7/12/52

Back to Basic

  • หัวข้อนี้ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่ธรรมดาๆๆ แต่เป็นปัญหาที่ไม่ธรรมดาแน่นอน
  • กฎเหล็ก ตัวแปร 3 ตัวแปรหลักที่สำคัญที่สุด อุณหภูมิ ความชื้น ความมืด
  • ความมืดเป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ หลีกเลี่ยงแสงให้มาก โดยหันช่องนกเข้าออกไปทางที่มีแสงน้อย หากว่าเลี่ยงไม่ได้ก็จำเป็น หันไปทางที่สะดวก ส่วนเรื่องแสงที่เข้าก็ค่อยหาวิธีการจัดการเอาตามที่ควรจะเป็น เช่นการทาสีดำที่ผนังหรือกำแพงเพื่อช่วยลดแสง ทำกำแพงกั้นแสงไม่ให้แสงส่องเข้ามามากเกินไป เลือกใช้ Plank หน้ากว้างทำเป็นไม้เกาะ หรือการเปลี่ยนขนาดช่องเข้าออกให้แคบลง แต่ต้องไปเพิ่มความยาวของช่องเข้าออกให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อบีบแสงให้เข้ามาได้น้อยลง แต่ว่านกจะเข้าออกได้หลาย Lane มากขึ้น
  • แสงแดดตอนเช้าหรือตอนเย็นส่วนมากส่งผลต่ออุณหภมิ และความชื้นในบ้านนกไม่มากเท่าไหร่ครับ มีผลบ้างแต่ไม่มาก ไม่ควรกังวลมากจนเกินไป แต่แดดตอนกลางวันนี้แหละตัวสำคัญที่จะทำให้ อุณหภูมิความชื้นในตึกได้เปลี่ยนแปลงได้มากกว่า ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับแดดช่วงนี้มากกว่า หากว่าเป็นตึกนก บ้านนกที่เป็น Stand Alone โดนแดดเผาตลอดเวลาจนกว่าพระอาทิตย์จะตก ดังนั้นการจัดการกับอุณหภูมิ ความชื้นจะต้องมีเครื่องมือเข้ามาช่วยก็ตอนนี้แหละครับ เพื่อเป็นการแก้ไข อุณหภูมิความชื้นที่สูญเสียไป










  • ดังนั้นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทเพื่อทำหน้าที่แทนธรรมชาติ เช่น เครื่องทำความชื้น ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายรูปแบบครับ เช่น ระบบการทำความชื้นผ่าน Pump ผ่านหัวฉีด Nozzle ซึ่งผมก็ไม่เคยใช้หรอกครับ และตั้งใจว่าจะไม่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะในมุมมองของผมรู้สึกว่ามันจะสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา เพราะว่าน้ำก็ต้องบริสุทธิมาก ต้องผ่านการกรอง เพื่อจะไม่ทำให้เกิดการอุดตันของหัวฉีด หรือหยดน้ำที่ค้างอยู่ที่ปลายหัวฉีดจะสร้างตะกรันทำให้หัวฉีดอุดตันเช่นกัน การควบคุมระบบหัวฉีดก็ยากที่จะต้องมีการลดขนาดของท่อลงตามความยาวที่มากขึ้น เพื่อจะ Balance แรงดันให้หัว Nozzle ฉีดน้ำได้ทุกตัวทุกจุด หากว่าไม่ทำการ Balance แรงดันหัวฉีดที่อยู่ใกล้ปั้มแรงดันจะสูงเกินไป-ฉีดน้ำแรงและมากเกินไป ส่วนปลายๆสายก็เป็นระบบน้ำหยดแทนที่จะเป็นระบบฉีดน้ำ ยิ่งยาวมากก็ยิ่งลดขนาดท่อน้ำให้เล็กลง ซึ่งเป็นเรืองยากในการ Balance แรงดันให้เท่ากันๆ ทุกจุด จึงเป็นสาเหตุที่ไม่เลือกใช้ระบบนี้ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเรายังไม่มีความเข้าใจใน Technic เหล่านี้ ทำเองไม่ได้ ก็เลยไม่อยากเสี่ยงลงทุน
การดูแลรักษาก็ทำได้ยาก เพราะจะต้องติดตั้งไว้ให้สูงจากพื้นมาก
  • แต่ก็มีข้อดีของระบบนี้อยู่เหมือนกันคือทำความชื้นได้เร็วกว่า ลดอุณหภูมิได้รวดเร็วมาก











      ระบบต่อมาก็คือการใช้ เครื่องปั่นละอองไอน้ำ แบบหนีศูนย์กลาง ประเภทที่ใช้พัด (หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า) Blade Humidifier ที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ซื้อได้ง่ายสะดวกกว่าระบบ Nozzle มีหลายรุ่นจากหลายประเทศ ราคาก็หลากหลายเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ 6,000-6,500 บาท (บางตัวมาจากอิตาลี ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 45,000-65,000 แพงไป 8-10 เท่า) การติดตั้งก็ง่ายสะดวก ต่อสายยาง เสียบปลั๊กก็ทำงานได้เลย การบำรุงรักษาถือว่าทำได้ง่ายมาก ไม่ต้องใช้ Pump แรงดันน้ำปกติก็ใช้ได้ สามารถถอดออกเป็นชิ้นๆได้และประกอบกลับได้เองไม่ต้องมีความรู้อะไรมากมาย ส่วนน้ำที่ใช้เป็นน้ำที่ไม่ต้องกรองผ่าน Filter น้ำที่มีขี้นกปนอยู่ก็ยังใช้ได้ เครื่องแบบนี้ทำงานได้อึดพอสมควร แต่ว่าเรื่องความสูงของละอองน้ำนี้ยังกำหนดได้ยาก โชคดีที่เครื่องแบบนี้จะมีใบพัดให้มา 2 ขนาด ใบเล็กกินลมน้อย ความสูงที่ละอองน้ำก็จะต่ำกว่าใบใหญ่ที่กินลมมาก ละอองน้ำลอยขึ้นสูง (ซึ่งใบพัดใหญ่อาจจะทำให้เกิดเชื้อราบนไม้เกาะได้ แต่ยังพอมีวิธีแก้นะครับ) จุดด้อยของตัวนี้ก็คือเรื่องของเสียงที่ดังมาก และเรื่องการกำหนดความสูงของละอองน้ำไม่ได้ นอกนั้นผมว่าสอบผ่านหมด

      • ระบบต่อมาก็เป็น Ultrasonic ซึ่งเป็นระบบที่ใช้การสั่นสะเทือนของหน้าหมอกประมาณ 1.7 ล้านครั้งต่อนาที ซึ่งทำให้น้ำเกิดการแตกตัวเป็นละอองเล็กๆๆ เป็นละอองไอน้ำละเอียด และนำเอาพัดลมมาเป่าละอองน้ำก็จะลอยขึ้นสูง ระบบนี้ก็เป็นระบบที่ดีระบบหนึ่งนะครับ การบำรุงรักษาก็ง่ายสะดวก สามรถทำเองได้ มีแหล่งขายแถวสะพานเหล็ก ระบบนี้จะมีจุดด้อยเรื่องคุณภาพของตัวน้ำ หากว่าน้ำมีสิ่งเจือปน ก็ทำให้ตัวหน้าหมอกเกิดเป็นคราบตะกรัน คราบตะกรันนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการทำหมอกด้อยลงไป ทางแก้ไข ทำก็คือเอาแปรงสีฟันไปขัดๆ ที่หน้าหมอกให้สะอาด ก็ใช้ต่อไปได้ แต่จะประสิทธิภาพจะลดลงไปเรื่อยๆตามกาลเวลา จากประสบการณ์จริงที่ใช้อย่างจริงจังในตึกของผมเอง ระบบนี้จะใช้ได้ประมาณ 1-2 ปีก็ต้องเปลี่ยนหน้าหมอกใหม่ทั้งระบบ
      • ข้อดีระบบนี้ ก็คือน้ำไม่ต้องกรองผ่าน Filter แรงดันน้ำปกติก็ใช้ได้และระบบ Ultrasonic จะใช้ดีในหน้าหนาวเนื่องจากว่าระบบนี้จะเพิ่มความร้อน เพิ่มอุณหภูมิในบ้านนกขึ้น 1-3 องศา แต่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในหน้าร้อน เพราะจะทำให้ภายในตึกเกิดความอบอ้าวมากๆๆๆ ข้อดีอีกประการคือสามารถทำได้เอง ราคาต่อชุดอยู่ราว 4,500 บาท
      • จุดเปราะของระบบนี้อีกอย่างก็คือ การผุ กร่อนของชุดทำหมอก ดังนั้นก่อนใช้หัวหมอกจะต้องทาสีเคลือบ เพื่อป้องกันสนิมที่จะกัดกินเนื้อเหล็กของหัวหมอกจนเสียหาย แต่รับรองได้ว่าในระยะ 1-2 ปี ท่านจะต้องจ่ายเงินซื้อหน้าหมอกหรือแผ่นทำหมอกใหม่ทั้งระบบเพราะคราบตะกรันที่เกิดจากขี้นก เนื่องจากละอองไอน้ำจะไปละลายขี้นก ทำให้ขี้นกไหลย้อนลงกลับมาอยู่ในอ่างน้ำ ทำให้น้ำมีขี้นกไปเจือปนอยู่ และขี้นกนี้เองที่เป็นตัวไปเปลี่ยนสภาพน้ำให้ทำให้น้ำเป็นกรดหรือด่าง ทำให้หน้าหมอกเกิดตะกรัน และกัดกินชุดหัวหมอกให้เสียหายในเวลาต่อมา







      เมื่อสร้างความชื้นจากเครื่องทำความชื้นเหล่านี้แล้ว สิ่งเราจะต้องคำนึงถึงก็คือความสัมพันธุ์ของความชื้นที่จะส่งผลต่ออุณหภูมิภายในตึกนก ซึ่งมีความสัมผัสกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เช่นหากว่าความร้อนในตัวตึกมีมาก  เมื่อเราเปิดเครื่องทำความชื้นแล้ว เครื่องทำความชื้นก็จะเกิดละอองน้ำและละอองไอน้ำนี้จะลอยขึ้นไปจับเอาความร้อนในอากาศรอบๆข้างเอาไว้  แล้วละอองน้ำนี้ก็ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ขบวนการนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในตึกนกลดลง อากาศเย็นขึ้น
      แต่เมื่อทำความชื้นนานเกินไปละอองน้ำที่เป็นส่วนเกินก็จะมีจำนวนมากเกินไป จึงมีโอกาสที่จะให้อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 25 องศาลงมาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเลยระดับอุณหภูมิที่นกชื่นชอบได้เช่นกัน
      • เช่นหากว่าอุณหภูมิลดลงมาก ต่ำกว่า 23 องศานี้ จะไม่เป็นการดีต่อแม่นกที่กำลังกกไข่ เพราะว่าแม่นกจะต้องใช้เวลาในการกกมากขึ้นกว่าเดิม เวลาหากินก็จะน้อยลงไปเพราะต้องเพิ่มเวลาฟักไข่ให้มากขึ้น เพื่อให้ไข่ได้รับความร้อนที่เหมาะสมกับการฟัก หากว่าอุณหภูมิลดลงมากเช่นนี้มีโอกาสทำให้ไข่นกเสียได้ หรือที่เรียกกันว่า "ไข่ลม" ที่ไม่ยอมฟักเป็นตัว
      • พ่อแม่นก ต้องเพิ่มเวลากกไข่มากขึ้นจึงมีเวลาหากินน้อยลง ร่างกายพ่อแม่นกย่อมอ่อนเพลียลงไป หรืออ่อนแอมากขึ้นนั้นเอง ไม่ควรให้เป็นเช่นนี้ แต่ในทางตรงข้าม ช่วงนี้พ่อแม่นกควรที่นะแข็งแรงที่สุด เพื่อให้พลังงานในการกกไข่ได้มากที่สุด
      • อีกทั้งอุณหภูมิที่ลดลงมากเกินไปนี้ จนทำให้อุณหภูมิในตึกกับนอกตึก ต่างกันมากถึง 5 องศา อาจจะส่งผมต่อสุขภาพของนกที่บินเข้ามาในตึก นกอาจจะเกิดอาการ Shock เพราะร่างกายของนกปรับตัวไม่ทัน  เพราะสภาพอากาศภายในตึกกับภายนอกตึกที่แตกต่างกันมากเกินไป นกที่บินออกไปหากินจะโดนแสงแดดร้อนมาทั้งวัน และกำลังเหนื่อยจากการบิน เมื่อมากระทบกับอากาศเย็นในตึกอย่างทันที  ปรับตัวไม่ทันก็จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี  นกไม่สบายหรืออ่อนแอได้เช่นกัน
      • เจ้าของตึกนก บางท่านบางคน อาจจะลืมประเด็นเหล่านี้ไปบ้างหรือปล่าว

      • ที่ผมหยิบยกเรื่องนี้มาพูดก็เพราะยังไม่เคยเห็นใครนำประเด็นนี้มาพูดกันเลย
      •                                                                                 Vuthmail-Thailand




      2 ความคิดเห็น:

      ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

      ผมขอถามหน่อยครับ ทำไมจานเหวี่ยงจึงต้องมี 2 ชั้นด้วย แล้วน้ำเข้าไปอยู่จานที่ 2 ได้อย่างไรครับ เท่าที่ดูในภาพไม่เห็นมีรูให้น้ำเข้าไปเลยครับ.....ฮิ ยังไงรบกวนช่วยถ่ายซูมให้ดูทีครับ.....ฮิ อยากศึกษา

      Unknown กล่าวว่า...

      ผมตอบให้แล้วนะครับ อยุ่ในหัวข้อเรื่อง "ตอบคำถามเรื่องการทำงานของ Blade Humidifier วันที่ 19.01.2553"