1.- Power ระดับไฟเข้า 90-260 ACv / 50-60 Hz ไม่ต้องซื้อ Adaptor DC เพิ่ม
2.- Consumption กินไฟน้อยกว่า 5 v
3.- Accuracy ค่าความเพี้ยนต่ำมากเพียง + 0.3% เครื่องทั่วไปความเพี้ยนมากถึง + 5%
จึงให้ความถูกต้องในการวัดมากกว่า 94% ซึ่งสูงมาก เมื่อเทียบกับเครื่องทั่วๆไป
4.-Sampling Speed การติดต่อรับค่าอุณหภุมิ ความชื้น ประมาณ 8 ครั้งต่อวินาที
5.- Alarm ช่องสั่งงาน จ่ายไฟออก ผ่าน Relay 250v ทนกระแสได้ 5A
6.- Analouge ช่องต่อพ่วง อุปกรณ์เพิ่มเติม จ่ายไฟขนาด 0-20 mA หรือ 4-20 mA
7.- Interface ช่องต่อพ่วง Computer โดย RS232 RS485 หรือ MODBUS RTU
ข่าวดีเพิ่มเติมแบบเล็กๆนะครับ
ตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า ผมให้ทางโรงงานเปลี่ยน Raley จาก 3A มาเป็น 5A ให้และเป็นการเปลี่ยน Relay จากโรงงานมาเลย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะได้มาตราฐานที่สุด ด้วย Relay ขนาด 5A นี้จากที่ผมเคยบอกว่าจะใช้กับ Blade Humidifier ได้แค่ 2 ตัว ก็ต้องแก้ไขใหม่ครับ Hygrostat รุ่นใหญ่ VM-80 นี้จะสามารถใช้กับ Blade Humidifier ซึ่งใช้ Cap Run จะสามารถใช้กับ Blade Humidifier ได้มากขึ้นเป็น 3 ตัวเลยครับ ยิ่งทำให้ท่านผู้ที่ใช้ Blade Humidifer จ่ายเงินน้อยลงอีก คุ้มสุดๆๆเลย และสามารถเพิ่มได้เป็น 6 ตัวได้โดยความสามารถของ ช่องสั่งการที่แยกอิสระจากกัน 2 ช่อง AL1 และ AL2 (คำอธิบายอยู่ด้านล่างๆนะครับ)
อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วนะครับว่า VM-80 รุ่นนี้สามารถคบวบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิ และสามารถแยกช่องสั่งการเป็น 2 ชุดคือชุด AL1 และ AL2 แยกอสิระจากกัน จึงทำให้ VM-80 รุ่นนี้สามารถควบคุมได้ด้วยเงื่อนไข ทั้ง 4 เงื่อนไข คือ
AL1 AL2
เงื่อนไขที่ 1 - ควบคุมโดย ความชื้น อุณหภูมิ
เงื่อนไขที่ 2 - ควบคุมโดย อุณหภูมิ ความชื้น เงื่อนไขที่ 3 - ควบคุมโดย อุณหภูมิ อุณหภูมิ
เงื่อนไขที่ 4 - ควบคุมโดย ความชื้น ความชื้น
และเงื่อนไขการควบคุมค่าใน AL1 และ AL2 นี้ ซึ่งช่องสั่งการทั้ง 2 ช่องนี้ยังแบ่งค่าตัวแปรในการควบคุมออกเป็นอีก 6 ตัวแปร ( 6 Parameter) ซึ่งประกอบด้วย
3.-กำหนดค่า "ความชื้น-สูงสุด " (rH) 4.-กำหนดค่า " ความชื้น-ต่ำสุด " (rL)
5.-กำหนดช่วงทำงานด้วยอุณหภูมิได้ เช่น ให้ทำงาน ช่วง 28-30 องศา (C-Temperature in Range)
6.-กำหนดช่วงทำงานด้วยความชื้นได้ เช่น ให้ทำงาน ช่วง 75-85 Rh% (HU-Humidity in Range)
ซึ่ง Function เหล่านี้ค่อนข้างครอบคลุมการทำงานได้เกือบทุกรูปแบบ ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดการทำงานที่โดนใจคุณได้มากกว่าดีกว่า และที่สำคัญมีความยืดหยุ่นกว่า ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกการควบคุมได้มากขึ้นหลากหลายขึ้นกว่าเดิม สามารถเลือกให้ตรงความกับความต้องการใช้งาน และสามารถปรับให้สอดคล้องกับตัวแปรของฤดูกาลที่จะวิ่งเข้ามากระทบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
อย่างเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในภาคใต้ซึ่งกำลังน้ำท่วมและมีฝนหนักอยู่ในขณะนี้ ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวใต้ สภาพอากาศเช่นนี้เป็นสภาพการณ์ที่สร้างปัญหาให้กับบ้านนกทางใต้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความชื้นที่สูงเกินพอดีไปมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของรา ซึ่งเครื่องควบคุมความชื้นที่ท่านกำลังใช้อยู่อาจจะไม่สามารถทำงานตามที่ท่านต้องการ เหมือนอย่างที่ท่านเคยคิดเอาไว้จนลุกลามกลายเป็นปัญหาที่สายเกินแก้ เพราะว่าได้ปัญหาต่างๆได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ซึ่งปัญหาของภาคใต้ตอนนี้ตามที่ผมได้รับรู้รับทราบมาจากเพื่อนๆที่ตามอ่าน Blog ก็คือความชื้นสูงเกินไป และไม่สามารถจะแก้ไขได้ เพราะไม่รู้ว่าจะจัดการกับความชื้นส่วนเกินที่สูงขึ้นมากอย่างไร และ Hygrostat ที่ใช้อยู่มี Function น้อยและไม่สามารถ SET ค่าให้ทำงานตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปได้ ซึ่งก็ได้แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ โดยเปิดดูดอากาศในห้องนกทิ้งไปเรื่อยๆ เน้นการระบายออกให้มากแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงมาก เพราะว่าเวลาที่ตั้งไว้อาจจะไม่เพียงพอ จึงทำให้ยังมีความชื้นส่วนเกินอยู่ ปัญหาจึงยังไม่จบ หรือหากว่าตั้งเวลาการทำงานไว้นานเกินไป ความชื้นก็ต่ำเกินไปและสร้างปัญหาเรื่องรังหลุดได้อีกเช่นกัน
แนวทางการแก้ปัญหาความชื้นส่วนที่เกิตขึ้นในขณะนี้ สำหรับเครื่องควบคุมความชื้นรุ่นอื่นๆ ผมคงให้คำตอบได้ไม่ชัดเจน ไม่ถนัดเท่าไหร่ครับ แต่หากว่าเป็น Hygrostat VM-80 ตัวนี้ ผมพอที่มีแนวทางในการแก้ปัญหาได้และตรงตามความต้องการ ตรงกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ให้ท่านต้องการได้บ้างครับ
ตามที่ผมกล่าวไว้แล้วว่า VM-80 สามารถตั้งการควบคุมได้ 4 รูปแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่ 4 ซึ่งเป็นการควบคุมโดยกำหนดให้ควบคุมประเภท ความชื้น กับ ความชื้น
โดยเราสามารถกำหนดให้
โดยให้ AL1 - บริหารจัดการเรื่องการเติมความชื้นในกรณีความชื้นในบ้านนกต่ำเกินไป ให้เปิด Blade Humidifier เพื่อเติมความชื้นใน Nesting Room ทันทีที่ความชื้นต่ำเกินกว่า 75 Rh% และหยุดระบบการเพิ่มความชื้น เมื่อความชื้นขึ้นมาที่ 85 Rh% (ค่าเหล่านี้สามารถกำหนดได้เอง ร่วมกับ Parameter ทั้ง 6 ตัว)
ส่วน AL2 - ให้บริหารจัดการเรื่องของความชื้นส่วนเกินที่อยุ่ภายใน Nesting Room โดยการสั่งเปิดเครื่อง Dehum เปิดพัดลมดูดอากาศ เมื่อความชื้นได้ขึ้นไปสูงเกินกว่า 92 Rh% (กำหนดค่าได้ตามต้องการ) ให้เริ่มดูดอากาศออก เปิดเครื่อง Dehum และสั่งปิดการทำงานของระบบเมื่อความชื้นส่วนเกินลดลงมาอยู่ 85 Rh% (ค่าเหล่านี้สามารถกำหนดได้เอง ร่วมกับ Parameter ทั้ง 6 ตัว)
ดังนั้น VM-80 จะบริหารจัดการความชื้นให้อยู่ในช่วงที่เราต้องการได้อย่างแท้จริง ทำให้ความชื้นไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่นกชื่นชอบ และไม่สูงจนเกินไปจนทำให้มีความชื้นส่วนเกินสะสมใน Nesting Room ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องรา หรือ รังย้วย-เสียรูปทรง ตามมา
โดยปกติแล้วหากว่าเราใช้ VM-80 ในการควมคุมความชื้นอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอุณหภูมิแล้ว การควบคุมการสั่งงานก็จะสั่งผ่าน ช่องสั่งการ AL1 เพียงช่องเดียวก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น AL2 จึงว่างอยู่ ดังนั้นเราสามารถเก็บช่อง AL2 ไว้เป็นช่องสั่งการสำรองได้ หากว่า Relay ของ AL1 เกิดความเสียหายขึ้นมา เราก็สามารถนำช่องสั่งการ AL2 มารับช่วงการทำงานต่อจาก AL1 ได้ทันที โดยป้อนค่าตัวแปรต่างๆที่ใช้กับช่องสั่งการ AL1 เข้าไปที่ช่องสั่งการ AL2 เมื่อป้องค่าเสร็จแล้ว ก็จะทำให้ช่องสั่งการ AL2 ทำหน้าที่แทน AL1 ที่เสียหายได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องยกไปซ่อมหรือจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องใหม่ ที่สำคัญคือว่าช่อง AL2 จะรับช่วงการทำงานต่อจาก AL1 ได้ทันที
หรือหากว่าท่านใดที่ต้องการใช้ Balde Humidifier 6 ตัวพร้อมกัน โดยใช้ VM-80 เพียงตัวเดียวในการควบคุมก็สามารถทำได้ครับ โดยนำเอาประโยชน์ของ AL2 ที่ว่างอยู่มาใช้ โดยท่านจะต้องใส่ค่าตัวแปรของ AL2 ด้วยเงื่อนไขเดียวกับ AL1 ทุกอย่าง ซึ่งก็จะทำให้ท่านสามารถควบคุม Blade Humdifier ได้ 6 ตัว โดย ช่องผ่านสั่งการของ AL1-เพื่อควบคุม Blade Humidifier 3 ตัวแรก และผ่าน AL2 - เพื่อควบคุม Blade Humidifier 3 ตัวที่เพิ่มเติมเข้ามา จึงทำให้ VM-80 สามารถควบคุม Blade Humidifier ได้รวมกันเป็น 6 ตัว โดยท่านจะต้องแยก Main ไฟให้ชัดเจนว่า Main ของ AL1 จะไปควบคุมที่ไหน และ AL2 จะไปควบคุมจุดไหนแยกให้ชัดเจน หากว่าทำตามนี้ VM-80 จะสามารถควบคุมการทำงานได้ถึง 6 ตัวครับ ซึ่งในตึกนกของผมเอง อย่างที่ท่านได้เห็นอยู่ใน Clip เก่า หากว่าท่านสังเกตุ จะเห็นว่าผมได้แยกควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น 2 ซีก แยก Main การควบคุมออกเป็นปีกซ้ายของตึก 1 ชุด ปีกขวาของตึกเป็นอีก 1 ชุด แยกขาดออกจากกัน (เพื่อประโยชน์หลายๆอย่างครับ)
หากว่าท่านใดต้องการใช้ควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิทั้ง 2 อย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ โดยแบ่ง AL1-ควบคุมความชื้น และ AL2-แยกไปควบคุมอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสม หรือจะแยกไปควบคุมความชื้นส่วนเกินก็ยังทำได้ หรือจะนำไปเพิ่มจำนวนเครื่อง Blade Humidifier อีก 3 ตัวก็ทำได้ หรือจะเก็บไว้เป็นช่องสั่งการสำรองก็ยังทำได้ รวมทั้งมี Parameter ในการควบคุมอีก 6 parameter เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายจริงๆ
พร้อมทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารกับ Computer โดยผ่าน Port RS-232 , RS-485 และความสามารถของ PLC อีก และยังมี Function ที่ให้ท่านสามารถที่จะสอบเทียบผลที่วัด (Calibrate) ได้ด้วยตัวเอง
พร้อมทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารกับ Computer โดยผ่าน Port RS-232 , RS-485 และความสามารถของ PLC อีก และยังมี Function ที่ให้ท่านสามารถที่จะสอบเทียบผลที่วัด (Calibrate) ได้ด้วยตัวเอง
ผมว่า VM-80 ตัวนี้ มีความสามารถเกินตัว คุณภาพเต็มประสิทธิภาพจริงๆ
โดยส่วนตัวผมคิดว่าเครื่องควบคุมความชื้นที่มีความครบถ้วน ตอบสนองความต้องการได้มากมายขนาดนี้ ผมว่าหาได้ยากจริงๆ ผมว่า VM-80 ตัวนี้สุดยอดจริงๆๆๆๆ หาตัวเทียบได้ยากเมื่อเทียบกับเครื่องทั่วๆไปที่มีขายกันอยู่
ท่านมีความคิดอย่างไรบ้างครับ กับ VM-80 รุ่นใหญ่ตัวนี้
หมายเหตุ - ราคาเครื่องรุ่นอยู่นี้ ราวๆ 48% นิดๆๆ ของเครื่องรุ่นใกล้เคียงกัน ราคานี้คุ้มมาก ผมหาของถูก คุณภาพดี มาให้ใช้กันครับ
This is it
Vuthmail-Thailand
17.11.53
10 ความคิดเห็น:
น่าสนใจดีครับ ครบเครื่องทุกเรื่องที่เราต้องการ ราคาก็สมเหตุสมผลดี แต่รอผลเรื่องของสายsensorที่เพิ่มความยาวโดยสายโทรศัพท์อยู่ครับ :parncc ชุมพร
อยากได้สักเครื่อง สายเซ็นเซอร์ยาวสุดได้กี่เมตรครับ
ผมเคยต่อยาว 30 เมตรโดยที่ไม่มีปัญหาใดๆเลย และคาดว่าความยาว 50-70 เมตรก็คิดว่าน่าจะต่อได้เช่นกันครับ
ขอปรึกษาหน่อยครับ บ้านชั้นเดียว (ปรับปรุงใหม่) ลมเข้าบริเวณไม้ตีรังได้ มีผลต่อการเข้าอยู่และสร้างรังของนกแอ่นมั้ยครับ
เรื่องลมเข้าที่ไม้ตีรังได้ มีผลกับการอยู่หรือไม่ ตอบมีครับ เหตุผลก็คือว่า ลมที่เข้ามาได้จะมีผลทำให้รังแห้งกรอบ หลุดร่วงได้ง่าย ส่วนลูกน้องก็จะหนาวสั่นได้ง่ายกว่า ครับ
ถ้าซื้อเซ็นเซอร์เพิ่มเป็น 2เซ็นเซอร์ แต่ใช้กับ 1เครื่องได้ไหมครับ เผื่ออยากดู ค่า ของชั้นอื่นๆ โดยไม่ได้ควบคุมค่า โดยถอดสลับสายเซ็นเซอร์จากตัวเครื่อง
หากว่าต้องการทำอย่างนั้น ก็ได้ครับ ก็คือการใช้สาย 2 เส้นแต่ว่าใช้ VM-80 เพียงแค่ 1 ตัว
แต่ผมอยากให้พึงระวัง 2-3 เรื่องดังนี้นะครับ
1.-เครื่องควรประกอบลงในตู้ที่สามารถเปิดปิด หรือดัดไฟ Main ที่จะเข้าเครื่องได้ เพราะว่าเวลาเปลี่ยนสาย Sensor จะปลอดภัย ทั้งคนทั้งเครื่องนะครับ
2.-หากว่ามีการควบคุมสั่งการให้เปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ชั้น 3 แต่หัว Sensor อยู่คนละชั้น อยู่คนละที่กัน เวลา Temp หรื Humidity ลงต่ำกว่ากำหนด เครื่องจะสั่งการทำงานไปที่อุปกรณ์ซึ่งอยู่คนละที่กันนะครับ
3.-จะต้องทำการ Calibrat ค่าของการวัดจาก sensor ทั้ง 2 ตัวให้เท่ากันก่อน จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง เพราะว่าความยาวสายไม่เท่ากันครับ
หากว่าทำได้ทั้ง 3 อย่างนี้การใช้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไรครับ
สวัสดีครับผม วิกรม อยู่สุราษฎร์ขอคำปรึกษาท่านผู้รู้หน่อยครับ ผมมีอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น กะจะแบ่งให้น้องนกอยู่สัก 3 ชั้น หากใช้ VM-80 เป็นตัวควบคุมจะต้องใช้ถึง 3 ตัวเลยหรือเปล่า แล้วลากสายเซ็นเซอร์ยาวๆความเที่ยงตรงเปลี่ยนไปหรือเปล่า ผมต้องการคุมพัดลมและปั๊มน้ำโดยตู้ควบคุมอยู่ชั้นล่างสุด การติดตั้งยุ่งยากหรือเปล่า ผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีพวกนี้เลย จำเป็นต้องจ้างผู้รู้หรือเปล่า หรือผมสามารถทำเองได้ ขอบคุณครับ.winst15@hotmail
คุณวิกรมครับ หากว่าต้องการใช้ VM80 เพียง 1 ตัวในการควบคุมทั้ง 3 ชั้นนั้นสามารถทำได้นะครับ ซึ่งค่าความชื้นในแต่ละโดยปกติแล้วจะไม่เท่ากัน แตกต่างกัน
ดังนั้นหากว่าสามารถใช้ VM80 เพียง 1 ตัว แนะนำว่าควรจะเลือกชั้นที่ความชื้นที่ให้ค่ากลางๆเป็นหลัก แล้วติดตั้ง VM80 เข้าไปที่ชั้นนั้นๆก็ได้นะครับ
แต่หากว่าจะให้ดีผมว่า 1 ชั้น 1 ตัวจะดีกว่า เพราะว่าจะได้ค่าที่ถูกต้องมากกว่า และความชื้นในแต่ละชั้นจะไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องของความยาวผมได้เขียนบทความเรื่องการต่อขยายความยาวสาย Sensor ของ VM80ได้ยาวถึง 200 เมตรเลย ตามอ่านได้ที่
http://vuthmail-swiftlet.blogspot.com/2011/06/vm80-sensor-200.html
ผมทำบ้านนกเสร็จและเปิดให้นกเข้าอยู่แล้วเมื่อ 5 ธค 54 หรือประมาณเดือนเศษโดยใช้ VM-80 เพียงตัวเดียว ใช้ได้ครับ โดยติดตั้งหัวเซ็นเซอร์ที่ชั้น 5 ลากสายลงมาชั้นล่างสุดความยาว 50 เมตร ผมเลือกชั้น 5 เป็นตัววัดค่าและเป็นตัวหลักเพราะด้านข้างทั้งสองเป็นบ้านของคนอื่นฉะนั้นชั้นบนจึงมีผลกระทบในเรื่องของอุณภูมิและความชื้นที่ผ่านมาทุกอย่าง OK ดีครับ มีข้อมูลก็อยากบอกต่อครับ.
แสดงความคิดเห็น