1/3/54

วิวัฒนาการของช่องเข้าออก ตอนที่ 3

เมื่อช่องนกเข้าออกแบบ FreeWay (แบบ 2 ช่อง) ใช้งานกับภายนอกได้เป็นอย่างดี จึงเริ่มมีการนำช่องเข้าออกนี้ไปประยุกต์ใช้กับช่องเข้าออกภายในบ้านนก หรือที่เรียกกันว่า Inter Room Hole ซึ่งในยุคแรกๆของช่อง Inter Room Hole นี้ก็จะเหมือนกันกับช่องเข้าออกภายนอก ก็คือมี 1 ช่องเท่านั้นเองก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่สำหรับบ้านที่มีขนาดความกว้างน้อย ประมาณ 4 เมตรนั้น การที่มีช่องเข้าออกระหว่างห้องเพียง 1 ช่องนั้นจะทำให้นกต้องปรับเปลี่ยนวงบินใหม่ ตั้งหลักตั้งลำกันใหม่ให้เหมาะสมกับช่อง ปรับมุมการบินให้ได้เสียก่อน พร้อมทั้งต้องรอคิวเส้นทางให้กลุ่มหน้าเข้าไปได้จำนวนมาก เมื่อทางโล่งขึ้นจึงจะสามารถบินผ่านเข้าออกได้ จึงไม่เหมาะสมกับบ้านที่มีขนาด 4 เมตรห้องเดียว  ดังนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบช่องมาใช้แบบ FreeWay 2 ช่อง ซึ่งให้ผลดีกว่าเดิมมาก  อันมีสาเหตุมาจากรูปร่างทางกายภาพของนกแอ่นนั้นเอง

เนื่องจากนกแอ่นกินรังนั้นเป็นนกที่มีหางสั้นปีกยาว แต่หางสั้น เมื่อเทียบกับนกนางแอ่น , นกแอ่นในสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน  การที่มีปีกยาวนั้นทำให้นกแอ่นมีความสามารถในเรื่องการร่อนไปในอากาศได้ดีกว่า แต่หางที่สั้น  จึงทำให้ประสิทธิภาพของการบังคับมุมเลี้ยว หรือการเปลี่ยนทิศทางการบินอย่างรวดเร็วนั้นทำได้ลำบากกว่านกนางแอ่นทั่วๆไป ดังนั้นการที่ภายในบ้านนกที่มีช่อง Inter room hole เพียง 1 ช่องนั้น ทำให้นกแอ่นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนมุมการบินได้เลย ทั้งที่นกแอ่นเองก็ไม่ชื่นชอบการปรับเปลี่ยนมุมบินสักเท่าไหร่ เพราะว่าศักยภาพนกแอ่นไม่สู้จะอำนวยเท่าไหร่นั้นเอง แต่ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมบินและทางทางการบินทุกครั้งที่จะบินเข้าหรือบินออก

เมื่อนกแอ่นบินกลับบ้านพร้อมกับเพื่อนๆนกที่อยู่ในบ้านเดียวกัน  ซึ่งบินกลับมาในเวลาใกล้เคียงกัน การที่จะต้องเข้าห้องพร้อมๆกันโดยผ่านช่องที่มีเพียงช่องเดียวอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าสับสน อลหม่านพอสมควร แถมแต่ละตัวมีมุมการบินเข้าแตกต่างกัน องศาแตกต่างกัน แต่จะต้องผ่านช่องเดียวกัน ในจำนวนที่มากพร้อมๆกัน คงเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นนกแอ่นจะต้องมีการปรับทิศทางมุมบินของตัวเองให้สอดคล้องกับนกแอ่นตัวอื่นๆเสียก่อน แล้วจึงสามารถบินเข้าออกได้ หากว่าท่านสังเกตุให้ดีจะพบว่า ทุกครั้งที่นกกลับบ้านมา ก็จะมีนกอีกกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังพยายามจะบินออก โดยบินสวนทางออกมา  ดังนั้นนกที่กำลังกลับเข้าบ้านมาก็จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในการบิน จำเป็นต้องปรับมุมบิน ปรับเส้นทางการบินเพื่อไม่เกิดอันตรายกับทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเอง  การเข้าออกทำได้ช้า ใช้เวลานาน และไม่ค่อยปลอดภัย บางตัวพลาดพลั้งบินเข้ามาแล้ว มุมการบินไม่ได้ เกิดอุลบัติเหตุปีกไปชนเข้ากับผนังของช่องเข้าออก ทำให้ปีกนกแอ่นหัก หรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เป็นเรื่องที่ไม่น่าให้เกิดขึ้น

ดังนั้นช่อง Inter Room Hole แบบ FreeWay จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้นกแอ่นที่บินออกในตอนเช้า หรือกลับเข้าบ้านในตอนโพล้เพล้ ไม่ถูกบังคับด้วยเส้นทางอย่างที่เคยเป็นมา มีช่องทางการบินมากขึ้น  จึงไม่จำเป็นต้องปรับทิศทางการบิน ปรับมุมการบินอะไรมากมายเท่าไหร่ ปรับเพียงเล็กน้อยก็สามารถวางตำแหน่งเส้นทางการบินเข้าออกได้อย่างสะดวก และช่องทางการบินก็มีช่องทางมากกว่าเดิม การบินเข้าออกเป็นไปอย่างราบรื่นพอประมาณ เมื่อประมาณนกอแอ่นเริ่มมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น ประชากรนกหนาแน่นขึ้น เส้นทางการบินก็จะหนาแน่นมากขึ้นกว่าเดิม เหมือนรถติดตามซอยในกรุงเทพนั้นแหละครับ ( เดิมคนยังไม่มากก็ลื่นไหลดี แต่พอเริ่มเจริญคนมากขึ้นการจราจรก็เริ่มไม่พอเพียง เริ่มติดขัด)

 แล้วจะทำอย่างไรดีแหละครับ คำตอบก็คือ  การขยายช่องการจราจร   ครับ




ดังนั้นเมื่อการจราจรเริ่มติดขัด ก็จำเป็นที่จะต้องขยายหรือเพิ่มเส้นทางการบินให้มากขึ้น  จึงนำไปสุ่การพัฒนาช่อง Inter Room Hole ในรุ่นที่ 3 ซึ่งก็คือ High Speed Way  ซึ่งเป็นการเจาะผนึกเชื่อมช่องทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เปิดเป็นที่โล่งตลอดทั้งซ้ายขวา ก็จะทำให้ได้เส้นทางการบินเพิ่มเติม สะดวกกันสุดๆเลย รองรับจำนวนได้มากขึ้น เส้นทางการบินมากกว่าเดิมเป็นหลายเท่า การปรับมุมบินน้อยลงเป็นอย่างมาก ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องกังวลเรื่องนกบินสวนออกมา  ก็เข้าใช้เวลาน้อยลง เข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งรังได้เกือบทุกตำแหน่ง จากทุกเส้นทางการบิน

ซึ่ง Inter Room Hole แบบ High Speed Way นี้จะมีความเหมาะสมกับบ้านนกที่มีประชากรจำนวนมากแล้ว และไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเรื่องของแสงสว่างหรือลมเท่าไหร่นัก ในรูปซึ่งได้แสดงไว้นั้น  จำนวนลูกศรยิ่งมาก ก็จะยิ่งบ่งบอกถึงจำนวนเส้นทางการบินที่มากขึ้น ส่วนวงกลม 3 สี หมายถึงวงบินของนกที่จะสามารถตั้งวงบินเพื่อใช้ในการปรับทิศทางในการเตรียมบินเข้าผ่าน Inter Room Hole  และส่วนด้านในสุดของอาคาร ซึ่งจะเป็นการบินออกนั้น จะค่อนข้างทำได้ยากกว่าเพราะว่านกที่จะบินออกนั้นจะต้องตั้งขบวนภายห้องซึ่งมีพื้นที่จำกัดกว่า ดังนั้นตอนบินออกนี้ก็ยิ่งทำให้ต้องมีการปรับขบวน จัดระเบียบ ปรับทิศทางมากขึ้นกว่าตอนที่จะบินเข้า การจะบินออกและต้องปรับขบวนซึ่งเกิดขึ้นภายในห้องที่มีพื้นที่อันจำกัดนั้น จะมีความวุ่นวายมากในการปรับขบวน ปรับทิศทางการบินเพื่อให้สอดคล้องไปกับวงบินของนกกลุ่มที่อยู่ด้านหน้า และเป็นกลุ่มแรกๆที่บินออก กลุ่มหลังๆจะบินผ่าวง ผ่าขบวนไปนั้นทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น Inter Room Hole แบบ High Speed Way สามารถช่วยแก้ปัญหาวงบินของนกที่บินออกได้มากกว่า

หากว่าไม่เข้าใจ ผมแนะนำให้ดูรูปกันอีกหลายๆที่-หลายๆครั้ง ก็จะเข้าใจ

                                                                                           Vuthmail-01.03.54

ไม่มีความคิดเห็น: