เนื่องจากว่าผมจะต้องยุ่งเรื่องเอกสารต่างๆมากมาย ทุกต้นเดือนไปจนถึงวันที่ 15 ของทุกเดือน ผมจึงไม่ค่อยมีเวลาว่าง ซึ่งจะเริ่มมีเวลาว่างก็ช่วงหลังวันที่ 15 ของทุกๆเดือน ซึ่งหากว่าผมมีเวลาว่างว่าผมเองก็ได้พยายามแบ่งเวลาไปหาความรู้ด้านต่างๆเพิ่มเติม และนำความรู้ทั้งเก่าทั้งใหม่มานำเสนอผ่าน Blog ที่เขียน เพียงเพื่อหวังใจไว้ว่าความรู้ต่างๆจะผมนำเสนอไปนี้จะเป็นประโยชน์กันคนอื่นๆ ที่ยังอาจจะยังไม่ทราบ ไม่เข้าใจเรื่องบางเรื่อง อย่างบางสิ่งบางอย่างที่ยังเป็นปริศนาอยู่ เพื่อให้มีความเข้าใจที่มากขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม
วันเวลาใกล้จะสิ้นเดือน 05/53 และเริ่มต้นเดือนใหม่ใกล้มาถึงแล้ว ซึ่งผมเองก็จะต้องเริ่มยุ่งกับเอกสารต่างๆเหมือนอย่างที่ผ่านมา ซึ่งผมเกรงว่าจะไม่มีเวลาในการส่ง Mail ให้ ดังนั้นเรื่องโปรแกรมการคำนวณ AirChange จึงขออนุญาติเพื่อนๆให้ไป Download กันตามสะดวกที่ Link นี้จะครับ
http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html
Enjoy it
Vuthmail-Thailand
31.05.53
Swiftlet Ranching-เรื่องของนกแอ่นในสไตล์ของ Vuthmail-Thailand บุญใด กุศลใด ที่ได้-ที่เกิดจากการอ่าน Blog นี้ ซึ่งทำให้ท่านมีความเข้าใจที่ดีขึ้น ลึกซึ้งขึ้นและเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านมากขึ้น ; บุญนั้น กุศลนั้น ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว-ขอมอบอุทิศให้แก่บิดา นาย เสริมศักดิ์ สุรินทร์รัฐ ผู้วายชนม์ และคุณแม่สำอางค์ แซ่ปึง ผู้ให้กำเนิด พร้อมญาติพี่น้องทุกคน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผมทุกๆท่าน ด้วยเถิด สาธุ ท่านที่ต้องการพูดคุยกับผม ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-318-1361
31/5/53
26/5/53
ฤดูกาลเคลื่อนเพราะว่าเป็นปี อธิกมาส
ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกหนังสือ "อากาศร้อนทีี่สุดในทศวรรษ (ค.ศ. 2000-2010) ของประเทศไทย" หากว่าเพื่อนๆสนใจก็ Link ไปอ่านดูได้ที่
http://www.tmd.go.th/programs/uploads/weatherclimate/อากาศร้อนที่สุดในทศวรรษ.pdf
ในปี 2553 นี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไปเพราะว่าเป็นปี "อธิกมาส" ตามปฏิทินจันทรคติหรือเป็นปีที่มีเดือน 8 จำนวน 2 ครั้งทำให้ร้อนผิดปกติ และก็ยาวนานขึ้นกว่าเดิม
การสถิติที่จดของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงออกมาเป็นเส้นกร๊าฟ ผมอยากให้เพื่อนๆติดตามดูเส้นกร๊าฟสีดำ ซึ่งเป็นอุณหภุมิของปี 2553 นะครับ เส้นกร๊าฟปี 2553 นี้พุ่งชันขึ้นมาก แสดงว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่มากกว่าปกติที่ควรจะทำให้เส้นกร๊าฟมีความชันมากกว่า 2 เส้นที่เหลืออยู่ เป็นการ Confirm ว่าอุณหภูมิพุ่งขึ้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น
และหากว่าเราดูกันในเดือน 5 ของ เส้นกร๊าฟที่เหลือ ก็จะเห็นแนวโน้มว่าเส้นกร๊าฟจะทิ้งหัวลด ซึ่งอุณหภูมิจะควรที่จะเริ่มลดลงได้ในเดือน 5 และเดือนต่อๆไปยิ่งจะลดลงและชัดเจนมากขึ้น แต่ในปี 2553 ผมคาดว่าอุณหภุมิในเดือน 6 คงไม่ยังไม่ต่ำกว่า เส้นแดง(ปี 2541) สักเท่าไหร่ครับ
จากข้อมูลตรงนี้ทำให้ผมมองต่อไปอีกว่า ในเดือน 5 ถึงต้นเดือน 6 เราจะยังไม่เห็นลูกนกแอ่นรุ่นใหม่ออกมาบินกันมากๆ อย่างที่ผ่านเคยตากันมา แต่น่าจะเริ่มเห็นนกกันมากๆราวช่วงปลายเดือน 6 เสียมากกว่า เพราะว่าในเดือน 5 ทั้งเดือนนี้อุณหภูมิจะยังไม่ลดลงมาก ทำให้อากาศยังไม่เหมาะสมกับที่นกรุ่นใหม่ๆจะออกมาสักเท่าไหร่ครับ
และผมคาดการณ์ว่า ผ่านกลางเดือน 6 จึงจะเริ่มเข้าหน้าฝนอย่างจริงๆจัง และสิ้นสุดหน้าฝนราวเดือนปลายตุลาคมเลยครับ อันนี้เป็นการคาดการณ์ของผมเองนะครับ ซึ่งต้องดูกันไปว่า หมอดูจะแม่นหรือปล่าว 5555
กลางเดือน 6 เราจะเริ่มต้อนรับ หน้าฝน อันเป็นฤดูที่บางคน บางท่านไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่คนที่ทำบ้านนกอย่างผม และเพื่อนๆส่วนใหญ่ได้เฝ้ารอคอยฤดูนี้กันมาทั้งปี ซึ่งฤดูฝนนี้เป็นฤดูที่จะมีนกมาก เป็นฤดูที่ทั้งนก ทั้งคนทำบ้านนก คักคัก สนุกสนานมากที่ ได้เฝ้าดูบ้านนกของตัวเองอย่างมีความสุข คนอื่นๆไม่รู้คิดอย่างไร แต่ว่าตั้งแต่ผมเริ่มศึกษาการทำบ้านนกมา ผมรักหน้าฝนมากที่สุดและอยากให้เป็นฤดูทั้งปีเลยครับ 5555
Vuthmail-Thailand
26.05.53
http://www.tmd.go.th/programs/uploads/weatherclimate/อากาศร้อนที่สุดในทศวรรษ.pdf
ในปี 2553 นี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไปเพราะว่าเป็นปี "อธิกมาส" ตามปฏิทินจันทรคติหรือเป็นปีที่มีเดือน 8 จำนวน 2 ครั้งทำให้ร้อนผิดปกติ และก็ยาวนานขึ้นกว่าเดิม
การสถิติที่จดของกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงออกมาเป็นเส้นกร๊าฟ ผมอยากให้เพื่อนๆติดตามดูเส้นกร๊าฟสีดำ ซึ่งเป็นอุณหภุมิของปี 2553 นะครับ เส้นกร๊าฟปี 2553 นี้พุ่งชันขึ้นมาก แสดงว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่มากกว่าปกติที่ควรจะทำให้เส้นกร๊าฟมีความชันมากกว่า 2 เส้นที่เหลืออยู่ เป็นการ Confirm ว่าอุณหภูมิพุ่งขึ้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น
และหากว่าเราดูกันในเดือน 5 ของ เส้นกร๊าฟที่เหลือ ก็จะเห็นแนวโน้มว่าเส้นกร๊าฟจะทิ้งหัวลด ซึ่งอุณหภูมิจะควรที่จะเริ่มลดลงได้ในเดือน 5 และเดือนต่อๆไปยิ่งจะลดลงและชัดเจนมากขึ้น แต่ในปี 2553 ผมคาดว่าอุณหภุมิในเดือน 6 คงไม่ยังไม่ต่ำกว่า เส้นแดง(ปี 2541) สักเท่าไหร่ครับ
จากข้อมูลตรงนี้ทำให้ผมมองต่อไปอีกว่า ในเดือน 5 ถึงต้นเดือน 6 เราจะยังไม่เห็นลูกนกแอ่นรุ่นใหม่ออกมาบินกันมากๆ อย่างที่ผ่านเคยตากันมา แต่น่าจะเริ่มเห็นนกกันมากๆราวช่วงปลายเดือน 6 เสียมากกว่า เพราะว่าในเดือน 5 ทั้งเดือนนี้อุณหภูมิจะยังไม่ลดลงมาก ทำให้อากาศยังไม่เหมาะสมกับที่นกรุ่นใหม่ๆจะออกมาสักเท่าไหร่ครับ
และผมคาดการณ์ว่า ผ่านกลางเดือน 6 จึงจะเริ่มเข้าหน้าฝนอย่างจริงๆจัง และสิ้นสุดหน้าฝนราวเดือนปลายตุลาคมเลยครับ อันนี้เป็นการคาดการณ์ของผมเองนะครับ ซึ่งต้องดูกันไปว่า หมอดูจะแม่นหรือปล่าว 5555
กลางเดือน 6 เราจะเริ่มต้อนรับ หน้าฝน อันเป็นฤดูที่บางคน บางท่านไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่คนที่ทำบ้านนกอย่างผม และเพื่อนๆส่วนใหญ่ได้เฝ้ารอคอยฤดูนี้กันมาทั้งปี ซึ่งฤดูฝนนี้เป็นฤดูที่จะมีนกมาก เป็นฤดูที่ทั้งนก ทั้งคนทำบ้านนก คักคัก สนุกสนานมากที่ ได้เฝ้าดูบ้านนกของตัวเองอย่างมีความสุข คนอื่นๆไม่รู้คิดอย่างไร แต่ว่าตั้งแต่ผมเริ่มศึกษาการทำบ้านนกมา ผมรักหน้าฝนมากที่สุดและอยากให้เป็นฤดูทั้งปีเลยครับ 5555
Vuthmail-Thailand
26.05.53
24/5/53
สูตรการคำนวณ Air Change ในบ้านนก
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่า ตัวเลขการคำนวณ Air Change ภายในบ้านนกนั้น สามารถคำนวณได้ โดยมีที่มาที่ไปของตัวเลข Air Change ให้ได้ช่วงระหว่าง 3-5 ครั้งต่อชั่วโมง
วันนี้ผมตามทำสัญญาที่ให้ไว้แล้ว โดยการเขียนขึ้นมาเป็น สมการให้เลยครับ หากว่าเพื่อนๆที่สนใจ ทิ้ง Email ไว้ให้ผมหน่อยนะครับ ผมจะส่งสมการที่เขียนขึ้นมานี้ไปให้เลย เนื่องจากว่าจริงๆแล้วผมเขียนโปรแกรมนี้ด้วย คำสั่ง Lotus 123 ที่ Run บน Windows ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนคงใช้ไม่ค่อยเป็น ก็เลยได้แปลงสมการนี้เป็น Excel ไว้ให้ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง สอบทานผลการคำนวณหลายครั้งแล้ว ใช้ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร
หากว่าต้องการคำนวณหาค่า Air Change เพื่อนๆจะต้องใส่ค่าประสิทธิภาพ หรือปริมาตรอากาศที่ดูดออกจากพัดลมรุ่นที่ใช้ว่ามีค่าเท่าไหร่ เมื่อใส่ค่าลงไปแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณหาค่า Air Change ให้ออกมาเอง
ในกรณีกลับกันหากว่าต้องการหาจำนวนพัดลมที่ต้องการจะติดตั้ง เราก็จำเป็นจะต้องทำประมาณการณ์ขึ้นมาว่าจะเอาค่า Air Change ที่เท่าไหร่เสียก่อน แล้วก็แล้วก็ใส่ค่าประสิทธิภาพของพัดลมที่สอบถามตัวเลขจากบริษัทที่ผลิต เมื่อทราบตัวเลขแล้วก็แทนค่าเข้าไป แล้วโปรแกรมก็จะทำการคำนวณย้อนกลับไปหา ตัวเลขของจำนวนพัดลมที่จะต้องติดตั้งออกมาให้ว่าจะต้องใช้พัดลมจำนวนตัวโดยอัตโนมัติ
สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องทราบก่อน หรือต้องมีตัวเลขในมือก่อนก็คือ เรื่องปริมาณอากาศที่ถูกดูดออกไป สำหรับพัดลมดูดอากาศในแต่ละรุ่น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก ซึ่งเราสามารถโทรไปขอจากบริษัทที่ผลิตพัดลมดูดอากาศนั้นๆได้
โดยสอบถามว่าพัดลมรุ่นนั้นๆสามารถดูดอากาศออกได้ กี่ CFM ( กี่คิวบิกฟุตต่อนาที) หรือว่า กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง CMH ซึ่งตัวเลขการดูดอากาศนี้ขอให้รู้ตัวเลขเพียงตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งก็ใช้ได้แล้วครับ เพราะว่าผมได้เขียนสูตรไว้รองรับให้ทั้ง 2 กรณีแล้ว ซึ่งจะเป็นการสะดวกมาก หากว่ามีเพียงสมการเดียวจะให้ต้องยุ่งยากในการแปลงหน่วยกลับไปกลับมา และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การแทนค่าก็ใช้แค่เพียงค่าใดค่าหนึ่งที่ได้มาก็เพียงพอครับ แต่สิ่งที่จำเป็นมากก็คือจะต้องรู้ค่า กี่คิวบิกฟุตต่อนาที กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง จากบริษัทผู้ผลิตพัดลมซึ่งเป็น Key สำคัญในการคำนวณ
อย่างเช่นพัดลมดูดอากาศของ MITSUBISHI รุ่น EX-30RH รุ่นที่ผมใช้อยู่สามารถดูดอากาศออกได้ 1,300 คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง เราก็เอาตัวเลข 1,300 แทนค่าลงไปในช่อง CMH (ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) ได้เลยครับ หรือเป็นรุ่นอื่นที่เป็นพัดลมใบใหญ่กว่า ใช้มอเตอร์ที่แรงๆ ก็ทำให้ใช้น้อยตัวลงไปอีกหน่อย และราคาก็ไม่ได้สูงกว่าสักเท่าไหร่ ผมจึงอยากแนะนำให้รุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมมากกว่า ตัวอย่างเช่น รุ่นที่ผมใช้อยู่คือ EX-30RH ซื้อมาเครื่องละ 1,100 บาท แต่ว่ารุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมของยี่ห้อ จำไม่ได้แต่จะมาบอกให้ทราบตอนไปบ้านนกราคา 1,550 บาท แพงกว่าเล็กน้อยแต่ประสิทธิภาพดีกว่า 3-4 เท่า คุ้มค่ามาก
ตัวเลข Air change และ สูตรการคำนวณนี้ หลายคนอาจจะไม่ค่อยทราบว่ามีประโยชน์ แต่จริงแล้วมีประโยชน์มาก ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหลายประการ รู้ไว้ไม่เสียหายครับ แต่กลับจะเป็นประโยชน์มาก หากว่าสามารถนำไปใช้งานในเชิงประยุกต์ได้ เช่น การเพิ่มระบบการไหลเวียนอากาศ การลดอุณหภูมิ และใช้ในการควบคุมความชื้น หากว่าสนใจ Email มาหาผมนะครับ
ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลสำคัญเหล่านี้จาก บริษัท Pine Trading จำกัด เป็นอย่างมากที่ให้ข้อมูลวิธีการในการคำนวณ จนผมสามารถนำมาสร้างสมการอย่างที่เห็นอยู่ในโปรแกรม
หากว่าเพื่อนๆที่สนใจโปรแกรมนี้ผมขอรบกวนเพื่อนๆเข้าไป Download ตามสะดวกได้ที่
http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html
หากว่าดูใน Clip ไม่ชัดเจน รบกวนดูแบบ Full Screen จะดูได้ชัดขึ้นอีกพอประมาณครับ
Vuthmail-Thailand
24.05.53
วันนี้ผมตามทำสัญญาที่ให้ไว้แล้ว โดยการเขียนขึ้นมาเป็น สมการให้เลยครับ หากว่าเพื่อนๆที่สนใจ ทิ้ง Email ไว้ให้ผมหน่อยนะครับ ผมจะส่งสมการที่เขียนขึ้นมานี้ไปให้เลย เนื่องจากว่าจริงๆแล้วผมเขียนโปรแกรมนี้ด้วย คำสั่ง Lotus 123 ที่ Run บน Windows ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนคงใช้ไม่ค่อยเป็น ก็เลยได้แปลงสมการนี้เป็น Excel ไว้ให้ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง สอบทานผลการคำนวณหลายครั้งแล้ว ใช้ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร
หากว่าต้องการคำนวณหาค่า Air Change เพื่อนๆจะต้องใส่ค่าประสิทธิภาพ หรือปริมาตรอากาศที่ดูดออกจากพัดลมรุ่นที่ใช้ว่ามีค่าเท่าไหร่ เมื่อใส่ค่าลงไปแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณหาค่า Air Change ให้ออกมาเอง
ในกรณีกลับกันหากว่าต้องการหาจำนวนพัดลมที่ต้องการจะติดตั้ง เราก็จำเป็นจะต้องทำประมาณการณ์ขึ้นมาว่าจะเอาค่า Air Change ที่เท่าไหร่เสียก่อน แล้วก็แล้วก็ใส่ค่าประสิทธิภาพของพัดลมที่สอบถามตัวเลขจากบริษัทที่ผลิต เมื่อทราบตัวเลขแล้วก็แทนค่าเข้าไป แล้วโปรแกรมก็จะทำการคำนวณย้อนกลับไปหา ตัวเลขของจำนวนพัดลมที่จะต้องติดตั้งออกมาให้ว่าจะต้องใช้พัดลมจำนวนตัวโดยอัตโนมัติ
สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องทราบก่อน หรือต้องมีตัวเลขในมือก่อนก็คือ เรื่องปริมาณอากาศที่ถูกดูดออกไป สำหรับพัดลมดูดอากาศในแต่ละรุ่น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก ซึ่งเราสามารถโทรไปขอจากบริษัทที่ผลิตพัดลมดูดอากาศนั้นๆได้
โดยสอบถามว่าพัดลมรุ่นนั้นๆสามารถดูดอากาศออกได้ กี่ CFM ( กี่คิวบิกฟุตต่อนาที) หรือว่า กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง CMH ซึ่งตัวเลขการดูดอากาศนี้ขอให้รู้ตัวเลขเพียงตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งก็ใช้ได้แล้วครับ เพราะว่าผมได้เขียนสูตรไว้รองรับให้ทั้ง 2 กรณีแล้ว ซึ่งจะเป็นการสะดวกมาก หากว่ามีเพียงสมการเดียวจะให้ต้องยุ่งยากในการแปลงหน่วยกลับไปกลับมา และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การแทนค่าก็ใช้แค่เพียงค่าใดค่าหนึ่งที่ได้มาก็เพียงพอครับ แต่สิ่งที่จำเป็นมากก็คือจะต้องรู้ค่า กี่คิวบิกฟุตต่อนาที กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง จากบริษัทผู้ผลิตพัดลมซึ่งเป็น Key สำคัญในการคำนวณ
อย่างเช่นพัดลมดูดอากาศของ MITSUBISHI รุ่น EX-30RH รุ่นที่ผมใช้อยู่สามารถดูดอากาศออกได้ 1,300 คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง เราก็เอาตัวเลข 1,300 แทนค่าลงไปในช่อง CMH (ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) ได้เลยครับ หรือเป็นรุ่นอื่นที่เป็นพัดลมใบใหญ่กว่า ใช้มอเตอร์ที่แรงๆ ก็ทำให้ใช้น้อยตัวลงไปอีกหน่อย และราคาก็ไม่ได้สูงกว่าสักเท่าไหร่ ผมจึงอยากแนะนำให้รุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมมากกว่า ตัวอย่างเช่น รุ่นที่ผมใช้อยู่คือ EX-30RH ซื้อมาเครื่องละ 1,100 บาท แต่ว่ารุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมของยี่ห้อ จำไม่ได้แต่จะมาบอกให้ทราบตอนไปบ้านนกราคา 1,550 บาท แพงกว่าเล็กน้อยแต่ประสิทธิภาพดีกว่า 3-4 เท่า คุ้มค่ามาก
ตัวเลข Air change และ สูตรการคำนวณนี้ หลายคนอาจจะไม่ค่อยทราบว่ามีประโยชน์ แต่จริงแล้วมีประโยชน์มาก ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหลายประการ รู้ไว้ไม่เสียหายครับ แต่กลับจะเป็นประโยชน์มาก หากว่าสามารถนำไปใช้งานในเชิงประยุกต์ได้ เช่น การเพิ่มระบบการไหลเวียนอากาศ การลดอุณหภูมิ และใช้ในการควบคุมความชื้น หากว่าสนใจ Email มาหาผมนะครับ
ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลสำคัญเหล่านี้จาก บริษัท Pine Trading จำกัด เป็นอย่างมากที่ให้ข้อมูลวิธีการในการคำนวณ จนผมสามารถนำมาสร้างสมการอย่างที่เห็นอยู่ในโปรแกรม
หากว่าเพื่อนๆที่สนใจโปรแกรมนี้ผมขอรบกวนเพื่อนๆเข้าไป Download ตามสะดวกได้ที่
http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html
หากว่าดูใน Clip ไม่ชัดเจน รบกวนดูแบบ Full Screen จะดูได้ชัดขึ้นอีกพอประมาณครับ
Vuthmail-Thailand
24.05.53
20/5/53
การลดความร้อนใน Nesting Room ด้วยการเพิ่มการระบายอากาศ
การลดความร้อนใน Nesting Room ด้วยการเพิ่มการระบายอากาศ
อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนนะครับว่า อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา
หลักในการเพิ่มการระบายอากาศนั้นทำได้หลายวิธี เช่นการเจาะหรือว่าใส่ท่อ PVC เพิ่มเข้าไป หรือการติดพัดลมดูอากาศเป่าเข้าไปในห้อง Nesting Room การเจาะใส่ท่อ PVC ดูจะทำได้ยากที่สุด ยุ่งยากมาก มีฝุ่นมีเสียง รบกวนนกมากเพราะว่าจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องนกเป็นเวลานาน ทำงานก็ยากเพราะว่ามืด ต้องเปิดไฟภายในห้อง ผมคิดว่าหลายคนคงคิดเหมือนกันว่าคงไม่อยากจะใช้วิธีการนี้แน่ๆๆ
วิธีต่อมาทำได้โดยการติดพัดลมดูดอากาศ สามารถทำได้ทั้งเป่าเข้า และดูดออก บางท่านใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อเร่งการระบายอากาศ ซึ่งก็มีหลักอยู่เช่นกันครับ คือการติดพัดลมดูดอากาศโดยใช้ระบบ ดูดออกนั้นควรที่จะติดพัดลมดูดอากาศในที่ค่อนข้างสูง ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า คุณสมบัติของอากาศร้อนนั้นจะลอยขึ้นสูงนั่นเอง จึงเป็นการถูกต้องโดยหลักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องติดพัดลมดูดออกในตำแหน่งที่สูงเพราะว่าจะได้ดูดเอาอากาศร้อนที่ลอยขึ้นสูงออกไปก่อน ดูดออกให้มาก เพื่อเป็นการเร่งไล่อากาศร้อนให้ออกไป ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ หรือความร้อนอั้นอยู่ในห้องนกแล้วหาทางออกไม่ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้การลดความอบอ้าวในห้องนกได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนการเป่าอากาศเย็นเข้าไปในห้องนกนั้น เป็นการเพิ่มปริมาณอากาศใหม่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าภายใน Nesting Room เข้าไปในห้องเพื่อช่วยไล่ความร้อน ลดความร้อนสะสม หรือเป็นการเจือจางความร้อนให้ร้อนน้อยลง หากว่าทำเช่นนี้แล้วการลดอุณหภูมิจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การติดพัดลมเพื่อเป่าอากาศเย็นเข้าไปใน Nesting Room นั้นให้ติดในที่ค่อนข้างต่ำ เพราะว่าอากาศเย็นจะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศร้อน ซึ่งเรื่องอย่างนี้เพื่อนๆหลายคนคิดได้เหมือนกัน ไม่ได้เป็นอะไรที่ซับซ้อน แต่ว่าหลายคนอาจจะลืมนึกถึงเรื่องประสิทธิภาพของระบบนี้ ว่ามีปัจจัยอื่นแฝงอยู่
ประสิทธิภาพของการไล่อากาศร้อน เติมอากาศเย็นนั้น ประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของการเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าทั้งหมดใน Nesting Room ออกไป หรือที่เรียกกันโดยภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการพลศาสตร์ จะเรียกกันว่า Air Change
Air Change จะมีความสำคัญมากครับ ยิ่ง Air Change มีมากก็เหมือนกับว่าเรามีจำนวนรอบที่จะหอบเอาอากาศร้อนออกไปจาก Nesting Room ได้บ่อยครั้งมากกว่า Air Change ที่น้อยๆ ซึ่ง Air Change นี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความเร็วหรือประสิทธิภาพในการลดความร้อนที่เร็วขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน Air Change ก็จะเป็นตัวหอบเอาความชื้นออกจากห้อง Nesting Room ไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องการสูญเสียความชื้นไปกับ Air Change ด้วยเช่นกัน
แล้ว Air Change เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ผมเคยสอบถามเรื่องนี้กับ Kenny ที่เป็น Consultant อยู่ที่มาเลย์เซีย เค้าบอกกับผมไว้ว่า Air Change ควรจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง นั้นหมายถึงว่า 1 ชั่วโมงเราจะสามารถหอบเอาความร้อนออกไปได้ 3-5 ครั้งหรือ 3-5 รอบ ซึ่ง Kenny บอกว่าหากมากกว่านี้จะทำให้ควบคุมความชื้นได้ยาก ดังนั้นเราก็มา Focus กันที่ 3 ครั้งซึ่งกำลังพอดี นั่นหมายความว่าภายใน 20 นาทีเราจะต้องถ่ายอากาศเก่าภายในตึกออกให้หมด เพื่อให้อากาศใหม่เข้ามาแทนที่ เพื่อที่อากาศใหม่ที่เย็นจะดูดซับความร้อนไว้ และเราก็ดูดอากาศที่เพิ่งเข้ามาออกทิ้งไปใน 20 นาทีต่อมา ทำอย่างนี้ได้ 3 รอบๆละ 20 นาทีก็จะครบ 1 ชั่วโมง หรือเรียกกันว่าเรามี Air Chnage เท่ากับ 3 ครั้งต่อชั่วโมง
หากว่าบ้านร้อนมากก็สามารถรปรับ ขยับ Air Change ขึ้นไปเป็นที่ 4 หรือ 5 ครั้งต่อชั่วโมงก็ได้ครับ
หากว่าท่านสนใจที่จะติดตามอ่านคำตอบของ Kenny สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://finance.groups.yahoo.com/group/swiftlets/message/145
ผมต้องขอขอบพระคุณ Mr.Kenny Sim Che King ที่อุตส่าห์ตอบคำถามของผมด้วยความเต็มใจ และเป็นคำตอบมีประโยชน์มาก โดยส่วนตัวผมชอบ Kenny มากครับ เก่ง เปิดเผย ใจกว้างมากครับ สำหรับ Mr.Kenny คนนี้
ที่ผมกำหนด Air Change ไว้ที่ 3 รอบเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ตามวัตถุประสงค์แต่ละรอบของ Air Change ตาม Style ของผม จะให้มองง่ายขึ้น มองเป็นรอบๆ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ ก็แล้วกันครับ
1.-รอบแรกดูดเอาความร้อนเก่า ความร้อนเดิมที่อยู่ใน Nesting Room ออกทิ้งไปให้หมด
2.-รอบที่สองก็เป็นการดูดเอาความร้อนที่ผนังออกไปอีก ซึ่งก็ทำให้ผนังด้านในมีความร้อนสะสมน้อยลงมาก
3.-รอบที่สามเป็นการดูดเอาอากาศใหม่ที่ไม่ร้อน หรืออากาศเย็นเข้ามาเก็บไว้ เพื่อทำให้อุณหภูมิใน Nesting Room เย็นลง
อย่างที่บอกครับให้คิดง่ายๆ คิดเป็นขั้นๆทั้ง 3 ขั้นตอนอย่างนี้ก็จะพอเข้าใจได้ จำได้แม่น
แต่ในข้อเท็จจริงแล้วขบวนการที่ดูดอากาศร้อนเก่าออกไป การนำความร้อนที่ผนังด้านในออกไป และการเติมอากาศเย็นใน Nesting Room ทั้ง 3 ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ไม่เกิดเป็นขั้นๆ แต่ที่ให้บอกไปเป็น 1 2 3 ก็เพื่อจะได้จำได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเองครับ
ส่วนตัวเลข 3 รอบนั้นมาได้อย่างไร แล้วจะคำนวณกันได้อย่างไร ซึ่งตัวเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปครับ สามารถคำนวณได้เป็นตัวเลขออกมาได้จริงๆ หากว่าอดใจรอได้ ผมก็จะขอกล่าวถึงในบทความต่อไป หากว่าเพื่อนๆใจร้อนอดใจรอไม่ได้ ก็สามารถค้นหาความรู้จาก Internet เองไปพลางๆก่อนก็ได้นะครับ
Vuthmail-Thailand
20.05.53
อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนนะครับว่า อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา
หลักในการเพิ่มการระบายอากาศนั้นทำได้หลายวิธี เช่นการเจาะหรือว่าใส่ท่อ PVC เพิ่มเข้าไป หรือการติดพัดลมดูอากาศเป่าเข้าไปในห้อง Nesting Room การเจาะใส่ท่อ PVC ดูจะทำได้ยากที่สุด ยุ่งยากมาก มีฝุ่นมีเสียง รบกวนนกมากเพราะว่าจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องนกเป็นเวลานาน ทำงานก็ยากเพราะว่ามืด ต้องเปิดไฟภายในห้อง ผมคิดว่าหลายคนคงคิดเหมือนกันว่าคงไม่อยากจะใช้วิธีการนี้แน่ๆๆ
วิธีต่อมาทำได้โดยการติดพัดลมดูดอากาศ สามารถทำได้ทั้งเป่าเข้า และดูดออก บางท่านใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อเร่งการระบายอากาศ ซึ่งก็มีหลักอยู่เช่นกันครับ คือการติดพัดลมดูดอากาศโดยใช้ระบบ ดูดออกนั้นควรที่จะติดพัดลมดูดอากาศในที่ค่อนข้างสูง ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพราะว่า คุณสมบัติของอากาศร้อนนั้นจะลอยขึ้นสูงนั่นเอง จึงเป็นการถูกต้องโดยหลักวิทยาศาสตร์ที่เราจะต้องติดพัดลมดูดออกในตำแหน่งที่สูงเพราะว่าจะได้ดูดเอาอากาศร้อนที่ลอยขึ้นสูงออกไปก่อน ดูดออกให้มาก เพื่อเป็นการเร่งไล่อากาศร้อนให้ออกไป ไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ หรือความร้อนอั้นอยู่ในห้องนกแล้วหาทางออกไม่ได้ ซึ่งขั้นตอนนี้การลดความอบอ้าวในห้องนกได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนการเป่าอากาศเย็นเข้าไปในห้องนกนั้น เป็นการเพิ่มปริมาณอากาศใหม่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าภายใน Nesting Room เข้าไปในห้องเพื่อช่วยไล่ความร้อน ลดความร้อนสะสม หรือเป็นการเจือจางความร้อนให้ร้อนน้อยลง หากว่าทำเช่นนี้แล้วการลดอุณหภูมิจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การติดพัดลมเพื่อเป่าอากาศเย็นเข้าไปใน Nesting Room นั้นให้ติดในที่ค่อนข้างต่ำ เพราะว่าอากาศเย็นจะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศร้อน ซึ่งเรื่องอย่างนี้เพื่อนๆหลายคนคิดได้เหมือนกัน ไม่ได้เป็นอะไรที่ซับซ้อน แต่ว่าหลายคนอาจจะลืมนึกถึงเรื่องประสิทธิภาพของระบบนี้ ว่ามีปัจจัยอื่นแฝงอยู่
ประสิทธิภาพของการไล่อากาศร้อน เติมอากาศเย็นนั้น ประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของการเปลี่ยนถ่ายอากาศเก่าทั้งหมดใน Nesting Room ออกไป หรือที่เรียกกันโดยภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการพลศาสตร์ จะเรียกกันว่า Air Change
Air Change จะมีความสำคัญมากครับ ยิ่ง Air Change มีมากก็เหมือนกับว่าเรามีจำนวนรอบที่จะหอบเอาอากาศร้อนออกไปจาก Nesting Room ได้บ่อยครั้งมากกว่า Air Change ที่น้อยๆ ซึ่ง Air Change นี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความเร็วหรือประสิทธิภาพในการลดความร้อนที่เร็วขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน Air Change ก็จะเป็นตัวหอบเอาความชื้นออกจากห้อง Nesting Room ไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องการสูญเสียความชื้นไปกับ Air Change ด้วยเช่นกัน
แล้ว Air Change เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ผมเคยสอบถามเรื่องนี้กับ Kenny ที่เป็น Consultant อยู่ที่มาเลย์เซีย เค้าบอกกับผมไว้ว่า Air Change ควรจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง นั้นหมายถึงว่า 1 ชั่วโมงเราจะสามารถหอบเอาความร้อนออกไปได้ 3-5 ครั้งหรือ 3-5 รอบ ซึ่ง Kenny บอกว่าหากมากกว่านี้จะทำให้ควบคุมความชื้นได้ยาก ดังนั้นเราก็มา Focus กันที่ 3 ครั้งซึ่งกำลังพอดี นั่นหมายความว่าภายใน 20 นาทีเราจะต้องถ่ายอากาศเก่าภายในตึกออกให้หมด เพื่อให้อากาศใหม่เข้ามาแทนที่ เพื่อที่อากาศใหม่ที่เย็นจะดูดซับความร้อนไว้ และเราก็ดูดอากาศที่เพิ่งเข้ามาออกทิ้งไปใน 20 นาทีต่อมา ทำอย่างนี้ได้ 3 รอบๆละ 20 นาทีก็จะครบ 1 ชั่วโมง หรือเรียกกันว่าเรามี Air Chnage เท่ากับ 3 ครั้งต่อชั่วโมง
หากว่าบ้านร้อนมากก็สามารถรปรับ ขยับ Air Change ขึ้นไปเป็นที่ 4 หรือ 5 ครั้งต่อชั่วโมงก็ได้ครับ
หากว่าท่านสนใจที่จะติดตามอ่านคำตอบของ Kenny สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://finance.groups.yahoo.com/group/swiftlets/message/145
ผมต้องขอขอบพระคุณ Mr.Kenny Sim Che King ที่อุตส่าห์ตอบคำถามของผมด้วยความเต็มใจ และเป็นคำตอบมีประโยชน์มาก โดยส่วนตัวผมชอบ Kenny มากครับ เก่ง เปิดเผย ใจกว้างมากครับ สำหรับ Mr.Kenny คนนี้
ที่ผมกำหนด Air Change ไว้ที่ 3 รอบเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ตามวัตถุประสงค์แต่ละรอบของ Air Change ตาม Style ของผม จะให้มองง่ายขึ้น มองเป็นรอบๆ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ ก็แล้วกันครับ
1.-รอบแรกดูดเอาความร้อนเก่า ความร้อนเดิมที่อยู่ใน Nesting Room ออกทิ้งไปให้หมด
2.-รอบที่สองก็เป็นการดูดเอาความร้อนที่ผนังออกไปอีก ซึ่งก็ทำให้ผนังด้านในมีความร้อนสะสมน้อยลงมาก
3.-รอบที่สามเป็นการดูดเอาอากาศใหม่ที่ไม่ร้อน หรืออากาศเย็นเข้ามาเก็บไว้ เพื่อทำให้อุณหภูมิใน Nesting Room เย็นลง
อย่างที่บอกครับให้คิดง่ายๆ คิดเป็นขั้นๆทั้ง 3 ขั้นตอนอย่างนี้ก็จะพอเข้าใจได้ จำได้แม่น
แต่ในข้อเท็จจริงแล้วขบวนการที่ดูดอากาศร้อนเก่าออกไป การนำความร้อนที่ผนังด้านในออกไป และการเติมอากาศเย็นใน Nesting Room ทั้ง 3 ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ไม่เกิดเป็นขั้นๆ แต่ที่ให้บอกไปเป็น 1 2 3 ก็เพื่อจะได้จำได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเองครับ
ส่วนตัวเลข 3 รอบนั้นมาได้อย่างไร แล้วจะคำนวณกันได้อย่างไร ซึ่งตัวเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปครับ สามารถคำนวณได้เป็นตัวเลขออกมาได้จริงๆ หากว่าอดใจรอได้ ผมก็จะขอกล่าวถึงในบทความต่อไป หากว่าเพื่อนๆใจร้อนอดใจรอไม่ได้ ก็สามารถค้นหาความรู้จาก Internet เองไปพลางๆก่อนก็ได้นะครับ
Vuthmail-Thailand
20.05.53
13/5/53
ท่านทราบหรือไม่ว่าทำไมหน้าร้อนปี 2553 จึงร้อนจัด
เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว พุทธองค์ได้ค้นพบ สัจธรรมแห่งชีวิตด้วยการตรัสรู้ และก่อตั้งศาสนาใหม่ที่ เน้นคำสอนและการปฏิบัติตนในแนวทางที่เห็นจริง อย่างมีสาระ โดยไม่ต้องลุ่มหลงงมงายอยู่กับโชคลาภ และดวงชะตาราศี ในครั้งนั้นพุทธบัญญัติข้อหนึ่งที่มอบให้กับเหล่าพระสงฆ์ก็คือ
“การเข้าพรรษา” ให้เริ่มต้นในวันถัดจาก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับต้นฤดูฝน ซึ่งเป็นเงื่อนไข 2 ข้อผูกมัด สัมพันธ์กันอยู่ เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3
เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษา ทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่ กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการ เหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปี แรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน เป็นเหตุให้ วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชย ระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ”
เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน โดยประมาณ 3 ปีก็จะเท่ากับมีความแตกต่างกันอยู่ 33 วัน (ก็ประมาณ 1 เดือนกับอีก 2หรือ 3 วัน) ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน ดังนั้นทุกๆ 3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน จากจำนวนวันที่ต่างกันอยู่ 33 วัน ดังนั้นจึงได้เพิ่มที่เดือน 8 ให้มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไป เริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ
ปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษาเป็นจุดกำหนด (เพื่อย้อนขึ้นไปหาวันเข้าพรรษา) หากวันออกพรรษาปีใดร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนด ให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส” ปีอธิกมาสนี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไป ร้อนนานขึ้น ฝนมาช้ากว่าปกติ ตามคำที่โบราณท่านบอกท่านสอนไว้ นี่แหละครับภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ใช้ปฎิทินตามจันทรคติซึ่งใช้การเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงหน้าร้อน แตกต่างกับปีปฎิทินสากสของชาวยุโรป
สิ่งที่กระทบกับฤดูกาล ก็ย่อมกระทบกับอุณหภูมิใน ความชื้นในบ้านนก เมื่อครบรอบขึ้นปีที่ 4 ปี ทำให้รอบฤดูเคลื่อนไป 1 เดือนโดยประมาณ จึงทำให้หน้าร้อนยาวนานกว่าปกติ และ สาเหตุที่ยาวนานกว่าปกติ ความชื้นในอากาศหายไปมาก อากาศจึงร้อนมากกกก ร้อนจัดก็ว่าได้เลย คราวนี้เพื่อนๆคงทราบสาเหตุที่ทำให้ปี 2553 ร้อนจัดมากๆ ตังนั้นปี 2554 จึงไม่น่าจะร้อนตามที่เคยคาดคิดเอาไว้นะครับ
ปีอธิกมาสปี 2553 นี้ ให้ดูวันที่ในปฏิทินจะเริ่มต้น ในวันที่ 12.07.53 นี้และดูวันข้างขึ้นข้างแรม ที่เขียนกำกับอยู่ จะเขียนไว้ว่า ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8-8 ซึ่งเป็นเดือน 8 ส่วนหลังหรือเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และจะไปจบในวันที่ 10.08.53 จึงจบเดือน 8 ส่วนหลัง ส่วนวันที่ 11.07.53 จึงจะเปลี่ยนเป็น ขึ้น 1 ค่ำเดือน 9
แต่ปี 2557 จะเป็นปี "อธิกมาส" ร้อนจัดกันอีกทีครับ ก็จะครบรอบ 4 ปี แล้วเรามาดูกันว่าปีพ.ศ. 2557 จะร้อนอย่างปีพ.ศ. 2553 นี้หรือไม่ อย่างไร
ต้องกราบขอบพระคุณ ข้อมูลเบื้องต้นจากหลวงพ่อ วัดางลำภู บ้านแหลมเพชรบุรี ที่ชี้ทางสว่างให้ และข้อมูลโดยละเอียดจาก Yahoo รอบรู้โดยคุณ TK จาก http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080213022645AAKOHsU ด้วยครับ
Vuthmail-Thailand
13.05.53 วันพืชมงคล
“การเข้าพรรษา” ให้เริ่มต้นในวันถัดจาก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับต้นฤดูฝน ซึ่งเป็นเงื่อนไข 2 ข้อผูกมัด สัมพันธ์กันอยู่ เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3
เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษา ทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่ กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการ เหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปี แรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน เป็นเหตุให้ วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชย ระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ”
เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน โดยประมาณ 3 ปีก็จะเท่ากับมีความแตกต่างกันอยู่ 33 วัน (ก็ประมาณ 1 เดือนกับอีก 2หรือ 3 วัน) ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน ดังนั้นทุกๆ 3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน จากจำนวนวันที่ต่างกันอยู่ 33 วัน ดังนั้นจึงได้เพิ่มที่เดือน 8 ให้มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไป เริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ
ปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษาเป็นจุดกำหนด (เพื่อย้อนขึ้นไปหาวันเข้าพรรษา) หากวันออกพรรษาปีใดร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนด ให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส” ปีอธิกมาสนี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไป ร้อนนานขึ้น ฝนมาช้ากว่าปกติ ตามคำที่โบราณท่านบอกท่านสอนไว้ นี่แหละครับภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ใช้ปฎิทินตามจันทรคติซึ่งใช้การเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงหน้าร้อน แตกต่างกับปีปฎิทินสากสของชาวยุโรป
สิ่งที่กระทบกับฤดูกาล ก็ย่อมกระทบกับอุณหภูมิใน ความชื้นในบ้านนก เมื่อครบรอบขึ้นปีที่ 4 ปี ทำให้รอบฤดูเคลื่อนไป 1 เดือนโดยประมาณ จึงทำให้หน้าร้อนยาวนานกว่าปกติ และ สาเหตุที่ยาวนานกว่าปกติ ความชื้นในอากาศหายไปมาก อากาศจึงร้อนมากกกก ร้อนจัดก็ว่าได้เลย คราวนี้เพื่อนๆคงทราบสาเหตุที่ทำให้ปี 2553 ร้อนจัดมากๆ ตังนั้นปี 2554 จึงไม่น่าจะร้อนตามที่เคยคาดคิดเอาไว้นะครับ
ปีอธิกมาสปี 2553 นี้ ให้ดูวันที่ในปฏิทินจะเริ่มต้น ในวันที่ 12.07.53 นี้และดูวันข้างขึ้นข้างแรม ที่เขียนกำกับอยู่ จะเขียนไว้ว่า ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8-8 ซึ่งเป็นเดือน 8 ส่วนหลังหรือเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และจะไปจบในวันที่ 10.08.53 จึงจบเดือน 8 ส่วนหลัง ส่วนวันที่ 11.07.53 จึงจะเปลี่ยนเป็น ขึ้น 1 ค่ำเดือน 9
แต่ปี 2557 จะเป็นปี "อธิกมาส" ร้อนจัดกันอีกทีครับ ก็จะครบรอบ 4 ปี แล้วเรามาดูกันว่าปีพ.ศ. 2557 จะร้อนอย่างปีพ.ศ. 2553 นี้หรือไม่ อย่างไร
ต้องกราบขอบพระคุณ ข้อมูลเบื้องต้นจากหลวงพ่อ วัดางลำภู บ้านแหลมเพชรบุรี ที่ชี้ทางสว่างให้ และข้อมูลโดยละเอียดจาก Yahoo รอบรู้โดยคุณ TK จาก http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080213022645AAKOHsU ด้วยครับ
Vuthmail-Thailand
13.05.53 วันพืชมงคล
12/5/53
ทฤษฎี --- ก่อน 3 ทุ่มหรือหลัง 3 ทุ่ม
โดยปกติแล้วในหน้าร้อนช่วงเดือนเมษายน โดยเฉลี่ยแล้วผมจะไม่ได้อยู่บ้านเนื่องจากไหว้เชงเม้ง ที่สุรินทร์ พร้อมกับยุ่งอยู่กับเร่งงานให้ทันกำหนดก่อนที่หน้าเทศกาลหยุดยาวในวันสงกรานต์จะมาถึง หน่วยงานทุกแห่งที่ผมติดต่องานด้วยก็กังวลเรื่องการหยุดยาว แล้วจะทำให้งานไม่เป็นไปตามกำหนด ดังนั้นทุกปีจะต้องสาระวลกับเร่งส่งมอบงาน
ในปีนี้ผมตัดสินใจว่าจะไม่เดินทางไปไหน แต่มุ่งหมายว่าจะต้องเข้าไปดูเรื่องอุณหภูมิในบ้านนกให้ได้ เพราะว่าตั้งแต่ทำบ้านนกมาไม่เคยได้เข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย เพราะเทศกาลหยุดยาวก็หาเรื่องพักผ่อนก็ยาวสักที่ และตลอดเวลาอุณหภูมิใน Nesting Room ที่ผ่านตาไม่เคยเกิน 28.5-29.5 องศาเลย (ในกรณีที่ไม่ฤดูร้อน) จึงตายใจไม่เคยเข้าไปตรวจสอบเลย
แต่เช็งเม้ง ช่วง 4-5 เมษายน ที่สุรินทร์ร้อนมากๆ จึงนึกว่าปีนี้ขอเข้าไปดูอุณหภูมิในบ้านนกสักปีก็แล้วกัน ยกเลิกไม่ไปเที่ยว งดหมด ตั้งใจไปที่เรื่องอุณหภูมิของบ้านนก ในช่วงที่ร้อนที่สุดของเดือนที่ร้อนที่สุดเพราะว่ามีการส่งสัญญาณจากเช้งเม้งแล้ว จึงคิดว่าต้องไปดูให้แน่ใจกันเสียหน่อย
จริงอย่างที่คาดไว้ครับ อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆขึ้น หากว่าดูผ่านๆก็คงไม่คิดอะไรมาก แล้วก็จะไม่มีทางรู้ได้เลย ประกอบกับไม่มีข้อมูลเก่าของ 2ปีที่ผ่านมา ก็เลยไม่มีจุดสังเกตุ ดังนั้นผมเรียนว่าควรที่จะทำประวัติเรื่องอุณหภูมิความชื้นไว้เป็นประวัติจะมีประโยชน์มากครับ ในการ Monitor เพื่อหาสิ่งผิดปกติ ผมเองต้องยอมรับว่าเพราะเห็นแก่การพักผ่อน เห็นแก่การเที่ยวสนุกในช่วงวันหยุดยาวทำให้ไม่เคยรู้มาก่อนว่าปีก่อนเป็นอย่างไรบ้าง แต่ปีนี้เริ่มเก็บตัวเลขไว้แล้วครับ จึงอยากชวนให้เพื่อนทำดูกันบ้าง
แต่ผลของการเก็บตัวเลข การ Monitor ทำให้ได้ทราบว่าสิ่งที่เป็นอยู่นี้อาจจะไม่เพียงพอแล้ว ผมจึงเริ่มมองหาวิธีการลดอุณหภูมิในปีหน้า ปี 2554 ไว้ล่วงหน้า 1 ปีเลย โดยเริ่มทดลองเพิ่มการระบายอากาศภายในห้องนกให้มากขึ้น การลดอุณหภูมิโดยมองมาที่ตัว Blade Humidifier พร้อมวิธีการอื่นๆ ที่หวังว่าจะช่วยกันลดอุณหภูมิเล็กๆน้อยๆ จากหลายๆวิธีซึ่งแตกต่างกันเพื่อช่วยกันลดอุณหภูมิ เมื่อรวมๆกันแล้วน่าจะลดอุณหภูมิโดยรวมให้ได้อีกสัก 1.5-2 องศาพร้อมทั้งใช้เวลาในการลดอุณหภูมิให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็น Concept ที่ได้วางแนวทางกันไว้สำหรับปีหน้า 2554 แนวทางดังกล่าวนี้ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้นะครับ
อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา
ในช่วงเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป
อุณหภูมิภายนอก จะเริ่มลดลงและค่อยๆลดลง อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 21.00-22.00 น.ซึ่งผมเองได้ใช้เวลาตอน 21.00 น.เป็นเส้นตาย หรือเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการลดอุณหภูมิและประสิทธิภาพของการระบายอากาศ ว่าดีมากน้อยเพียงใดโดยยึดเวลา 21.00 น.เป็นตัวประเมินผล
หากว่าระบายความร้อนดีและการลดอุณหภูมิมีประสิทธิภาพ อุณหภูมิภายใน Nesting Room จะต้องเท่ากับ อุณหภูมิภายนอกซึ่งอยู่รอบตัวตึกนกในช่วงเวลา 21.00 น. หรืออย่างมากไม่ควรเกิน 21.20 น หากว่าทำได้ช้ากว่านี้ ผมคิดว่าระบบที่ใช้อยู่ยังดีไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้ามหากว่าลดอุณหภูมิภายใน Nesting Room ให้เท่ากับอุณภูมิที่อยุ่รอบๆบ้านนกได้เร็วกว่า 21.00 น.ได้มากเท่าไหร่ ผมถือว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นเป็นระบบที่ดีมาก แต่หากว่าทำอุณหภูมิให้ต่ำกว่าภายนอกได้อีกสัก 0.5 องศา ผมว่าอันนั้นแหละครับดีที่สุด
หากว่าเพื่อนๆที่อ่านแล้วเกิดสนใจ ก็ให้ลองนำโจทย์ทฤษฎีก่อน 3 ทุ่มหรือหลัง 3 ทุ่มนี้ไปเป็นแม่แบบเพื่อใช้ทดสอบประเมินประสิทธิภาพของการระบายอากาศ และ การลดอุณหภูมิภายในบ้านนกของเพื่อนๆดู จะทำให้เรามองเห็นดีข้อด้อยที่เป็นอยู่ แล้วให้ทำการเสริมจุดแข็งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และลดข้อด้อย ข้อผิดพลาดต่างๆน้อยลงไป หากว่าทำทั้ง 2 อย่างได้ดีแล้วอุณหภมิภายในกับภายนอกจะวิ่งเข้าหากันโดยธรรมชาติครับ และอุณหภูมิควรจะเท่ากัน ก่อนเวลา 21.00 น.ครับ
บทความนี้ยังไม่จบ เอาไว้มาต่อกันในบทต่อไปครับ เพราะว่ามีงานคั่งค้างอยู่มากยังไม่ได้ลงมือทำเลยครับ
Vuthmail-Thailand
12.05.53
ในปีนี้ผมตัดสินใจว่าจะไม่เดินทางไปไหน แต่มุ่งหมายว่าจะต้องเข้าไปดูเรื่องอุณหภูมิในบ้านนกให้ได้ เพราะว่าตั้งแต่ทำบ้านนกมาไม่เคยได้เข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย เพราะเทศกาลหยุดยาวก็หาเรื่องพักผ่อนก็ยาวสักที่ และตลอดเวลาอุณหภูมิใน Nesting Room ที่ผ่านตาไม่เคยเกิน 28.5-29.5 องศาเลย (ในกรณีที่ไม่ฤดูร้อน) จึงตายใจไม่เคยเข้าไปตรวจสอบเลย
แต่เช็งเม้ง ช่วง 4-5 เมษายน ที่สุรินทร์ร้อนมากๆ จึงนึกว่าปีนี้ขอเข้าไปดูอุณหภูมิในบ้านนกสักปีก็แล้วกัน ยกเลิกไม่ไปเที่ยว งดหมด ตั้งใจไปที่เรื่องอุณหภูมิของบ้านนก ในช่วงที่ร้อนที่สุดของเดือนที่ร้อนที่สุดเพราะว่ามีการส่งสัญญาณจากเช้งเม้งแล้ว จึงคิดว่าต้องไปดูให้แน่ใจกันเสียหน่อย
จริงอย่างที่คาดไว้ครับ อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยๆขึ้น หากว่าดูผ่านๆก็คงไม่คิดอะไรมาก แล้วก็จะไม่มีทางรู้ได้เลย ประกอบกับไม่มีข้อมูลเก่าของ 2ปีที่ผ่านมา ก็เลยไม่มีจุดสังเกตุ ดังนั้นผมเรียนว่าควรที่จะทำประวัติเรื่องอุณหภูมิความชื้นไว้เป็นประวัติจะมีประโยชน์มากครับ ในการ Monitor เพื่อหาสิ่งผิดปกติ ผมเองต้องยอมรับว่าเพราะเห็นแก่การพักผ่อน เห็นแก่การเที่ยวสนุกในช่วงวันหยุดยาวทำให้ไม่เคยรู้มาก่อนว่าปีก่อนเป็นอย่างไรบ้าง แต่ปีนี้เริ่มเก็บตัวเลขไว้แล้วครับ จึงอยากชวนให้เพื่อนทำดูกันบ้าง
แต่ผลของการเก็บตัวเลข การ Monitor ทำให้ได้ทราบว่าสิ่งที่เป็นอยู่นี้อาจจะไม่เพียงพอแล้ว ผมจึงเริ่มมองหาวิธีการลดอุณหภูมิในปีหน้า ปี 2554 ไว้ล่วงหน้า 1 ปีเลย โดยเริ่มทดลองเพิ่มการระบายอากาศภายในห้องนกให้มากขึ้น การลดอุณหภูมิโดยมองมาที่ตัว Blade Humidifier พร้อมวิธีการอื่นๆ ที่หวังว่าจะช่วยกันลดอุณหภูมิเล็กๆน้อยๆ จากหลายๆวิธีซึ่งแตกต่างกันเพื่อช่วยกันลดอุณหภูมิ เมื่อรวมๆกันแล้วน่าจะลดอุณหภูมิโดยรวมให้ได้อีกสัก 1.5-2 องศาพร้อมทั้งใช้เวลาในการลดอุณหภูมิให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็น Concept ที่ได้วางแนวทางกันไว้สำหรับปีหน้า 2554 แนวทางดังกล่าวนี้ทำให้ผมได้ข้อสรุปดังนี้นะครับ
อุณหภูมิภายในห้องนกจะเริ่มเพิ่มขึ้น เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ 7.30 น.ไปถึงช่วงก่อนเที่ยง และอุณหภูมิภายใน Nesting Room จะได้ขึ้นสูงสุดราวๆตอนบ่าย 14.00-14.30 น. ซึ่งจะทำให้สภาพภายใน Nesting Room อบอ้าวมากเพราะอิทธิพลจากผนังที่รับแดดในตอนเช้าจะเริ่มคลายความร้อนเข้าไปในห้องนก ถ้าหากว่าเราไม่เพิ่มอากาศเย็นเข้าไปในห้องนก และเร่งระบายอากาศร้อนเก่าออกไปจากห้องนก ความร้อนก็จะเริ่มสะสมไปจนช่วงเวลาบ่าย 16.00-17.00 น. จะทำให้สภาพอากาศภายในไม่ดี มีปัญหา
ในช่วงเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป
อุณหภูมิภายนอก จะเริ่มลดลงและค่อยๆลดลง อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 21.00-22.00 น.ซึ่งผมเองได้ใช้เวลาตอน 21.00 น.เป็นเส้นตาย หรือเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการลดอุณหภูมิและประสิทธิภาพของการระบายอากาศ ว่าดีมากน้อยเพียงใดโดยยึดเวลา 21.00 น.เป็นตัวประเมินผล
หากว่าระบายความร้อนดีและการลดอุณหภูมิมีประสิทธิภาพ อุณหภูมิภายใน Nesting Room จะต้องเท่ากับ อุณหภูมิภายนอกซึ่งอยู่รอบตัวตึกนกในช่วงเวลา 21.00 น. หรืออย่างมากไม่ควรเกิน 21.20 น หากว่าทำได้ช้ากว่านี้ ผมคิดว่าระบบที่ใช้อยู่ยังดีไม่เพียงพอ ในทางตรงกันข้ามหากว่าลดอุณหภูมิภายใน Nesting Room ให้เท่ากับอุณภูมิที่อยุ่รอบๆบ้านนกได้เร็วกว่า 21.00 น.ได้มากเท่าไหร่ ผมถือว่าระบบที่ใช้อยู่นั้นเป็นระบบที่ดีมาก แต่หากว่าทำอุณหภูมิให้ต่ำกว่าภายนอกได้อีกสัก 0.5 องศา ผมว่าอันนั้นแหละครับดีที่สุด
หากว่าเพื่อนๆที่อ่านแล้วเกิดสนใจ ก็ให้ลองนำโจทย์ทฤษฎีก่อน 3 ทุ่มหรือหลัง 3 ทุ่มนี้ไปเป็นแม่แบบเพื่อใช้ทดสอบประเมินประสิทธิภาพของการระบายอากาศ และ การลดอุณหภูมิภายในบ้านนกของเพื่อนๆดู จะทำให้เรามองเห็นดีข้อด้อยที่เป็นอยู่ แล้วให้ทำการเสริมจุดแข็งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และลดข้อด้อย ข้อผิดพลาดต่างๆน้อยลงไป หากว่าทำทั้ง 2 อย่างได้ดีแล้วอุณหภมิภายในกับภายนอกจะวิ่งเข้าหากันโดยธรรมชาติครับ และอุณหภูมิควรจะเท่ากัน ก่อนเวลา 21.00 น.ครับ
บทความนี้ยังไม่จบ เอาไว้มาต่อกันในบทต่อไปครับ เพราะว่ามีงานคั่งค้างอยู่มากยังไม่ได้ลงมือทำเลยครับ
Vuthmail-Thailand
12.05.53
10/5/53
ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ-4
วันเสาร์ที่ 08.05.53 ที่ผ่านมาผมได้ไปทำบุญสังฆทาน ที่วัดบางลำภู อ.บ้านแหลม โดยแบ่งเงินที่ได้จากสินค้าใน Blog ของผมซึ่งเพื่อนๆที่ได้ซื้อของจากผมไปได้ร่วมอนุโทนาบุญในครั้งนี้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะน้องพงษ์และคุณศักดิ์ชาย ที่มีเงินเหลือจากการส่งของคราวก่อนๆ ผมได้ทำบุญให้แล้วนะครับ
ของที่ทำไปทำสังฆทานในครั้งนี้ ผมถือว่าค่อนข้างครบถ้วนเกือบทุกอย่างครับ ผมมีรูปให้เพื่อนๆได้ดูว่าผมของที่นำไปทำบุญในครับนี้มีอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าครบถ้วน มีข้าวสาร น้ำ สบู่ แฟ็บ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน shampooสระผม Cotton Bud กระดาษทิสขู ยาธาตุน้ำขาว น้ำแดง ยาหอม ยาอมตราตะขาบ แป้งเย็น (อันนี้เพิ่มเติมเอง เพราะว่าเห็นว่าพระอาจจะร้อนเป็นผดผื่นก็เลยเพิ่มเข้าไปเอง 555 )
นมข้นหวาน น้ำตาล กาแฟ น้ำดื่ม ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ หลอดไฟ ปลั๊กไฟ เข็มเย็บผ้า เส้นด้าย กรรไกร ที่ตัดเล็บ สมุด ปากกา และเงินทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ช่วยบำรุงศาล ค่าน้ำค่าไฟ และถวายปัจจัยให้สงฆ์ที่รับสังฆทาน รวมเป็นเงินที่ทำไป 500 บาท
สาเหตุที่พิมพ์ว่าของที่ถวายมีอะไรบ้างก็เพราะอยากให้เพื่อนๆได้อ่าน จะได้รู้ว่ามีอะไรบ้าง จะได้รับทราบและเกิดจิตที่ศรัทธาในของที่ถวาย และจะได้กุศลมากขึ้นนะครับ ซึ่งอาจจะมีตกหล่นบ้างแต่ที่ปรากฎอยู่ในรูปจะครบสมบรูณ์ที่สุด
ขอให้เพื่อนๆที่รับรู้รับทราบในการทำบุญสังฆทานได้ร่วมกล่าวอนุโทนา สาธุกาล ในกุศลที่ทำในครั้งนี้ด้วยครับ โดยการกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ บุญกุศลที่กระผมได้ทำนี้ดีแล้ว ขอให้ท่านที่ร่วมอนุโมทนาได้รับ บุญกุศลนั้นเช่นกัน เทอญ อีก 3-4 วันจะออกบทความเรื่องความร้อนแล้วแนวทางที่ผมใช้ให้เพื่อนๆ นำไปทดลองให้ดูกัน
Vuthmail-Thailand 10.05.53
ของที่ทำไปทำสังฆทานในครั้งนี้ ผมถือว่าค่อนข้างครบถ้วนเกือบทุกอย่างครับ ผมมีรูปให้เพื่อนๆได้ดูว่าผมของที่นำไปทำบุญในครับนี้มีอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าครบถ้วน มีข้าวสาร น้ำ สบู่ แฟ็บ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน shampooสระผม Cotton Bud กระดาษทิสขู ยาธาตุน้ำขาว น้ำแดง ยาหอม ยาอมตราตะขาบ แป้งเย็น (อันนี้เพิ่มเติมเอง เพราะว่าเห็นว่าพระอาจจะร้อนเป็นผดผื่นก็เลยเพิ่มเข้าไปเอง 555 )
นมข้นหวาน น้ำตาล กาแฟ น้ำดื่ม ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ หลอดไฟ ปลั๊กไฟ เข็มเย็บผ้า เส้นด้าย กรรไกร ที่ตัดเล็บ สมุด ปากกา และเงินทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ช่วยบำรุงศาล ค่าน้ำค่าไฟ และถวายปัจจัยให้สงฆ์ที่รับสังฆทาน รวมเป็นเงินที่ทำไป 500 บาท
สาเหตุที่พิมพ์ว่าของที่ถวายมีอะไรบ้างก็เพราะอยากให้เพื่อนๆได้อ่าน จะได้รู้ว่ามีอะไรบ้าง จะได้รับทราบและเกิดจิตที่ศรัทธาในของที่ถวาย และจะได้กุศลมากขึ้นนะครับ ซึ่งอาจจะมีตกหล่นบ้างแต่ที่ปรากฎอยู่ในรูปจะครบสมบรูณ์ที่สุด
ขอให้เพื่อนๆที่รับรู้รับทราบในการทำบุญสังฆทานได้ร่วมกล่าวอนุโทนา สาธุกาล ในกุศลที่ทำในครั้งนี้ด้วยครับ โดยการกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ บุญกุศลที่กระผมได้ทำนี้ดีแล้ว ขอให้ท่านที่ร่วมอนุโมทนาได้รับ บุญกุศลนั้นเช่นกัน เทอญ อีก 3-4 วันจะออกบทความเรื่องความร้อนแล้วแนวทางที่ผมใช้ให้เพื่อนๆ นำไปทดลองให้ดูกัน
Vuthmail-Thailand 10.05.53
5/5/53
การ Block ความร้อนที่เกินคาด
อย่างที่บอกไว้ในบทความที่แล้ว ว่าเมื่อวันที่ 30 เมษายน เข้าไปที่บ้านนกเพื่อวางแนวในการป้องกันความร้อนไว้สำหรับปีหน้าที่คาดว่าจะสาหัสกว่าปีนี้ ซึ่งก็เริ่มทดลองกันไปบ้างแล้ว ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างก็ว่ากันไปเรื่อยๆ ไม่ได้ผลอย่างที่ใจคิดไว้ก็ถอยหลังกลับมามองหาสาเหตุกันใหม่ แสดงว่าเราตั้งประเด็นไว้ไม่ถูกต้อง ก็ให้เริ่มกันใหม่อย่าได้ท้อถอยนะครับ หากว่าเรายังคง foot Work ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการลับสมองตัวเองให้ได้ฝึกวิเคราะห์ปัญหา มองปัญหาให้เป็น แล้วจะได้แก้ปัญหาเก่งขึ้นเรื่อยๆครับ ซึ่งเมื่อเราแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งแก้ปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จด้วยวิธีการพื้นฐานที่สุด เมื่อนั้น เพื่อนๆจะพบทางสว่าง แสงแห่งปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้อีก ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์มากครับ
วันที่ทำการทดลองแก้ไขเรื่องอุณหภูมิตาม Clip นี้จะเป็นวันที่ 01.05.53 ซึ่งเป็นวันที่ร้อนสุดๆอีกวันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะว่าผมกับน้องทำงานกันกลางแดดร้อน ในขณะที่ทำงานไปก็รู้ว่าความร้อนปีนี้มีมากจริงๆ ร้อนกันสุดๆ ผมก็คิดว่าวันนี้อุณหภูมิคงขึ้นปรอทแตกแน่ๆ พอเข้าไปดูอึ้งไปเลยครับ
อุณหภูมิภายในตึกนก กับ ภายนอก(ซึ่งอยู่ในที่ร่ม)ต่างกันถึง 7 องศาโดยประมาณซึ่งเป็นเวลาเที่ยงกว่า ไม่อยากเชื่อเลยครับ แต่เครื่องไม้เครื่องมือเค้าแสดงตัวเลขยันยืนกันถึง 2 อุปกรณ์ก็ต้องจำเป็นต้องเชื่อตามที่ได้เห็นครับ
และจากการประวัติอุณหภูมินี้เอง ที่ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่าทำไมอุณหภูมิชั้นที่ 1 ค่าอุณหภูมิตัวบนต่างกับตัวล่างมาก คืออุณหภุมิตัวบนพุ่งขึ้นไปถึง 31.4-31.7 มา 2-3 หนแล้ว ในขณะที่ตัวล่างอุณหภูมิไม่เคยสูงกว่า 30 จึงสร้างความประหลาดให้กับผมมาก ดังนั้นผมก็เลยตัดสินใจเข้าไปดู เข้าไปหาสาเหตุว่าทำไมอุณหภูมิชั้นเดียวกันถึงได้ต่างกันเกือบ 2 องศา ซึ่งก็ได้พบสาเหตุว่าสายไฟที่เสียบอุปกรณ์เกิดหลวม ทำให้ Blade Humidifier ไม่ทำงานตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมจึงได้แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป โดยการเสียบปลั๊กให้แน่ ให้มั่นคงมากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะลดอุณหภูมิลงได้และไม่ทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันมากอย่างที่ผ่านมา
เรามาดูจาก Clip กันครับ
Vuthmail-Thailand
05.05.53
วันที่ทำการทดลองแก้ไขเรื่องอุณหภูมิตาม Clip นี้จะเป็นวันที่ 01.05.53 ซึ่งเป็นวันที่ร้อนสุดๆอีกวันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะว่าผมกับน้องทำงานกันกลางแดดร้อน ในขณะที่ทำงานไปก็รู้ว่าความร้อนปีนี้มีมากจริงๆ ร้อนกันสุดๆ ผมก็คิดว่าวันนี้อุณหภูมิคงขึ้นปรอทแตกแน่ๆ พอเข้าไปดูอึ้งไปเลยครับ
อุณหภูมิภายในตึกนก กับ ภายนอก(ซึ่งอยู่ในที่ร่ม)ต่างกันถึง 7 องศาโดยประมาณซึ่งเป็นเวลาเที่ยงกว่า ไม่อยากเชื่อเลยครับ แต่เครื่องไม้เครื่องมือเค้าแสดงตัวเลขยันยืนกันถึง 2 อุปกรณ์ก็ต้องจำเป็นต้องเชื่อตามที่ได้เห็นครับ
และจากการประวัติอุณหภูมินี้เอง ที่ทำให้ผมเกิดความสงสัยว่าทำไมอุณหภูมิชั้นที่ 1 ค่าอุณหภูมิตัวบนต่างกับตัวล่างมาก คืออุณหภุมิตัวบนพุ่งขึ้นไปถึง 31.4-31.7 มา 2-3 หนแล้ว ในขณะที่ตัวล่างอุณหภูมิไม่เคยสูงกว่า 30 จึงสร้างความประหลาดให้กับผมมาก ดังนั้นผมก็เลยตัดสินใจเข้าไปดู เข้าไปหาสาเหตุว่าทำไมอุณหภูมิชั้นเดียวกันถึงได้ต่างกันเกือบ 2 องศา ซึ่งก็ได้พบสาเหตุว่าสายไฟที่เสียบอุปกรณ์เกิดหลวม ทำให้ Blade Humidifier ไม่ทำงานตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นผมจึงได้แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป โดยการเสียบปลั๊กให้แน่ ให้มั่นคงมากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะลดอุณหภูมิลงได้และไม่ทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันมากอย่างที่ผ่านมา
เรามาดูจาก Clip กันครับ
Vuthmail-Thailand
05.05.53
เปิดตัว เจ้าของตึกนกน้องชายนาย Vuthmail-Thailand ครับ
หลายวันก่อน ช่วงวันที่ 30 เมษายน 2553 ผมกับน้องชายเข้าไปที่บ้านนก
ผมเข้าไปเพื่อตรวจสอบ และทดลองการวางแนวทางเพื่อแก้ไขเรื่องอุณหภูมิให้ลดลงไปอีก เพราะว่าที่เป็นอยู่ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอุณหภูมิภายในยังสูงไปเล็กน้อย ก็เลยหาแนวทางในการแก้ไขไว้ตามที่ได้แนะนำเพื่อนๆไว้ในบทความก่อนๆๆ ซึ่งผมก็ได้ทำตามที่ตนเองได้แนะนำเพื่อนๆไป พร้อมๆกันเลย
ส่วนน้องชายผม เค้าเป็นนักพัฒนาโดยเริ่มต้นการพัฒนาที่ดินมาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินมาแล้ว ก็ได้ค่อยๆพัฒนาที่ดินให้สอดคล้องก็การใช้งานและ LandScape ของที่ดิน โดยน้องชายผมเค้าเก่ง ถนัดในด้านนี้มากกว่าผม จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเค้ามาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การหาที่ดิน การถมที่ การวางผังก่อสร้าง การตอกเข็ม การหาผู้รับเหมา การมองและใช้ประโยชน์ในที่ดินในปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมดเป็นผลงานของน้องชายผมทั้งหมด
การวางผังทำสวน ทำเนิน การเกาะกลางปลูกต้นไม้ การปลูกหญ้า ปลูกป่าชายเลน ปรับภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดออกมาสวยงามอย่างที่เห็น การพัฒนาที่ดินตลอดระยะเวลา 4 ปีเค้าทำด้วยกำลังสติปัญญา และกำลังกายของเค้าเองมาตลอด ลงแรงกาย แรงใจไปในการทำให้ที่ดินแปลงนี้สวยถูกใจทั้งตัวเจ้าของที่เอง ซึ่งก็คือครอบครัวของตระกูล สุรินทร์รัฐ รวมถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ได้มีโอกาสแวะเวียนมาพักในวันหยุดยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความสุขใจ ความภูมิใจของคนที่ทำงาน คนที่สร้างสรรค์จากที่ดินที่รกร้างให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนหลายคน
ขอบใจนะเจ้าน้องชายนักพัฒนา ที่ทำให้ที่ดินผืนนี้สวยงามขึ้นมาได้อย่างที่เห็น อย่างที่เป็นอยู่นี้ แต่ว่าคราวหน้างานหนัก งานโหด อย่างงานแบกดินที่ละปุงกี่เพื่อนำไปถมเนินปลูกหญ้า งานโหดๆอย่างนี้พี่ไม่สู้ 555
แต่ยอมรับว่าน้องทำได้ดี ทำเพื่อส่วนรวมด้วยความลำบากมาก เข้าใจ และขอบใจมาก
วันที่ทำงานถมดินเพื่อปลูกหญ้านี้เป็นอาทิตย์ที่ร้อนอย่างสาหัสมาก ท่ามกลางแดดในฤดูร้อน และวันที่ร้อนสุดอุณหภูมิภายในที่ร่ม 36-37 เซสเซียล กลางแดดเที่ยงอุณหภูมิสูงเลย 40 องศา ทำงานกันทั้งวันเช้าจนเย็น เป็นอะไรที่ยากสำหรับคนทำงาน Office ทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาจริงๆๆ นับถือนับถือ
Vuthmail-Thailand
05.05.53
ผมเข้าไปเพื่อตรวจสอบ และทดลองการวางแนวทางเพื่อแก้ไขเรื่องอุณหภูมิให้ลดลงไปอีก เพราะว่าที่เป็นอยู่ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอุณหภูมิภายในยังสูงไปเล็กน้อย ก็เลยหาแนวทางในการแก้ไขไว้ตามที่ได้แนะนำเพื่อนๆไว้ในบทความก่อนๆๆ ซึ่งผมก็ได้ทำตามที่ตนเองได้แนะนำเพื่อนๆไป พร้อมๆกันเลย
ส่วนน้องชายผม เค้าเป็นนักพัฒนาโดยเริ่มต้นการพัฒนาที่ดินมาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินมาแล้ว ก็ได้ค่อยๆพัฒนาที่ดินให้สอดคล้องก็การใช้งานและ LandScape ของที่ดิน โดยน้องชายผมเค้าเก่ง ถนัดในด้านนี้มากกว่าผม จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเค้ามาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การหาที่ดิน การถมที่ การวางผังก่อสร้าง การตอกเข็ม การหาผู้รับเหมา การมองและใช้ประโยชน์ในที่ดินในปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมดเป็นผลงานของน้องชายผมทั้งหมด
การวางผังทำสวน ทำเนิน การเกาะกลางปลูกต้นไม้ การปลูกหญ้า ปลูกป่าชายเลน ปรับภูมิทัศน์ ซึ่งทั้งหมดออกมาสวยงามอย่างที่เห็น การพัฒนาที่ดินตลอดระยะเวลา 4 ปีเค้าทำด้วยกำลังสติปัญญา และกำลังกายของเค้าเองมาตลอด ลงแรงกาย แรงใจไปในการทำให้ที่ดินแปลงนี้สวยถูกใจทั้งตัวเจ้าของที่เอง ซึ่งก็คือครอบครัวของตระกูล สุรินทร์รัฐ รวมถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ได้มีโอกาสแวะเวียนมาพักในวันหยุดยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความสุขใจ ความภูมิใจของคนที่ทำงาน คนที่สร้างสรรค์จากที่ดินที่รกร้างให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนหลายคน
ขอบใจนะเจ้าน้องชายนักพัฒนา ที่ทำให้ที่ดินผืนนี้สวยงามขึ้นมาได้อย่างที่เห็น อย่างที่เป็นอยู่นี้ แต่ว่าคราวหน้างานหนัก งานโหด อย่างงานแบกดินที่ละปุงกี่เพื่อนำไปถมเนินปลูกหญ้า งานโหดๆอย่างนี้พี่ไม่สู้ 555
แต่ยอมรับว่าน้องทำได้ดี ทำเพื่อส่วนรวมด้วยความลำบากมาก เข้าใจ และขอบใจมาก
วันที่ทำงานถมดินเพื่อปลูกหญ้านี้เป็นอาทิตย์ที่ร้อนอย่างสาหัสมาก ท่ามกลางแดดในฤดูร้อน และวันที่ร้อนสุดอุณหภูมิภายในที่ร่ม 36-37 เซสเซียล กลางแดดเที่ยงอุณหภูมิสูงเลย 40 องศา ทำงานกันทั้งวันเช้าจนเย็น เป็นอะไรที่ยากสำหรับคนทำงาน Office ทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาจริงๆๆ นับถือนับถือ
Vuthmail-Thailand
05.05.53
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)