13/5/53

ท่านทราบหรือไม่ว่าทำไมหน้าร้อนปี 2553 จึงร้อนจัด

เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว พุทธองค์ได้ค้นพบ สัจธรรมแห่งชีวิตด้วยการตรัสรู้ และก่อตั้งศาสนาใหม่ที่ เน้นคำสอนและการปฏิบัติตนในแนวทางที่เห็นจริง อย่างมีสาระ โดยไม่ต้องลุ่มหลงงมงายอยู่กับโชคลาภ และดวงชะตาราศี ในครั้งนั้นพุทธบัญญัติข้อหนึ่งที่มอบให้กับเหล่าพระสงฆ์ก็คือ

“การเข้าพรรษา” ให้เริ่มต้นในวันถัดจาก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับต้นฤดูฝน  ซึ่งเป็นเงื่อนไข 2 ข้อผูกมัด สัมพันธ์กันอยู่ เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3
เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษา ทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่ กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการ เหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปี แรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ  เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน เป็นเหตุให้  วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชย   ระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ”


เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน โดยประมาณ 3 ปีก็จะเท่ากับมีความแตกต่างกันอยู่ 33 วัน (ก็ประมาณ 1 เดือนกับอีก 2หรือ 3 วัน) ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน ดังนั้นทุกๆ 3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน จากจำนวนวันที่ต่างกันอยู่ 33 วัน ดังนั้นจึงได้เพิ่มที่เดือน 8 ให้มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไป  เริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง   การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ

ปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษาเป็นจุดกำหนด (เพื่อย้อนขึ้นไปหาวันเข้าพรรษา) หากวันออกพรรษาปีใดร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนด ให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส” ปีอธิกมาสนี้ฤดูกาลจะเคลื่อนออกไป ร้อนนานขึ้น ฝนมาช้ากว่าปกติ ตามคำที่โบราณท่านบอกท่านสอนไว้ นี่แหละครับภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ใช้ปฎิทินตามจันทรคติซึ่งใช้การเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงหน้าร้อน แตกต่างกับปีปฎิทินสากสของชาวยุโรป

สิ่งที่กระทบกับฤดูกาล ก็ย่อมกระทบกับอุณหภูมิใน ความชื้นในบ้านนก เมื่อครบรอบขึ้นปีที่ 4 ปี ทำให้รอบฤดูเคลื่อนไป 1 เดือนโดยประมาณ จึงทำให้หน้าร้อนยาวนานกว่าปกติ และ สาเหตุที่ยาวนานกว่าปกติ ความชื้นในอากาศหายไปมาก อากาศจึงร้อนมากกกก ร้อนจัดก็ว่าได้เลย คราวนี้เพื่อนๆคงทราบสาเหตุที่ทำให้ปี 2553 ร้อนจัดมากๆ ตังนั้นปี 2554 จึงไม่น่าจะร้อนตามที่เคยคาดคิดเอาไว้นะครับ

ปีอธิกมาสปี 2553 นี้ ให้ดูวันที่ในปฏิทินจะเริ่มต้น ในวันที่ 12.07.53 นี้และดูวันข้างขึ้นข้างแรม ที่เขียนกำกับอยู่ จะเขียนไว้ว่า ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8-8 ซึ่งเป็นเดือน 8 ส่วนหลังหรือเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และจะไปจบในวันที่ 10.08.53 จึงจบเดือน 8 ส่วนหลัง ส่วนวันที่ 11.07.53 จึงจะเปลี่ยนเป็น ขึ้น 1 ค่ำเดือน 9
แต่ปี 2557 จะเป็นปี "อธิกมาส" ร้อนจัดกันอีกทีครับ ก็จะครบรอบ 4 ปี แล้วเรามาดูกันว่าปีพ.ศ. 2557 จะร้อนอย่างปีพ.ศ. 2553 นี้หรือไม่ อย่างไร

ต้องกราบขอบพระคุณ ข้อมูลเบื้องต้นจากหลวงพ่อ วัดางลำภู บ้านแหลมเพชรบุรี ที่ชี้ทางสว่างให้ และข้อมูลโดยละเอียดจาก Yahoo รอบรู้โดยคุณ TK จาก http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080213022645AAKOHsU    ด้วยครับ

                                                                      Vuthmail-Thailand
                                                                    13.05.53  วันพืชมงคล

ไม่มีความคิดเห็น: