24/3/54

เสียงจาก CD และเสียงที่ได้จากลำโพง

อย่างที่ผมรู้กันอยู่นะครับ ว่าผมเป็นคนชอบทดลองอะไรหลายๆอย่างด้วยตัวเองมาตลอด ชอบคิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยๆเปื่อย  ในคราวนี้เองที่ผมคิดว่ามีบ้านนกหลายหลังที่อยู่ในทำเลที่ดี การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นได้ดี ทำไมไม่มีนกเข้าอยู่ในบ้าน  ซึ่งข้อมูลเรื่องของทำเล อุณหภูมิ ความชื้น เราสามารถขอข้อมูลจากเจ้าของบ้านนกได้อยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยทราบจากเจ้าของบ้านนกเลยก็คือ เรื่องของลำโพงภายในและภายนอก ว่าเจ้าของบ้านนกที่อยู่ในทำเลที่ดี สามารถการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นได้ตามเกณฑ์ มีการออกแบบบ้านที่ดี มีวงบินสะดวก การขึ้นลงของนกทำได้คล่องตัว จึงควรที่จะประสบความสำเร็จได้ง่าย แต่ข้อเท็จจริงกลับยังไม่มีนก นกไม่เข้าอยู่  

ผมจึงพยายามนึกว่ายังมีปัจจัยภายในอีกหรือไม่อย่างไร ปรากฎว่ามีปัจจัยภายในที่ผมยังไม่เคยสัมผัสของในบ้านนกแต่ละหลัง  เป็นปัจจัยภายในจริงๆ ซึ่งก็คือลำโพงที่ใช้ภายในบ้านนกนั่นเอง ซึ่งผมเองไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้  เรื่องนี้จึงเป็นข้อข้องใจของผมมาโดยตลอด และผมยังตั้งสมมุติฐานต่อไปอีกว่า หากลำโพงคือปัญหา แล้วจะมีทางแก้ไขหรือสามารถทำให้ดีขึ้นได้กว่าเดิมอย่างไรได้บ้าง

ดังนั้นผมจึงตั้งใจว่าจะต้องทำโครงการณ์นี้ให้ได้ ดังนั้นผมจึงเริ่มหาข้อมูล เริ่มสะสมอุปกรณ์เมื่อประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา เพราะว่าหากเราสามารถหาวิธีเสริมประสิทธิภาพของลำโพงได้ ก็คงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาบ้านนกเก่าๆที่ลงทุนไปแล้วเป็นเงินจำนวนมากแต่กลับไม่ประสบความสำเร็จตามความประสงค์ของเจ้าของบ้านนก ให้กลับมาประสบความสำเร็จได้ ซึ่งหากว่าทำได้ก็จะเป็นประโยชน์กับอีกหลายๆบุคคล ดังนั้นผมจึงได้เริ่มโครงการณ์นี้อย่างจริงจัง

เมื่อผมวางโครงสร้างการทดสอบหลักๆได้แล้ว ต่อมาก็คือการทำโปรแกรมตรวจสอบขึ้นมารองรับ  และเมื่อสร้างโปรแกรมที่จะใช้ทดสอบได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมจึงเปิด LAB เพื่อทำการทดลองขึ้นมา เพื่อหาดูว่า เสียง CD ที่เปิดกันอยู่นี้ทุกวันนี้เมื่อเปิดผ่านลำโพงที่มีอยู่ในตลาดมากมายหลากหลายชนิด ลำโพงเหล่านั้นมีการตอบสนองต่อเสียงที่เปิดอย่างไรบ้าง  ดีไม่ดีอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ลำโพงเดิมๆเหล่านั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม

เมื่อผมเริ่มทำการทดลองจริง ผมได้ทดลองกับลำโพง 6 ตัว 6 แบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว จึงจะสามารถเห็นข้อแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน และสิ่งที่ได้จากการทดลองก็ออกมาอย่างที่เห็นครับ มีทั้งลำโพงที่แย่สุด กับลำโพงที่ดี มาเปรียบเทียบกันก็จะทำให้เห็นภาพได้ที่ชัดเจน เริ่มต้นจากลำโพง B ซึ่งแย่ที่สุดไปหา  C D E F ที่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

ภาพนี้แสดงการเปรียบเทียบลำโพงทั้ง 6 ตัว



จากลำโพง B จะเห็นได้ว่ามีการตอบสนองเพียงไม่กี่ความถี่ ซึ่งด้อยกว่าลำโพง A ที่ตอบสนองกับความถื่ได้มากกว่า และลำโพง A ให้เสียงที่ดังกว่า (dB) ลำโพง B

เสียงจาก CD เดิมๆที่ไม่ได้ทำ Remaster ซึ่งทั้งลำโพง A และ B จะมีการตอบสนองที่จำกัด แต่เมื่อลำโพง A และ B ขับเสียงที่ได้ผ่านการทำ Remaster เสียงใหม่แล้ว (ด้วยเทคนิคเฉพาะตัวเฉพาะตน ที่เป็นของผมเอง) จะเห็นได้ว่าทั้งลำโพง A และ B มีการตอบสนองต่อเสียงได้ดีขึ้น ในความถี่ที่กว้างขึ้น เสียงดังขึ้น dB  มากขึ้นทุกความถี่ และหากจะสังเกตุต่อไปให้ครบทั้ง 6 ตัวนี้ จะเห็นได้ชัดว่าลำโพงที่ดีกว่าก็จะตอบสนองต่อเสียงที่ทำ Remaster ได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะลำโพง D E ตามที่เห็นในลำดับที่ 5 และ 6

จากรูปการทดลองทั้ง 6 รูป จะเห็นได้ว่าการทำ Remaster เสียงตามแนวทางของผมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับบ้านนกที่ระบบลำโพงภายในและภายนอกมีปัญหาโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปเปลี่ยนลำโพงภายใน จนถึงวาระที่จำเป็นต้องเปลี่ยนลำโพงใหม่จริงๆอันมีสาเหตุมาจากลำโพงเสียหายจากความชื้น หรือหมดอายุการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนลำโพงใหม่แทนที่ลำโพงเก่าในจำนวนมากๆ ที่จุดนี้เองก็ถือโอกาสเปลี่ยนลำโพงใหม่ไปเลยเสียทีเดียวทั้งหลัง แต่ในระหว่างช่วงที่ยังไม่พร้อมจัดเปลี่ยนลำโพงกันครั้งใหญ่ การที่ Remaster เสียงจะสามารถนำไปใช้ในการช่วยแก้ปัญหาสำหรับบ้านนกที่ยังไม่พร้อมได้มากทีเดียว

ดังนั้นการทำ Remaster เสียงจึงสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของลำโพงบ้านนกในเบื้องต้นที่ดีอีกวิธีหนึ่ง โดยไม่รบกวนนก แต่ได้สภาพเสียงที่ถูกจริตกับนกแอ่นในบ้านนกของท่านได้


จากการทดลองในครั้งนี้ ผมได้ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยขน์มากพอประมาณ ซึ่งเป็นความรู้แปลกๆ พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข ได้รู้ว่า Specfication ที่เขียนอยู่ข้างกล่องกับเสียงที่ได้จริงจากลำโพงนั้น  ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตรงกัน ลำโพงบางตัวบอกว่าตอบสนองต่อเสียงตั้งแต่ 4,000-20,000 Hz แต่ลองเข้าจริงๆทำได้ดีกว่า ทำเสียงในความถี่ต่ำได้ดีกว่าที่ระบุไว้เสียอีก บางรุ่นเขียน Specfication ไว้ดี แต่เอาจริงกลับไม่ได้เรื่องเลยได้ราว อย่างลำโพง A เป็นต้น ดังนั้นผมจึงสรุปผลการทดลองของผมเองว่า  Specfication ที่เขียนไว้ไม่ได้บอกเล่าอะไรมากมาย แต่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ครบถ้วน เขียนขึ้นมาเพื่อให้เราอยากใช้ลำโพงของเค้าโดยไม่มีการตรวจสอบผลลัทพ์อย่างจริงๆจังๆ สามารถพูดได้เลยว่าความน่าเชื่อของ Specfication ข้างกล่องน้อยมาก แต่ผลลัทธ์ที่แน่นอน เป็นที่เชื่อถือได้นั้นจะมาจากการผลการทดลองของเราเองมากกว่า เราสามารถค้นหาค่าที่เราต้องการจริงๆได้ แต่ว่าก็เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายมากพอดูเอาเรื่อง

ในขณะนี้ได้สั่งลำโพงตัวอย่างจากต่างประเทศเข้ามาจาก 4 บริษัท เน้นว่าเฉพาะลำโพงตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายก็หลายร่วม 6 พันบาทแล้วครับ เพื่อหาดูว่าสินค้าตัวไหนใช้ได้จริงเหมาะสมกับบ้านนกจริงๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่หลายคนไม่เคยเห็น ไม่ทราบ แต่คนที่ทำการทดลองอย่างผมต้องควักจ่ายเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่จะทำให้เราเข้าถึงรู้จริง รู้ซึ้ง นำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในภายภาคหน้า

จาการทดสอบลำโพง 6 ตัว พอทำให้เราทราบว่าลำโพงตัวไหนดีกว่าลำโพงไหนแล้ว เราก็มาลองเปรียบเทียบเสียงที่ได้จากลำโพง กับเสียงจาก CD   ซึ่งมีความถี่เริ่มตั้งแต่ 250Hz - 17,500 Hz ซึ่งครอบคลุมความถี่ที่นกแอ่นใช้อยู่ เพื่อหาดูประสิทธิการตอบสนองต่อเสียงที่ทดสอบ ทั้งแบบเสียงเดิมๆ จาก CD และเสียงที่มีการทำ Remaster

เรามาวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากลำโพง B กันก่อน เพราะว่าจะง่ายกับการทำความเข้าใจนะครับ


ลำโพง B สามารถขับเสียงออกมาได้แค่ 4 ช่วงหลักเท่านี้เอง จาก 15 ช่วงความถี่หลัก ซึ่งถือว่าทำได้แย่มาก หากเรามาดูเสียงจาก CD ที่กำกับอยู่ด้านล่างจะเห็นได้ว่าเสียงทั้ง 15 ช่วงเสียงนั้นจะมีความดัง dB ที่เท่ากันหมด แต่ลำโพง A ทำได้แค่ 4 ช่วงและด้วยความดัง (dB) ที่ค่อนข้างต่ำ จึงไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในบ้านนก ถึงแม้ว่าลำโพง A จะสร้างความถี่ได้กว้างขึ้นกว่าเดิม (ความถี่ 750Hz 1000Hz 1,500 Hz) จากเสียงที่ทำ Remaster แต่ความดังของความถี่ที่ได้เพิ่มขึ้นมานี้ก็ยังถือว่าเบามาก  ส่วนอีก 4 ความถี่หลักที่ทำได้เดิมอยู่แล้ว ก็จะดังขึ้น รับฟังได้ชัดขึ้น


วิเคราะห์การตอบสนองของลำโพง A

ส่วนลำโพง A ตัวนี้หากใช้เสียงจาก CD เดิมๆ ทำความถี่ได้เกือบครบทุกช่วง ซึ่งดีกว่าลำโพง B แต่ว่าความดัง dB ทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่  เมื่อเปิดเสียงที่ Remaster จะเห็นได้ว่าลำโพง A จะสามารถขับเสียงความถี่ที่ 500 Hz ออกมาได้เพิ่มเติมีอีก 1 ช่วง แต่โดยภาพรวม ความดัง dB ของเสียงก็ยังต่ำเกินไป โดยส่วนตัวก็ยังเห็นว่าไม่น่าที่จะนำมาใช้ในบ้านนกเหมือนกัน แต่ดีกว่าลำโพง B แน่นอน


ต่อมาเรามาวิเคราะห์ ลำโพง D กัน ซึ่งจะเริ่มสนุกแล้วนะครับ


ลำโพง D ตัวนี้จะทำความถี่ได้เกือบครบ แต่ที่เด่นก็คือสามารถความถี่เสียงได้ 5 ช่วง หากว่าเทียบกับลำโพง B แบบเดิมๆ จะดูดีกว่าเล็กน้อย ทั้งในแง่ความถี่ที่กว้างขึ้น และในแง่ความดัง-ถือว่าดีกว่าลำโพง B มาก  แต่ว่าสิ่งที่แปลกก็คือพอใช้เสียงที่ทำ Remaster แล้ว คุณภาพของความดัง dB และ คุณภาพของความถี่จะทิ้งห่างจากลำโพง B อย่างเห็นได้ชัดทุกแง่ทุกประเด็นเลย  ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้นกแอ่นได้ยินเสียงจาก Remaster ได้อย่างครบถ้วนชัดเจนขึ้นมาก


ต่อมาเรามาวิเคราะห์ลำโพง E กันต่อเลย


หากเทียบลำโพง D กับ E จะเหมือนมวยรุ่นเดียวกัน พอฟัดพอเหวี่ยง กินกันไม่ลง แต่ว่าลำโพง E ตัวนี้หากว่าใช้เสียงจาก CD ธรรมดา จะทำความถี่ที่ 500 Hz ไม่ได้เลย แต่เมื่อใช้เสียง Remaster ลำโพง E จะสามารถเค้นเอาความถี่ที่ 500 Hz ออกมาได้ดังพอประมาณ  ซึ่งทั้งลำโพง D และ E ทั้งตัว 2 นี้ ชนะกันแค่ปลายจมูกเท่านั้นเอง เลือก D ก็ได้เลือก E ก็ดี ไม่หนีกันเท่าไหร่


ต่อมาเป็นลำโพง F ตัวสุดท้าย




ลำโพง F ตัวนี้ หากว่าสังเกตุกันให้ดีจะเห็นได้ว่าลำโพงตัวนี้ทำเสียงความต่ำๆได้ดีมาก สามารถตอบสนองความถี่ต่ำๆได้เป็นอย่างดีโดยตัวของเค้าเองอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถสร้างความถี่สูงอย่างตั้งแต่ 7,500 Hz ขึ้นไปได้ ขับเสียงไม่ออก และหากว่าสังเกตุต่อไปอีกสักหน่อย ก็จะพบว่าลำโพง F นี้ถึงแม้นว่าจะใช้เสียง Remaster แล้วก็ตาม เราก็จะได้ความถี่ที่ 10,000 Hz และ 15,000 Hz ออกมาอีกเล็กน้อยเท่านั้น หรือแทบจะไม่มีก็ว่าได้ครับ แต่ความถี่เดิมที่ทำได้ดีอยู่ก่อนแล้วก็จะได้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นดีพอใช้


ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้ทำการวิเคราะห์ให้ฟัง ผมคิดว่าเพื่อนๆคงได้แนวทางในการดูลำโพงบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

หากว่าท่านใดสงสัย อยากทราบว่าลำโพงบ้านนกที่ใช้อยู่นั้นเป็นตัวปัญหาหรือไม่อย่างไร สามารถส่งลำโพงมาให้ผมทดสอบ ผมเองก็ยินดีมากครับ ผมจะทดสอบและส่งผลลัพธ์จากการทดสอบ พร้อมคำอธิบายไปให้เพื่อคลายความสงสัย พร้อมแนวทางแก้ไขที่อาจจะทำได้ไม่ยากนัก

                                                                        DIY - Do it Yourself is The  Key
                                                                                   Vuthmail-Thailand
                                                                                          25.03.54

ไม่มีความคิดเห็น: