4/3/54

การตรวจสอบเส้นทางการบิน

เมื่อ 2 เดือนก่อนผมได้รับการติดต่อให้ช่วยดูแบบของหอนกซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่  ซึ่งบ้านนกหลังนี้ได้สร้างใหม่บางส่วน และอาศัยบ้านเดิมบางส่วนเพื่อใช้เป็นเส้นทางบิน เพื่อทำเป็นบ้านนก

บ้านนกหลังนี้ได้กำหนดให้นกบินเข้าที่หอนกในเป็นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วให้นกบินกดหัวลงเพื่อเข้าไปในส่วนที่เป็นตัวอาคารเดิม แล้วจึงเข้าไปในห้องทำรัง ซึ่งมีอยู่ทั้งในส่วนของอาคารเดิมกับส่วนที่ก่อสร้างใหม่  ซึ่งท่านเจ้าของบ้านได้ส่งแบบหอนกที่จะสร้างมาให้ดู  ซึ่งตามแบบเดิมที่ส่งมาให้นั้นไม่ได้บอกหรือถ่ายภาพบริเวณรอบบ้านมาด้วย ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดสำคัญที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญในภายหลังมาให้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนหลัง

เมื่อได้รับแบบมาแล้ว ผมก็มานั่งพิจารณาดูความสัมพันธุ์ของช่องนกเข้าออก เส้นทางการบินที่นกจะต้องใช้ ความเป็นไปได้ต่างๆ และสิ่งที่อาจจะเป็นอุปสรรคกับเส้นทางการบินของนก เมื่อเริ่มจับแนวความคิดของเจ้าของบ้านได้แล้วก็เริ่มมองเห็นปัญหาบางอย่างที่อาจจะมีผลต่อการบินเข้าสำรวจของนกแอ่น ซึ่งท่านเจ้าของบ้านพยายามออกแบบหอนกนี้เพื่อลดแสงที่จะเข้าไปในบ้านนก  จึงทำให้อาจลืมคำนึงถึงเส้นทางการบินของนก  เรามาดูแบบหอนกที่ว่ากันนี้




เมื่อเรามาพิจารณากันให้ดีจะเห็นได้ว่า แผงกันแสงนี้จะเป็นอุปสรรคสิ่งแรก ที่สามารถเห็นได้เนื่องจาก แผงกันแสงนี้จะอยู่ใกล้กับช่องเข้า 1 มากเกินไป นกจะต้องมีมุมบินเฉพาะเพื่อให้สามารถบินผ่านช่องเข้า 1 และแนวแผงกันแสงไปได้ แล้วจึงจะสามารถบินลงตามแนวบันไดเพื่อเข้าสู่ห้องนกทำรังในอาคารเดิมได้ 

เมื่อมาพิจารณาช่องเข้าที่ 2 ก็เช่นกัน ถึงแม้นว่าจะมีพื้นที่กว้างพอประมาณเพื่อที่จะให้นกปรับมุมการบินแล้วบินลงไปในห้องนกทำรังตามแนวบันได เพื่อเข้าห้องนกทำรัง แต่ในมุมมองของผมนั้น รู้สึกว่าพื้นที่สำหรับปรับมุมบินที่ช่องที่ 2 นี้ยังกว้างไม่เพียงพอ  และบันไดจะเป็นอุปสรรคในการปรับองศาการบินอย่างแน่นอน

ในความคิดส่วนตัวของผมเอง ผมมองว่าช่องเข้าออกทั้ง 2 ช่องนี้จะเป็นอุปสรรคกับนกที่จะบินเข้ามาสำรวจอย่างแน่นอน ลองมาดูเส้นทางการบินและมุมมองของผม  ซึ่งอยู่ในรูปต่อไปนี้




ผมจึงได้แก้ไขแบบช่องเข้าออกให้ใหม่และส่งกลับไป พร้อมทั้งได้บอกว่าแผงกั้นแสงนี้จะเป็นอุปสรรคกับนก อยากให้เอาแผงกันแสงนี้ออกและเปลี่ยนตำแหน่งช่องบินเข้าออกใหม่เพื่อให้สะดวกต่อการบินขึ้นลง ตามรูปต่อไป




เมื่อส่งรูปภาพที่ต้องการให้แก้ไขกลับไปให้ปรากฎว่า 2 ช่องที่อยากให้เจาะใหม่ มี 1 ช่องที่ใช้ได้เป็นช่องนกเข้า 1 หรือตำแหน่ง B ที่ให้เลื่อนออกมา  ส่วนอีกช่องตรงทางเข้าประตู ที่เลื่อนมาจากตำแหน่ง A นั้นไม่สามารถทำได้เพราะมาทราบจากเจ้าของบ้านภายหลังว่ามีแนวเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ตั้งทมึนอยู่ตรงหัวมุมตึกพอดี ซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการบินอย่างมาก ผมจึงบอกให้ท่านเจ้าของบ้านนก ถ่ายรูปรอบๆหอนกมาให้ดู  ซึ่งก็จริงอย่างว่าเสาไฟฟ้าแรงสูงใหญ่เกะกะนกในการบินมาก สายไฟฟ้าใหญ่เล็กเกะกะไปหมด



รูปบน ช่องเข้าออกตรงแนวประตูที่เลื่อนมาจาก ตำแหน่ง A  ช่องนี้ต้องแก้ไขใหม่

รูปล่าง ช่องเข้าออกที่เลื่อนมาจาก ตำแหน่ง B  ซึ่งช่องนี้ใช้ได้-ไม่มีปัญหาอะไร



จึงได้สอบถามจากเจ้าของบ้านนกท่านนี้ว่า นกบินมาทางไหน จากทิศไหนไปทิศไหน และรอบๆบ้านนกที่สร้างมีบ้านนกซึ่งสร้างก่อนหน้าบ้างหรือไม่  ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่ามีบ้านนกที่สร้างก่อนและมีนกมากพอประมาณ จึงได้ขอให้ท่านเจ้าของบ้านถ่ายรูปรอบหอนกมาให้ดูเพิ่มเติม เมื่อได้รับรูปแล้วผมก็สอบถามสภาพโดยรวม จึงทำให้ทราบว่าด้านหลังหอนกนี้ มีพื้นที่ว่างอยู่พอประมาณ และหากว่านำเสาโทรทัศน์ออกได้ก็น่าจะเจาะเป็นช่องเข้าออกได้เพื่อทดแทนช่องนกเข้าทางประตูบริเวณหัวมุมตึกได้  และท่านเจ้าของบ้านบอกว่าสามารถที่จะย้ายเสาโทรทัศน์นี้ออกได้ ผมจึงบอกให้เจาะช่องเข้าที่ด้านหลังหอนกนี้ 





เมื่อได้ตำแหน่งที่ดีที่จะเจาะช่องนกเข้าออกแล้ว ไม่มีสายไฟฟ้า ไม่มีเสาโทรทัศน์มาเกะกะ  ผมจึงกำหนดตำแหน่ง ขนาดและระยะที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับเส้นทางการบิน มุมบินของนกไปให้ตามที่เห็นในรูปด้านล่าง









เมื่อดูรูปและประมวลข้อมูลรอบด้านแล้ว จนได้ข้อสรุปได้เป็นที่ชัดเจนแล้ว ส่งที่ปรากฏออกมาก็จะเหมือนกับที่เห็นใน VDO นะครับ นกบินเข้าออกได้อย่างสะดวกสบายครับ เส้นทางการบินของนกก็เหมือนที่ได้คาดการณ์เอาไว้ครับ  เรามาดู VDO กันครับ

มุมกล้อง 1 และ 3 (ทางด้านซ้ายมือ) คือ ช่องนกเข้าทางด้านหลังหอนก
มุมกล้อง 2 และ 4 (ทางด้านขวามือ) คือ ช่องนกเข้าด้านข้าง



ตอนนี้ได้ข่าวจากเจ้าของบ้านนกว่าหลังจากก่อสร้างเสร็จและเปิดตึกได้ 10 วันมีนกเข้าอยู่แล้ว ดีใจกับเจ้าของบ้านนกหลังนี้ด้วย
ผมอยากให้เพื่อนๆได้ศึกษาต่อยอดจาก Case Study นี้ถึงความสำคัญของการออกแบบ การศึกษาวงบิน ทิศทางการบิน เมื่อเข้าใจได้อย่างดีแล้ว ปัญหาต่างๆก็จะน้อยลงมาก ไม่ต้องทุบรื้อแก้ไข เปิดบ้านทีเดียว ครั้งเดียวได้นกเลยจะดีมากๆสำหรับคนที่ทำบ้านนกหลังใหม่ๆๆ

                                                                                                     Enjoy
                                                                                              Vuthmail-Thailand
                                                                                                    04.03.54

ไม่มีความคิดเห็น: