18/10/53

วิธีการสอบเทียบ Hygrostat ด้วยตัวเอง

ช่วงนี้ผมค่อนข้างจะยุ่งมากเลยครับ เหนื่อยและเซ็งกับงานประจำมาก

แต่ก็ด้วยคิดว่า ช่วงที่ผ่านมา Blog ต่างๆ ส่วนใหญ่เงียบเหงายังไม่มีอะไรใหม่ๆๆ  ผมก็เลยแบ่งเวลาจากงานประจำอันแสนยุ่งมาเขียนบทความใหม่ เพื่อให้ความรู้แก่เพื่อนๆ โดยหวังใจว่าเพื่อนจะสามารถนำไปศึกษาต่อยอดหรือเป็นการช่วยพัฒนาวงการทำบ้านนกของเพื่อนๆได้มากทีเดียว

วันนี้ผมจึงนำเรื่องการสอบเทียบความถูกต้องของ Hygrometer หรือ Hygrostat ออกมาให้ความรู้เป็นคนแรกๆๆ เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากที่ทำบ้านนกอยู่ครับ

ผมคิดว่าหลายๆคนที่มี Hygrometer หรือ Hygrostat อยู่นั้น ก็คงคิดหรือเป็นกังวลกับเครื่องวัดตัวนี้อยู่เหมือนกัน เพราะว่าหากว่าเรามีหลายตัว หลายยี่ห้อ คงเคยประสบกับค่าคลาดเคลื่อนที่วัดได้ไม่ตรงกัน ค่าแตกต่างกันมากน้อย หรือบางทีต่างกันมากๆ ก็เลยสับสนว่าจะใช้เครื่องไหน ค่ายไหนดี หรือค่ายเดียวกันก็ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้รุ่นไหนดี ซึ่งบางครั้งรุ่นเดียวกันก็ยังไม่ให้ค่าไม่ตรงกันก็มี

แล้วจะทำอย่างไรกัน เรื่องนี้ต้องเดือดร้อนไปสอบเทียบค่ากันแล้ว  ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบค่าเป็นเป็นเงินค่าใช้จ่ายที่แพงมากๆๆๆ บางทีค่าสอบเทียบเครื่องยังสูงกว่าราคาค่าตัวของเครื่องที่เรามีเสียอีก

แล้วเราจะมีทางตรวจสอบความถูกต้องของเครื่อง Hygrometer หรือ Hygrostat ที่ใช้ควบคุมการเปิดปิดเครื่องให้ความชื้น ได้ด้วยตัวเราเองหรือไม่ อย่างไรบ้าง  คำตอบก็คือมีครับ แต่ว่าเป็นแบบง่ายๆ ที่ทำให้เราสามารถทราบได้ว่า เครื่องที่เรามีอยู่นั้น ให้ผลลัทธ์ถูกต้องมากน้อยขนาดไหน หรือ จะต้องปรับแต่งอย่างไรบ้าง และค่าที่จะต้องนำมาปรับแต่งนั้นมากน้อยขนาดไหน เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องใกล้เคียงกับค่าที่เป็นจริงมากที่สุด

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เราไม่สามารถนั่งเทียนได้ครับ แต่จะต้องไปจ้างหน่วยงานที่ทำการสอบเทียบ เพื่อให้ได้ค่าตัวเลขที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้มา แล้วนำไปปรับแต่ง (Calibrate) เครื่องของเราให้ถูกต้อง ใกล้เคียงกับค่าที่ควรจะเป็น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ค่าคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เพื่อนๆที่ตามอ่าน Blog ของผมในวันนี้จะสามารถทำ DIY เองได้และประหยัดค่าใช้จ่ายการสอบเทียบนี้ได้ ยังจะทราบค่าความแตกต่างที่จะต้องปรับแต่ง (Calibrate) ได้ด้วยตัวท่านเองแล้วนะครับ

ผมคิดว่าเพื่อนๆที่มี Hygrometer หรือ Hygrostat คงต้องนำเอาเครื่องของท่านออกมาทำการสอบเทียบกับวิธีการที่ผมจะนำมาเสนอต่อไป 

รายละเอียดอุปกรณ์ที่จะนำมาทำการสอบเทียบค่า มีดังต่อไปนี้คือ

1.-ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ แบบรูดหรือ กล่องพลาสติกที่สามารถปิดสนิท ไม่ให้อากาศเข้าได้
2.-ฝาขวดน้ำ หรือ แก้วเล็กๆ
3.-เกลือ และน้ำ อีกนิดหน่อย
4.-Hygrometer หรือ Hygrostat ที่ต้องการทำการตรวจสอบ


ขั้นตอนการทดสอบ

1.-ทำการ Reset หรือล้างข้อมูลเก่าของ Hygrometer ; Hygrostat ที่เราต้องการทดสอบเสียก่อน โดยการถอดถ่าน Battery หรือถอดปลั๊กไฟออก หรือทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ Hygrometer ; Hygrostat เริ่มต้นเก็บข้อมูลใหม่

2.-ให้นำเกลือใส่ลงในฝาขวดหรือแก้วน้ำ  จากนั้นเติมน้ำลงไปให้พอเปียกไม่ต้องมาก คนเกลือกับน้ำให้เปียกอย่างทั่วถึง โดยเน้นให้แค่เปียกคล้ายๆกับ ทรายที่เปียกน้ำ (ลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำแต่ไม่อมน้ำ )  สังเกตุว่าจะต้องไม่มีเกลือที่ไม่เปียกน้ำ และน้ำจะต้องไม่ท่วมเกลือ

เข้าใจยากนะ อ่านแล้วงงหรือปล่าว หากว่างง ผมแนะอีกวิธีหนึ่งครับ

โดยให้เอาเกลือใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งหมด ให้น้ำเปียกท่วมเกลือจนทั่ว จากนั้นจึงค่อยคว่ำฝาเพื่อเทน้ำทิ้งให้หมด เหลือแต่เกลือเปียกที่สะเด็ดน้ำแล้ว

3.-จากนั้นนำเอา เกลือที่สะเด็ดน้ำ พร้อมกับ Hygrometer ; Hygrostat ไปใส่ไว้ในถุงแล้วปิดปากถุงให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้

4.-จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงโดยประมาณ หากว่าจะให้ดีก็ประมาณ 4-5 ชั่วโมงเลย

5.-ผลที่ได้จากวัดความชื้นจะต้องได้ค่าที่ประมาณ 75Rh%  หากว่าค่าที่ได้จาก Hygrometer ; Hygrostat ที่ทำการทดสอบให้ค่าแตกต่างจาก 75Rh% เท่าไหร่ ค่าความแตกต่างที่วัดได้ก็คือค่าของตัวเลขที่สูงหรือต่ำเกินมาตราฐาน ซึ่งเราจะต้องนำไปทำการชดเชยค่า (Calibrate) ให้กับ Hygrometer ; Hygrostat ของเรานั่นเอง


เพียงเท่านี้ เราก็สามารถที่จะรู้ถึงค่าความคลาดเคลื่อนของ Hygrometer ; Hygrostat ที่จะต้องปรับจูนให้เข้าสู่มาตราฐาน ก่อนที่จะนำไปใช้จริงในบ้านนกของเพื่อนๆ โดยวิธีการนี้ทำให้เพื่อนๆสามารถประหยัดค่าสอบเทียบไปเป็นเงินหลายพันบาทเลยครับ 

เดี่ยวจะพยายามลงรูปให้ดูในภายหลังนะครับ






หากว่าเพื่อนๆที่สนใจทำ DIY ตัวนี้ อย่าลืมว่าซื้อเสปรย์ทำความสะอาด อุปกรณ์ Eletronic ฉีดพ่นหลังการทดลองด้วยนะครับ เพราะว่าไอเกลืออาจจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ Eletronic หากว่าป้องกันได้ก็จะดีมากครับ จะทำให้ Hygrostat ทำงานได้อย่างถูกต้องใช้งานได้อีกนาน

เดี่ยวจะไม่ครบถ้วน ผมก็เลยไปเจออีกวิธีหนึ่งในการทดสอบที่ไม่ได้ใช้เกลือกับน้ำ ซึ่งอาจจะมีผลต่อ อุปกรณ์ Electronic ก็เลยเปลี่ยนมาใช้เป็น สารดูดความชื้นแบบสำเร็จเลย จะอ่านค่าไปประมาณที่ 75.5 Rh%-76 Rh% ในซองที่ใส่ Seal นี้มาให้เลย



                                                                                    Vuthmail-Thailand
                                                                                               18.10.53

1 ความคิดเห็น:

num.jan กล่าวว่า...

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ..ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีวิธีง่ายๆแบบนี้ด้วย..ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆครับ