7/9/54

ลักษณะของ Cooling Pad ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวเรื่องราวของ Cooling Pad นั้นยังไม่มี Blog ไหนที่นำเสนอการเจาะลึกในเชิงวิชาการ หรือข้อมูลที่สำคัญๆ ซึ่งคนที่ต้องการใช้ระบบ Cooling Pad จำเป็นต้องรับรู้รับทราบและใช้เป็นแนวทางในการหา Cooling Pad ที่เหมาะสมตรงกับความต้องการที่จะใช้ 

เอาเป็นว่าผมจะเป็นคนแรกที่นำเรืองราวเหล่านี้มานำเสนอในทางวิชาการ ให้กับคนที่ติดตามอ่าน Blog ของผม

การเลือกซื้อ Coolling Pad มีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้

   1.-ความหนาของ Pad ...โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีความหนา 4 นิ้ว กับ 6 นิ้ว  การเลือกซื้อ Cooling Pad เพื่อการเน้นประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิจะต้องเลือก Pad ที่มีความหนากว่าหรือ Pad หนา 6 นิ้วเป็นเกณฑ์ เนื่องจาก ความหนา 6 นิ้ว เมื่อเทียบกับ Pad 4 นิ้ว จะมีความหนาเพิ่มขึ้น 2 นิ้วหรือเท่ากับ 50% ( ความหนาที่เพิ่มขึ้นอีก 2 นิ้ว จะเท่ากับ 50% ของ Pad หนา 4 นิ้ว)  การดูดซับน้ำก็จะมากขึ้นกว่าเดิมอีก 50% , พื้นที่หน้าสัมผัสของอากาศกับความชื้นก็จะมากขึ้นอีก 50% ; ระยะทางที่อากาศต้องไหลผ่านมากขึ้นอีก 50%   ดังนั้นเมื่ออากาศไหลผ่าน Pad ก็จะใช้เวลามากขึ้น ความร้อนก็จะถูกถ่ายเทออกไปได้มาก อุณหภูมิก็จะลดลงได้ค่อนข้างมากและความชื้นก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

หากว่าเราจะเปรียเทียประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิกับความชื้นที่ได้รับ  ประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิของ Pad หนา 6 นิ้วจะทำได้ดีกว่า Pad หนา 4 นิ้ว แต่หากเปรียบเทียบกันในแง่ของความชื้นแล้ว Pad ความหนา 6 นิ้ว กับ Pad หนา 4 นิ้ว ความชื้นที่เพิ่มขึ้นมาจะเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย แตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่  ดังนั้นหากว่าต้องการเน้นประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิต้องเลือก Pad หนาๆไว้ก่อนครับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ Pad มีความหนามากขึ้น 8 นิ้ว ทำให้ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิยิ่งมากขึ้น แต่ราคาก็เดินเป็นเงาตามตัวไปด้วยเช่นกัน

 
   2.-เลือกที่ความหนาแน่น Pad ซึ่งจะใช้การเปรียบเทียบเป็นน้ำหนัก เช่น 2.2 กิโล 2 กิโล 1.8 กิโล
        เนื่องจาก Pad เป็นสิ่งที่ผลิตจาก Cellulose ซึ่งจะต้องสามารถดูดซับน้ำได้ดี ดังนั้นยิ่ง Pad มีความหนาแน่นมาก ก็จะทำให้มีการดูดซับน้ำได้มาก สร้างความชื้นใน Pad ได้มาก ซึ่งความชื้นภายใน Pad ที่มีมากขึ้นกว่าเดิมนี้ ก็จะมีผลทำให้จะได้รับประสิทธิผลของการลดอุณหภูมิที่มากกว่า มีผลทำให้สามารถสร้างสภาพภายในบ้านนกที่ "เย็นกว่า" การเลือกใช้ Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย

        ในกรณีที่จะใช้ Cooling Pad ท่านผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจสอบด้วยตัวเองว่า Pad ที่ต้องการจะซื้อนั้นเป็น Pad ที่ว่าน้ำหนักเท่าไหร่  อย่าเพิ่งเน้นเรื่องราคามากจนเกินไป  เดี๋ยวจะโดน........  การตกลงซื้อขายจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการ Pad แบบน้ำหนัก 2.2 กิโล , 2 กิโลหรือ 1.8 กิโล หากว่าไม่ระบุให้ชัดเจนท่านอาจจะได้ Pad ที่มีน้ำหนัก 1.8 กิโลมาแทน ซึ่งเราๆท่านๆอาจจะไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน คิดว่า Cooling Pad ก็คือ Cooling Pad มีแบบเดียว ไม่ได้สนใจเรื่องของความหนา น้ำหนัก ความหนาแน่น ตกลงใจที่จะซื้อโดยที่คิดว่าเหมือนกันหมด  ซึ่งที่จริงแล้วเป็นอย่างที่ผมได้กล่าวมาให้ฟังแล้วนะครับ คือจะต้องคำนึงถึงความหนา น้ำหนัก(ความหนาแน่น) ซึ่งทำให้ราคามีความแตกต่างตามไปด้วย ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ Cooling Pad จะต้องระบุให้ชัดเจนทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน

         ส่วน Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย 1.8 กิโล จะมีราคาถูกกว่า เพราะใช้วัสดุน้อยกว่านั้นเอง ส่วนประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิก็ด้อยลงไปตามส่วน ซึ่ง Pad ที่มีน้ำหนักเพียงแค่ 1.8 กิโล ผมแนะนำให้เลือกใช้ในกรณีที่น้ำซึ่งไหลผ่าน Pad เป็นน้ำที่มีคุณาพต่ำ เป็นตะกรัน มีเศษฝุ่นผงมาก น้ำบาดาล ซึ่งน้ำในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ Pad เกิดการอุดตันเร็ว ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิเสื่อมลงอย่างรวดเร็วตามระยะเวลาและปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน Pad  การเลือกใช้ Pad ที่น้ำหนักน้อยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ Pad น้ำหนักมาก มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า




        






















   3.-การเลือกมุมเอียงของ Pad  เนื่องจาก Pad จะมี 2 ลักษณะคือ
         3.1.- มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา เท่ากัน
         3.2 - มุมเอียงน้อยกว่า 45 องศา + 45 องศา
หลายๆท่านอาจจะไม่เคยทราบ-ไม่เคยสังเกตุ มากก่อนว่า Pad มุมเอียงแตกต่างกัน มุมที่ว่านี้หมายถึง มุมเอียงที่ให้ไหลอากาศเข้า และ มุมเอียงที่ให้อากาศไหลออก ดังนั้นมุมเอียงจึงมี 2 มุม

    - มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา จะเป็น Pad ที่มีมุมเอียงให้อากาศไหลเข้ากับมุมเอียงให้อากาศไหลออกเท่ากันคือเอียง 45 องศา ซึ่ง Pad ที่มีมุมเอียงเข้ากับออกเท่ากันนั้นจะสามารถผลิตได้ง่ายกว่า เพราะว่าใช้ Pad เพียง Pattern เดียว ทำได้ง่าย ขบวนการผลิตไม่ยุ่งยาก เสียเศษน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่า (ผลิตได้เร็วกว่าในเวลาที่เท่ากัน) แต่ว่าประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิด้อยกว่าการเลือกใช้มุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา +  45 องศา

    - มุมเอียงมุมเอียงที่น้อย 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศา ผมกล้าที่จะกล่าวได้ว่า มีหลายๆคนที่ใช้ Cooling Pad อาจจะไม่ทราบว่ามุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศาต่างกันอย่างไร และจะเลือกมุมไหนให้เป็นด้านนอก (ให้อากาศไหลผ่านเข้ามา) และมุมเอียงไหนเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกไปสู่ในบ้าน  หลายท่านหลายคนคงจะเริ่มมีอาการงงกันบ้างแล้วซิครับ แต่ใจเย็นๆนะครับ ผมจะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด

      การเลือกมุมเอียงใดให้เป็นทางให้อากาศไหลเข้ามา กับมุมเอียงใดเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกสู่ตัวบ้าน  การเลือกมุมเอียงที่ไม่ถูกต้องจะมีผลที่ทำให้เกิดความต่างศักดิ์ของแรงกดอากาศระหว่างภายในบ้านนกกับภายนอก ความกดอากาศที่เกิดจากการหันมุมเอียงผิดด้านย่อมส่งผลต่อการทำงานของพัดลมดูดอากาศแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมดูดอากาศด้อยลงไป ทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมทั้งส่งผลต่อการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านนก และอากาศที่ไหลผ่าน Pad  เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับที่ได้กล่าวไว้แล้ว  ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลึก ต้องใช้เวลาในการอธิบายกันอีกมาก เอาไว้ติดตามอ่านกันต่อนะครับ เนื่องจากผมใช้เวลาในการเขียนบทความนี้ค่อนข้างมาก และยังมีงานที่ต้องสะสางค้างอยู่ ซึ่งจำเป็นใช้เวลาในการสะสางงานที่คั่งค้างมากพอสมควร ผมจึงขออนุญาติพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน  บทความดีๆ ต้องใช้สมาธิในการเขียนและเรียบเรียงกันมากพอสมควร

      โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ  ( 555 เหมือนหนัง Series ที่ชอบจบตอนสำคัญๆอยู่เรื่อย)

                                                                                                        สวัสดีครับ
                                                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                                                           07.09.54



7 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หาอ่านภาคต่อได้ที่ไหนค่ะ พอดีจะทำโปรเจคที่ต้องเลือกใช้ แผ่นรังผึ้ง

Unknown กล่าวว่า...

ลองติดตามอ่านในบทความเก่า ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ

http://vuthmail-swiftlet.blogspot.com/2011/09/pad.html


http://vuthmail-swiftlet.blogspot.com/2011/08/cooling-pad-vm80.html


http://vuthmail-swiftlet.blogspot.com/2011/09/blog-post.html

ซึ่งจะมีเรื่องของ Pad ที่ผลิตจาก Cellulose และ Pad ที่ผลิตจาก Plastic ด้วยนะครับ

ไม่ทราบว่าทำ Project แบบไหนครับ หากว่าช่วยได้ก็ช่วยหาข้อมูลให้นะครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้อง ศึกษา ร่วมกับ Cooling Pad ก็คือการหาก Air Change นะครับ ซึ่งก็มีบทความอยู่เช่นกันเป็นพื้นฐานได้พอสมควรครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คือโปรเจคจะสร้างโรงเรือนระบบEVAP เพื่อทดสอบอุปกรณ์
ตอนนี้ปัญาหามีอยู่ว่า
การเลือกใช้แผ่นรังผึง คือ ว่าควรใช้ขนาดเท่าไหร่ เห็นบางโรงเรือนบางโรงเรือนก็ติดเต็มผนัง บางโรงเรือนติดและใช้เพียงครึ่งล่างหรือครึ่งบนของผนัง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

pad ควรมีขนาดเท่าไหร่ มีผลหรือสัมพันธ์กับโรงเรือนอย่างไร

Unknown กล่าวว่า...

อย่างที่ผมบอกครับ มันสัมพันธ์กับเรื่อง Air Change ครับ เพราะว่ายิ่งต้องการ Air change หลายรอบเราจำเป็นต้องใช้ Pad ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ หากว่าเราต้องการ Air change น้อยเราก็อาจจะให้ Pad ขนาดเล็กลงได้นะครับ

อย่างในตึกนกต้องการ Air change 3 รอบต่อชั่วโมง หากว่าต้องการเพิ่มเป็น 12 รอบต่อชั่วโมงเหมือนใน Office เราจำเป็นต้องใช้ Pad เพิ่มมากขึ้นเป็น 4 เท่าตัวของเดิม

ผมว่าปัญหาของคุณน้องน่าจะอยุ่ที่ว่าไม่แน่ใจว่าจะใช้ Air Change ที่เท่าไหร่ กี่ครั้งต่อชั่วโมง จึงจะมีความเหมาะสมกับโครงงานที่ทำ

Vuthmail กล่าวว่า...

http://www.eng.su.ac.th/me/elearning/AirConditioning/airchapter4s2.pdf


http://www.encotrad.com/upload/images/Document/AIR%20POLLUTION%20CONTROL%20SYSTEM%20GUIDE%20%20BOOK%20%20%20PART%201.pdf

คุณน้องครับ ลองไปหาความรู้เพิ่มเติม จาก Web เหล่านี้ดูนะครับ เพื่อว่าจะใช้ในการหาข้อมูลเชิงลึก ต่อยอดความรู้เองได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก