24/12/53

VM-80HT ประกอบลงกล่อง

ผมนำเอา VM-80HT ประกอบลงกล่อง ทำเป็นปลั๊กเสียบช่องสั่งการ AL1 แยกเป็นอิสระจากช่องสั่งการ AL2 เพื่อเกิดความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งานที่หลากหลายครับ นำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม

เนื่องจากตัวผมเองไม่ค่อยมีเวลาว่าง และก็เข้าใจว่ายังมีเพื่อนอีกหลายๆคนมีความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าน้อยมาก อีกอย่างเรื่องไฟผมก็ไม่เก่งเลย แต่เห็นประโยชน์ว่าสามารถนำเครื่อง VM-80HT ไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ  ซึ่งการเดินระบบไฟฟ้าในงานแต่ละอย่างแต่ละประเภท ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ รวมทั้งงานบ้านนกก็จะใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เพราะว่าแต่หลังก็จัดวางตำแหน่งเครื่องควบคุมไม่เหมือนกัน บางคนทำเป็นตู้ Control และบางคนก็อยากจะให้ใช้ได้ง่ายๆ สามารถนำไปวางไว้บนโต๊ะอย่างตัวต้นแบบของผมนี้ ซึ่งจะทำให้ใช้งานได้สะดวก เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง คล่องตัวมากๆ หรือจะนำไปติดที่ผนังอาคารก็ได้

คงมีเพื่อนๆบางคนที่อยากได้เพราะใช้งานได้ง่าย-สะดวก แต่ว่าไม่สามารถทำเองได้หรือทำไม่เป็น ประกอบกับตัวผมเองก็ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาสจะมานั่งลงกล่องให้ จึงอยากให้คนที่เข้าใจเรื่องไฟฟ้าจริงๆ คนที่เป็นช่างอยู่แล้วทำจะทำได้ดีกว่าตัวต้นแบบของผมนี้ และยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องการได้อีกอย่างเช่น Timer หรือุปกรณ์เสริมต่างๆที่เป็นเฉพาะตัวเฉพาะตนตามรูปแบบของท่านเอง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องให้คนที่เป็นช่างไฟตัวจริงเสียงจริงเป็นคนจัดทำให้จะดีกว่า อีกอย่างเรื่องการต่อ VM-80HT ลงเป็นกล่องควบคุม ผมเองก็อาศัยพึ่งพาคุณหนุ่มจันทน์มาโดยตลอด จึงเชื่อมั่นว่าคุณหนุ่มจันทน์นำ VM-80HT ลงกล่องประกอบเป็นตู้อย่างตัวต้นแบบตัวนี้ให้เพื่อนๆอย่างสบายๆ

ส่วนเรื่องราคา VM-80HT ที่นำมาลงกล่องพร้อมใช้งานอย่างที่เห็น ราคาอยู่ที่ 5,850 บาท (ไม่แพง ราคารับได้ครับลองตรวจสอบราคาดูก่อน ซึ่งเครื่องทั่วๆไปราคาจะสูงกว่านี้และยังต้องนำไปประกอบเป็นตู้เอง) ซึ่งผมก็ได้สอบถามจากคุณหนุ่มแล้วครับ ราคานี้อย่างนี้พออยู่ได้ พอเหมาะพอสมกับค่าแรงของคุณหนุ่มจันทน์ครับ ไม่ได้บวกอะไร ค่าแรงสมเหตุสมผล




ผมได้แจกแจงอุปกรณ์ที่ต้องใช้เพื่อนำลงใส่กล่องมีดังนี้

1.-ค่ากล่องเอนกประสงค์ประมาณ 220 บาท
2.-ฟิวส์และสวิทช์ ประมาณ 70 บาท
3.-ค่าสายไฟนอก-ใน 50 บาท
4.-ค่าปลั๊ก 6 ตัวประมาณ 310 บาท

ราคาวัสดุอุปกรณ์ส่วนเพิ่มเหล่านี้ก็ร่วมๆ 650 บาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าแรงของคุณหน่มอีกหน่อยครับ  โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่แพง ส่วนเรื่องสาย LAN อันนี้แล้วแต่เลือกครับ ซึ่งผมได้บอกรายละเอียดเรื่องสาย LAN ให้กับคุณหนุ่มไปทั้งหมดแล้วครับ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบ เกรดคัดพิเศษความต้านทานต่ำ (สำหรับคนที่เน้นการ Calibrate ค่าน้อยๆ) พร้อมทั้งเกรดธรรมดา ราคาถูก และความยาวสายที่ต้องการใช้ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นผมจึงไม่นำรายการสาย LAN มารวมด้วย

อีกอย่างหากว่าใครสนใจอยากติดอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมก็บอกกับคุณหนุ่มจันทน์ได้นะครับ อย่างเช่น Timer สำหรับบางท่านที่ยังรักการใช้ Timer อยู่ ซึ่งผมเองก็ยังใช้อยู่เหมือนกัน ทำให้กล่องควบคุมต้วนี้ ทำงานได้ครบทุกเงื่อนไขก็ว่าได้  ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความชื้น และเวลา ซึ่งบางคนบางท่านยังสงสัยว่าทำไมยังต้องตั้งติด Timer ไว้อีก หากว่าอยากทราบโทรมาคุยกับผมก็ได้ครับ ยินดีบอกเหตุผลให้ฟัง ซึ่งผมเองยังให้ความสำคัญกับเวลา จึงติด Timer ลงไว้ในกล่องควบคุมของผมเองด้วย

   เพื่อนๆที่สนใจ กรุณาโทรคุยรายละเอียดกับคุณหนุ่มเองได้โดยตรงที่ 081-757-4858 ครับ  

อีกอย่างครับ ผมว่าตัวคุณหนุ่มคงหนักและเหนื่อยกับเรื่องการเรียน ค่าใช้จ่ายของลูกๆจนกว่าจะจบมหาวิทยาลัยและคงต้องใช้เงินอีกมาก  เหนื่อยแน่ๆคุณหนุ่มของเรา

                                                                                                   Win-Win
                                                                                            Vuthmail-Thailand
                                                                                                    24.12.53

23/12/53

การใช้สาย LAN เกรดพิเศษ เพื่อต่อขยายความยาวสาย Sensor

ผมพยายามที่จะแก้ไขจุดบอดเล็กๆน้อยๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่ใช้ความยาวสายที่ค่อนข้างยาวมาก ซึ่งเดิมที่ผมค่อยๆแก้ไข ได้ทีละจุดจากเดิม 11.5 เมตร  มาเป็น 27 เมตร แต่ตอนนี้ผมมีความมั่นใจมากว่าจะสามารถต่อได้ถึง 100 เมตร ซึ่งผมจะทำ DIY เรื่องนี้อีกที ซึ่งจะสอบเทียบ 100 ถึง 200 เมตร เพื่อดูประสิทธิภาพของสาย LAN เกรดพิเศษนี้

จากเดิมสาย LAN ที่ใช้เป็นสายธรรมดา ที่หากซื้อทั่วไปโดยที่ไม่มีความเข้าใจจริงก็อยากจะโดนสายที่มีความต้านทานสูงโดยไม่รู้ตัว แต่คราวนี้ผมทดลองซื้อสายที่มีความต้านทานต่ำตาม Specfication ของทางโรงงาน (อันนี้มาทราบในตอนหลังจากโรงงานว่าให้เน้นสายที่มีความต้านทานต่ำกว่า 10 โอห์ม) ซึ่งผมก็ไปเที่ยวสอบถาม แต่ว่าก็ไม่ได้ข้อมูลเรื่องของความต้านทานภายในสายเลย สุดท้ายผมตัดสินใจซื้อสาย LAN ที่เป็นเกรดพิเศษมาทดลอง (กล่องละ 3850 บาท) แต่แบ่งซื้อปลีกมาเพื่อใช้ทดลองแค่ 60 เมตร

ก็อย่างที่เห็นค่าความคลาดเคลื่อน ความเพี้ยนของสายยาว 30 เมตรที่วัดออกมาได้เมื่อเทียบกับสายมาตราฐานจากโรงงาน (สาย PT-100) ที่ความยาวแค่ 3 เมตร ปรากฎว่าค่าที่วัดออกมาได้ต่างกันน้อยมากครับ 1 องศาถึง 2.1 องศา ความชื้นก็ต่างกันไม่มาก (โดยส่วนใหญ๋จากที่ใช้สาย LAN 3 ยี่ห้อ 3 เกรด ค่าความชื้นไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนมากจะใกล้เคียงกันจนเป็นที่น่าแปลกใจ)  แต่หากว่าเป็นเรื่องของอุณหภูมินั้น คุณภาพของสายที่ใช้จะเป็นปัจัยที่สำคัญมาก ดังจะเห็นได้ว่าโรงงานใหญ่จะต้องใช้สาย PT-100 ตลอดความยาวที่ใช้เลยซึ่งยาวมากๆกว่า 200 เมตร เพื่อให้ได้ความถูกต้องสูง แต่ของเราใช้กันเต็มก็คงไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งเรื่องนี้ผมจะหาโอกาสทดลองความยาวที่ 100-200 เมตรเพื่อดูประสิทธิภาพกับผลที่ได้รับจริง เพื่อให้เป็น Reference ของผมและคนที่สนใจเรื่องเหล่านี้

ลองดู Clip จากการทดลองสาย LAN เกรดพิเศษ



หากว่าภาพไม่ขึ้นรบกวน Link ที่  http://www.youtube.com/watch?v=IUcNDVbifq8

                                                                                   Try to Best
                                                                             Vuthmail-Thailand
                                                                                     23.12.53

18/12/53

VM-80 HT ควบคุมความชื้น-อุณหภูมิในเวลาเดียวกัน

วันนี้ผมจะทดสอบการควบคุมความชื้น-อุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยใช้เพียง VM-80 HT เพียงตัวเดียว
และใช้ Blade Humidifier ชุดเดียวกันทั้งให้ความชื้น และก็ Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้แหละครับในการควบคุมอุณหภูมิ รับ Load จาก Blade 3 ตัวเหมือนเดิมครับ

โดยตั้งค่าให้ช่องสั่งการ  AL1 ควบคุมความชื้นไม่ให้ต่ำกว่า  77 Rh%  แต่ไม่เกิน  85 Rh%
ดังนั้นช่องสั่งการ  AL2 รับหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 30c แต่ไม่ต่ำกว่า 28.4c

เรามาเริ่มต้นด้วยการต่อสายไฟ สำหรับ VM-80 HT ที่ผมเคยบอกนักบอกหนา ว่าง่าย สะดวกมากครับ
ด้วยการเชื่อมสายไฟของช่องสั่งการทั้ง 2 ช่องเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงนำเอาสาย Blade Humidier เส้นที่เหลือไปเชื่อมต่อกับต่อกับช่อง 4 หรือ 5 ก็ได้ครับ ( สาย Blade Humidifier จะต้องมีเส้นหนึ่งที่ต่อเข้าช่อง1 )  ซึ่งจากการอธิบายเป็นข้อความผมว่าจะไม่ค่อยเห็นภาพ ไม่เข้าใจ ดังนั้นเรามาดูการต่อเชื่อมของจริงดีกว่าครับ ง่ายกว่าเยอะ



จากรูปผมคิดว่าคงทำความเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ  และเพื่อนๆ คงจะได้ชมการทำงานตามที่ปรากฎอยู่ใน Clip ด้านล่าง ไฟไม่ช๊อต และสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยที่ AL1 ทำงานไฟก็จะสว่าง, AL2  ทำงานไฟก็จะสว่าง หรือทั้ง AL1และAL2 สว่างพร้อมกัน ทำงานพร้อมๆกัน การเดินสายไฟที่เห็นในภาพจะไม่ทำให้เกิดการลัดวงจร หรือ ไฟช๊อตแต่อย่างใดทั้งสิ้น


จากใน Clip จะเห็นได้ว่า เมื่อเปิดเครื่อง AL1 ซึ่งควบคุมด้วยความชื้นจะทำงานทันที เพราะว่าความชื้นต่ำกว่า 75 Rh% และตัดหยุดการทำงานที่ 85 Rh% ได้อย่าถูกต้อง ในขณะที่ AL2 จะยังไม่ทำงานเพราะว่าอุณหภูมิยังไม่สูงกว่า 30 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สั่งให้เปิดเครื่อง

แต่เมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงจนถึง 30 องศา ไฟที่ช่อง AL2 สว่างขึ้น ก็หมายถึงว่าเครื่องทำงานด้วยอุณหภูมิ  ซึ่งให้เพื่อนๆสังเกตุว่าเมื่อไฟของทั้ง AL1 และ AL2 ขึ้นพร้อมๆกัน ไฟจะไม่ลัดวงจร ไฟไม่ช๊อต โดยให้สังเกตุจาก Blade Humidifier ทั้ง 3 ตัวยังทำงานเป็นปกตินะครับ  เมื่อทั้ง AL1และ AL2 ทำงานพร้อมๆกัน ก็หมายถึงว่า Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้ทำงานในทั้ง 2 เงื่อนไขคือสามารถใช้ควบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิไปพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน





ใน Clip จะเห็นได้ว่าเมื่อความชื้นขึ้นถึง 85 Rh% ช่องสั่งการ AL1 ที่ควบคุมความชื้นจะหยุดทำงาน ไฟที่ AL1 จะดับแต่อุณหภูมิเกินยังไม่ต่ำกว่า 28.4 องศา Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้ก็จะทำงานต่อไปเพื่อลดอุณหภูมิจนกว่าจะลดลงเหลือ 28.4 องศา AL2 จึงจะหยุดทำงาน ซึ่งเพื่อนๆได้เห็นกันแล้วตามที่ปรากฏอยู่ใน Clip จึงสรุปได้ว่าการควบคุมสั่งการเป็นไปตามวัตถุหลักของเครื่อง VM-80 HT ที่สามารถใช้ควบคุมได้ทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยใช้เครื่อง VM-80 HT เพียงเครื่องเดียว และ Blade เพียงชุดเดียวสามารถทำงานคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นได้ครบทั้ง 2 อย่าง

หากว่าท่านเป็นช่างไฟฟ้าเอง และไม่มี VM-80 HT ตัวนี้ก็สามารถซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิและเครื่องควบคุมความชื้นมาต่อเป็นระบบอย่างนี้ก็ได้ครับ  แต่หากท่านไม่เก่งหรือไม่มีความรู้ในการเดินระบบไฟอย่างช่างไฟฟ้า ผมว่าจะเป็นการง่ายและสะดวกกว่า หากเพื่อนๆจะนำ VM-80 HT ไปใช้เพราะว่าการเดินสายไฟตามรูปได้ไม่ยากนัก ทำเพียงไม่กี่จุด และตั้งตัวแปรตามที่เพื่อนๆต้องการอีกเล็กน้อย ก็สามารถใช้ไฮโกรสแตท VM-80 HT ในการควบคุมอุณหภูมิ+ความชื้นได้แล้ว ง่ายมากๆไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร  ผมว่าช่างไฟเองก็ชอบ เพราะว่าติดตั้งได้ง่าย การเดินสายน้อยลงมาก ลดจุดเชื่อมต่อต่างๆไปได้มากจริงๆ

ก่อนหน้านี้ ตัวผมเองอยากได้ USB Data Logger เพื่อนำมาเก็บข้อมูลสภาพอากาศภายในบ้านนกของผมเอง  แต่เมื่อลองสอบถามราคาดู เท่าที่ผมจำได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 5,000-7,500 บาท แต่ตอนนี้ผมหมดความสนใจเรื่อง USB Data Logger ไปเลยเพราะว่าราคา VM-80 HT ราคายังถูกกว่าราคาขั้นต่ำของ USB Data Logger เสียอีก เพราะราคาของ VM-80 HT ย่อมเยาว์กว่า USB Data Logger  หากว่าท่านซื้อ USB Data Logger ก็จะได้เพียงแค่การเก็บข้อมูล แต่ VM-80 HT ราคาถูกว่าและยังได้เป็นระบบการควบคุมที่มีประสิทธิภาพมาใช้แทนทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่การเก็บข้อมูล (ได้มากกว่าที่คิดจริงๆ)

อ้อผมลืมแจ้งเรื่องของช่อง RS485 ที่ใช้ติดต่อกับ Computor นั้นเป็น Option เพิ่มเติม ซึ่งทางโรงงานได้แจ้งมาให้สำหรับคนที่ต้องการใช้ในการเก็บข้อมมูลจะต้องแจ้งก่อนสั่งของ และมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติมประมาณ 700 บาทครับ
                                                                                          Vuthmail-Thailand
                                                                                                   18.12.53

14/12/53

การตั้งค่า เพื่อควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นของ VM-80HT

สวัสดีครับ หลังจากที่ห่างหายไปนาน เนื่องมีงานประดังประเด เข้ามาหลายเรื่องหลายอย่างให้จัดการ ทั้งงานประจำที่จะต้อง Clear ซึ่งคั่งค้างมานาน เนื่องจากสาเหตุที่ต้องการหา Hygrstat ประสิทธิภาพสูงมาใช้ในตึกนกของตัวเอง  ทำให้หมดเวลาไปมากกว่าที่จะมาสรุปได้ การสั่งของเข้ามา การเดินเอกสารต่างๆวุ่นวายไปหมด ก็พอดีข้ามเดือนไปแล้ว

เริ่มต้นเดือนใหม่งานเก่ายังไม่ได้สะสาง VM-80 HT ก็มาต้นเดือนธันวาคมอีก ก็อย่างว่าครับเห่อของใหม่ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้และใช้งานให้ได้เต็มที่ เพื่อที่จะนำเครื่องไปติดตั้งที่บ้านนกในวันพ่อ 05.12.53 และก็กลับจากบ้านนกมา ก็งานประจำอีกหละครับ ทำให้ไม่มีเวลาต้องเร่งสะสางงานให้ทันกำหนดการณ์ต่างๆ แต่ผมก็ยังเป็นห่วงเพื่อนๆที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ VM-80 HT  ผมก็เลยนำเอาขึ้นตอนการตั้งค่าเพื่อควบคุมการทำงานลงให้ดูพลางๆไปก่อน

และถ่ายเป็น Clip ให้เพื่อนๆดูไปพลางๆก่อน (พอเริ่มสะสางได้มากแล้ว จึงได้มาเขียนอธิบายเพิ่มเติม) ว่าประสิทธิภาพ Hygrostat รุ่น VM-80 HT ว่าสามารถทำงานได้ครบตามเงื่อนไขที่เคยได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน Relay จาก 3A เป็น 5A มาจากโรงงานที่ผลิตเลย เพื่อให้ได้มาตราฐานที่สูงสุดจากโรงงาน จากใน Clip จะเห็นได้ว่าเครื่องสามารถรับ Load จากเปิด Blade Humidifier พร้อมๆกันได้มากถึง 3 ตัว ต่อ 1 ช่อง หากว่าใช้ช่องสั่งการ 2 ช่อง AL1 AL2 เพื่อให้ความชื้นแต่เพียงอย่างเดียวก็จะสามารถควบคุม Blade ได้ถึง 6 ตัวเลย






ซึ่งในการทดลองนี้ ผมได้เน้นการสั่งงานให้เครื่องทำการควบคุมทั้งความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยให้ช่องสั่งการ AL1 บริหารจัดการความชื้น เพื่อไม่ให้ต่ำกว่า 77 Rh% และ ไม่เกิน 85Rh%  ส่วนช่องสั่งการ AL2 ให้บริหารจัดการอุณหภูมิ ซึ่งเรื่องนี้ออกจะซับซ้อนและต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเข้ามาเกียวข้องเพิ่มเติมไม่ใช่เพียงแต่เครื่อง Blade humidifier อย่างเดียว  อย่างเช่น พัดลมดูดอากาศเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นในช่อง AL2 ผมจึงนำเอา Blade humidifier กับ พัดลมมาตั้งคู่กัน เพื่อใช้แทนพัดลมดูดอากาศ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น


จากการที่ได้พูดคุยกับหลายๆคน ได้ทราบว่าหลายท่านการควบคุมอุณหภูมินั้นค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อน เพราะว่าจะต้องเปิดเครื่องทำความชื้น และเปิดพัดลมดูดอากาศไปพร้อมๆกัน ก็เพราะในขณะที่เปิดเครื่องทำความชื้นนั้นจะมี 2 สิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆกัน ก็คือความชื้นจะขึ้นอย่างรวดเร็วและสูง แต่ในขณะที่อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ สวนทางกัน  เมื่ออุณหภูมิลดลงจนถึงจุดที่ท่านต้องการ แต่ความชื้นจะสูงเกินไปมาก จนอาจสร้างปัญหาได้ เพื่อนๆหลายคนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องติดพัดลมดูดอากาศ เพื่อดูดเอาความชื้นส่วนที่เกินออกไป และรอให้อุณหภูมิค่อยๆลดลง ผมจึงได้นำเอา AL2 มาต่อเข้ากับ Blade Humidifier พร้อมทั้ง พัดลม ซึ่งหมายถึงพัดลมดูดอากาศนั้นเอง เพื่อให้เพื่อนๆได้เห็นว่า VM-80 HT ทำงานได้จริง ทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการของเพื่อนๆจริงๆ

  หากว่าภาพเล็ก รบกวนให้ดูแบบ Full Screen จะชัดเจนกว่า  



                ซึ่ง VM-80 HT ตัวนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อีกหลายอย่าง และซึ่งผมจะนำเสนอในวาระต่อไป อย่างเช่น การใช้ Blade Humidifier ในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมดูดอากาศร่วมด้วย แต่ใช้เทคนิคในการตั้งค่าพารามิเตอร์แทน การนำ VM-80 HT มาประยุกต์ใช้เพื่อดูดเอาอากาศที่ได้เงื่อนไข 2 อย่างพร้อมๆกัน คืออุณหภูมิจะต้องอยู่ระหว่าง 26-28 องศา และความชื้นจะต้องอยู่ระหว่าง 75 Rh%-85 Rh% เข้ามาในบ้านนก ซึ่งเป็นอากาศที่เราๆท่านต้องการ ซึ่งมีข้อดีตรงที่ว่าอากาศดูดเข้ามานั้นที่เป็นธรรมชาติจริงๆ เกิดตามธรรมชาติ เน้นว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติครับ ซึ่งเพื่อนคงต้องคอยติดตามอ่านตามดูในบทความต่อๆไปครับ

                                                                                             Vuthmail-Thailand
                                                                                                     15.12.53


สำหรับการตั้งค่า VM80 รุ่นใหม่ที่มีระบบการหน่วงเวลา ผมได้ลงคู่มือการใช้ให้เพิ่มเติม ตามรายการด้านล่างนี้จะครับ

9/12/53

ไปติดตั้ง VM-80 HT แล้วครับ

ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน ผมได้รับเครื่องจากต่างประเทศมา ก็เลยมัวแต่ยุ่งๆกับการทดลองและตรวจสอบเครื่องดูว่าถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ พร้อมทั้งการทดลองเดินสายไฟเอง เดินสายไฟเข้า เดินสายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆๆ เพื่อดูว่ามีความยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่ประการใด อีกทั้งการทดลองประสิทธิภาพเครื่องให้เครื่องรับ Load ในระดับต่างๆ และหนักไปในส่วนของการทดลองเปิด Blade Humidifier จำนวน 3 ตัวพร้อมๆกัน จนแน่ใจว่า VM-80 HT รับ Load จากเครื่องทำความชื้นได้ 3 ตัวพร้อมๆกันได้เป็นที่แน่นอนแล้ว  ก็ยังทดสอบทำความเข้าใจการตั้งโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งการทดสอบประสิทธิภาพก็ทำกันอย่างหนัก มีความขลุกขลักบ้างพอประมาณ เพราะว่าเป็นของใหม่ ยังไม่คุ้นเคย แต่พอทำไปสักพักก็เริ่มคุ้นเคยทำได้ง่ายสะดวกจริงๆ พร้อมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหนุ่มจันทน์ จึงทำให้ทุกอย่างผ่านมาได้ด้วยดีครับ แต่ก็หมดเวลาไปมากพอประมาณ-กว่าจะแจ่มแจ้ง และได้เรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาต่างจนทะลุปรุโปร่ง จนเกิดเป็นความมั่นใจในตัว VM-80 HT เป็นอย่างมาก

ดังนั้นอาทิตย์ก่อนซึ่งเป็นวันหยุด ผมกับน้องชายจึงได้เดินทางไปบ้านนกเพื่อไปติดตั้ง Hygorstat VM-80 HT โดยความชะล่าใจจึงไม่ได้ตระเตรียมสายไฟที่จะนำมาใช้ต่อขยายความยาวสายของ Sensor  ไปด้วย จึงทำให้ไม่มีสายไฟที่จะขยายความยาวสาย Sensor ได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสาย PT-100 (เป็นสายประเภท RTD -Resistant Temperature Detector) ซึ่งภายในประกอบไปด้วยสายย่อยจำนวน 5 เส้น ซึ่งมีสีแดง เหลือง ดำ ฟ้า น้ำตาล


- 3 สีแรก สีแดง เหลือง ดำ เป็นเรื่องของความชื้น
- 2 สีหลัง ฟ้า น้ำตาล เป็นเรื่องของสายอุณหภูมิ

หากว่าจะหาซื้อก็ราคาสาย PT-100 ก็จะประมาณเมตรละ 40 บาท ผมลองคำนวณดูคร่าวๆ ผมจะต้องใช้สายยาวประมาณ 150 เมตร ตกเป็นเงินประมาณ 6,000 บาท ซึ่งก็เอาเรื่องพอสมควร ซึ่งเป็นภาระให้กับคนที่ต้องซื้อเครื่องที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกเป็นเงินหลายบาท

ผมก็เลยลองคิดดูว่า  น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ ก็นึกไปถึงสายโทรศัพท์ สายลำโพง ซึ่งสายโทรศัพท์นั้นมี 6 เส้น ซึ่งเหมาะสมกับการใช้ แต่มีข้อเสียอยู่ว่าสายขาดในได้ง่าย ส่วนสายลำโพงก็มีแค่ 2 สีหากว่าต้องไปหาซื้อแบบหลายๆสีเพื่อให้ครบ 5 สีที่แตกต่างกัน แล้วนำเอามาใช้ก็ได้ครับ แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องของความสามารถในการนำไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไปเพราะว่าเป็นสายที่มาจากคนละโรงงานกัน  ซึ่งค่าความต้านทานจะไม่เท่ากัน จึงย่อมส่งผลให้ค่าที่ได้วัดสายแต่ละเส้นแตกต่างกันไปด้วยนั้นเอง และการเดินสายก็จะยุ่งยากว่าเพราะว่า ต้องใช้ 3 คู่มัดรวมกัน การตีกิ๊ฟ การเก็บสายอาจจะทำได้ลำบาก ยุ่งยาก แล้วอย่างนั้นจะทำอย่างไรต่อไปหละ

สุดท้ายคิดไปคิดมา ได้นึกถึงสาย LAN ครับ ซึ่งมีองค์ประกอบครบทุกอย่าง คือสาย LAN เป็นสายที่สามารถหักงอได้มาก มียืดหยุ่นสูง ไม่ขาดใน และก็มีสีมากว่า ผมก็เลยตัดสินใจไปใช้สาย LAN เลยครับ ไปหาซื้อที่คอมพิวเตอร์ โดยร้านค้าให้สายมาเป็นสาย LAN ยี่ห้อ Sys Link ครับ

ซึ่งก่อนการติดตั้งใช้งานจริง ผมได้ทำการทดสอบหาค่าความคลาดต่างๆจากสาย LAN ให้ได้เสียก่อน ซึ่งผมได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ครับ 

1.-สำหรับความชื้นที่วัดได้จากสาย LAN จะมีค่าความเคลื่อนต่ำมาก โดยใช้สายยาวประมาณ 25 เมตร ค่าความชื้นจะเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 Rh% เท่านั้น

2.-สำหรับอุณหภูมิที่วัดได้จากสาย LAN นั้น แกว่งตัวมากเอาเรื่องเลย แต่ด้วยจำเป็นที่ต้องเร่งติดตั้ง ไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งหาสายอื่นๆทดแทนแล้ว ด้วยเป็นวัดหยุดและเป็นวันสุดท้ายอีก  จึงทำให้ผมตัดสินใจใช้สาย LAN ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ว่าผมได้ลดทอนความยาวสายที่จะเดินให้สั้นลงเหลือเพียงเท่าที่จำเป็นจริง คือ 11.20 เมตรและทำการ Clibrate ค่าให้ถูกต้อง แล้วจึงทำการสอบเทียบอุณหภูมิที่วัดได้จาก VM-80 HT ที่ต่อขยายความยาว เปรียบเทียบกับตัวอื่นๆที่ไม่ต่อขยายความยาวสาย Sensor ค่าที่ได้เป็นที่น่าพอใจมาก ถึงแม้ว่าสายที่ต่อขยายจะสั้นไปบ้าง แต่ก็ไม่แสดงถึงค่าผิดพลาดหรือเป็นข้อด้อยแต่ย่างไร (โดยส่วนตัวผมเน้นเรื่องความถูกต้องแม่นยำที่ได้จาก Hygrosatat มากกว่าสาย Sensor ที่ยาว สายยิ่งยาวโอกาสเพี้ยนยิ่งสูงครับ เอาเท่าที่จำเป็นต้องใช้ก็เพียงพอแล้ว)

ข้อดีของการใช้สาย LAN ในการต่อขยายความยาวก็คือเราจะมีสายไฟที่ไม่ได้ใช้เก็บไว้เป็นสายสำรองอีกด้วย เพราะว่าโดยปกติแล้วสาย LAN จะประกอบไปด้วย สายภายใน 8 เส้น แต่สาย Sensor จะใช้เพียง 5 เส้น ดังนั้นจึงยังมีสายไฟที่จะนำมาใช้เป็นสายสำรองได้อีก 3 เส้น ซึ่งครอบคลุมทั้งสายความชื้น 3 เส้น หรือ สายอุณหภูมิซึ่งใช้แค่ 2 เส้น ซึ่งทำให้หมดกังวลเรื่องการเดินสายใหม่ หากว่าสายเกิดความเสียหายขึ้นมา ก็นำสายสำรองทั้ง 3 เส้นมาต่อเชื่อมใหม่ ไม่จำเป็นต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ซึ่งสายสำรองนี้มีครอบคุม-เพียงพอ  (อย่างมากสุด 3 เส้น , อย่างน้อย 2 เส้น แต่มีสำรองไว้ถึง 3 เส้นครบ)

ซึ่งโดยภาพรวมๆ ผมว่าสาย LAN ก็พอใช้ได้นะครับ และเมื่อติดตั้ง VM-80 HT เสร็จแล้ว ก็เริ่มการใช้งานจริง ซึ่ง VM-80 HT สามารถควบคุมความชื้น-อุณหภุมิได้ถูกต้องตามที่ตั้งความหวังไว้ทุกประการ
คือสามารถควบคุมความชื้นและอุณหภุมิได้ในเวลาเดียวกันเลย ไม่ว่าจะเป็นความชื้นลดต่ำลง VM-80 HT จะเปิด Blade เพิ่มความชื้นให้จนถึงระดับที่ต้องการ หรือหากว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น VM-80 HT ก็จะสั่งเปิด Blade Humidifier ชุดเดียวกันนี้แหละ เพื่อลดอุณหภูมิลงมา ทำให้สามารถใช้งาน Blade Humidiifer ได้แบบ 2 in 1 เลย การเดินสายไฟก็ทำได้สะดวก ง่ายกว่าที่หลายคนคิดเอาไว้
 
วันหลังผมจะมาแนะนำ การ Set Parameter ต่างๆ เพื่อให้ VM-80 HT สามารถควบคุม Blade Humidifier ในการเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิ โดยใช้ Blade Humidifier เพียงแค่ชุดเดียวเท่านั้น พร้อมทั้งเทคนิคที่ช่วยให้ไม่ต้องเดินสายไฟยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนแต่สามารถทำให้ Blade สามารถควบคุมได้ทั้งอุณหภูมิและความชื้นได้ในเวลาเดียวกันเลย สะดวกมากครับ
 
ตอนนี้ผมขอสะสางงานที่คั่งค้างมากมายให้ลดลงเสียก่อน และเริ่มมีเวลาว่าง ผมจะทำ Clip สาธิตการใช้งาน ต่างๆอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าตัวแปร สาธิตการรับ Load จาก Blade พร้อมกันทีเดียว 3 ตัว การสาธิตการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในเวลาเดียวกันให้ดูครับ
 
                                                                                  Vuthmail-Thailand
                                                                                           08.12.53