29/10/53

แกะรอย Hygrostat ภาค 2

ผมใช้เวลาในการหา Hygrostat ที่มีประสิทธิสูง เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมความชื้นในบ้านนกของผมเอง
ซึ่งโดยส่วนตัว ผมมองว่าในเมืองไทยไม่ค่อยได้ใช้เกี่ยวกับอุปกรณ์ตัวนี้ ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ใช้กันไม่มาก เพราะว่าประเทศไทยบ้านเราไม่หนาวเหมือนกับต่างประเทศ อุปกรณ์เหล่านี้จึงหาได้ค่อนข้างยาก-ลำบากจริงๆครับ อีกอย่างราคาอุปกรณ์พวกนี้ราคาสูงมาก

ผมเองก็มีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อย จึงต้องใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลอยู่นาน กว่าที่จะสามารถเข้าใจเรื่องอุปกรณ์เหล่านี้ได้พอประมาณ นอกจากนี้ผมเองก็ยังต้องศึกษาต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์เหล่านี้ มีความเหมาะสมกับบ้านนกที่ใช้ Timer ในการควบคุมการให้ความชื้นอยู่ก่อนแล้ว และให้เหมาะสมกับบ้านนกใหม่ที่กำลังจะติดตั้งอุปกรณ์นี้อยู่

สิ่งแรกที่ผมสังเกตุเห็นอะไรหลายๆอย่าง ซึ่งจำเป็นจะต้องเพิ่มเติม เช่นค่ากล่อง ค่าMagnatic ค่าAdaptor สำหรับจ่ายไฟให้บอร์ด และค่าใช้จ่ายแฝง ตามที่ได้เขียนไว้ในบทความ แกะรอย Hygrostat ภาคแรก ซึ่งผมเองได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้  ก็อย่างที่บอกครับ ผมมีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อยและคาดว่ายังมีคนอยู่อีกกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าน้อยเหมือนกับตัวผมเอง

ดังนั้นตัว Hygrostat รุ่นที่ผมมองหาอยู่นี้จะต้องง่ายต่อการติดตั้ง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ เอาแบบที่เรียกว่ายก Timer ชุดเก่าออกทิ้งไป และต่อไฟเข้าในช่องของ Input และต่อสายไฟออกที่สั่งเปิดปิดเครื่อง Blade Humidifier ที่ช่อง Output ของ Hygrostat เพียงเท่านี้เองให้ง่ายๆอย่างนี้มีหรือปล่าว ผมก็เพียรหาอยู่นานครับ ปรากฏว่ามีครับ



เครื่องรุ่นนี้เป็นรุ่นใหญ่ครับ สามารถให้ควบคุมได้ทั้ง ความชื้นและอุณหภูมิ โดยอยู่ในเครื่องตัวเดียวกัน รุ่นนี้ผมเจาะลงไปที่รายละเอียด ทำให้ได้ทราบว่ารุ่นนี้ทำได้ตามที่ผมต้องการ ยก Time เก่าทิ้งไป ยก Hygrostat ใหม่เข้าไปแทนที่   แต่ว่ารุ่นที่มี Relay 3A เท่านั้นจึงจำเป็นต้องติด Magnetic ขนาด 10A เพิ่มเติม  และรุ่นนี้ Board มีค่าความเพี้ยนในการวัดต่ำที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นเลยคืออยู่ + 0.3%  ซึ่งปรกติจะอยู่ที่ + 5% ซึ่งค่าความเพี้ยนระดับ + 0.3% ผลการวัดจะมีความเที่ยงตรงสูงมากๆ และอยู่ในเกณฑ์สูงกว่ามาตราฐานมาก ( แม่นยำกว่า Board ปกติถึง 94% )

Sensor ที่ใช้วัดจะวัดได้เที่ยงตรงกว่า Sensor ปกติ ค่าความเพื้ยนต่ำกว่า Sensor ปกติอยู่ 2% ซึ่งมีความแม่นยำสูงเอาการ (ปกติค่าความเพี้ยนของหัว Sensore ทั่วไปจะอยู่ประมาณ 5% แต่รุ่นนี้อยู่ 3% หรือเท่ากับมีความแม่นยำมากกว่าปกติ 40% เลยนะครับ) สายยาว 3 เมตร ขยายความยาวได้ด้วย สายไฟธรรมดา ซึ่งสะดวกมาก

และที่เด่นสุดๆๆ สำหรับรุ่นใหญ่ตัวนี้คือ มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลระหว่าง Computer ได้ด้วย RS232 หรือ RS485 หรือสามารถทำโปรแกรม PLC (Programmable Logic Controller) เองได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของเครื่องรุ่นใหญ่ตัวนี้ที่พิเศษมากๆๆ

ข่าวล่าสุดครับ ผมได้ให้ทางบริษัทช่วยออกแบบการต่อเชื่อม เพื่อเพิ่มความสามารถของเครื่องให้สามารถควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยไม่แบ่งว่าจะต้องกังวลว่าจะควบคุมด้วยความชื้นเป็นหลัก หรือใช้อุณหภูมิเป็นหลัก

จึงทำให้เครื่องรุ่นใหญ่นี้จะสามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิไปพร้อมๆๆกันเลย ทั้ง 2 กรณีซึ่งพิเศษมากครับ ซึ่งหากว่าสรุปเงื่อนไขการทำงานจะเป็น 3 ช่วงดังต่อไปนี้คือ

กรณี 1.- หากความชื้นต่ำกว่า 75 Rh% ให้ Hygrostat สั่งเครื่องเปิดเครื่อง Humidifier และหากว่าความชื้นเริ่มสูงขึ้นจนถึง 90% ให้ Hygrostat สั่งปิดเครื่อง Humidifier เอง ( และสามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ )



กรณี 2.-อุณหภูมิหากว่าสูงกว่า 30 องศาให้ Hygrostat สั่งเครื่องเปิดเครื่อง Humidifier และหากว่าอุณหภูมิลงจนถึง 28 องศาก็จะสั่งให้ Hygrostat ปิดเครื่อง Humidifier อัตโนมัติ (และสามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ)



กรณี 3.-ที่วิเศษสุดๆก็คือ เมื่ออุณหภูมิลดลงมาอยู่ที่ 28c และเริ่มสูงขึ้น ความชื้นเริ่มตกลงมาอยู่ระดับต่ำ ระบบก็จะสั่งให้ทำการเปิด Humidifer เอง เพื่อการรักษาระดับความชื้นให้อยู่ในระดับที่นกชื่นชอบเอาไว้ และเป็นการช่วยลดอุณหภูมิไม่ให้แกว่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป  จึงทำให้อุณหภูมิค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป  จึงเป็นรักษาระดับอุณหภูมิ-ความชื้นที่เหมาะสมกับนก ให้สามารถอยู่ใน Nesting Room ได้นานขึ้นกว่าเดิม (ซึ่งเป็นข้อดีของเครื่องที่ได้เปรียบกว่าปกติ) เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมโดยความชื้นหรืออุณหภูมิอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว  พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิในบ้านนกในเวลาเดียวกัน  (สามารถกำหนดค่าเปิด-ปิดเครื่องได้เองตามความต้องการ)




ต่อมาเป็นรุ่นกลาง


รุ่นนี้เป็นรุ่นที่เรียกได้ว่าพอๆกับรุ่นทำ Promotion นะครับ แต่ว่ามีข้อดีตรงที่ว่า Hygrostat รุ่นนี้จะต้องง่ายต่อการติดตั้ง โดยยก Timer ชุดเก่าออกทิ้งไป และต่อไฟเข้าในช่องของ Input และต่อสายสำหรับไฟออกเพื่อป้อนไฟสั่งเปิดปิดเครื่อง Blade Humidifier ที่ช่อง Output ของ Hygrostat เพียงง่ายๆเท่านี้เอง และไม่ต้องมีการติด Magnetic หรือสิ่งใดๆเพิ่มทั้งสิ้น เพราะว่าในเครื่องจะมี Relay ที่สามารถทนกระแสได้ 10A อยู่ในตัวแล้ว ทำให้ประหยัดค่า Magnetic ไปอีกราว 600 บาท ส่วนราคาเครื่องจะสูงกว่ารุ่นทำ Promtion เล็กน้อย แต่ดีตรงที่ว่า โยนของเก่าทิ้งไปและเอาชุดนี้ไปแทนได้สะดวกมาก ไม่ต้องใช้ Adaptor เพื่อจ่ายไฟเลี้ยง Board เพิ่มแต่อย่างไรเลย

รุ่นนี้จะใช้ Sensor ของ Honeywell สายยาว 2 เมตร ต่อขยายความยาวได้ด้วยสายไฟธรรมดาครับ

                                                                                          Enjoy it
                                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                                         29.10.53

26/10/53

ความชื้นยิ่งละเอียดยิ่งดี

ก็อย่างที่เราทราบๆกันอยู่นะครับว่า นกแอ่นกินรังนั้นจะชอบความชื้นที่ค่อนข้างสูง ช่วงระหว่าง 80 Rh%-85Rh% แต่ว่าเรื่องของอุณหภูมิก็สำคัญไม่หยอก แต่อาจจะเป็นรองๆลงมาบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความสำคัญเลยนะครับ

หากว่าเป็นหน้าร้อน ที่ร้อนมากๆๆอย่างหน้าร้อน ปี 53 ที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์แบบเห็นๆกันอยู่ หากว่าบ้านนกที่อุณหภูมิสูงเกิน 32-34 องศาอย่างนี้ เราก็ต้องมาให้ความสำคัญกับเรื่องอุณหภูมิ แทนที่จะเป็นเรื่องความชื้น หรืออย่างหน้าหนาว 2 ปีก่อนจังหวัดที่ใกล้กรุงเทพจะเย็นเอาเรื่อง เราก็ต้องเน้นการปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อทำให้นกอยู่สบายๆ ไม่หนาว ส่วนหน้าฝนเรืองอุณหภูมิแทบไม่ต้องเป็นห่วงเลย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลอุณหภูมิจะเป็นที่เด่น หรือต้องให้ความสำคัญเป็นคราวๆไปตามปัจจัยที่เข้ามากระทบ แต่เรื่องของความชื้นจะเป็นเรื่องต้องควบคุมอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าบางครั้งเรื่องอุณหภูมิจะเด่นเกินหน้าเกินตาขึ้นมาเป็นครั้งเป็นคราวก็จริง แต่อย่างไรก็แล้ว ความชื้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้ครับ

การควบคุมความชื้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนครับ แกว่งตัวขึ้นลงได้ง่ายอีกทั้งแกว่งขึ้นละได้ครั้งละมากๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ขนาดช่องขนาดรูระบายอากาศ ความแรงของลมที่พัดเข้ามาก ความชื้นในอากาศของแต่ละช่วงเวลา ความชื้นในอากาศในแต่ละฤดูกาลก็แตกต่างกัน ความร้อนแรงของแสงที่ส่องเข้าไปในบ้านนกก็แตกต่าง  การออกแบบบ้านนกให้มีหรือไม่มีบ่อน้ำภายในบ้านนก ก็มีผลกับความชื้นภายในบ้านนกเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นปัจจัยที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าย่อมกระทบต่อความชื้นสัมพัทธ์ในบ้านนกของท่าน  ดังนั้นเรื่องต่างๆเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อความชื้นในแต่ละจุดของบ้าน ซึ่งมีผลทำให้ความชื้นในแต่ละจุดก็จะไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไป บางจุดความชื้นสัมพัทธ์อาจจะสูง บางจุดความชื้นอาจจะต่ำ ความชื้นในแต่ละชั้นก็จะแตกต่างกัน อีกทั้งเรื่องของพื้นที้ใช้สอยในบ้านนกก็มีผลเหมือนกัน
 
เรื่องพื้นที่ของอาคารบ้านนกแตกต่างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ซึ่งเราต้องยอมรับกันว่าบ้านนกพื้นที่เล็ก การควบคุมความชื้นย่อมทำได้ง่ายกว่าบ้านนกพื้นที่ใหญ่ ความยุ่งยาก ซับซ้อนในการควบคุมความชื้นก็จะแตกต่างกันไป จำนวนชั้นก็มีผลต่อความชื้น ขนาดของช่องเข้าออกใหญ่เล็กไม่เท่ากัน จำนวนช่องมากน้อยไม่เหมือนกัน มี 1 ช่องบ้าง 2 ช่องบ้าง อีกทั้งตำแหน่งและระยะห่างของช่องนกเข้าออกกับ Nesting Room ก็จะส่งผลต่อความชื้นของอาคารเช่นกัน โดยส่วนมากชั้นบนสุดของบ้านนกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดและรวดเร็วกว่าชั้นล่างๆ
 
ดังนั้นการควบคุมความชื้น โดยใช้จุดที่วัดเพียง 1-2 จุด เพื่อควบคุมความชื้นพื้นที่ทั้ง 3 ชั้น หรือ ควบคุมความชื้นบ้านนกทั้งหลังนั้น ผมว่าเป็นสุ่มเสี่ยงค่อนข้างมาก แต่ว่าท่านสามารถใช้การวัดความชื้น 1-2 จุดได้เช่นกัน แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า--ท่านจะต้องแม่นเรื่องความชื้นมากๆๆ หากว่าท่านวางตำแหน่ง Sensor ไว้ผิดที่ผิดทางโอกาสพลาดก็มีมากเช่นกัน 
 
ในทางกลับหากว่าเรากระจายจุดวัดและจุดควบคุมให้มากจุด แยกเป็นหน่วยย่อยๆ หลายๆจุด จะทำให้สามารถบริหารความชื้นได้แม่นยำ ทำได้ละเอียดกว่า ความผิดพลาดน้อยลง ประสิทธิภาพการบริหารความชื้นต่อพื้นที่จะทำได้แม่นยำ การแยกการควบคุมความชื้นเป็นหน่วยย่อยหลายๆจุดนั้นจะทำให้การควบคุมความชื้นในแต่ละพื้นที่ได้ประสิทธิภาพสูงว่าอย่างชัดเจน การบริหารความชื้นให้เข้าสู่ภาวะ Idealy จะทำได้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า; แม่นยำกว่า ในช่วงเวลาที่ถูกต้องทันกาลมากกว่าการใช้จุดวัดและควบคุมเพียง 1-2 จุด โดยที่เราอาจจะไม่ต้องเก่งหรือแม่นเรื่องตำแหน่งที่วางหัว Sensor อย่างเซียนที่เค้าเก่งๆครับ
 
                                                                              Vuthmail-Thailand
                                                                                     26.10.53

21/10/53

มาทำ Brain Strom เรื่องของการกำจัด-"รา"

พอดีผมมีกร๊าฟอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิด "รา" ที่พอจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาวิธีป้องกัน โดยเฉพาะในหน้าฝนนี้คงเป็นเรื่องฮิตมากนะครับ หากว่าเราพอทราบความสัมพันธุ์ของเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีแล้ว  อาจจะสามารถทำ Brain Strom เพื่อหาแนวทางป้องกันได้บ้าง

จริงๆแล้วการศึกษาดูจากกร๊าฟสรุปนี้  ทำให้ง่ายต่อการจดจำมาก และยังนำไปทำอะไรสนุกได้ ผมจึงอยากให้เพื่อนที่อ่าน Blog ลองดูกร๊าฟเชื้อรานี้ให้เข้าใจเสียก่อน แล้วมาลองเสนอแนวทางการป้องกันรา จะถูกจะผิดอย่างไรไม่เป็นไรครับ ไม่Serious เอาเป็นว่าได้ฝึกสมองและความคิดนะครับ

ผมเสนอแนะให้ ทำการ Save รูปทั้งหมดไว้แล้ว จากนั้นเปิดด้วย Programe ดูรูปอย่าง Microsoft และให้ Click เร็วนะครับ สนุกดี



ผมสมมุติว่า เราจะบริหารความชื้นอย่างไร อุณหภูมิเท่าไหร่ ดีครับ เพื่อที่จะป้องกันไม่เกิดเชื้อราไม้ Plank ของเราได้   ร่วมกันส่งความคิดกันมานะครับ  เพื่อให้เป็นแนวทางที่หลากหลาย  จากหลายมุมมอง หลายความคิดดีครับ  ไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก ทุกอย่างเป็นศิลปะ

                                                                                   ขอให้สนุกกับกร๊าฟนะครับ
                                                                                        Vuthmail-Thailand
                                                                                                 21.10.53

19/10/53

ประกาศ

เนื่องจากว่าบทความเรื่องตามรอย Hygrostat

เพื่อนบางท่านที่ได้อ่านบทความนี้แล้วอาจจะเกิดความเข้าใจผิดพลาด คลาดเคลื่อน จากเจตนาเดิมของผมนะครับ เรื่องบอร์ด AP-1700 ที่ใช้ร่วมกับบอร์ดวัดความชื้น AP-1701 หรือบอร์ด AP-105 รวมทั้ง PMT503 ที่ผมนำมาลงใน Blog นี้     ผมไม่ได้นำมาประกาศขายนะครับ

แต่เป็นเพียงการสรุปเป็นภาพรวมให้ว่า  หากต้องการใช้ AP-1700 ร่วมกับ AP-1701 บอร์ดวัดความชื้น จะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง พร้อมทั้งหากว่าจะต้องนำไปลงกล่องให้เรียบร้อยทั้ง AP-1700 ราคา 1,950 บาท AP-1701 ซึ่งก็มีกล่องใส่ราคา 300 บาท  หัว Sensor ก็มีกล่องใส่ราคา 250 บาท ซึ่งผมพยายามรวบรวมมาเพื่อให้เห็นภาพค่าใช้จ่ายแฝงที่จะเกิดขึ้น โดยที่คนทำบ้านนกอาจจะไม่ได้ตามรายการอย่างละเอียด จึงอาจจะทำให้เห็นแต่เพียงราคาบอร์ด โดยลืมนึกถึงค่าใช้จ่ายเรื่อง Casing ของอปุกรณ์เหล่านี้  ซึ่งหากว่าจะนำมาใช้ในงานบ้านนก ผมคิดว่าจำเป็นต้องลง Case ให้เป็นที่เรียบร้อย เพราะว่าเราจะไม่สามารถเข้าไปในตึกนกได้ ซึ่งจะเป็นการรบกวนนก หรือทำให้นกหนีได้ ก็เลยวิสาสะ คำนวนเป็นต้นทุนให้เลย ซึ่งราคาที่ใส่ไปก็เป็นราคาที่ของ ศิลา ก็อย่างที่เห็นกันครับรวมออกก็ได้ตัวเลขอย่างที่เห็นกันอยุ่

ซึ่งผมขอย้ำอีกทีนะครับว่า ราคาที่เห็นนั้นเป็นราคาที่ผมพยายามเก็บตัวเลขเท่าที่จะคำนวนเป็นต้นทุนให้ได้ทั้งหมด ในกรณี Full Option จริงๆๆ และก็เป็นการติดตามต้นทุนของอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อนำมาประกอบเป็นชุดควบคุม ซึ่งใช้งานแบบ Full Option ทำให้ท่านสามารถทราบว่าประเมินต้นทุนที่จะต้องจ่ายในอนาคต หากว่ายังติดอุปกรณ์วัดความชื้นไม่ครบทั้ง 5 จุด ก็อาจจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนจริงๆ

ผมจึงรวบรวมออกมาให้เป็นภาพรวมทั้งหมด ดังจะเห็นในรูปที่ผมใช้คำว่า

  " ราคาครบ SET  เท่าที่สามารถตามรายการได้ในเบื้องต้น "  


   ซึ่งเป็นการรวบรวมสรุปต้นทุนของบอร์ดแต่ละรุ่น     ไม่ได้เป็นราคาขาย     นะครับ    

และบางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า  Board ชุดนี้ผมจะนำมาขาย ในราคา  22,550 บาท  ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด และคลาดเคลื่อนไป  ผมขอย้ำนะครับว่าเป็นการสรุปต้นทุนแบบ Full Option ให้ครบทั้ง 5 จุด และผมก็ไม่ได้นำมาเสนอขายด้วยนะครับ

หากว่าเกิดความผิดพลาดประการใดก็ตาม ทำให้บางท่านเข้าใจผิดว่าผมจะนำมาขายในราคา 22,550 บาท ก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง เพราะว่าภาษาที่เขียนอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด  จึงได้ออกบทความนี้เพื่อเรียนชี้แจงให้ท่านได้เข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน

                                                                           Vuthmail-Thailand
                                                                                    19.10.53

18/10/53

วิธีการสอบเทียบ Hygrostat ด้วยตัวเอง

ช่วงนี้ผมค่อนข้างจะยุ่งมากเลยครับ เหนื่อยและเซ็งกับงานประจำมาก

แต่ก็ด้วยคิดว่า ช่วงที่ผ่านมา Blog ต่างๆ ส่วนใหญ่เงียบเหงายังไม่มีอะไรใหม่ๆๆ  ผมก็เลยแบ่งเวลาจากงานประจำอันแสนยุ่งมาเขียนบทความใหม่ เพื่อให้ความรู้แก่เพื่อนๆ โดยหวังใจว่าเพื่อนจะสามารถนำไปศึกษาต่อยอดหรือเป็นการช่วยพัฒนาวงการทำบ้านนกของเพื่อนๆได้มากทีเดียว

วันนี้ผมจึงนำเรื่องการสอบเทียบความถูกต้องของ Hygrometer หรือ Hygrostat ออกมาให้ความรู้เป็นคนแรกๆๆ เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากที่ทำบ้านนกอยู่ครับ

ผมคิดว่าหลายๆคนที่มี Hygrometer หรือ Hygrostat อยู่นั้น ก็คงคิดหรือเป็นกังวลกับเครื่องวัดตัวนี้อยู่เหมือนกัน เพราะว่าหากว่าเรามีหลายตัว หลายยี่ห้อ คงเคยประสบกับค่าคลาดเคลื่อนที่วัดได้ไม่ตรงกัน ค่าแตกต่างกันมากน้อย หรือบางทีต่างกันมากๆ ก็เลยสับสนว่าจะใช้เครื่องไหน ค่ายไหนดี หรือค่ายเดียวกันก็ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้รุ่นไหนดี ซึ่งบางครั้งรุ่นเดียวกันก็ยังไม่ให้ค่าไม่ตรงกันก็มี

แล้วจะทำอย่างไรกัน เรื่องนี้ต้องเดือดร้อนไปสอบเทียบค่ากันแล้ว  ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบค่าเป็นเป็นเงินค่าใช้จ่ายที่แพงมากๆๆๆ บางทีค่าสอบเทียบเครื่องยังสูงกว่าราคาค่าตัวของเครื่องที่เรามีเสียอีก

แล้วเราจะมีทางตรวจสอบความถูกต้องของเครื่อง Hygrometer หรือ Hygrostat ที่ใช้ควบคุมการเปิดปิดเครื่องให้ความชื้น ได้ด้วยตัวเราเองหรือไม่ อย่างไรบ้าง  คำตอบก็คือมีครับ แต่ว่าเป็นแบบง่ายๆ ที่ทำให้เราสามารถทราบได้ว่า เครื่องที่เรามีอยู่นั้น ให้ผลลัทธ์ถูกต้องมากน้อยขนาดไหน หรือ จะต้องปรับแต่งอย่างไรบ้าง และค่าที่จะต้องนำมาปรับแต่งนั้นมากน้อยขนาดไหน เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องใกล้เคียงกับค่าที่เป็นจริงมากที่สุด

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เราไม่สามารถนั่งเทียนได้ครับ แต่จะต้องไปจ้างหน่วยงานที่ทำการสอบเทียบ เพื่อให้ได้ค่าตัวเลขที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้มา แล้วนำไปปรับแต่ง (Calibrate) เครื่องของเราให้ถูกต้อง ใกล้เคียงกับค่าที่ควรจะเป็น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ค่าคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เพื่อนๆที่ตามอ่าน Blog ของผมในวันนี้จะสามารถทำ DIY เองได้และประหยัดค่าใช้จ่ายการสอบเทียบนี้ได้ ยังจะทราบค่าความแตกต่างที่จะต้องปรับแต่ง (Calibrate) ได้ด้วยตัวท่านเองแล้วนะครับ

ผมคิดว่าเพื่อนๆที่มี Hygrometer หรือ Hygrostat คงต้องนำเอาเครื่องของท่านออกมาทำการสอบเทียบกับวิธีการที่ผมจะนำมาเสนอต่อไป 

รายละเอียดอุปกรณ์ที่จะนำมาทำการสอบเทียบค่า มีดังต่อไปนี้คือ

1.-ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ แบบรูดหรือ กล่องพลาสติกที่สามารถปิดสนิท ไม่ให้อากาศเข้าได้
2.-ฝาขวดน้ำ หรือ แก้วเล็กๆ
3.-เกลือ และน้ำ อีกนิดหน่อย
4.-Hygrometer หรือ Hygrostat ที่ต้องการทำการตรวจสอบ


ขั้นตอนการทดสอบ

1.-ทำการ Reset หรือล้างข้อมูลเก่าของ Hygrometer ; Hygrostat ที่เราต้องการทดสอบเสียก่อน โดยการถอดถ่าน Battery หรือถอดปลั๊กไฟออก หรือทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ Hygrometer ; Hygrostat เริ่มต้นเก็บข้อมูลใหม่

2.-ให้นำเกลือใส่ลงในฝาขวดหรือแก้วน้ำ  จากนั้นเติมน้ำลงไปให้พอเปียกไม่ต้องมาก คนเกลือกับน้ำให้เปียกอย่างทั่วถึง โดยเน้นให้แค่เปียกคล้ายๆกับ ทรายที่เปียกน้ำ (ลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำแต่ไม่อมน้ำ )  สังเกตุว่าจะต้องไม่มีเกลือที่ไม่เปียกน้ำ และน้ำจะต้องไม่ท่วมเกลือ

เข้าใจยากนะ อ่านแล้วงงหรือปล่าว หากว่างง ผมแนะอีกวิธีหนึ่งครับ

โดยให้เอาเกลือใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งหมด ให้น้ำเปียกท่วมเกลือจนทั่ว จากนั้นจึงค่อยคว่ำฝาเพื่อเทน้ำทิ้งให้หมด เหลือแต่เกลือเปียกที่สะเด็ดน้ำแล้ว

3.-จากนั้นนำเอา เกลือที่สะเด็ดน้ำ พร้อมกับ Hygrometer ; Hygrostat ไปใส่ไว้ในถุงแล้วปิดปากถุงให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้

4.-จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงโดยประมาณ หากว่าจะให้ดีก็ประมาณ 4-5 ชั่วโมงเลย

5.-ผลที่ได้จากวัดความชื้นจะต้องได้ค่าที่ประมาณ 75Rh%  หากว่าค่าที่ได้จาก Hygrometer ; Hygrostat ที่ทำการทดสอบให้ค่าแตกต่างจาก 75Rh% เท่าไหร่ ค่าความแตกต่างที่วัดได้ก็คือค่าของตัวเลขที่สูงหรือต่ำเกินมาตราฐาน ซึ่งเราจะต้องนำไปทำการชดเชยค่า (Calibrate) ให้กับ Hygrometer ; Hygrostat ของเรานั่นเอง


เพียงเท่านี้ เราก็สามารถที่จะรู้ถึงค่าความคลาดเคลื่อนของ Hygrometer ; Hygrostat ที่จะต้องปรับจูนให้เข้าสู่มาตราฐาน ก่อนที่จะนำไปใช้จริงในบ้านนกของเพื่อนๆ โดยวิธีการนี้ทำให้เพื่อนๆสามารถประหยัดค่าสอบเทียบไปเป็นเงินหลายพันบาทเลยครับ 

เดี่ยวจะพยายามลงรูปให้ดูในภายหลังนะครับ






หากว่าเพื่อนๆที่สนใจทำ DIY ตัวนี้ อย่าลืมว่าซื้อเสปรย์ทำความสะอาด อุปกรณ์ Eletronic ฉีดพ่นหลังการทดลองด้วยนะครับ เพราะว่าไอเกลืออาจจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ Eletronic หากว่าป้องกันได้ก็จะดีมากครับ จะทำให้ Hygrostat ทำงานได้อย่างถูกต้องใช้งานได้อีกนาน

เดี่ยวจะไม่ครบถ้วน ผมก็เลยไปเจออีกวิธีหนึ่งในการทดสอบที่ไม่ได้ใช้เกลือกับน้ำ ซึ่งอาจจะมีผลต่อ อุปกรณ์ Electronic ก็เลยเปลี่ยนมาใช้เป็น สารดูดความชื้นแบบสำเร็จเลย จะอ่านค่าไปประมาณที่ 75.5 Rh%-76 Rh% ในซองที่ใส่ Seal นี้มาให้เลย



                                                                                    Vuthmail-Thailand
                                                                                               18.10.53

13/10/53

ตามรอย Hygrostat รุ่นต่างๆ

ผมได้รับการร้องขอให้ทำการเปรียบเทียบ Hygrostat รุ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ว่าประสิทธิภาพ ข้อดีของแต่ละรุ่น ในเชิงเปรียบเทียบในมุมต่างๆๆ

ขอเริ่มต้นด้วย AP1700 ที่ถูกนำมาทำเป็นชุดควบคุมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง

   ความสามารถของรุ่นนี้คือ
         - สามารถติดตั้งหัว Sensor ได้ถึง 5 จุด
         - มี Output สั่งเปิดปิดเครื่องทำความชื้นได้ 5 จุดเช่นกัน โดยจะต้องเพิ่มตัววัดความชื้นรุ่น AP1701 อีก 5 จุด ( AP1702 เป็นหัววัดอุณหภูมิอย่างเดียว ไม่สามารถวัดความชื้นได้)

         - สามารถนำมาต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยต้องใช้สาย Lan แบบต่อตรง เชื่อมต่อ
         - สามารถทำเป็น Data Logger เก็บข้อมูลความชื้นอุณหภูมิได้ 1,200 Records

หากว่าต้องการไปหาข้อมูลโดยตรงจากบริษัทได้โดยตรงได้ที่  http://www.silaresearch.com/manual/m_ap-1700.pdf


สิ่งที่มากับประสิทธิภาพสูงของ Board ก็คือ อุปกรณ์เสริมครับ
เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิ์ภาพ ท่านจำเป็นจะต้องควักเงินเพิ่มคือ

    1.- ท่านจะต้องเพิ่ม Board รับส่งข้อมูล AP-1701 ตามจำนวนที่ต้องการใช้ซึ่งจำนวนสูงสุดตาม Specification ของบริษัท คือ 5 จุดรับส่งข้อมูล
    2.-หากว่าท่านมีบอร์ดรับส่งแล้ว ท่านก็จะต้องเสริมหัววัด (Sensor) เพื่อใช้วัดค่าอุณหภูมิความชื้น อีก 5 จุดเช่นกันไม่เช่นนั้น เครื่องจะไม่สามารถใช้งานได้
    3.-การใช้ AP-1700 และ AP-1701 ในการทำระบบเครือข่ายจะต้องใช้สาย LAN แบบต่อตรงในการรับส่งข้อมูลไปยังบอร์ด AP-1700 เพื่อประมวลผลสั่งงาน ซึ่งสาย LAN ก็ต้องใช้ตามความยาวจากจุดวัดไปยังบอร์ด ซึ่งอาจจะใช้ความยาวสายมากกว่า 50 เมตร อาจจะถึง 80 เมตร ซึ่งก็หลายบาทเหมือนกัน
    4.-ผมได้สอบถามจากบริษัทผู้ผลิต เรื่องของ Relay ว่าใช้โดยไม่ต้องใช้ Magnatic ได้หรือไม่  คำตอบที่ได้รับก็คือ ควรใช้ Magnatic ในกรณีใช้ไฟมาก Load มาก Magnatic จะให้ผลที่ดีกว่า อึดกว่า (อายุการใช้งานจาก Magnatic เป็นแสนครั้ง) และต้องเพิ่ม Magnatiแ ตามจำนวนจุดจ่ายไฟที่ท่านต้องการใช้
   ส่วนการใช้ไฟจาก Relay ที่มาจาก Board หากว่าเกิดใช้ไฟมาก อาจจะเกิด Load แล้วทำให้ Relay บนบอร์ดเสียหายได้
    5.-ไฟเลี้ยง Board เพื่อให้ Board สามารถทำงานได้ ต้องใช้ไฟ DC-12 V ซึ่งจะส่งไปบอร์ด AP-1700 และจากบอร์ด AP-1700 ไปยังบอร์ด AP-1701 โดยจะผ่านสาย LAN ไป

เพื่อนๆที่ใช้เครื่องรุ่นนี้จะต้อง SET เครื่องผ่าน Board จึงจำเป็นต้องอ่านระหัสต่างๆตามคู่มือ ดังนั้นท่านจะต้องอ่านคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งมี Code ต่างๆมากมาย จึงจะสั่งงานได้ถูกต้องตามที่ต้องการ  ซึ่ง Code ต่างๆ หาอ่านทำความเข้าใจได้จากคู่มือบริษัท

  รวมแล้วหากว่า Full Option จะต้องใช้เงินลงทุนราวๆ 22,500 บาท++  ยังไม่รวม VAT

ซึ่งผมเองไม่ทราบว่าตามรายการต่างๆได้ครบถ้วนมากน้อยขนาดไหนนะครับ เพราะว่าการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์อาจจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆอีกหรือไม่ อย่างไร แต่รวมๆก็ราวๆราคานี้ ซึ่งก็คงเพิ่มอีกไม่กี่บาทครับ

หากว่าเพื่อนเป็นช่างไฟฟ้าเอง ก็สามารถลงค่าลง Case ไปได้ 1,950 บาท แต่ส่วนหัว Sensor ผมแนะนำว่าให้บริษัทลง Case ให้เลยจะดีกว่า เพราะว่าน่าจะได้มาตราฐานดีกว่า แต่ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 250 บาทต่อหัว 5 ก็ 1,250 บาทที่จะต้องจ่าย

ดังนั้นหากท่านเห็นว่าเหมาะสม ก็พอจะทราบ "ค่าตัว" สำหรับเครื่องตัวนี้แล้วนะครับ และที่ผมเห็นประกาศกันอยู่ตาม Web ต่างๆนั้นอาจจะแจกแจงรายละเอียดต่างๆไว้ แต่ไม่ได้ทำเป็นภาพโดยรวม อย่างที่ผมได้สรุปให้  จึงอาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อ

รุ่นต่อมาเป็นรุ่นรองๆ ลงมาครับ

รุ่น AP-105 ซึ่งรุ่นนี้ได้ตัดความสามารถของ Data Logger ออกไป และความสามารถในการวัดอุณหภูมิความชื้นหลายจุดออกไป เหลือเพียง 1 จุดเท่านั้น แต่ว่ายังคงความสามารถในเรื่องของการทำเครือข่ายและการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ไว้

Specfication ของเครื่อง ตามข้อมูลของบริษัท  http://www.silaresearch.com/manual/m_ap-105.pdf

สรุปข้อมูลสำคัญของ AP-105 ก็คือ  1 เครื่องต่อ 1 หัว Sensor หรือ 1:1 นะครับ ไม่สามารถต่อได้ 5 จุดเหมือน AP-1700 นะครับ    ผมกลัวว่าเพื่อนๆอาจจะลืมเรื่องนี้ไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเสียด้วย  

AP-105 ทางบริษัท บอกว่าสามารถต่อ Output ได้เพิ่มอีก 4 จุด เป็นการขยาย Relay สั่งงานที่เพิ่มเข้าไป จากตัวเดิมที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการสั่งงานจากหัว Sensor หลักตัวเดียว โดยจะทำงานพร้อมๆกัน ไม่สามารถแยกสั่งงานได้ครับ
ส่วนความสามารถเรื่องเครือข่าย การต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งเป็นข้อดี ที่คงไว้

  สำหรับค่าตัว ของเครื่องรุ่นนี้รวมแล้วก็ประมาณ 5,590 ++ บาท  ยังไม่รวม VAT นะครับ 

PMT-503 ตัวนี้เป็นรุ่นเล็ก-ราคาย่อมเยาว์

เพราะว่าตัดเอาความสามารถอื่นๆทิ้งไปหมด เอาเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ก็คือเรื่องของการวัดความชื้นเท่านั้น ส่วนหัว Sensor ก็จะเป็นตัวเดียวกับที่ใช้กับทั้ง 2 รุ่นด้านบน ดังนั้นจึงถือว่าอยู่บนมาตราฐานเดียวกันไม่ต้องมานั่งเปรียบเทียบกันให้ปวดหัว 5555

Specfication ของบริษัท สามารถดูได้ที่  http://www.multihitech.net/code/pmt503.htm

แต่ว่าท่านต้องเป็นช่างเองประกอบเครื่องเองนะครับ เพราะว่าทางบริษัทไม่รับประกอบลง Case ให้ ดังนั้นท่านต้องทำเองทั้งหมด

    ราคาค่าตัวของรุ่นนี้ ประมาณ  2,860 ++  ยังไม่รวม VAT  นะครับ   

หากว่าท่านทำเองไม่ได้ก็ไปจ้างให้ร้านซ่อมไฟฟ้ามาทำก็ได้นะครับ เพราะว่าผมก็ไม่รู้ว่าจะแนะนำท่านอย่างไร

ผมหวังใจว่าเพื่อนๆ คงได้ข้อมูลในการเปรียบเทียบมากพอประมาณแล้วนะครับ  ส่วนราคา Magnatic สาย LAN หรือว่าอุปกรณ์อย่างอื่นๆ อาจจะแพงกว่าที่ผมใส่ไว้ก็ได้นะครับ เพราะว่าผมได้ข้อมูลราคาของช่างนะครับ

อีกอย่างผมต้องขอขอบพระคุณ คุณหนุ่มจันทน์ช่างไฟฟ้า แห่ง จันทบุรี ที่ช่วยผมให้สามารถเขียนบทความนี้ได้ เพราะได้รับความรู้เรื่องของไฟฟ้าจากคุณหนุ่มจันทน์เกือบทั้งหมด  อีกอย่างทางจันทบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียงหากต้องการช่างไฟฟ้าที่ไม่ลด Spec งาน ก็ติดต่อคุณหนุ่มจันทน์ 081-7574858 ผู้ให้ความรู้เรื่องไฟฟ้ากับผม

ส่วนเรื่องราคาต้องตกลงกันเองนะครับ

                                                                                            Vuthmail-Thailand
                                                 13.10.53

8/10/53

เปลี่ยนแผน สถานที่พักผ่อนครับ

เนื่องจากที่ปราณบุรี ห้องพักปรับปรุงเสร็จไม่ทันกำหนดการณ์  ทางโรงแรมแจ้งยกเลิกมา
ผมก็เลยจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยครับ ตกลงจะไปที่อื่นแทนครับผม 5555

ก็เลยมุ่งหน้าจะไปที่เกาะช้างแทน โดยจะพักที่โรงแรม  " ช้าง ปาร์ค รีสอร์ท แอนด์สปา "  แทน
ผมจะพักอยู่ที่นั่นทั้ง 2 คืนครับ หากว่าเพื่อนๆคนไหน อยากมานั่งจิบกาแฟพูดคุยกับผม ผมก็
จะมีเวลาช่วงหลังอาหารเย็น สักประมาณ 6 ทุ่ม-3 ทุ่ม ว่างๆ มานั่งคุยกันได้นะครับ อยากเห็น
หน้าตาเพื่อนๆที่อ่าน Blog ของผมจังเลย

บอกก่อนนะครับ ผมเป็นคนสูบบุหรี่ หากว่าไม่รังเกียจ ก็มาพบปะพูดคุยกันได้ครับ

หมายเลขโทรศัพท์ของโรงแรม  ช้าง ปาร์ค รีสอร์ท แอนด์สปา   Tel.-  039-557-100 ถึง 11

                                                                                      Vuthmail-Thailand
                                                                                           08.10.2553

4/10/53

การป้องกันเหยี่ยว นกเอี้ยง นกพิราบ แบบชั่วคราว

ช่วงนี้นกมาเล่นเสียงที่ตึกเยอะมากครับ และสิ่งที่ตามมากับปริมาณนกที่มีมาเล่นเสียงจำนวนมาก ก็คือ

เหยี่ยว ศัตรูหมายเลขหนึ่งที่มาคอยดักจับนกแอ่นไปกินเป็นอาหาร แถมด้วย นกเอี้ยง นกพิราบ ที่เข้ามาอาศัยร่มเงา ร่มชายคาภายในตึกนกของผม  สำหรับนกเอี้ยงกับพิราบไม่ค่อยเป็นปัญหา จะรบกวนนกแอ่นบ้างเล็กน้อยตรงบริเวณปากช่องนกเข้าออก แต่ที่ผมหนักใจมากกว่านกเอี้ยงหรือนกพิราบก็คือ มีเหยี่ยวมาดักจับนกแอ่นที่ตึกวันละหลายครั้ง  แล้วมาแต่ละครั้งจะต้องได้นกแอ่นกลับเป็นอาหารทุกครั้ง 

ซึ่งเหยี่ยวนี้มีความพยายามมาก บินมาเกาะที่ลำโพงเรียกนกบ้าง บางทีก็บินมาเกาะยืนรอท่าที่ปากช่องเข้าออกเลยก็มี และที่สำคัญคือเราไม่ได้อยู่ดูแลตลอดเวลา เมื่อเริ่มสังเกตุเห็นแรกก็ไม่แน่ใจ เพราะว่าคล้ายกับนกพิราบ เราก็จำเป็นต้องเดินไปดูว่าใช่หรือไม่ แรกก็พอเดินไหว แต่บ่อยเข้าก็ไม่ค่อยไหว  หลังมาจึงได้ซื้อหนังสติกไว้เพื่อยิงไล่ไป เหยี่ยวก็จะหนีไปได้สักพักเดียวก็จะบินกลับมาเกาะรอเหมือนเดิม ต่อมาต้องจ้องหากโอกาส จ้องหาจังหวะแอบยิงไปได้ 2 ครั้ง แบบห่างๆไม่ให้โดนตัว 2 ครั้ง

ด้วยสายตาอันดีเยี่ยมของนกเหยี่ยว เค้าสามารถที่จะจำคนที่เคยไล่ หรือ คนจะมาทำร้ายเค้าไดัแม่นมาก จำแม่นเลย  พอเราเดินจากที่บ้านพักไปยังไม่ถึงตัวตึก ห่างออกมาประมาณว่าระยะสัก 25-30 เมตร และอยู่ในรัศมีที่หนังสติกยิงไปไม่ถึง พอเค้าเห็นเราเท่านั้นหละ เหยี่ยวจะบินหนีไปทันที  วนเวียนเป็นอยู่อย่างนี้หลายๆครั้งต่อวัน ผมเองก็สู้ไม่ไหว พอเดินไปเพื่อจะไล่เหยี่ยว เดินไปยังไม่ถึงก็ต้องเดินกลับเพราะว่าเหยี่ยวบินหนีไปเสียก่อนที่เราจะไปถึง เป็นอยู่อย่างนี้หลายรอบ  ผมก็นึกว่าไม่ดีแน่แล้ว หากว่าต้องเดินไปเดินกลับวันละหลายเที่ยว

ผมก็เลยมานั่งคิดดูว่าจะมีวิธีอะไรที่จะป้องกันไม่ให้เหยี่ยวมายืนเกาะที่ปากช่องนกบินเข้าได้ เพราะว่าหากเหยี่ยวมายืนเกาะอย่างนี้  จะทำให้นกแอ่นเกิดความระแวง รู้สึกไม่สบายใจในการที่จะบินเข้ามาสำรวจภายในบ้านนก ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าผลดี 

แต่ด้วยความไม่พร้อม ผมจึงจำเป็นต้องเร่งทำตัวป้องกันเหยี่ยวไม่ให้สามารถมายืนเกาะที่ช่องนกบินเข้า และอุปกรณ์ที่ต้องทำนี้ จะต้องไม่ทำให้นกแอ่นเกิดอันตราย หรือบาดเจ็บหากว่าเกิดความพลาดพลั้งบินมาชนอุปกรณ์ตัวใหม่นี้  ซึ่งไม่เคยติดตั้งมาก่อน จึงอาจจะทำให้นกแอ่นบินด้วยความเคยชินหรือประมาท ไม่ได้สังเกตุเห็นอุปกรณ์ตัวที่จะติดตั้ง ก็บินเข้ามาชนแล้วบาดเจ็บ เป็นอันตรายกับนกได้

ด้วยความจำเป็นเพราะว่าไม่มีอุปกรณ์อะไรเลยนอกจากสายลำโพงอย่างเดียว จะไปหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆก็ไม่ได้เพราะว่าเป็นวันอาทิตย์ตอนบ่ายแล้ว  แต่ก็ยังโชคดีที่ว่ามีสว่านเจาะปูนอยู่คิดอยู่สักพักหนึ่ง   ความคิดก็เลยเกิดแว๊ปขึ้นมา เอาเท่าที่จะทำได้ เอาของที่มีอยู่มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน ป้องกันไว้ก่อนจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ทดลองทำดูก่อน ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย เกิดความหวาดตระหนกกับนกแอ่นมากจนเกินเหตุ และผมกลัวว่านกแอ่นจะหมายหัวไว้ว่าจะไม่บินมาสำรวจบ้านนกอีกต่อไป ซึ่งเป็นผลเสียหายที่รุนแรงมาก 
สิ่งที่ผมประดิษฐ์ขึ้นมาจากสายลำโพง ก็เป็นอย่างที่จะได้เห็นใน Clip VDO ซึ่งปรากฎอยู่ด้านล่างนี้

หากจะให้สนุก ดูให้ถนัด ผมแนะนำว่าให้ดูแบบ Full Screen นะครับ จะเห็นได้เต็มตาดีกว่า









อีกอย่างนะครับ จาก Clip VDO นี้จะเห็นได้ว่า เสียงที่ผมเปิด ไม่ได้ดังอะไรมากมายนะครับ  เปิดในระดับที่ได้ยินชัด  ไม่ต้องเปิดเสียงแข่งขันกัน จนทุกวันนี้ผมจะกลายเป็นมลพิษทางเสียงไปแล้ว  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในหลายๆพื้นที่ หลายๆจังหวัดไปแล้ว 

และเรื่องของมลพิษทางเสียง มันจะย้อนกลับมาคุกคามตัวเราเองครับ อย่างที่เห็นกันอยู่ทั้งในมาเลเซีย ก็มีปัญหาเหล่านี้ ทางจันทบุรี  ตราด  ปากพนัง เรียกว่าทุกพื้นที่ก็ว่าได้นะครับ ล้วนแล้วแต่เกิดปัญหาเรื่องเสียง  ผมเองได้รับทราบว่าปัญหานี้กำลังจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดทั้งในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด  และมีข่าวที่ไม่ดีก็คือว่า กำลังจะเป็นปัญหาระดับประเทศที่กำลังถูกเพ็งเล็งจากผู้หลักผู้ใหญ่ในทุกระดับแล้ว

ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้นึกถึงอกเค้าอกเรานะครับ พยายามเปิดเสียงอย่างพอประมาณ ไม่ดังรบกวนเพื่อนบ้านมากเกินไป อย่าลืมว่า

  หากว่าชาวบ้านชาวเมืองเค้าอยู่ไม่ได้  เราก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันนะครับ  

ดังนั้นผมอยากให้คำนึงถึงว่า    เค้าอยู่ได้ เราถึงจะอยู่ได้   อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยที ถ้อยอาศัย ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ทั้งหมดทั้งมวลประโยชน์จะเป็นของเจ้าของตึกนกอย่างเราๆท่านๆมากกว่า ถึง มากที่สุดครับ ( ต้องขออภัยที่ใช้คำพูดแรง แต่ผมต้องการกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบ ในการร่วมมือกัน ร่วมใจกัน ทำในสิ่งที่ดี ทำในสิ่งที่สมควรกระทำต่อสังคมรอบข้างของเราเอง )

                                                                                         Vuthmail-Thailand
                                                                                                 04.10.53