สาเหตุของเรื่องนี้ก็คือ การเจาะช่องไว้ผิด เนื่องจากนกใหม่ที่จะบินเข้ามาสำรวจ เมื่อบินเข้ามาในบ้านนกแล้วจะเกิดความวิตก เพราะว่าอุปนิสัยของนกแอ่นนั้นการบินสำรวจในครั้งแรกๆนั้นนกแอ่นจะบินเข้ามาแค่ตื้นๆ สั้นๆ แล้วรีบบินออกไป และบินกลับเข้ามาใหม่ บินเข้าๆออกๆในลักษณะบินหยั่งเชิงดูก่อน เมื่อบินเข้าๆ ออกๆ ช่วงต้นของการหยั่งเชิงไม่มีปัญหา นกก็จะเริ่มบินสำรวจเข้าไปไกลขึ้นๆๆ หรือหากว่านกสามารถมองเห็นทาง มองเห็นช่องให้บินเข้าไปได้ นกก็จะเริ่มบินเข้าผ่านช่องแล้วในตัวบ้าน จนในที่สุดก็จะเข้าไปในห้องทำรัง Nesting Room
แต่เนื่องจากว่า ช่องนกเข้าหรือ Inter Hole แบบเดิมนั้นอยู่ลึก และชิดกับผนังทิศตะวันตกมากเกินไป นกแอ่นหรือนกอะไรก็ตามที่เข้ามาสำรวจ จะมีอาการตื่นวิตกว่าจะบินเข้าไปแล้วกลับออกมาได้หรือปล่าว เพราะว่าบินเข้าไปแล้วไม่เห็นช่อง Inter Hole ที่อยู่ลึกเข้าไปด้านในมากและชิดกับผนังมากเกินไป (มุมผนังอาจจะบังช่องนกเข้า) จึงทำให้นกแอ่นไม่รู้ว่ามีช่องนกเข้าอยุ่ด้านใน เมื่อนกแอ่นบินเข้ามาแล้วเกิดความกังวลขึ้นในขณะสำรวจ สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆๆ ก็คือจะมีนกบางส่วนที่ บินเข้าไปแล้วรีบบินกลับมาออกมาเลย เพราะไม่รู้ว่ามีช่อง Inter Hole อยู่ด้านใน เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ดีสำหรับเจ้าของบ้านนก และตัวนกเอง เพราะเสียประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
อาจจะยังมีนกอีกบางส่วนที่กล้าบินเข้าไปข้างในลึกๆ จนกระทั่งสุดผนังทิศตะวันตก แล้วจึงพบว่ามีช่อง Inter Hole อยู่ แต่ว่าทิศทางมุมบินที่นกใช้บินเข้ามานั้นไม่ได้เผื่อมุมสำหรับการเลี้ยวเข้าช่องอย่างกระทันหัน กระชันชิดไว้ จึงทำให้เป็นนกปรับการบินได้ยาก ไม่สะดวกในการเข้าออกของนก และมีความเป็นไปได้ว่านกเข้าสำรวจแล้ว จะตัดสินใจที่จะไม่ยอมอยู่ เพราะมุมการบินทำได้ยากลำบากและยังมีโอกาสที่นกจะได้รับบาดเจ็บจากการเลี้ยวไม่ทัน เลี้ยวกระทันหัน และหากว่าบังเอิญอุณหภูมิ ความชื้น ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่นกชื่นชอบ ก็ทำให้นกเลิกสนใจที่จะมาอยู่ก็ยิ่งมีโอกาสสูงขึ้น
แนวทางการแก้ไข ในแบบของผมที่ลงทุนน้อย แก้ไขน้อย ทำได้รวดเร็วและได้ผล มีอยู่ 2 แบบคือ
1.- การปรับ แก้เฉพาะช่อง Inter Hole ที่ชิดผนังตะวันตกอย่างเดียวก็เพียงพอ โดยการเลื่อนช่อง Inter Hole ให้ห่างจากผนังทิศตะวันตกออกมาสัก 50-70 cm เพราะจุดนี้เป็นจุดบอดที่สำคัญที่สุด หากว่าแก้ไขเรื่องระยะช่อง Inter Hole นี้ได้ก็จะมีนกบินเข้ามาสำรวจมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะได้นกเพิ่มโดยไม่ยุ่งยากอะไร โดยให้ปรับปรุงตามแบบ A
แต่ว่าแบบที่แก้ไข แบบ A นี้ ผมยังรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะว่าเจ้าของบ้านนกยังได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด จึงนำไปสู่การแก้ไขเป็น แบบ B ซึ่งจะได้ประโยชน์เต็มที่มากกว่า ได้ประโยชน์สูงสุด เพราะว่าเราจะได้พื้นที่ในห้องทำรัง เพิ่มขึ้นอีก 2 x 3 เมตร การแก้ไขตามแบบ B นี้เป็นการไขแบบครบวงจรในครั้งเดียวซึ่งได้ทั้งการแก้ไขเรื่องเจาะช่องแบบเดิมที่ทำไว้ผิด และได้พื้นที่ในห้อง Nesting Room เพิ่มขึ้นด้วย เรามาดูรูปการแก้ไขในแบบ B ที่ว่านี้กัน
จากรูปทำให้เห็นได้ชัดว่าจะได้พื้นที่ ขนาด 2 x 3 เมตรเพิ่มขึ้นมา แต่ว่าก็อาจจะมีคำถามแย้งขึ้นมาว่าหากเจาะช่องแบบนี้แสงจะไม่เข้าหรือ ผมว่าเข้าครับ แต่ว่าแสงนี้จะมีผลเฉพาะช่วงต้นๆๆของห้อง แต่ภายในห้องส่วนท้ายๆ ส่วนลึกของห้องแสงจะใกล้เคียงกับแบบเดิมมาก เพราะว่าเราได้ลดขนาดช่อง Inter Hole ให้เป็นขนาดที่เล็กกว่าของเดิม (เจาะจากพื้นสูงขึ้นไปถึงเพดาน) ช่อง Inter Hole ที่นกเข้าเล็กกว่าแบบเดิม และผมได้ย้ายตำแหน่งข่องนกเข้าออกใหม่ ให้ห่างออกไปจากตำแหน่งเดิม 150 cm เพื่อแก้ปัญหาเรื่องแสงโดยตรง ประกอบช่องนกเข้าของคุณหนุ่มอยู่ทางทิศเหนือ จึงได้รับแสงค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นข้อดี และทำให้ผมกล้าตัดสินใจเจาะช่องตามแบบ B
หากว่าเราจะทำให้ Sure มากขึ้นเราสามารถทาสีดำ แบบด้าน ซึ่งจะไม่สะท้อนแสงที่ผนังไม้อัด การทาสีดำด้านนี้จะช่วยลดแสงได้อีกพอประมาณ (สีทำใช้ให้เลือกแบบ Odourless) สีที่ไม่มีกลิ่น ขอย้ำว่าเป็นสีที่ไม่มีกลิ่นนะครับ ให้ทาที่ไม้อัดก่อนที่จะเข้าไปติดตั้ง เพื่อลดการรบกวนนกให้น้อยที่สุด เมื่อติดตั้งแล้วให้ทาทับ หรือซ่อมสีส่วนที่หายอีกเพียงเล็กน้อยก็ใช้ได้แล้ว ซึ่งจะรบกวนนกน้อยมากครับ พร้อมทำได้รวดเร็วกว่าการติดตั้งเสร็จแล้วค่อยไปทาสีภายหลัง
เรามาวิเคราะห์แบบที่คุณหนุ่มอยากจะปรับปรุงแก้ไข โดยเพิ่มพื้นที่ Roving Area ก่อนเข้าห้องNesting Room จากขนาดเดิม 2 x 6 เมตรให้เป็น 4 x 6 เมตร ซึ่งจะเสียพื้นที่ไปมากถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่บ้านทั้งหมด ซึ่งมีเพียงชั้นบนแค่ชั้นเดียว ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะว่าบ้านนกชั้นเดียว เป็นบ้านที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จึงต้องรักษาพื้นที่และต้องสร้างให้มีพื้นที่มากที่สุด และให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด สอดคล้องกับข้อเท็จจริงกับพื้นที่อาคาร
ส่วนเรื่อง Roving Room หรือ Roving Area ซึ่งผมเรียกไม่ถูกว่าอันไหนเป็นอันไหน แต่ที่แน่ๆ หากว่าใช้แบบการปรับปรุงตามรูปที่อยู่ด้านบนนี้ Space ภายในห้องซึ่งเป็น Roving Room จะหายไปมาก มีพื้นที่ให้นกปรับทิศ ปรับมุมการบิน หรือมีพื้นที่ให้ลูกนกฝึกบินได้น้อย และเป็นการบังคับทิศทางการบินของนกมาก หากว่าเทียบกับแบบเดิมตามรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นที่มาและเหตุผลทั้งหมด หรือต้นแบบในการปรับปรุง ซึ่งปรับปรุงออกมาเป็นแบบ A และปรับให้ได้ประโยชน์มากขึ้นตามแบบ B
Double Check is Alway Better
Vuthmail-Thailand 23.02.53
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น