17/1/53

สูตรการหาค่า R ต่อลำโพงแบบผสมในบ้านนก

ต้องขอขอบคุณ น้องอั้ม มากครับ ที่ Post เรื่องวงจรการต่อลำโพงมาให้
ทำให้ผมสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอดได้ ขยายผลออกมาจนเขียนเป็นสมการได้ จึงได้นำมาลงไว้ด้านล่างเพื่อให้เพื่อนๆนำไปใช้ในการคำนวณค่า R และจำนวนลำโพงที่จะต้องใช้

   อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วในช่วงต้น ว่าตอนเริ่มต่อลำโพงในตึกนกของผม พอมีพื้นฐานการต่อลำโพงแต่ละแบบอยุ่บ้าง แต่ว่าไม่แจ่มแจ้งเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อได้เห็นรูปเห็นสมการ แล้ววิเคราะห์สมการต่างๆ ก็ได้รับความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งคิดย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดในการต่อลำโพงในบ้านนกของผมที่ใช้การต่อขนานทั้งหมด เพราะว่าไม่มีพื้นฐานเรื่องไฟฟ้า

   ผมจึงคิดว่ายังคงมีคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้อยู่แน่นอน จึงได้นำเอาสิ่งนี้มานั่งทำความเข้าใจใหม่ เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้นกว่าเดิม และเขียนเป็นสูตรออกมา เพื่อช่วยทำสิ่งที่ยากให้ง่ายขึ้นสำหรับเพื่อนๆบางคนที่ตกที่นั่งเดียวกันกับผม

    ผมหวังใจว่าสูตรการคำนวณค่า R นี้คงช่วยให้เพื่อนๆที่กำลังทำบ้านนกจะได้ไม่ต้องมานั่งลำบากอย่างผม ต้องลองผิด ลองถูกกันให้เสียเวลา และสามารถทำงานในส่วนที่ค้างหรือยังไม่เข้าใจ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ดีขึ้น และสามารถเดินได้ตรงแนวโดยไม่ต้องเสียเวลาอย่างที่ผมได้เป็นมา

ผมต้องขอขอบพระคุณ น้องอั้ม และ Website ทั้งสองแห่งที่เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นไว้ด้วย

http://www.chontech.ac.th/~electric/e-learn/unit3/unit3.htm

http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page06013.asp


สรุปแบบต่อแบบต่างๆ

1.- การต่ออนุกรม Serial เป็นการต่อวงจรที่ความต้านทานรวม จะมีค่าเท่ากับความต้านทานของลำโพงทุกตัวรวมกัน  อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ในบทก่อนว่า ความต้านรวมที่มากขึ้น จะทำให้ Ampifier ไม่เสียหาย  แต่ก็มีข้อเสียคือว่า หากว่าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งเสียก็จะทำให้ลำโพงชุดนั้นทั้งหมด เงียบ ไม่มีเสียงและก็มีข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ เสียงที่ได้จะไม่คมชัดตามที่มันควรจะเป็นเพราะว่าความต้านทานที่มากขึ้นก็เป็นตัวบั่นทอนสัญญาณจากแอมป์ลงไปด้วยเช่นกัน เสียงที่ได้จะเกิดการ Loss ไปมากกว่า 40% ความคมชัดก็หายไป เสียงลำโพงก็จะเบาตามไปด้วย



2.- การต่อแบบขนาน การติดตั้งจะง่ายที่สุด แต่ก็มีปัญหาอยู่ว่า ยิ่งติดลำโพงมากเท่าไหร่ มันก็จะทำ
ให้ค่าความต้านทานรวม (โอห์ม-ohm) ต่ำลงไปเรื่อยๆ  ผลที่ตามมาก็คือมันจะทำให้ Ampifier ต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆและไหม้ในที่สุด

     การคำนวนค่าความต้านทานรวมในระบบดูจากรูปได้เลยครับ

                             

3.-การต่อวงจรผสม เป็นระบบที่ดีมากระบบหนึ่ง (หากว่าต่อเป็น)  สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องไฟฟ้าจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากครับ  ผมก็เป็นเช่นกัน แต่ว่าตอนนี้ความเข้าใจมีมากขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้ว  จึงอยากจะช่วยเพื่อนๆที่ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องไฟฟ้าเหมือนกับผม

การต่อวงจรผสมนี้ จะทำให้เสียงที่ได้ค่อนข้างดี พร้อมทั้งยังสามารถควบคุมความต้านทานรวมได้หรือ สามารถที่จะคำนวนได้ว่าต้องการให้ค่า R ออกมาอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่ว่าจะให้ Ampifier ทำงานไม่หนักเกินไป ทำงานได้ประสิทธิสูงสุดเลย เสียงที่ออกมาก็คมชัด ไม่เกิดการ Loss ในระบบ แต่ว่าการต่อวงจรออกจะซับซ้อนเล็กน้อย  จึงต้องค่อยๆศึกษาไปเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มๆเข้าใจขึ้น

                  

                    

จากทั้ง 2 รูป เป็นการต่อผสมที่เหมือนกันครับ ให้ค่าความต้านทาน (โอห์ม) เท่ากัน เหมือนกัน
แต่ว่าเป็นเขียนวงจรเป็นแบบซับซ้อน กับเขียนวงจรแบบพื้นฐาน จึงทำให้ดูแตกต่างกันไปบ้างครับ

     ผมได้ทำการสรุปการคำนวนค่า R ออกมาเป็นสูตรหรือเป็นสมการในการคำนวณหาค่า R ทั้งระบบที่ออกจากแอมป์  และค่า R ที่แยกออกไปสำหรับแต่ละชั้น  พร้อมทั้งได้แยกย่อยค่า R แต่ละชั้นออกเป็นระดับ Line  พร้อมทั้งจำนวนลำโพงที่ใช้ในการต่ออนุกรมในแต่ละ Line ไว้ให้พร้อมคำนวนหา จำนวนลำโพงที่ใช้ในแต่ละ Line ที่อยู่ในตึกนกไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

สามารถ Download ไปใช้ได้ทั้งแบบ Exel 2003 และ 2007 ซึ่งจะมีรูปประกอบให้แบบคร่าวๆ แยกเป็นชั้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในเดินวงจรให้กับเพื่อนๆ  มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย (สำหรับเพื่อนที่เป็นชาวต่างประเทศ)



หากว่า Download ตามปกติไม่ได้ - กรุณาให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

เมื่อขึ้นหน้าต่างให้รอจนครบ 10 วินาทีก่อน
จากนั้นระบบจะบอกว่า     " คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแฟ้มนี้ "
ให้คลิกขวา แล้วเลือก      " Open in New Tab "  หลังจากนั้น
ไปที่ Tab ใหม่แล้วเลือก  " Save "  เพื่อเก็บไว้ใช้


        โดยทั่วไปค่า R ของ Ampifier ส่วนมากจะถูกกำหนดเป็น 8 ohm (โอห์ม) ดังนั้นสิ่งที่เพื่อนๆจะต้องเตือนตัวเองในการคำนวณหาค่า R ของ Ampifier ที่สามารถปรับขึ้นลงได้บ้าง โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 4-12 ohm เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรหรือจำนวน Line  เพื่อหาจำนวนลำโพงที่เหมาะสมกับที่ต้องการใช้
         ส่วนค่า R ของลำโพงค่ามาตราฐานทั่วไปก็อยู่ 8 ohm เช่นกัน หากว่าค่าที่วัดได้จริงก็ไม่ควรต่างจากนี้ไปมากนัก หากว่าต่างจากนี้ไปมาก เราก็สามารถแก้ค่าที่สมการได้ เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณค่าต่างๆให้ใหม่ทั้งหมด (รูปโดยคร่าวๆที่แบ่งค่า R ในแต่ละชั้นก็จะ Update ค่าให้ Automatic )

ซึ่งเราสามารถเปลื่ยนแปลงค่าตัวแปรบางตัวให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการติดตั้งลำโพงบ้านนกได้ ค่าที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปด้วยทั้งระบบแล้วก็จะได้ตัวเลขใหม่ และผมได้ทำช่องเปรียบเทียบผลการคำนวณไว้หลายช่อง เพื่อใช้เปรียบเทียบกันหลายๆตัวและให้ได้ค่าที่เหมาะกับที่ต้องการ

--------------------------------------------------

         วันนี้ผมไปทำบุญในวันคล้ายวันเกิด ที่วัด โคกขาม ต.พันท้ายนรสิงห์  จังหวัดสุมสาครมา ก็เลยนำบุญมาฝากกันนะครับ  หากท่านใดร่วมอนุโมทนาโดยการ สาธุ สาธุ สาธุ ท่านก็ได้ร่วมบุญกับผมแล้วนะครับ  (สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว)

    เฉกเช่นเดียวกับที่ผมได้พยายามเขียน Blog นี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ผมมีอยู่บ้าง เพื่อหวังให้เกิดประโยชน์กับเพื่อนๆที่ยังไม่รู้-ให้รู้ บุญใด กุศลใด ที่ได้-ที่เกิดจากการอ่าน Blog นี้ ซึ่งทำให้ท่านมีความเข้าใจที่ดีขึ้น ลึกซึ้งขึ้นและเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านมากขึ้น

     บุญนั้น กุศลนั้น ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว-ขอมอบอุทิศให้แก่บิดา นาย เสริมศักดิ์ สุรินทร์รัฐ ผู้วายชนม์ และคุณแม่สำอางค์ แซ่ปึง ผู้ให้กำเนิด พร้อมญาติพี่น้องทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผมทุกๆท่าน ด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
  
                                                                                        Just Try A Bit More

                                                                                        Vuthmail-Thailand

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ที่ให้ข้อมูลดีๆ เพิ่มความรู้มากขึ้น ผมก็กำลังจะทำบ้านนกเหมือนกัน กำลังศึกษาข้อมูลอยู่เลย
ต้น จันทบุรี

parn กล่าวว่า...

ถ้าเราเอาลำโพง4ตัวมาต่อขนานเอาบวกรวมกันและลบรวมกันทำ2ชุดแล้วเอามาต่ออนุกรมคือเอา+จากแอมป์เข้า+ลำโพงชุด1แล้วเอา-จากชุด1 เข้า+ชุด2เอา-ชุด2เข้าแอมป์- ครบวงจรพอดีได้8โอมท์เหมือนกันแต่ต่อลำโพงได้8ตัวไม่โหลดแอมป์ครับเสียงดีเหมือน "บี้THE STAR"เลยละ55555