7/1/55

คุณสมบัติกล่อง VM15A

ห่างหายการเขียนบทความไปนานมาก เนื่องจากหลายประเด็น น้ำท่วมเป็นหลัก ซึ่งต้องทำการเก็บกวาดซากต่างๆ ซ่อมแซมเครื่องจักร ทำความสะอาดบ้านเรือน แล้วก็งานเอกสารต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นงานที่จะ
ต้องใช้เวลาทั้งนั้นครับ ซึ่งห่างหายจากการเขียนบทความ และประกอบกับความเกลียดคร้าน จึงมีการทิ้งช่วงไปนานพอสมควร

เมื่อหลายวันก่อน ผมได้ลงรูปกล่อง VM15A ซึ่งผมได้ติดไว้ว่าจะมาอธิบายความสามารถของเจ้ากล่องตัวนี้ และ ความโดดเด่นเรื่องของการใช้กล่องตัว VM15A นี้ช่วยแก้ปัญหาของบ้านนกซึ่งใช้การต่อลำโพงแบบขนานจำนวนมากๆ เดี๋ยวเรามาดูจากภายนอกกันก่อนนะครับ


















-----------------------------------------



  รูปลักษณะภายนอก ประกอบด้วย  

1.-Digital Timer เป็นตัวตัดต่อ สลับระบบการเปิด-ปิด Amp จำนวน 2 ชุด โดยใช้เพียง Main ลำโพงที่เข้าห้องนกเพียงชุดเดียว เปิดปิดสลับกันตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับเสียงภายใน และ อาจจะปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลายรูปแบบ ตามความเหมาะสมของเจ้าของบ้านนก ซึ่งมีการ Style หลากหลายแตกต่างกันไป

2.-ปลั๊กสำหรับรองรับการทำงานของ Amp ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการเช่น Amp , เครื่องเล่น DVD , หรือบางคนบางท่านอาจจะยังสามารถติดพัดลมเพื่อระบายความร้อนได้อีกด้วย ให้ค่อนข้างครบ และครอบคลุมการกับเครื่องเล่นทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ๆ อย่างปัจจุบันที่ใช้ ThumDrive ที่มาพร้อมกับ Ampifier เลยสะดวกมากๆ

3.-ช่อง Input สำหรับการรับสัญญาณเสียงจาก Amp ทั้ง 2 ตัวที่เปิดสลับกัน และ ยังมีช่อง Output จำนวนมากที่สามารถรองรับการต่อ Main ลำโพงในบ้านนกได้ถึง 6 ช่องออก ซึ่งหากว่าท่านใดต้องการช่อง Output มากกว่านี้ก็สามารถบอกได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบหลักๆที่สำคัญๆ

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนะครับหากว่าท่านใช้ Amp จำนวน 2 ตัวแต่ว่ามีสายเมนที่เข้าห้องนกเพียงชุดเดียว (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเมนลำโพงชุดที่ 2 ) ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบที่นิยมกันมากเพราะว่าสามารถลดงานการเดินสายลำโพงชุดที่ 2 ได้เป็นอย่างมากๆๆ ซึ่งหลักการนี้จะมี Timer เป็นตัวพระเอก เป็นตัวที่สับรางให้มีการเปิดปิดเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งหลายคนหลายท่านจะใช้ Timer แตกต่างกัน ทั้งแบบ Analog และแบบ Digital ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละคน แต่ตัวผมเองนั้นออกจะชอบแบบ Digital มากเพราะว่ามีความแม่นยำสูง ผิดพลาดน้อย อีกทั้งมีลูกเล่นในการตั้งเวลามากความละเอียดของการตั้งก็มีมากกว่า

Digital Timer ตัวนี้เป็น Timer ที่ผมคิดว่าโดดเด่นมากในความสามารถด้านการทำงานแบบ Digital  ซึ่งโดยทั่วไปย่อมมีประสิทธิภาพที่ให้ความมั่นใจได้มากกว่าระบบ Analog ที่ยังขาดความแม่นยำ เที่ยงตรง น่าจะเป็นรองอยู่พอประมาณ




คุณลักษณะเด่นๆของ Digital timer VM15A มีหลายข้อด้วยกัน ดังต่อไปนี้คือ

1.-มีความละเอียดในการตั้งการเปิดปิดห่างกันได้ 1 นาที ซึ่งถึงว่าละเอียดมากและยังสามารถต้องความห่างได้นานถึง 168 ชั่วโมง

2.-มีโปรแกรมตั้งการเปิดปิดได้ถึง 16 โปรแกรม ซึ่งหากว่านับแบบ NO NC รวมเข้าด้วยกันแล้วจะได้โปรแกรมการเปิด-ปิดทำงานมากถึง 32 โปรแกรม ไม่นับรวมลูกเล่นอื่นๆที่มี (แบบรุ่นเก่าๆแบบมีปลั๊กในตัว จะมีอย่างมากแค่ 8 โปรแกรม) 

3.-ค่าความคลาดเคลื่อน น้อยกว่า 0.5 วินาที (ไม่ใช่ 5 วินาที ย้ำว่า 0.5 วินาที) ต่อวัน น้อยมากครับ

4.-มี Battery แบบที่ Charge ได้และสามารถสำรองไฟฟ้าได้มากกว่า 20 วัน จึงไม่มีปัญหาเวลาคลาดเคลื่อนเนื่องจากไฟฟ้าดับได้ อายุ Battery หลักจะมีอายุการใช้งานนานมาก

5.-อายุการใช้งาน ( ซึ่งผมเองก็ยังงงอยู่ไม่แน่ใจว่าทำไมต้องแยกออกเป็น 2 รายการ ซึ่งผมจะหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ในภายหลัง  คือแบบ - Electronic อายุการใช้งาน 100,000 ครั้ง และแบบ - Machanical 10 ล้าน ครั้ง

6.-ตัว Changer 1 ตัว ซึ่งทำงานคล้ายการทำงานแบบ NC NO
 NC - Normally Close ซึ่งปกติจะเป็นทางหลักให้ไฟวิ่งผ่านเมื่อ Timer ยังไม่ถึงเวลาที่ตั้งไว้ และซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ตัว Changer จะเป็นตัวเส้นทางการเชื่อมไฟหรือต่อสะพานไฟไปยังตัว NO ซึ่งเป็นการตัดต่อสัญญาณและไฟ อย่างถูกต้อง ไม่มีการชนกันของ Timer อย่างแน่นอน ซึ่งที่กล้าพูดอย่างนี้เป็นเพราะความสามารถของตัว Changer ที่จะทำงานตามหลักของ NC NO และ Timer ทำให้มีความแน่นอนสูงมากครับ

7.-Timer ตัวนี้สามารถรับ Load หรือทนกระแสได้ 16 แอมป์

8,-มีไฟสีแดงที่แสดงสถานะเมื่อ Timer ทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้

9.-มีฝาครอบปิดหน้าปัด เพื่อป้องกันการแก้ไขโปรแกรมโดยไม่ตั้งใจ

ซึ่งจะขอจบบทความของ กล่อง VM15A ไว้ที่ คุณสมบัติของ Digital Timer ตัวนี้ไว้เพียงนี้ก่อน ซึ่ง Timer ตัวนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้หลากหลายมากครับ และตามตามกันต่อด้วย Specfication ของ Timer ตัวนี้กันวันหลังนะครับ

                                                                                    Vuthmail-Thailand
                                                                                        07.01.2555

ไม่มีความคิดเห็น: