29/9/54

ประสิทธิภาพที่ลดลง

เนื่องจากผมยังบทความอีกหลายบทความที่ต้องการจะเขียนลง Blog แต่ว่ายังติดอยู่ที่ว่ายังทำเรื่อง Cooling Pad ไม่จบ ก็เลยขอว่าเรื่องของ Cooling Pad ต่อเลยนะครับ

อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า Cooling Pad จะทำงานได้ดีจะต้องมีอากาศไหลผ่านเข้าและออก หากว่าอากาศไหลเข้าไม่สะดวก ติดๆขัด ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะด้อยลงไปมาก ดังนั้นต้องหมั่นดูแลอย่าให้ Cooling Pad เสียหาย หรืออุดตัน ซึ่งหากว่าทั้งเสียหายและอุดตันด้วยแล้ว ประสิทธิภาพก็แย่ลงมากเลย

จาก Clip ที่ว่านี้ เราจะเห็นนะครับว่า Cooling Pad สกปรกมาก เกิดการอุดตันที่ Pad ทำให้อากาศไหลเข้าได้น้อย เมื่ออากาศไหลเข้าน้อย หรือไหลเข้าไม่สะดวก ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิ เพิ่มความชื้นของ Cooling Pad ก็ด้อยลงไปถนัดตา ดังนั้นเราจำเป็นต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด ซึ่งอาจจะทำตามใน Clip ของคุณ Zachsoftware ด้วยเครื่องดูดฝุ่น Bullhead Fire (ต้องโฆษณาให้เจ้าของผลิตัณฑ์เค้าหน่อย) ซึ่งต้องขอขอบพระคุณ คุณ Zachsoftware ที่ได้ Upload ไว้บน Youtube





Link ที่มาของ Clip - http://www.youtube.com/watch?v=6sHeyXWgzJo

ปัญหาต่อมาของ Cooling Pad ก็คือการถูกหนูและแมลงสาบกันกิน Pad จนเสียหายเป็นรูกว้าง เนื่องจาก Pad ผลิตมาจาก Cellulose ฟันหนู หรือแมลงสาบกัดกินได้สบายๆ ดังนั้น Cellulose ใน Pad จึงเป็นได้ทั้งแหล่งอาหารและที่หลบซ่อนของหนู,แมลงสาบไปพร้อมกัน ซึ่งหากว่าในบ้านนกของท่านยิ่งมีหนูมาก ก็ยิ่งมีรูหลายรู และสร้างความเสียหายให้กับระบบการควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นภายในบ้านนกมากตามไปด้วย

ต่อมาเรามาลองดูนวตกรรมใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ดีพอประมาณ โดยการเปลี่ยนจาก Cooling Pad ที่เป็น Cellulose มาเป็นพลาสติกดูกันบ้างนะครับ

ปัญหาเรื่องของการอุดตัน จะแก้ไขได้สะอาดกว่ามาก ทำไมผมถึงพูดว่าสะอาดกว่ามาก เรามาดูกันใน Clip ตัวนี้ครับ จะเห็นได้เลยว่าทำความสะอาดได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า และ ที่สำคัญคือสะอาดมาก



Link อ้างอิง - http://www.youtube.com/watch?v=T9XsR_y6cks&feature=mfu_in_order&list=UL





Link อ้างอิง - http://www.youtube.com/watch?v=LRlqqWBXVpM

ต้องขอขอบพระคุณ คุณชนินทร์ ทับทอง สำหรับ Clip ทั้ง 2 ตัวนี้ด้วยครับ


สำหรับ VDO ด้านล่างนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง Pad ที่ทำจากพลาสติก จะทนต่อแรงอัดของน้ำแรงดันสูงๆได้ ซึ่งหากว่าเป็น Pad ที่ทำจาก Cellulose จะทนแรงดันของน้ำที่พ่นออกมาได้น้อยกว่าหรือไม่ได้เลย

หลายคนหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ามี Pad ที่ทำจากพลาสติก ผมจึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ใน Blog บ้านนกเป็นคนแรกนะครับ เพราะดูแล้วยังไม่มี Blog ไหนได้หยิบยกขึ้นมานำเสนออย่างเป็นทางการ แม้กระทั่ง Blog ของมาเลเซียเองก็ยังไม่มีการกล่าวถึง ผมจึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับหลายๆคนหลายๆท่าน จึงได้ติดต่อกับคุณชนินทร์ เจ้าของ Clip เพื่อขออนุญาตินำ Clip ทั้ง 2 ตัวมาลงใน Blog อย่างถูกต้องเมื่อราวๆ 1 เดือนก่อนหน้า และวันนี้ที่นำ Clip มาลงในบทความ ผมก็ได้โทรบอกกล่าวเพิ่มเติมอีกครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สบายใจได้ครับ

และจากการที่ได้พูดคุยกับคุณชนินทร์ ทำให้ทราบว่า Cooling Pad ที่ผลิตจากพลาสติกนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างก็คือ หนูกับแมลงสาบไม่ค่อยชอบกัดกินเท่าไหร่ เพราะว่าคงจะไม่ค่อยเอร็ดอร่อยกระมั่ง ถึงแม้ว่าจะมีรอยกัดเป็นแผล ก็จะเป็นเพียงแผลตื้นๆไม่ถึงกับทะลุ จึงสร้างความเสียหายไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และ Pad พลาสติกของคุณชนินทร์สามารถทำความสะอาดได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ Pad แต่อย่างไร

เป็นธรรมดาของโลกนะครับ เมื่อมีข้อดีบางอย่างก็จะมาพร้อมกับข้อด้อยบางประการ ซึ่ง Pad พลาสติกก็เช่นกัน เมื่อมีข้อดี ก็จะต้องตามมาด้วยข้อด้อยบางประการ ที่ข้อด้อยตัวนี้จะกลับกลายเป็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งผมกำลังจะกล่าวถึง ก็คือการให้ความชื้นของ Pad พลาสติกเมื่อเทียบกับ Pad ที่ทำจาก Cellulose แล้วจะให้ความชื้นต่ำกว่าประมาณ 5-7 Rh% โดยเฉลี่ย (ตามปกติแล้ว Pad ที่ผลิตจาก Cellulous จะสร้างความชื้นได้สูงมากถึง 92 Rh% )  ดังนั้นหากว่าดูจากตัวเลข 92 Rh% และค่าเฉลี่ยที่ Pad พลาสติกทำความชื้นได้น้อยกว่า 5-7 Rh%  ซึ่งตัวเลขตั้ง 2 ชุดนี้กำลังจะก่อให้เกิดตัวเลขใหม่ที่น่าสนใจมากก็คือ ในขณะที่ความชื้นของ Pad Cellulose ให้ความชื้นอยู่ที่ระดับ 92 Rh% แต่ว่า Pad พลาสติกจะให้ความชื้นในช่วง 75-85 Rh%  ซึ่งเป็นความชื้นที่นกแอ่นชื่นชอบพอดี

ระดับความชื้นจาก Pad Cellulose ที่ระดับ 92 Rh% หรือมากกว่าเล็กน้อย จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกชื้นสูงมาก เมื่อมีฝนตกหนัก ตกต่อเนื่องบ่อยๆ ในช่วงฤดูฝนนี่เองเราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ความชื้นของ Pad Cellulose สูงเกินไป จนทำให้ไม้ Plank เกิดราได้ แต่หากว่าเป็น Pad พลาสติกข้อด้อยเรื่อง 5-7 Rh%  นี้เองที่จะไปช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เกิดราบนไม้ Plank ได้ โดยส่วนตัวผมมอง Pad พลาสติกจะเริ่มเข้ามามีบทบาทด้วยเงื่อนไขนี้ และ เมื่อราคาสมเหตุสมผลกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ราคายังสูงมากเมื่อเทียบกับ Pad Cellulose

ทำผมการบ้านเรื่อง Cooling Pad มาสักพักใหญ่แล้ว ได้นำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ให้เพื่อนๆที่ติดตามอ่าน Blog ได้รับรู้รับทราบมาพอประมาณแล้วครับ ยังขาดแต่เรื่องเทคนิคบางอย่าง  จึงขอยกไปนำเสนอในบทความต่อๆไปในอนาคตอันใกล้นี้

                                                                                  Vuthmail-Thailand
                                                                                          29.09.54                                                   

3 ความคิดเห็น:

surachart กล่าวว่า...

การใช้ cooling pad ในบ้านรังนกนั้น ต่างจากการใช้ในปศุสัตว์อื่นๆตรงที่ เป็นการใช้ภายในบ้าน การเกิดสิ่งอุดตันต่างๆดัง clip เท่าที่ผมใช้มา ระยะเวลา 5 ปียังไม่มีตัวไหนเลยที่มีคราบอุดตันหรือต้องทำการบำรุงรักษา ครับ

ส่วน หนู แมลงสาป ที่กัดกินหรือทำรัง จากประสพการณ์ยังไม่เคยเกิดกับ cooling pad ที่เปิดใช้งาน
*กรณีสัตว์กัดแทะพบใน cooling pad ที่ซื้อเก็บไว้ครับ

cooling pad ชนิด พลาสติกนอกจากราคาแพงแล้ว ความชื้นจะตกลงเร็วกว่า ชนิดเยื่อกระดาษมากครับ ถ้าปั๊มน้ำหยุดทำงานพลาสติกก็จะแห้งทำให้ลมที่ผ่านเข้ามาโดยครง ต่างกับเยื่อกระดาษที่แม้ปิดปั๊มก็ยังคงอุ้มน้ำอยู่

Chanin Tubthong กล่าวว่า...

จากการวัดจริงโดยนำ Cooling Pad พลาสติค 1 แผ่นมาฉีดน้ำแล้วทิ้งไว้ 15 นาที กะประมาณว่าให้นำไหลลงให้หมด เมื่อนำขึ้นบนตาช่างพบว่า น้ำหนักของแผ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนฉีดน้ำประมาณ 5.5 kg แสดงว่า มีน้ำค้างอยู่ข้างในประมาณ 5.5-6 ลิตร ทั้งนี้เนื่องจากว่าด้านในของแผงนั้นออกแบบมาให้เป็น pocket เก็บน้ำที่มีขนาดเล็กๆ ดังนั้นจึงตอบปัญหาและข้อสงสัยว่าที่ว่า Plastic padสามารถอุ้มน้ำได้อย่างไรได้เป็นอย่างดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับผมกำลังสร้างพัดลมไอเย็นของตัวเองอยู่พอดีครับ