13/10/53

ตามรอย Hygrostat รุ่นต่างๆ

ผมได้รับการร้องขอให้ทำการเปรียบเทียบ Hygrostat รุ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ว่าประสิทธิภาพ ข้อดีของแต่ละรุ่น ในเชิงเปรียบเทียบในมุมต่างๆๆ

ขอเริ่มต้นด้วย AP1700 ที่ถูกนำมาทำเป็นชุดควบคุมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง

   ความสามารถของรุ่นนี้คือ
         - สามารถติดตั้งหัว Sensor ได้ถึง 5 จุด
         - มี Output สั่งเปิดปิดเครื่องทำความชื้นได้ 5 จุดเช่นกัน โดยจะต้องเพิ่มตัววัดความชื้นรุ่น AP1701 อีก 5 จุด ( AP1702 เป็นหัววัดอุณหภูมิอย่างเดียว ไม่สามารถวัดความชื้นได้)

         - สามารถนำมาต่อเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยต้องใช้สาย Lan แบบต่อตรง เชื่อมต่อ
         - สามารถทำเป็น Data Logger เก็บข้อมูลความชื้นอุณหภูมิได้ 1,200 Records

หากว่าต้องการไปหาข้อมูลโดยตรงจากบริษัทได้โดยตรงได้ที่  http://www.silaresearch.com/manual/m_ap-1700.pdf


สิ่งที่มากับประสิทธิภาพสูงของ Board ก็คือ อุปกรณ์เสริมครับ
เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิ์ภาพ ท่านจำเป็นจะต้องควักเงินเพิ่มคือ

    1.- ท่านจะต้องเพิ่ม Board รับส่งข้อมูล AP-1701 ตามจำนวนที่ต้องการใช้ซึ่งจำนวนสูงสุดตาม Specification ของบริษัท คือ 5 จุดรับส่งข้อมูล
    2.-หากว่าท่านมีบอร์ดรับส่งแล้ว ท่านก็จะต้องเสริมหัววัด (Sensor) เพื่อใช้วัดค่าอุณหภูมิความชื้น อีก 5 จุดเช่นกันไม่เช่นนั้น เครื่องจะไม่สามารถใช้งานได้
    3.-การใช้ AP-1700 และ AP-1701 ในการทำระบบเครือข่ายจะต้องใช้สาย LAN แบบต่อตรงในการรับส่งข้อมูลไปยังบอร์ด AP-1700 เพื่อประมวลผลสั่งงาน ซึ่งสาย LAN ก็ต้องใช้ตามความยาวจากจุดวัดไปยังบอร์ด ซึ่งอาจจะใช้ความยาวสายมากกว่า 50 เมตร อาจจะถึง 80 เมตร ซึ่งก็หลายบาทเหมือนกัน
    4.-ผมได้สอบถามจากบริษัทผู้ผลิต เรื่องของ Relay ว่าใช้โดยไม่ต้องใช้ Magnatic ได้หรือไม่  คำตอบที่ได้รับก็คือ ควรใช้ Magnatic ในกรณีใช้ไฟมาก Load มาก Magnatic จะให้ผลที่ดีกว่า อึดกว่า (อายุการใช้งานจาก Magnatic เป็นแสนครั้ง) และต้องเพิ่ม Magnatiแ ตามจำนวนจุดจ่ายไฟที่ท่านต้องการใช้
   ส่วนการใช้ไฟจาก Relay ที่มาจาก Board หากว่าเกิดใช้ไฟมาก อาจจะเกิด Load แล้วทำให้ Relay บนบอร์ดเสียหายได้
    5.-ไฟเลี้ยง Board เพื่อให้ Board สามารถทำงานได้ ต้องใช้ไฟ DC-12 V ซึ่งจะส่งไปบอร์ด AP-1700 และจากบอร์ด AP-1700 ไปยังบอร์ด AP-1701 โดยจะผ่านสาย LAN ไป

เพื่อนๆที่ใช้เครื่องรุ่นนี้จะต้อง SET เครื่องผ่าน Board จึงจำเป็นต้องอ่านระหัสต่างๆตามคู่มือ ดังนั้นท่านจะต้องอ่านคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งมี Code ต่างๆมากมาย จึงจะสั่งงานได้ถูกต้องตามที่ต้องการ  ซึ่ง Code ต่างๆ หาอ่านทำความเข้าใจได้จากคู่มือบริษัท

  รวมแล้วหากว่า Full Option จะต้องใช้เงินลงทุนราวๆ 22,500 บาท++  ยังไม่รวม VAT

ซึ่งผมเองไม่ทราบว่าตามรายการต่างๆได้ครบถ้วนมากน้อยขนาดไหนนะครับ เพราะว่าการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์อาจจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆอีกหรือไม่ อย่างไร แต่รวมๆก็ราวๆราคานี้ ซึ่งก็คงเพิ่มอีกไม่กี่บาทครับ

หากว่าเพื่อนเป็นช่างไฟฟ้าเอง ก็สามารถลงค่าลง Case ไปได้ 1,950 บาท แต่ส่วนหัว Sensor ผมแนะนำว่าให้บริษัทลง Case ให้เลยจะดีกว่า เพราะว่าน่าจะได้มาตราฐานดีกว่า แต่ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 250 บาทต่อหัว 5 ก็ 1,250 บาทที่จะต้องจ่าย

ดังนั้นหากท่านเห็นว่าเหมาะสม ก็พอจะทราบ "ค่าตัว" สำหรับเครื่องตัวนี้แล้วนะครับ และที่ผมเห็นประกาศกันอยู่ตาม Web ต่างๆนั้นอาจจะแจกแจงรายละเอียดต่างๆไว้ แต่ไม่ได้ทำเป็นภาพโดยรวม อย่างที่ผมได้สรุปให้  จึงอาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อ

รุ่นต่อมาเป็นรุ่นรองๆ ลงมาครับ

รุ่น AP-105 ซึ่งรุ่นนี้ได้ตัดความสามารถของ Data Logger ออกไป และความสามารถในการวัดอุณหภูมิความชื้นหลายจุดออกไป เหลือเพียง 1 จุดเท่านั้น แต่ว่ายังคงความสามารถในเรื่องของการทำเครือข่ายและการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ไว้

Specfication ของเครื่อง ตามข้อมูลของบริษัท  http://www.silaresearch.com/manual/m_ap-105.pdf

สรุปข้อมูลสำคัญของ AP-105 ก็คือ  1 เครื่องต่อ 1 หัว Sensor หรือ 1:1 นะครับ ไม่สามารถต่อได้ 5 จุดเหมือน AP-1700 นะครับ    ผมกลัวว่าเพื่อนๆอาจจะลืมเรื่องนี้ไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเสียด้วย  

AP-105 ทางบริษัท บอกว่าสามารถต่อ Output ได้เพิ่มอีก 4 จุด เป็นการขยาย Relay สั่งงานที่เพิ่มเข้าไป จากตัวเดิมที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการสั่งงานจากหัว Sensor หลักตัวเดียว โดยจะทำงานพร้อมๆกัน ไม่สามารถแยกสั่งงานได้ครับ
ส่วนความสามารถเรื่องเครือข่าย การต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งเป็นข้อดี ที่คงไว้

  สำหรับค่าตัว ของเครื่องรุ่นนี้รวมแล้วก็ประมาณ 5,590 ++ บาท  ยังไม่รวม VAT นะครับ 

PMT-503 ตัวนี้เป็นรุ่นเล็ก-ราคาย่อมเยาว์

เพราะว่าตัดเอาความสามารถอื่นๆทิ้งไปหมด เอาเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ก็คือเรื่องของการวัดความชื้นเท่านั้น ส่วนหัว Sensor ก็จะเป็นตัวเดียวกับที่ใช้กับทั้ง 2 รุ่นด้านบน ดังนั้นจึงถือว่าอยู่บนมาตราฐานเดียวกันไม่ต้องมานั่งเปรียบเทียบกันให้ปวดหัว 5555

Specfication ของบริษัท สามารถดูได้ที่  http://www.multihitech.net/code/pmt503.htm

แต่ว่าท่านต้องเป็นช่างเองประกอบเครื่องเองนะครับ เพราะว่าทางบริษัทไม่รับประกอบลง Case ให้ ดังนั้นท่านต้องทำเองทั้งหมด

    ราคาค่าตัวของรุ่นนี้ ประมาณ  2,860 ++  ยังไม่รวม VAT  นะครับ   

หากว่าท่านทำเองไม่ได้ก็ไปจ้างให้ร้านซ่อมไฟฟ้ามาทำก็ได้นะครับ เพราะว่าผมก็ไม่รู้ว่าจะแนะนำท่านอย่างไร

ผมหวังใจว่าเพื่อนๆ คงได้ข้อมูลในการเปรียบเทียบมากพอประมาณแล้วนะครับ  ส่วนราคา Magnatic สาย LAN หรือว่าอุปกรณ์อย่างอื่นๆ อาจจะแพงกว่าที่ผมใส่ไว้ก็ได้นะครับ เพราะว่าผมได้ข้อมูลราคาของช่างนะครับ

อีกอย่างผมต้องขอขอบพระคุณ คุณหนุ่มจันทน์ช่างไฟฟ้า แห่ง จันทบุรี ที่ช่วยผมให้สามารถเขียนบทความนี้ได้ เพราะได้รับความรู้เรื่องของไฟฟ้าจากคุณหนุ่มจันทน์เกือบทั้งหมด  อีกอย่างทางจันทบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียงหากต้องการช่างไฟฟ้าที่ไม่ลด Spec งาน ก็ติดต่อคุณหนุ่มจันทน์ 081-7574858 ผู้ให้ความรู้เรื่องไฟฟ้ากับผม

ส่วนเรื่องราคาต้องตกลงกันเองนะครับ

                                                                                            Vuthmail-Thailand
                                                 13.10.53

ไม่มีความคิดเห็น: