7/2/53

แนวทางการแก้ไขบ้านนกคุณมือใหม่นะครับ

แบบบ้านที่เห็นอยู่นี้ ผมต้องร่างขึ้นมาจากข้อมูลที่คุณมือใหม่ให้มานะครับ  จะผิดจะถูก ก็คงไม่แตกต่าง
จากที่แบบเห็นสักเท่าไหร่นะครับ เพราะว่าเราไม่มีรูปถ่ายของจริง ผมจึงจำเป็นต้อง Sketch แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และได้แก้ไขไปหลายครั้ง ก็ออกมาอย่างที่เห็นที่ได้ปรากฎอยู่ต่อหน้าเพื่อนๆๆนี้ 

   ผมไม่ขออธิบายอะไรมากนักนะครับ   เพราะว่าเหนื่อยมากกับการ Sketch และแก้แบบ    

   อีกอย่างเพื่อจะได้เป็นการลับสมอง ฝึกทักษะในการมองปัญหา และกำหนดแนวทางการแก้ไข     

   1- รูปแรกเป็นแบบบ้านนกเดิมๆ ของคุณมือใหม่นะครับ ซึ่งความชื้นไม่ค่อยได้นะครับ
   2- รูปที่สอง จะเป็นแนวทางการแก้ไข ที่ได้กำหนดขึ้นตามข้อมูลเท่าที่คุณมือใหม่ให้มา ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วน  ซึ่งยังไม่ค่อยจะสมบรูณ์แต่ก็เพียงพอที่จะวางแนวทางการแก้ไขให้ได้ดีพอประมาณแล้ว



 แบบบ้านที่กำหนดแนวทางการแก้ไข ให้กับคุณมือใหม่



อย่างที่ผมบอกนะครับ ผมจะไม่อธิบายอะไรเพิ่มเติม แต่อยากให้เพื่อนๆ สมมุติว่าเป็นตัวท่านที่กำลังเผชิญกับปัญหาอยู่ แล้วจะแก้ไขออกมาเป็นอย่างไร ดูซิว่าจะเหมือนผมหรือไม่ เป็นเพราะอะไร ลองตั้งสมมุติฐาน แล้ววางแนวทางที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาดูนะครับ

อีกอย่างคุณมือใหม่ต้อง Stand By เพื่อตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับรายละเอียดบ้านเดิมด้วยนะครับ เพราะผมคิดว่าจะต้องมีคนเข้ามาถามอีกหลายๆคน ซึ่งเป็นคนที่มีปัญหาแบบเดียวกับคุณมือใหม่ และคนที่ต้องการสับสมอง ฝึกการแก้ปัญหา  ส่วนผมได้ทำหน้าที่นำเสนอไว้ค่อนข้างสมบรูณ์แล้ว อาจจะขาดไปบ้าง
ซึ่งผมก็รู้ว่าขาดตรงไหน แต่เพื่อนๆจะรู้หรือไม่ และจะต้องการเพิ่มเติมอะไรลงไปอีกบ้าง

ลองๆๆ นำเสนอกันไว้ที่ Comment เผื่อเพื่อนๆอีกหลายคนจะได้ช่วยกันคิด แล้วตกผลึกทางความคิด
และได้แนวทางที่ดีกว่าของผม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆๆเลยครับ หากว่าเป็นเช่นนั้น ผมจะดีใจมากๆๆๆๆๆๆๆ

                                                                                                   07.02.53
                                                                                           Vuthmail-Thailand

8 ความคิดเห็น:

garch123 กล่าวว่า...

ไอเดียทำที่กันแดดด้านนอก น่าสนใจครับ ผมเคยเห็นแต่แบบ dog kennel ที่เสียงเรียกจะพุ่งไปทิศทางเดียว แต่แบบนี้ยังคงข้อดีของ open roof ที่สามารถเรียกนกได้ 4 ทิศทาง
ถามครับ
1.ช่องเข้าออกระหว่างห้อง ระหว่างแนวตั้งกับแนวนอน อย่างไหนดีกว่ากัน
2.ระหว่าง การเอาผนัง B ออก กับ การทำช่องเข้าออก อย่างไหนดีกว่ากัน
ขอบคุณครับ

Unknown กล่าวว่า...

ยินดีมากครับ ที่จุดประกายทางความคิดให้ได้ สำหรับแนวความคิดใหม่ๆๆ
แนวความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะว่าคิดนอกกรอบ และ พยายามทำอะไรที่แตกต่างซึ่งไม่เกินความสามารถของคนไทย

เรื่องความแตกต่างของช่องนกเข้าออก ระหว่างแนวตั้ง กับแนวนอน ต้องแบ่งเป็น 2 กรณี
ทั้งของกรณี แสงแดด กับเรื่องความชื้นครับ เพราะช่องที่ต่างกัน ก็จะมีผลกับสภาพในบ้านนกต่างกันไปด้วยเช่นกัน

1.1-สำหรับช่องนอน แสงแดดเข้าได้สั้น-น้อยกว่า แต่ความชื้นออกได้มากกว่า และจะรักษาความเย็นได้ดีกว่า

1.2-หากว่าเอาผนัง B ออกเลยก็จำเป็นต้องทุบครับ อีกอย่างผมก็ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของคุณมือใหม่ครับ ว่ามีไว้เพื่ออะไร
แต่หากว่าจะให้ผมทาย ก็คือคุณมือใหม่ทำขึ้นเพื่อที่จะพยายามควบคุมความมืดใน Zone-3 ให้ถึงเกณฑ์เสียมากกว่า

การสร้างบ้านนกแบบนี้ เป็นงานปราบเซียนอยู่แล้วครับ
แถมแบบบ้านของคุณมือใหม่ พื้นที่อาจจะไม่อำนวย แบบก็เลยหน้าตาแปลกๆๆ แต่ก็ได้ลับสมองดีนะครับ

..........................Vuthmail-Thailand........................

มือใหม่ กล่าวว่า...

เรียนตอบคุณ Vuthmail

เรื่องแบบบ้านคือว่า ตอนที่สร้างนั้นได้คงแบบที่เราอยู่ไว้ ผนังที่ไม่ได้เอาออกนั้นเนื่องจากเป็นตัวบ้านแบบเดิมที่อาศัยอยู่นั่นเอง จึงทำการเก็บผนังส่วนนี้ไว้แล้วบังคับนกให้ไปตามช่อง ที่นกบินเข้า-ออก พอสร้างเสร็จถึงเห็นความแตกต่างของพื้นที่ ว่าโซนสามนั้นมืดที่สุดเพราะมีผนังบีมากั้นไว้(เลยอยากทำจุดนี้ให้ได้ตามเกณฑ์ในส่วนของความชื้น) ส่วนโซนสองเรื่องแสงแดดนั้นแก้ไงก็ไม่หายจึงต้องปล่อยไว้(ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าสร้างกล่องมาครอบไว้แต่ก็มีปัญหา) แต่พอเห็นแบบที่คุณ Vuthmail แก้ไขให้ ต้องขอขอบบคุณมากๆครับผม

มือใหม่

Unknown กล่าวว่า...

ยินดีมาก ที่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้คุณมือใหม่นะครับ

อยากให้คุณมือใหม่ อ่าน Blog ตั้งแต่เริ่มต้นเลยนะครับ โดยไปที่คลังกระทู้เก่า ซึ่งผมเริ่มเขียนตั้งตั้งแต่วันที่ 06.12.52 เป็นบทความแรกที่เขียนเลย แล้วไล่อ่านกลับขึ้นมาหาวันที่ปัจจุบันนะครับ เพราะว่าจะเป็นพื้นฐานในการทำบ้านนกให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่คุณมือใหม่ต้องการ พร้อมเป็นการป้องกันตัวท่านเองไม่ให้หลงทาง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ " รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม "

เรื่องการทำบ้านนก สำคัญที่สุดก็คือการมองภาพรวมให้ออกก่อน ต้องแม่นทุกรายละเอียดครับ จากนั้นก็มาค่อยมาแตกย่อยหารายละเอียดส่วนที่อาจจะสร้างปัญหา แล้วทำการแก้ปัญหาล่วงหน้าไว้ก่อนครับ

อีกอย่างหนึ่ง ปัญหาที่เจอส่วนมากเป็นเรื่องของการที่เจ้าของบ้านให้ความไว้ใจกับผู้ที่สร้างบ้านนกให้มากจนเกินไปด้วยกลัวว่าผิดแบบแล้วจะทำให้นกไม่เข้า ก็เลยไม่กล้าที่จะคิดนอกกรอบ เชื่อว่าคนที่มาทำบ้านนกให้นั้นมีข้อมูลอย่างเพียงพอและผ่านงานมามากแล้ว แต่ความไว้ใจที่ท่านมอบกลับเกิดเรื่องน่าเศร้าอย่างที่เป็นอยู่นะครับ

เรื่องอย่างนี้ผมก็เคยได้ยิน-ได้ฟังจากหลายๆคนครับ น่าเศร้าใจมาก เพราะบรรดาคนที่มาสร้างบ้านนกให้ท่าน เคยผ่านการสร้างบ้านนกมาจริง แต่ไม่เคยผ่านงานการออกแบบบ้านนกจริง และเป็นการสร้างตามแบบเดิมที่เคยทำมา โดยไม่มีหลักเหตุผล หรือวิชาการที่ถูกต้องรับรอง จึงไม่สามารถดัดแปลง หรือประยุกต์ แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด จึงได้ทำตามแบบเดิมเท่านั้น หรือเป็นแบบ้านที่ไปแอบเห็น-แอบจำกันมา แล้วก็ทำให้กลายเป็นเรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้นอย่างที่เห็นๆๆกันอยู่ครับ

ทุกรายละเอียดที่ผมวางไปเพื่อนำไปแก้ไขนั้น มีหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์รองรับอยู่มาก ซึ่งการแนะนำนี้ก็เป็นแต่เพียงหลักใหญ่ๆ ตามที่มันควรจะเป็น แต่ว่าในรายละเอียดลึกๆแล้ว เจ้าของบ้านนกทุกท่านจะต้องนำไปประยุกต์ใช้เองนะครับ

ด้วยความปราถนาดี

Vuthmail-Thailand

Unknown กล่าวว่า...

ในแบบ Plan ที่ Post ไว้มีอะไรบางอย่างที่ผมยังไม่ได้ลงไว้ ที่ไม่ได้ลงไว้ก็เพื่อให้เพื่อนๆใน Blog มาช่วยกันต่อเติม เสริมแต่ง เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดกัน

หากว่าคุณมือใหม่สะดวก รบกวนโทรหาผมอีกทีนะครับด้วย ผมจะได้บอกถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ลงไว้ในแบบ ซึ่งคุณมือใหม่ควรจะต้องนำไปใช้ในการแก้ไข เฉพาะกรณีของคุณมือใหม่เท่านั้น เนื่องจากแบบบ้านของคุณมือใหม่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงๆ

สิ่งที่ผมออกแบบให้นี้ ไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขอะไรมาก ไม่ต้องทุบไม่ต้องรื้อกันใหญ่ ให้ทำในส่วนที่ต้องทำ จะได้ไม่ต้องวุ่นวายกันไปหมดทั้งนกทั้งคน เป็นแบบที่เรียบง่าย ทำง่าย รื้อง่าย และน่าจะได้ผลเป็นที่พอใจครับ

ปล.อย่าลืมอาน Blog ย้อนหลังด้วยนะครับ ความรู้ล้วนๆๆ ไม่ค่อยจะมีน้ำเท่าไหร่

Vuthmail-Thailand

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำไมผนัง A และ B ต้องเจาะช่องทั้งซ้ายขวาครับ เจาะซ้ายผนังนึงกับขวาผนังนึงน่าจะกันแสงได้ดีกว่านะครับ
Waiyavut

Unknown กล่าวว่า...

ผมตอบให้แล้วนะครับ แต่ว่ายาวเกินไป ก็เลยขอเป็นการเขียนบทความใหม่เลยแล้วกัน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ครับ
Waiyavut