24/5/53

สูตรการคำนวณ Air Change ในบ้านนก

อย่างที่ได้เกริ่นไว้ว่า ตัวเลขการคำนวณ Air Change ภายในบ้านนกนั้น สามารถคำนวณได้ โดยมีที่มาที่ไปของตัวเลข Air Change ให้ได้ช่วงระหว่าง 3-5 ครั้งต่อชั่วโมง

วันนี้ผมตามทำสัญญาที่ให้ไว้แล้ว โดยการเขียนขึ้นมาเป็น สมการให้เลยครับ หากว่าเพื่อนๆที่สนใจ ทิ้ง Email ไว้ให้ผมหน่อยนะครับ ผมจะส่งสมการที่เขียนขึ้นมานี้ไปให้เลย เนื่องจากว่าจริงๆแล้วผมเขียนโปรแกรมนี้ด้วย คำสั่ง Lotus 123 ที่ Run บน Windows ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนคงใช้ไม่ค่อยเป็น ก็เลยได้แปลงสมการนี้เป็น Excel ไว้ให้ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง สอบทานผลการคำนวณหลายครั้งแล้ว ใช้ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร

หากว่าต้องการคำนวณหาค่า Air Change เพื่อนๆจะต้องใส่ค่าประสิทธิภาพ หรือปริมาตรอากาศที่ดูดออกจากพัดลมรุ่นที่ใช้ว่ามีค่าเท่าไหร่ เมื่อใส่ค่าลงไปแล้วโปรแกรมก็จะคำนวณหาค่า Air Change ให้ออกมาเอง

ในกรณีกลับกันหากว่าต้องการหาจำนวนพัดลมที่ต้องการจะติดตั้ง เราก็จำเป็นจะต้องทำประมาณการณ์ขึ้นมาว่าจะเอาค่า Air Change ที่เท่าไหร่เสียก่อน แล้วก็แล้วก็ใส่ค่าประสิทธิภาพของพัดลมที่สอบถามตัวเลขจากบริษัทที่ผลิต เมื่อทราบตัวเลขแล้วก็แทนค่าเข้าไป แล้วโปรแกรมก็จะทำการคำนวณย้อนกลับไปหา ตัวเลขของจำนวนพัดลมที่จะต้องติดตั้งออกมาให้ว่าจะต้องใช้พัดลมจำนวนตัวโดยอัตโนมัติ

สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องทราบก่อน หรือต้องมีตัวเลขในมือก่อนก็คือ เรื่องปริมาณอากาศที่ถูกดูดออกไป สำหรับพัดลมดูดอากาศในแต่ละรุ่น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก  ซึ่งเราสามารถโทรไปขอจากบริษัทที่ผลิตพัดลมดูดอากาศนั้นๆได้

โดยสอบถามว่าพัดลมรุ่นนั้นๆสามารถดูดอากาศออกได้ กี่ CFM ( กี่คิวบิกฟุตต่อนาที) หรือว่า กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง CMH  ซึ่งตัวเลขการดูดอากาศนี้ขอให้รู้ตัวเลขเพียงตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งก็ใช้ได้แล้วครับ  เพราะว่าผมได้เขียนสูตรไว้รองรับให้ทั้ง 2 กรณีแล้ว ซึ่งจะเป็นการสะดวกมาก หากว่ามีเพียงสมการเดียวจะให้ต้องยุ่งยากในการแปลงหน่วยกลับไปกลับมา และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ การแทนค่าก็ใช้แค่เพียงค่าใดค่าหนึ่งที่ได้มาก็เพียงพอครับ แต่สิ่งที่จำเป็นมากก็คือจะต้องรู้ค่า กี่คิวบิกฟุตต่อนาที กี่คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง จากบริษัทผู้ผลิตพัดลมซึ่งเป็น Key สำคัญในการคำนวณ

อย่างเช่นพัดลมดูดอากาศของ MITSUBISHI รุ่น EX-30RH รุ่นที่ผมใช้อยู่สามารถดูดอากาศออกได้ 1,300 คิวบิกเมตรต่อชั่วโมง  เราก็เอาตัวเลข 1,300 แทนค่าลงไปในช่อง CMH (ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) ได้เลยครับ  หรือเป็นรุ่นอื่นที่เป็นพัดลมใบใหญ่กว่า ใช้มอเตอร์ที่แรงๆ ก็ทำให้ใช้น้อยตัวลงไปอีกหน่อย และราคาก็ไม่ได้สูงกว่าสักเท่าไหร่ ผมจึงอยากแนะนำให้รุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมมากกว่า ตัวอย่างเช่น รุ่นที่ผมใช้อยู่คือ EX-30RH ซื้อมาเครื่องละ 1,100 บาท แต่ว่ารุ่นกึ่งอุตส่าหกรรมของยี่ห้อ จำไม่ได้แต่จะมาบอกให้ทราบตอนไปบ้านนกราคา 1,550 บาท แพงกว่าเล็กน้อยแต่ประสิทธิภาพดีกว่า 3-4 เท่า คุ้มค่ามาก

ตัวเลข Air change และ สูตรการคำนวณนี้ หลายคนอาจจะไม่ค่อยทราบว่ามีประโยชน์ แต่จริงแล้วมีประโยชน์มาก ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหลายประการ รู้ไว้ไม่เสียหายครับ แต่กลับจะเป็นประโยชน์มาก หากว่าสามารถนำไปใช้งานในเชิงประยุกต์ได้ เช่น การเพิ่มระบบการไหลเวียนอากาศ  การลดอุณหภูมิ และใช้ในการควบคุมความชื้น  หากว่าสนใจ Email มาหาผมนะครับ

ต้องขอขอบพระคุณข้อมูลสำคัญเหล่านี้จาก บริษัท Pine Trading จำกัด เป็นอย่างมากที่ให้ข้อมูลวิธีการในการคำนวณ จนผมสามารถนำมาสร้างสมการอย่างที่เห็นอยู่ในโปรแกรม

หากว่าเพื่อนๆที่สนใจโปรแกรมนี้ผมขอรบกวนเพื่อนๆเข้าไป Download ตามสะดวกได้ที่
http://www.4shared.com/get/302888433/d64dc61a/_AirChange_.html

หากว่าดูใน Clip ไม่ชัดเจน รบกวนดูแบบ Full Screen จะดูได้ชัดขึ้นอีกพอประมาณครับ




                                                                 Vuthmail-Thailand
                                                                         24.05.53
                                                         

13 ความคิดเห็น:

num.jan กล่าวว่า...

จำนวน3ครั้งต่อช.ม. แล้วแต่ละครั้งใช้เวลาเท่าไหร่ครับ..ค่าตรงนี้ไม่มีผลเหรอครับ..ไม่ก่าวจัย..ฮิ

Unknown กล่าวว่า...

ผมกลัวว่าจะไม่เข้าใจคำถามของคุณหนุ่มเท่าไหร่เพราะว่าถามมาสั้นมากเกินไป

แต่ว่าผมจะลองตอบคุณหนุ่มไปก่อนนะครับ ผมขอทบทวนอย่างนี้นะครับว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมงก็หมายถึงว่า ภายใน 20 นาทีก็จะดูดอากาศออกกหมด แต่ละรอบละกินเวลา 20 นาทีจำนวน 3 รอบก็จะเท่ากับ 1 ชั่วโมงนะครับ

tha กล่าวว่า...

ผมTHAครับ น่าสนใจมากครับคุณVUTH ขอโปรเเกรมairchangeด้วยครับ mobileremix@hotmail.com
ขอบคุณครับ

tha กล่าวว่า...

น่าสนใจมาก ขอโปรแกรมAIRCHAGEด้วยครับ
ขอบคุณครับ mobileremix@hotmail.com

Unknown กล่าวว่า...

คุณ THA ผมส่ง โปรแกรมไปให้แล้วนะครับ ขอคุณครับที่ยังติดตามอ่าน Blog ของผมอยู่

สินค้าคุณธรรม / สินค้าทำบุญ กล่าวว่า...

ได้ชมแล้ว ดีมากเลยครับ
กำลังจะแก้ปัญหา
โรงงานมีอากาศ ร้อน อยู่พอดี

(ถ้าไม่เป็นการรบกวน ขอโปรแกรม
ด้วยครับ somkijb@gmail.com)

ขอบคุณมากครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จะได้นำไปเสนอ หัวหน้า เพื่อลงทุนดำเนนการต่อไป
มีประโยชน์ ใช้เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ

ขอบพระคุณในความกรุณามากครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บล็อกนี้น่าสนใจมาก มีความรู้ให้มากมาย จะนำความรู้นี้ไปลองใช้ดู รบกวนของโปรแกรมด้วยนะครับ astonmatin2009@gmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าผมคำนวณมาว่า ให้พัดลมทำงาน 3 ครั้งต่อชั่วโมง แล้วต้องใช้พัดลม 3 ตัว
ขอถามว่า พัดลมทั้ง 3 ตัว เราต้องเปิดใช้งานพร้อมกัน 20 นาทีทุกตัวเลยรึเปล่าครับ หรือว่า สลับกันตัวละ 20 นาที ต่อ 1 ครั้งอะครับ

Vuthmail กล่าวว่า...

เรื่องการคำนวณ Air Change นี้ในการคำนวณนั้น เมื่อได้รับตัวเลขจากการคำนวน และ จำนวนพัดลมที่ใช้แล้ว นั้นหมายถึงว่า การทำงานเต็มประสิทธิภาพของแต่จำนวนพัดลมทั้งหมดที่คำนวณได้ เพื่อให้ได้ Air Change ที่สอดคล้องกับ ปริมาตรของตัวอาคาร แลภายในระยะเวลาที่ต้องการ

คำถามคือ ถ้าผมคำนวณมาว่า ให้พัดลมทำงาน 3 ครั้งต่อชั่วโมง แล้วต้องใช้พัดลม 3 ตัว เปิดทำงานตามเวลาที่ต้องการเช่น 45 นาที หากว่ามีพัดลมมากกว่าเป็น 9 ตัว แล้วเปิดสลับกัน 1 ชุด 3 ตัว ทำงานชุดละ 15 นาที ชุดที่ 1 ทำงานตั้งแต่ นาที 0-15 แล้วปิด พร้อมทั้งเปิด ชุดที่ 2 ให้ทำงานตั้งแต่ นาที 16-30 แล้วปิด และชุดสุดท้าย ชุดที่ 3 ตั้งแต่นาที่ 31-45 อย่างนี้ได้ครับ

คำตอบคือใช่ครับ ต้องเปิดพร้อมกัน 3 ตัว

alice กล่าวว่า...

โปรแกรมที่ให้ดาวโหลดใน 4 share เหมือนกันกับที่ขอมั้ยครับ ถ้าไม่เหมือนผมขอด้วยนะครับ watinchai25@hotmail.com ขอบคุณมากครับ

alice กล่าวว่า...

อยากทราบว่าถ้าในอาคารนั้นมีระบบปรับภาวะอากาศ จึงใช้ air change เป็น 2 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง/ตารางเมตร เราจะนำมาคำนวณได้อย่างไรครับ (อาคาร 5 ชั้น)

Unknown กล่าวว่า...

สูตรเดียวกันเลยครับ เอาไปใช้คำนวณเองได้เลยนะครับ

ส่วนคำถามเรื่อง 2 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง/ตารางเมตร ไม่ค่อยเข้่าใจคำถามครับ

แต่หลักการคำนวณ Air Change นั้นฐานการคำนวณเป็น ลูกบาศก์เมตร หรือ ลูกบาศก์ฟูตครับ ไม่ได้คำนสณจากฐานตารางเมตรครับ

หลักการเอาความกว้าง x ยาว x ความสูงตึก ออกมาเป็น คิวบิกเมตร (ลูกบาศก์เมตร) ได้ตัวเลขเท่าไหร่ เอาค่า Air Change ที่ต้องการหาร ก็จะได้ค่าที่ต้องใส่พัดลม (หากว่าติดตั้งใช้หลายตัวช่วยกันได้ครับ เพื่อให้ค่า Air Change ตามต้องการ)