อย่างที่ได้กล่าวเรื่องราวของ Cooling Pad นั้นยังไม่มี Blog ไหนที่นำเสนอการเจาะลึกในเชิงวิชาการ หรือข้อมูลที่สำคัญๆ ซึ่งคนที่ต้องการใช้ระบบ Cooling Pad จำเป็นต้องรับรู้รับทราบและใช้เป็นแนวทางในการหา Cooling Pad ที่เหมาะสมตรงกับความต้องการที่จะใช้
เอาเป็นว่าผมจะเป็นคนแรกที่นำเรืองราวเหล่านี้มานำเสนอในทางวิชาการ ให้กับคนที่ติดตามอ่าน Blog ของผม
การเลือกซื้อ Coolling Pad มีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1.-ความหนาของ Pad ...โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีความหนา 4 นิ้ว กับ 6 นิ้ว การเลือกซื้อ Cooling Pad เพื่อการเน้นประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิจะต้องเลือก Pad ที่มีความหนากว่าหรือ Pad หนา 6 นิ้วเป็นเกณฑ์ เนื่องจาก ความหนา 6 นิ้ว เมื่อเทียบกับ Pad 4 นิ้ว จะมีความหนาเพิ่มขึ้น 2 นิ้วหรือเท่ากับ 50% ( ความหนาที่เพิ่มขึ้นอีก 2 นิ้ว จะเท่ากับ 50% ของ Pad หนา 4 นิ้ว) การดูดซับน้ำก็จะมากขึ้นกว่าเดิมอีก 50% , พื้นที่หน้าสัมผัสของอากาศกับความชื้นก็จะมากขึ้นอีก 50% ; ระยะทางที่อากาศต้องไหลผ่านมากขึ้นอีก 50% ดังนั้นเมื่ออากาศไหลผ่าน Pad ก็จะใช้เวลามากขึ้น ความร้อนก็จะถูกถ่ายเทออกไปได้มาก อุณหภูมิก็จะลดลงได้ค่อนข้างมากและความชื้นก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
หากว่าเราจะเปรียเทียประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิกับความชื้นที่ได้รับ ประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิของ Pad หนา 6 นิ้วจะทำได้ดีกว่า Pad หนา 4 นิ้ว แต่หากเปรียบเทียบกันในแง่ของความชื้นแล้ว Pad ความหนา 6 นิ้ว กับ Pad หนา 4 นิ้ว ความชื้นที่เพิ่มขึ้นมาจะเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย แตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่ ดังนั้นหากว่าต้องการเน้นประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิต้องเลือก Pad หนาๆไว้ก่อนครับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ Pad มีความหนามากขึ้น 8 นิ้ว ทำให้ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิยิ่งมากขึ้น แต่ราคาก็เดินเป็นเงาตามตัวไปด้วยเช่นกัน
2.-เลือกที่ความหนาแน่น Pad ซึ่งจะใช้การเปรียบเทียบเป็นน้ำหนัก เช่น 2.2 กิโล 2 กิโล 1.8 กิโล
เนื่องจาก Pad เป็นสิ่งที่ผลิตจาก Cellulose ซึ่งจะต้องสามารถดูดซับน้ำได้ดี ดังนั้นยิ่ง Pad มีความหนาแน่นมาก ก็จะทำให้มีการดูดซับน้ำได้มาก สร้างความชื้นใน Pad ได้มาก ซึ่งความชื้นภายใน Pad ที่มีมากขึ้นกว่าเดิมนี้ ก็จะมีผลทำให้จะได้รับประสิทธิผลของการลดอุณหภูมิที่มากกว่า มีผลทำให้สามารถสร้างสภาพภายในบ้านนกที่ "เย็นกว่า" การเลือกใช้ Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย
ในกรณีที่จะใช้ Cooling Pad ท่านผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจสอบด้วยตัวเองว่า Pad ที่ต้องการจะซื้อนั้นเป็น Pad ที่ว่าน้ำหนักเท่าไหร่ อย่าเพิ่งเน้นเรื่องราคามากจนเกินไป เดี๋ยวจะโดน........ การตกลงซื้อขายจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการ Pad แบบน้ำหนัก 2.2 กิโล , 2 กิโลหรือ 1.8 กิโล หากว่าไม่ระบุให้ชัดเจนท่านอาจจะได้ Pad ที่มีน้ำหนัก 1.8 กิโลมาแทน ซึ่งเราๆท่านๆอาจจะไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อน คิดว่า Cooling Pad ก็คือ Cooling Pad มีแบบเดียว ไม่ได้สนใจเรื่องของความหนา น้ำหนัก ความหนาแน่น ตกลงใจที่จะซื้อโดยที่คิดว่าเหมือนกันหมด ซึ่งที่จริงแล้วเป็นอย่างที่ผมได้กล่าวมาให้ฟังแล้วนะครับ คือจะต้องคำนึงถึงความหนา น้ำหนัก(ความหนาแน่น) ซึ่งทำให้ราคามีความแตกต่างตามไปด้วย ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ Cooling Pad จะต้องระบุให้ชัดเจนทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน
ส่วน Pad ที่มีความหนาแน่นน้อย 1.8 กิโล จะมีราคาถูกกว่า เพราะใช้วัสดุน้อยกว่านั้นเอง ส่วนประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิก็ด้อยลงไปตามส่วน ซึ่ง Pad ที่มีน้ำหนักเพียงแค่ 1.8 กิโล ผมแนะนำให้เลือกใช้ในกรณีที่น้ำซึ่งไหลผ่าน Pad เป็นน้ำที่มีคุณาพต่ำ เป็นตะกรัน มีเศษฝุ่นผงมาก น้ำบาดาล ซึ่งน้ำในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ Pad เกิดการอุดตันเร็ว ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิเสื่อมลงอย่างรวดเร็วตามระยะเวลาและปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน Pad การเลือกใช้ Pad ที่น้ำหนักน้อยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ Pad น้ำหนักมาก มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า
3.-การเลือกมุมเอียงของ Pad เนื่องจาก Pad จะมี 2 ลักษณะคือ
3.1.- มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา เท่ากัน
3.2 - มุมเอียงน้อยกว่า 45 องศา + 45 องศา
หลายๆท่านอาจจะไม่เคยทราบ-ไม่เคยสังเกตุ มากก่อนว่า Pad มุมเอียงแตกต่างกัน มุมที่ว่านี้หมายถึง มุมเอียงที่ให้ไหลอากาศเข้า และ มุมเอียงที่ให้อากาศไหลออก ดังนั้นมุมเอียงจึงมี 2 มุม
- มุมเอียง 45 องศา + 45 องศา จะเป็น Pad ที่มีมุมเอียงให้อากาศไหลเข้ากับมุมเอียงให้อากาศไหลออกเท่ากันคือเอียง 45 องศา ซึ่ง Pad ที่มีมุมเอียงเข้ากับออกเท่ากันนั้นจะสามารถผลิตได้ง่ายกว่า เพราะว่าใช้ Pad เพียง Pattern เดียว ทำได้ง่าย ขบวนการผลิตไม่ยุ่งยาก เสียเศษน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่า (ผลิตได้เร็วกว่าในเวลาที่เท่ากัน) แต่ว่าประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิด้อยกว่าการเลือกใช้มุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา + 45 องศา
- มุมเอียงมุมเอียงที่น้อย 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศา ผมกล้าที่จะกล่าวได้ว่า มีหลายๆคนที่ใช้ Cooling Pad อาจจะไม่ทราบว่ามุมเอียงที่น้อยกว่า 45 องศา กับมุมเอียง 45 องศาต่างกันอย่างไร และจะเลือกมุมไหนให้เป็นด้านนอก (ให้อากาศไหลผ่านเข้ามา) และมุมเอียงไหนเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกไปสู่ในบ้าน หลายท่านหลายคนคงจะเริ่มมีอาการงงกันบ้างแล้วซิครับ แต่ใจเย็นๆนะครับ ผมจะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด
การเลือกมุมเอียงใดให้เป็นทางให้อากาศไหลเข้ามา กับมุมเอียงใดเป็นมุมเอียงให้อากาศไหลออกสู่ตัวบ้าน การเลือกมุมเอียงที่ไม่ถูกต้องจะมีผลที่ทำให้เกิดความต่างศักดิ์ของแรงกดอากาศระหว่างภายในบ้านนกกับภายนอก ความกดอากาศที่เกิดจากการหันมุมเอียงผิดด้านย่อมส่งผลต่อการทำงานของพัดลมดูดอากาศแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมดูดอากาศด้อยลงไป ทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมทั้งส่งผลต่อการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านนก และอากาศที่ไหลผ่าน Pad เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับที่ได้กล่าวไว้แล้ว ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลึก ต้องใช้เวลาในการอธิบายกันอีกมาก เอาไว้ติดตามอ่านกันต่อนะครับ เนื่องจากผมใช้เวลาในการเขียนบทความนี้ค่อนข้างมาก และยังมีงานที่ต้องสะสางค้างอยู่ ซึ่งจำเป็นใช้เวลาในการสะสางงานที่คั่งค้างมากพอสมควร ผมจึงขออนุญาติพักไว้เพียงเท่านี้ก่อน บทความดีๆ ต้องใช้สมาธิในการเขียนและเรียบเรียงกันมากพอสมควร
โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ ( 555 เหมือนหนัง Series ที่ชอบจบตอนสำคัญๆอยู่เรื่อย)
สวัสดีครับ
Vuthmail-Thailand
07.09.54