17/2/54

วิวัฒนาการของช่องเข้าออก ตอนที่ 1

โดยทั่วๆไปแล้ว การเจาะช่องนกเข้าออกในยุคเริ่มแรกมีการเจาะกันหลายรูปแบบ มีทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบวงกลม แบบสามเหลี่ยม ขนาดของช่องนกเข้าออกก็มีหลากหลายขนาดเช่นกัน

แต่เท่าที่เห็นมามีความพยายามที่จะทำกันหลากหลายรูปแบบจริง ถึงแม้กระทั่งช่องนกบินเข้าออกมีการเลียนแบบให้คล้ายกับถ้ำเลยก็มี เพื่อวัตถุประสงค์ให้มีความคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด  ( ผมพยายามหารูป แต่กลัวเสียเวลลาในการหามากเกินไป เอาไว้วันหลังเจอจะนำรูปมาลงให้ดูในภายหลัง )

โดยส่วนมากเท่าที่ผมได้รับข้อมูลมา ขนาดที่นิยมกันมากก็คือ ขนาด 80 x 40 cm  โดยมีความกว้าง 80 cm และ สูงเพียง 40 cm จำนวน 1 ช่องตามสูตรของปรมาจารย์ชาวอินโดนิเซียได้กล่าวเอาไว้ ขนาดช่องมาตราฐานนี้จะสามารถรองรับนกเข้าออกได้มากกว่า 6,000 ตัว ส่วนขนาดอื่นๆนั้นเท่าที่ท่านปรมาจารย์บอกไว้ก็ยังมีอีกหลายขนาดครับ เช่น

ขนาด 20 x 30 cm  ช่องขนาดนี้รองรับนกได้  1,000 ตัว
ขนาด 20 x 60 cm  ช่องขนาดนี้รองรับนกได้  2,000 ตัว
ขนาด 40 x 30 cm  ช่องขนาดนี้รองรับนกได้  2,000 ตัว
ขนาด 40 x 60 cm  ช่องขนาดนี้รองรับนกได้  4,000 ตัว
และขนาดมาตราฐาน 40 x 80 cm รองรับนก   6,000 ตัว หรือมากกว่า

            จากข้อมูลตรงนี้เราสามารถนำมาขยายผล และทำเป็นสัดส่วน Ratio กันดีกว่านะครับ

ซึ่งจากขนาดความกว้างที่น้อยกว่า 60 cm นั้น อัตราส่วนของนกต่อพื้นที่หน้าตัดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร จะมีอัตราตายตัวอยู่ที่ 1.67 ตัวต่อ 1 ตารางเซนติเมตร  แต่เมื่อเพิ่มขนาดความกว้างให้มากกว่า 60 cm ขึ้นไป เป็นขนาดกว้าง 80 cm  อัตราการรองรับนกที่บินเข้าออกจะก้าวกระโดดขึ้นไปเป็น 1.88 ตัวต่อ 1 ตารางเซนติเมตร  ซึ่งอัตรานี้คำนวณบนฐานนก 6,000 ตัวเท่านั้น คำนวนปริมาณมากกว่า 6,000 ตัวอัตราส่วนก็จะมากกว่า 1.88 ซึ่งน่าสนใจมากครับ

จากตารางนี้เราสามารถสรุปได้ว่า ช่องที่มีขนาดต่ำกว่า 80 cm จะรองรับนกได้เพียงอัตราส่วนเดียวเท่านั้นคือไม่เกิน 1.67 และไม่สามารถปรับยืดหยุ่นได้เลย ถึงแม้นว่าสัดส่วนขนาดความกว้างยาวจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ( แต่ไม่เกิน 80 cm )  ต่อเมื่อความกว้างหรือยาวตั้งแต่ 80 cm ขึ้นไปฐานตัวเลขจะมีปรับตัว เกิดความยืดหยุ่นมากกว่า รองรับนกได้มากกว่า ซึ่งอัตราการรองรับนกนี้จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อความกว้างหรือยาวตั้งแต่ 120 cmขึ้นไป อัตราส่วนจะเปลี่ยนไปอย่างมากมาย จนสามารถเปลี่ยนฐานสมการใหม่เลย  ผมจึงได้นำเอาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้มากกว่าที่จะเป็นการคาดเดาเอาเอง เป็นตัวเลขซึ่งเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดเพิ่มเติมได้อีก หากว่าคนที่สนใจตัวเลขเหล่าอย่างจริงจัง ไม่เพียงแต่มองเห็น แล้วข้ามผ่านไป

ซึ่งขนาดช่อง 80 x 40 นี้ผมมีข้อเสนอแนะว่าให้ใช้กับบ้านนกที่อยู่ในชุมนุมชนเท่านั้น ไม่เหมาะสมกับบ้านนกที่เป็นบ้านนก แบบ Stand Alone บ้านนกที่อยู่เขตต้นไม้หนาทึบ บ้านนกที่ประชากรนกเอี้ยง โดยเฉพาะบริเวณที่บ้านนกตั้งอยู่นั้นมีนกขี้ดื้ออย่างนกพิราบ หรือบ้านนกที่มีเหยี่ยวเล็กมากบินวนอยู่ประจำหากว่าบ้านนกของท่านอยู่ใน 3-4 กรณีหลังนี้ ผมแนะนำให้เจาะช่องนกบินเข้าออกให้ใหญ่กว่าเดิม กว้างกว่าเดิม คือกว้างมากกว่า 80 cm และใหญ่กว่า 40 cm เพราะว่านกพิราบหรือนกผู้ล่าเหล่านี้จะมายืนเกาะที่บริเวณช่องเข้าทำให้เสียพื้นที่ไปเกือบ 20 cm ตามความสูงของนกแต่ละชนิดที่มายืนเกาะ ทำให้ประสิทธิภาพขนาดช่องที่จะรองรับนกได้นกลงไปมากที่เดียว 

หากว่าบ้านท่านอยู่ใน 3-4 กรณที่ว่า นกแอ่นจะถูกรบกวนการบินเข้าออกทุกครั้งที่ต้องบินเข้าหรือบินออก ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างความน่าลำบากใจให้กับนกแอ่นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนกที่อยู่ในบ้านอยู่ หรือนกใหม่ที่จะบินเข้ามาสำรวจซึ่งจะต้องคอยระมัดระวังนกขี้ดื้อที่มายืนอวดโฉมที่ปากช่องนกบินเข้าออก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าปริมาณนกขี้ดื้อเหล่านี้ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็จำต้องพึงสังวรระวังไว้ในใจว่า การที่จะได้นกใหม่ก็ยิ่งมีโอกาสน้อยมากเป็นเงาตามตัว ดีไม่ดี-นกใหม่อาจจะไม่สนใจที่จะบินเข้ามาสำรวจเลยซึ่งเป็นเรื่องที่เสียโอกาสไปเป็นอย่างมาก ดังนั้นผมเสนอว่าบ้านนกที่ไม่ได้อยู่ในเขตชุมชนให้ท่านเจาะช่องนกเข้าออกให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 100 x 80 cm หรือมากกว่านี้เล็กน้อยจะยิ่งดี โดยต้องคำนึงถึงว่าช่องนกเข้าออกจะต้องไม่กระทบกับเรื่องแสงและลมที่จะเข้าไปในบ้านนกจนสร้างปัญหาขึ้นมา เพราะว่า ขนาดช่องนกเข้าออกที่เจาะให้กว้างขึ้น-ใหญ่ขึ้น จะสามารถชดเชยกับสิ่งที่ต้องเสียไปเพราะนกพิราบ เหยี่ยว นกเอี้ยง นี้เองครับ ลองทำความเข้าใจตัวเลขตามตารางด้านบนอีกครั้งครับ

                                                                                   ก่อนวันมาฆะปี 2554 - 1 วัน
                                                                                        Vuthmail - 17.02.54

ไม่มีความคิดเห็น: