช่เสียงทุ้มหรือเสียงแหลม ความถื่กลางๆ จะสร้างเสียงกลาง-Mid Range ซึ่งจะเป็นลักษณะกลาง ไม่สูง ไม่ต่ำ ลักษณะของเสียงกลาง คุณสมบัติจะที่เกิดขึ้นจะอยู่กลางๆ ระหว่าง เสียงทุ้มกับเสียงแหลม โดย Nature แล้วเสียงระดับกลางนี้เป็นช่วงเสียงที่มนุษย์ใช้ได้ยินมากที่สุด
เมื่อได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเสียงไปแล้ว 1 อย่าง ก็จะเหลือคุณลักษณะของเสียงส่วนที่เหลือ ซึ่งก็คือความดังของเสียงนั่นเอง โดยปกติแล้วหากว่าเสียงยิ่งดัง การได้ยินก็จะชัดเจนมากกว่ากว่าเสียงที่เบากว่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ Common Sense แต่เพื่อให้พอเห็นภาพ เพื่อให้เป็นแนวทาง ผมได้สรุปความดังในระดับต่าง ตาม Chart ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
ที่นี้เรามาดูความสามารถในสัตว์แต่ละประเภทต่างๆ ที่สามารถได้ยินเสียงที่เกิดจากความถี่ในระดับต่างๆซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นตามตารางด้านล่างนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การศึกษาการได้ยินเสียงของนกแอ่น ซึ่งทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลหลัก พร้อมทั้งนำไปเป็นมาตราฐานในการสอบเทียบสอบทาน เสียงที่ได้จากลำโพงที่ขับออกมาจาก CD เสียงนก กันต่อไปในภายหลัง
ตารางการได้ยินของเสียงสัตว์ประเภทต่าง ในช่วงของความถี่เสียงต่างๆ
หากว่าเราพุ่งความสนใจไปในส่วนของนกชนิดต่างๆเราจะเห็นได้ว่า ความถี่ที่นกได้ยิน จะเริ่มต้นแถวๆ 200-250 Hz และความถี่สูงๆจะอยู่ราวๆ 8,800-8,500 Hz แล้วของนกแอ่นกินรังหละ จะสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ช่วงไหนอย่างไร
ในหนังสือเรื่องนกแอ่นแห่งบอร์เนียว Swiftlet of Borneo : Builder of Edible Nest
ของ Lim Chan Koon and Earl of Cranbrook มีรายละเอียดการพูดถึงเรื่องของ Echolocation ได้มีการหยิบยกขึ้นมาเขียน และได้มีการนำมาเผยแพร่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าความผิดพลาด ตกหล่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาด ซึ่งผมขออนุญาตินำมาแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ
ในหน้าที่ 18 - Paragraph แรก บรรทัดที่ 6 ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้
The frequency range of swiftlet echolocating calls is between 1-6 kHz , with most energy focused between 2-5 kHz (Fullard et al,. 1993). These frequencies fall into the range of normal human hearing. THERE IS NO ULTRASONIC COMPONENT (i.e., 20-160 kHz), Which would be inaudible to people. (Cranbrook & Medway, 1965)
ส่วนผิดพลาดที่สำคัญก็คือ Swiftlet echolocating calls is between 1-6 kHz ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องเป็น 1-16k Hz
เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลไว้ผิดจากความรู้เดิมของผม จึงทำให้ผมกลับไปตรวจสอบข้อมูลสำคัญอันนี้ ใหม่ ซี่งก็พบว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญนี้ไว้ความผิดพลาด ผมจึงไม่อยากให้เกิดความสับสน ผมจึงได้นำบอกกล่าวสิ่งที่ถูกต้องไว้ใน Blog ของผม ซึ่งอ้างอิงจากของหนังสือเล่มเดียวกัน ตามที่ได้กล่าวชื่อหนังสือไว้
นกแอ่นจะได้ยินเสียงช่วงความถี่ ที่ถูกต้องจะต้องเป็น 1-16k Hz (ไม่ใช่ 1-6 kHz อย่างที่มีการเผยแพร่ข้อมูล)
จุดนี้เองหากไม่มีการตรวจสอบ และปล่อยเอาไว้อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดอีกหลายๆอย่างอันสืบเนื่องจากข้อมูลตรงนี้ ซึ่งจากหนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้ทราบว่า เสียง Echolocation ของนกแอ่นนั้นจะมีความถี่ ช่วงระหว่าง 1,000-16,000 Hz แต่ช่วงที่ Focus มากที่สุด 2,000-5,000 Hz หากว่าจะเอาแบบครอบคลุมหรือกว้างขึ้นเล็กน้อย ผมอยากให้มองช่วง 1,500-6,000 Hz ซึ่งนกแอ่นจะมีสามารถฟังได้อย่างชัดเจนมากในช่วงความถี่ดังกล่าวนี้
แล้วผมจะมาต่อภาค 2 ในวันต่อๆไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น